xs
xsm
sm
md
lg

ทูตไทยตอกหน้าเขมรในศาลโลก 40 ปี ไม่เคยคัดค้าน เพิ่งกระสันอยากได้ 4.6 ตร.กม.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก </font><FONT color=#3366ff>นายอิทธิพร บุญประคอง </font>  อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กับ นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ร่วมคณะของไทย ระหว่างเข้าให้ปากคำต่อศาลโลกวันที่ 30 พ.ค.2554 ไทยได้ขอให้ศาลสูงสุดของสหประชาชาติยกคำร้องของกัมพูชา ที่ขอให้ตีความคำพิพากษาเมื่อ 49 ปีก่อน เกี่ยวกับดินแดนรอบๆ ปราสาทพระวิหารและให้ไทยถอนทหารออกจากพื้นที่ดังกล่าวในทันที และให้ไทยยุติกิจกรรมทางทหารใดๆ ตามแนวชายแดนทั้งหมด. -- AFP PHOTO/Anp Valeries Kuypers. <bR>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- เอกอัครราชทูตไทยประจำเนเธอร์แลนด์ ยิงหมัดเด็ดเข้าปลายคาง ฮอร์ นัมฮง ชี้ คำพิพากษาปี 2505 เป็นการกำหนดขอบอาณาเขตของปราสาทพระวิหาร ไม่ใช่กำหนดเส้นเขตแดน และกว่า 40 ปีมานี้ เขมรไม่เคยคัดค้านสักคำพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรรอบๆ เป็นของไทย เพิ่งมาอยากได้ตอนขึ้นทะเบียนปราสาทเป็นมรดกโลก หวังฮุบดินแดนเพื่อเป็น “เขตกันชน” ตามข้อกำหนดของยูเนสโก

นอกจากนั้น การปะทะที่ชายแดนปราสาทพระวิหารในเดือน ก.พ.ยังเป็นการสร้างสถานการณ์ของกัมพูชา โดยใช้ปราสาทเป็นที่ตั้งทหารกับอาวุธยิงฝ่ายไทยอีกด้วย เอกอัครราชทูตไทย นายวีรชัย พลาศรัย บอกกับศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ในเวลาบ่ายวันจันทร์ 30 พ.ค.ที่ผ่านมา ตามเวลาในท้องถิ่น กระทรวงการต่างประเทศของไทย เผยแพร่เนื้อหาคำให้การบางส่วนในเว็บไซต์เมื่อวันอังคาร

“หลายปีที่ผ่านมา กัมพูชาได้ยอมรับเส้นแบ่งแสดงขอบเขตบริเวณของปราสาทพระวิหารตามมติคณะรัฐมนตรีไทย เมื่อวันที่ 10 ก.ค.2505 ในการปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล (โลก) ไม่เคยมีการทักท้วงจากกัมพูชาตลอดเวลากว่า 40 ปีมานี้..” นายวีรชัย กล่าว

“เพียงไม่กี่ปีมานี้เอง ที่กัมพูชาเริ่มโต้แย้งในเรื่องอาณาเขต คือ ตอนที่เริ่มดำเนินการเพื่อขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก” เอกอัครราชทูตไทย กล่าว

ในปี 2551 นายวีรชัย ถูกรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช โดย นายนพดล ปัทมะ เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ ย้ายจากตำแหน่งอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ไปเป็นเอกอัครราชทูตประจำกระทรวงอย่างมีเลิศนัย ขณะรัฐบาลไทยไปให้การรับรองการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชา ซึ่งเรื่องนี้ทำให้ นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศขณะนั้นออกหนังสือเวียนที่เขียนด้วยลายมือ กล่าวยกย่องผลงานของอธิบดีผู้นี้

ตัวแทนของไทย กล่าวอีกว่า สองฝ่ายยังได้เซ็นบันทึกช่วยความจำเมื่อวันที่ 14 มิ.ย.2543 เกี่ยวกับการสำรวจและปักปันเขตแดนทางบก ด้วยความมุ่งหวังที่จะเพื่อปักปันเขตแดนตลอดแนวชายแดนสองประเทศ รวมทั้งบริเวณปราสาทพระวิหาร และสองฝ่ายแสดงความปรารถนาจะดำเนินการเรื่องนี้โดยผ่านการเจรจา

