xs
xsm
sm
md
lg

ลาวเตรียมที่กว่า 3.1 ล้านไร่ รอนักลงทุนปลูกพืชเศรษฐกิจ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ภาพจากเว็บไซต์บริษัทหว่างแองซยาลาย (Hoang Anh Gia Lai)  สวนยางของกลุ่มทุนใหญ่จากเวียดนามคลุมพื้นที่นับแสนไร่ในแขวงจำปาสักเซกองและอัตตะปือ ใช้ทั้งแรงงานคนและเครื่องจักรกล หลายปีมานี้นักลงทุนจีน เวียดนามและจากไทย เข้าไปแสวงหาพื้นที่ลงทุนปลูกพืชเศรษฐกิจในลาว ขณะพื้นที่มีจำกัด แต่ระยะ 10 ปีข้างหน้าจะมีเพิ่มอีก 3 ล้านไร่. </font>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- ทางการลาวได้เพิ่งจะอนุมัติแผนการของกรมป่าไม้ ซึ่งจัดสรรเนื้อที่อีกกว่า 500,000 เฮกตาร์ (1 เฮกตาร์= 6.25 ไร่) ทั่วประเทศสำหรับปลูกพืชเศรษฐกิจ แผนการนี้อยู่ในยุทธศาสตร์การป่าไม้ 10 ปีของลาว จนถึงปี 2563 สำนักข่าวสารปะเทดลาวรายงานเรื่องนี้โดยไม่ได้ให้รายละเอียดอื่นใดอีก

อย่างไรก็ตาม นับเป็นข่าวดีสำหรับนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนในประเทศ ผู้แสวงหาที่ดินผืนใหญ่ เพื่อลงทุนปลูกพืชเศรษฐกิจในลาว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ยางพาราที่ขายได้ราคาดีมากในปัจจุบัน รวมทั้งน้ำมันปาล์มซึ่งเป็นที่ต้องการมากในจีนและเวียดนาม เพื่อนบ้านที่เป็นตลาดบริโภคขนาดใหญ่น้ำมันสำหรับทำอาหาร

หลายปีมานี้รัฐบาลลาวได้อนุมัติโครงการปลูกพืชเศรษฐกิจเป็นจำนวนหลายแสนเฮกตาร์ ทั้งสวนยาง ไร่ปาล์ม สบู่ดำ ไร่ละหุ่ง ไร่อ้อย ป่าสนกับกระถินณรงค์ เพื่ออุตสาหกรรมกระดาษ และอื่นๆ อีกหลายชนิด เพื่อช่วยส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ ผลผลิตมวลรวมภายในบรรลุเป้าที่กำหนด ขปล.กล่าว

สำหรับสวนยาง สำนักข่าวของทางการรายงานในเดือน ก.ค.2552 ว่า รัฐบาลได้จัดสรรเนื้อที่ไว้เพียง 300,000 เฮกตาร์ (1,875,000) ไร่ กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ คาดว่า ในสิ้นปี 2553 จะมีสวนยางทั่วประเทศรวมกันราว 250,000 เฮกตาร์ (1,562,500 ไร่)

ปขล.ไม่ได้กล่าวถึงที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น

ถึงแม้จะมีนักลงทุนจากจีน เวียดนาม และจากไทยเข้าลงทุนในอุตสาหกรรมนี้จำนวนมาก แต่ก็ยังมีเกษตรกรผู้ปลูกยางรายย่อยซึ่งเป็นชาวลาวอีกจำนวนมากคิดเป็นประมาณ 25-30% ของทั้งหมด ซึ่งรัฐบาลให้การส่งเสริมอย่างจริงจัง ขปล.อ้างคำกล่าวของนายบุนทง บัวฮูม ปลัดกระทรวงกสิกรรมฯ

สวนยางกระจัดกระจายตามท้องที่ต่างๆ ที่สภาพภูมิศาสตร์เอื้ออำนวย ในภาคเหนือมีมากใน 3 แขวง คือ หลวงพระบาง อุดมไซ กับแขวงบ่อแก้ว ส่วนภาคกลางมีในแขวงบอลิคำไซ คำม่วนกับสะหวันนะเขต และ มีมากที่สุดใน 3 แขวงภาคใต้คือ จำปาสัก สาละวันและอัตตะปือ ซึ่งคิดเป็นประมาณ 40% ของทั้งหมด ขปล.กล่าว
.
<bR><FONT color=#000033>ต้นยางกำลังขึ้นงามในสวนของกลุ่มหว่างแองซยาลาย (Hoang Anh Gia Lai)  ในภาพจากเว็บไซต์ของบริษัท กลุ่มทุนใหญ่จากเวียดนามปลูกยางนับแสนไร่ในภาคใต้ของลาว รวมทั้งแผนการสร้างโรงผลิตยางในแขวงจำปาสักด้วย รัฐบาลลาวเพิ่งอนุมัติพื้นที่อีก 3 แสนไร่เศษสำหรับปลูกพืชเศรษฐกิจในระยะ 10 ปีข้างหน้าตามแผนของกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้. </font>
.
อุตสาหกรรมนี้เริ่มคึกคักในต้นปี 2550 เมื่อบริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน) จากประเทศไทย จับมือบริษัท นิวจิบเซ้งโฮลดิงส์ ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในลาว กับผู้ผลิตยางพาราขนาดใหญ่อันดับ 2 จากจีน ขยายเนื้อที่ปลูกยางใน 6 แขวง รวมเป็นเนื้อที่กว่า 187,000 ไร่ เป็นการลงทุนปลูกยางที่ใหญ่ที่สุดในลาวขณะนั้น

ตามตัวเลขปี 2552 เกษตรกรลาวที่เข้าร่วมโครงการปลูกยางของนักลงทุนต่างชาติในที่ดินของตน มีรายได้ปีละ 6,000-8,000 ดอลลาร์ต่อสวนยาง 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่) เป็นรายได้ที่ดีกว่าพืชเศรษฐกิจอื่นๆ รวมทั้งจากการท่องเที่ยวด้วย ขณะที่ราคายางพารายังพุ่งขึ้นสูงในปีต่อมา

ลาวมีประชากรเพียงประมาณ 6 ล้านคน จึงมีพื้นที่ว่างมหาศาลสำหรับการเพราะปลูก แต่หลายปีมานี้นักลงทุนต่างแสวงหาทีดินสัมปทานไม่หยุด มีบางครั้งเกิดเป็นกรณีพิพาทเช่นในปี 2552 นักลงทุนเวียดนามร้องเรียน ทางการแขวงจำปาสักไม่จัดสรรพื้นที่สวนยางให้ตามกำหนด แต่นำเอาที่ดินไปจัดให้นักลงทุนไทย

ในช่วง 2 ปีมานี้ลาวได้ปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการถือครองและการเช่าที่ดินหลายครั้ง ทำให้ค่าเช่าพุ่งสูงขึ้นอีกหลายเท่าตัว จากเดิมเพียงไร่ละไม่ถึง 1 ดอลลาร์ต่อปี ปัจจุบันค่าเช่าจะขึ้นอยู่กับจำนวนของเนื้อที่ รวมทั้งทำเลและโซนที่ตั้งอีกด้วย

จากเมื่อก่อนที่ทางการระดับแขวง หรือจังหวัด สามารถอนุมัติโครงการลงทุนให้เช่าที่ดินได้อย่างไม่จำกัด ในปัจจุบันการขอเช่าที่ 100 เฮกตาร์ขึ้นไปต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารที่ดินแห่งชาติตามกฎหมาย
กำลังโหลดความคิดเห็น