ประเทศไทยไม่ได้เริ่มก่อให้เกิดการปะทะใดๆ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ระหว่างวันที่ 4-6 ก.พ.2554 ในพื้นที่รอบๆ ปราสาทพระวิหาร หรือ เหตุการณ์ระหว่างวันที่ 22 เม.ย.จนถึงวันที่ 3 พ.ค.ในพื้นที่ใกล้ปราสาทตาเมือน และปราสาทตาควาย แต่ไทยกลับถูกโจมตีแบบยั่วยุโดยฝ่ายกัมพูชา และจำเป็นต้องตอบโต้ด้วยสิทธิในการป้องกันตนเอง ปกป้องอธิปไตยและพิทักษ์พลเรือนที่ตกเป็นเป้าหมายของกองฝ่ายกัมพูชา และการตอบโต้ของไทยสมเหตุสมผลตามกฎหมายระหว่างประเทศ


เพื่องานนี้โดยเฉพาะ
<bR><FONT color=#000033>นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮกขึ้นให้การในศาลโลกวันจันทร์ 30 พ.ค.2554 เคยถูกรัฐบาลนายสมัครย้ายจากอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายไปประจำกระทรวง รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ แต่งตั้งนายวีรชัยไปประจำกรุงเฮก ดูเหมือนเป็นการเตรียมการรับเหตุการณ์นี้โดยเฉพาะ ภาพจากเว็บไซต์กระทรวงฯอ้างที่มาจากศาลโลก. </font>
2
<FONT color=#000033>นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก </font><FONT color=#3366ff>นายอิทธิพร บุญประคอง </font>  อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กับ นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ร่วมคณะของไทย ระหว่างเข้าให้ปากคำต่อศาลโลกวันที่ 30 พ.ค.2554 นายวีรชัยได้รับแต่งตั้งไปประจำที่กรุงเฮกเมื่อปี 2552 ดูเหมือนเพื่อเตรียมรับเหตุการณ์ในวันนี้โดยเฉพาะ. -- AFP PHOTO/Anp Valeries Kuypers. </font>
3

ต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นรอบๆ ปราสาทพระวิหาร กัมพูชาได้ปฏิบัติการทางทหาร และทำการโจมตีจากปราสาท ซึ่งเป็นการขัดต่อสนธิสัญญากรุงเฮกเกี่ยวกับการปกป้องทรัพย์สินทางวัฒนธรรมในสถานการณ์ความขัดแย้งที่ลงนามกันในปี 2497 ซึ่งกัมพูชาร่วมเป็นภาคีด้วย

การตรวจสอบเหตุการณ์ต่างๆ ได้พบว่า การปะทะด้วยอาวุธในเดือน ก.พ.กับเดือน เม.ย.-พ.ค.“เป็นการวางแผนล่วงหน้าโดยฝ่ายกัมพูชา ประสานสมทบกับกับการเคลื่อนไหวทางด้านการเมืองและการทูตกับการรณรงค์ผ่านสื่อที่เตรียมการไว้อย่างดี” นายวีรชัย กล่าว

ตัวแทนของไทยยังได้แจ้งต่อศาลโลกเกี่ยวกับสภาพการณ์ทั่วไปในความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา ไทยได้มีบทบทสำคัญเอื้ออำนวยให้เกิดการลงนามในสัญญาสันติภาพกัมพูชาในปี 2534 และต่อมายังสนับสนุนอย่างแข็งขันให้เข้าเป็นสมาชิกกลุ่มอาเซียน ได้ให้ความร่วมมือช่วยเหลือกัมพูชาในหลายด้าน

ปัจจุบันการค้าการลงทุนจากไทยในกัมพูชานับวันขยายตัว ไทยยังมีความร่วมมือกับกัมพูชาในหลายกรอบทั้งระดับทวิภาคีและระดับอนุภูมิภาค แม้กระทั่งหลังเหตุการณ์จลาจลที่นำไปสู่การเผาสถานทูตไทยในกรุงพนมเปญเดือน ม.ค.25046 ก็ตาม จึงไม่มีเหตุผลใดที่ไทยจะก้าวร้าวรุกรานต่อกัมพูชา ตามที่นายฮอนัมฮอง รัฐมนตรีต่างประเทศกับคณะของฝ่ายนั้นให้การต่อศาลโลก

ประเทศไทยเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การสหประชาชาติ ได้ยอมรับ และปฏิบัติตามคำพิพากษากรณีปราสาทพระวิหาร มาตั้งแต่ปี 2505 แม้ว่าจะไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษา ซึ่งสร้าง “ความขัดแย้งและความชอกช้ำในสังคมไทย” ก็ตาม เอกอัครราชทูตไทย กล่าว

ตัวแทนของไทยยังบอกกับศาลโลกด้วยว่า กัมพูชา “ต้องการอย่างยิ่ง” ที่จะได้ดินแดนส่วนนั้นเป็น “ดินแดนกันชน” ที่จำเป็นสำหรับแผนบริหารจัดการปราสาทซึ่งจะทำให้การขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกเสร็จสิ้นสมบูรณ์
.
<bR><FONT color=#000033>เซอร์แฟร็งคลิน เบอร์แมน (ซ้าย) ทนายความฝ่ายกัมพูชา นายวาร กิมฮอง รัฐมนตรี-หัวหน้าคณะกรรมการชายแดน กับนายฮอนัมฮอง รองนายกฯ -รมว.ต่างประเทศ เข้าให้ปากคำต่อศาลโลกเป็นคิวแรกในวันเดียวกัน กัมพูชาร้องขอให้ศาลสูงสุดของสหประชาชาติตีความคำพิพากษาปราสาทพระวิหารปี 2505 เรื่องดินแดนรอบๆ ปราสาทและขอให้มีมาตรการเฉพาะหน้าคุ้มครองแหล่งมรดกโลก.  -- AFP PHOTO/Anp Valeries Kuypers. <bR>
4
.
นอกจากนั้น ในต้นปี 2546 รัฐบาลสองประเทศได้ตกลงจัดตั้งคณะกรรมการระดับรัฐมนตรีขึ้นมา เพื่อร่วมกันพัฒนาปราสาทพระวิหาร แต่ในปี 2547 กัมพูชาได้นำปราสาทไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเพียงฝ่ายเดียว โดยปราศจากการปรึกษาหารือกับฝ่ายไทย กัมพูชาออกพระราชกฤษฎีกาในปี 2549 กำหนดขอบเขตบริเวณเองโดยล่วงล้ำเข้าไปในดินแดนของไทย ซึ่งไม่เพียงแต่จะละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของไทยเท่านั้น หากยังละเมิด MOU43 อีกด้วย ไทยได้พยามยามเจรจาเรื่องนี้มาหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ และได้ยื่นประท้วงต่อกัมพูชามาหลายครั้งเช่นกัน

สองปีที่ผ่านมากัมพูชาได้พยายามผลักดันแผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหารที่ครอบคลุมดินแดนไทยเข้าไปด้วย ทั้งๆ ที่ต่างทราบกันดีว่า ดินแดนของไทยส่วนนั้น “ไม่สามารถแลกกับความสำเร็จและความสมบูรณ์ของการขึ้นทะเบียนปราสาทได้” อันเป็นเหตุผลให้ฝ่ายไทยเสนอการขึ้นทะเบียนร่วม แต่กัมพูชาปฏิเสธ นายวีรชัย กล่าว

ทั้งหมดเป็นเนื้อหาสำคัญใน 5 ประเด็นที่ตัวแทนของไทยให้ปากคำต่อศาลโลกด้วยตัวเองระหว่างเวลา 16.00-18.00 น.ในวันจันทร์ หลังจากฝ่ายกัมพูชาที่นำโดย นายฮอร์ นัมฮง รองนายกฯ และ รมว.ต่างประเทศ ให้ปากคำผ่านการแปลก่อนหน้านั้น

กัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลสูงสุดของสหประชาชาติในวันที่ 28 เม.ย.ที่ผ่านมา ขอให้มีมาตรการเฉพาะหน้าเพื่อคุ้มครองปราสาทพระวิหาร และ ให้ตีความคำพิพากษาเมื่อ 49 ปีก่อน โดยทนายความของกัมพูชากล่าวในวันเดียวกัน ว่า คำพิพากษาของศาลโลกชัดเจนสมบูรณ์อยู่ในตัวแล้วว่า ทั้งปราสาทและพื้นที่โดยรอบเป็นของกัมพูชา
.
<bR><FONT color=#000033>ภาพมุมกว้างแสดงให้เห็นบรรยากาศภายในบัลลังก์วันที่ 30 พ.ค.2554 ขณะเริ่มกระบวนการไต่สวนตามคำร้องของกัมพูชา ที่ขอให้ตีความคำพิพากษาปี 2505 เกี่ยวกับดินแดนรอบๆ ปราสาทพระวิหาร และขอให้มีมาตรการเฉพาะหน้าคุ้มครองปราสาท ซึ่งถ้าหากศาลแห่งนี้เห็นตาม ไทยจะต้องถอนทหารออกจากพื้นที่โดยรอบทั้งหมดในทันที .-- AFP PHOTO/Anp Valeries Kuypers. <bR
5
.
รัฐบาลไทยยังได้ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญอีก 3 คน เป็นที่ปรึกษาเพื่อการนี้ คือ ศ.อแลง เปลเลต์ ชาวฝรั่งเศส ศ.เจมส์ ครอว์เฟิร์ด ชาวแคนาดา กับ ศ.โดนัลด์ เอ็ม แม็คเร ชาวออสเตรเลีย โดยที่ปรึกษาคนแรกได้ชี้ข้อกฎหมายว่า คำพิพากษาปี 2505 ไม่ได้เกี่ยวข้องกับประเด็นเส้นเขตแดน และประเทศไทยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษามาตั้งแต่นั้น จึงไม่มีประเด็นใดจะต้องตีความ

ศ.ครอว์เฟิร์ด กล่าวถึงขอบเขตอำนาจของศาลโลก และตั้งข้อสังเกตว่า คำเรียกร้องของกัมพูชาที่ต้องการให้ตีความกับขอให้มีมาตรการเฉพาะหน้านั้น อยู่นอกเหนืออำนาจของศาล ขณะที่ ศ.แม็คเร ได้ตรวจสอบคำร้องของกัมพูชา และชี้ว่า ไม่สอดคล้องกับเกณฑ์ของศาล ไม่มีเหตุเร่งด่วนที่ร้ายแรงอันใดที่กล่าวอ้างได้ และคำร้องไม่สอดคล้องกับความคืบหน้าในการดำเนินการทางพื้นดิน รวมทั้งการส่งคณะสังเกตการณ์อินโดนีเซียเข้าพื้นที่ฝั่งไทยด้วย

ศาลโลกได้ออกคำแถลงเกี่ยวกับเรื่องนี้ในวันอังคาร 31 พ.ค.2554 ระบุว่า การรับฟังจากทั้งสองฝ่ายสิ้นสุดลงในวันเดียวกัน และศาลจะเริ่มกระบวนการพิจารณาตัดสิน ซึ่งจะมีการนัดวันเวลาในภายหลัง

นายฮอร์ นัมฮง ตัวแทนของกัมพูชาได้ขอให้ศาลโลกสั่งการใน 3 ข้อ คือ ให้ไทยถอนทหารทั้งหมดออกจากดินแดนกัมพูชาในอาณาบริเวณปราสาทพระวิหารและถอนออกในทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข ห้ามไทยทำกิจกรรมทางทหารทุกอย่างในอาณาบริเวณปราสาทพระวิหาร และ ให้ไทยละเว้นกระทำการใดๆ ที่อาจเป็นการขัดต่อสิทธิของกัมพูชา หรือเพิ่มขายความขัดแย้งในขบวนการต่างๆ

ส่วนตัวแทนของฝ่ายไทยได้ขอให้ศาลโลก ถอนคำร้องของฝ่ายกัมพูชาตามมาตรา 60 ที่ว่าด้วยกฎระเบียบของศาล คำแถลงกล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น