xs
xsm
sm
md
lg

พลิกตำนาน 600 ปี ฮานอยตะลึงตึงๆ “ปู่เต่า” ที่แท้เป็น “ย่า”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>เรียกปู่มานานที่แท้เป็นย่า ภาพถ่ายย่าเต่าที่เจ้าหน้าที่ช่วยกันล้อมจับเพื่อนำขึ้นมารักษาบาดแผล เมื่อวันที่ 3 เม.ย. หลังตรวจผลดีเอ็นเอจึงรู้ว่าเต่าที่อาศัยอยู่ในบึงฮว่านเกี๊ยมใจกลางกรุงฮานอยมานานข้ามศตวรรษแท้จริงแล้วเป็นเพศเมีย .--REUTERS/Hoang Long/Dai Doan Ket Newspaper. </font></b>
(ปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหาในบางย่อหน้า -21 เม.ย.2554)

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- หลังจากเก็บเงียบมาพักใหญ่ๆ นักวิทยาศาสตร์เวียดนาม ก็ได้เปิดเผยผลการตรวจดีเอ็นเอของเต่าโบราณแห่ง “สระคืนดาบ” ซึ่งพบว่า เต่าอายุร้อยปีที่เกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับพระจักรพรรดิผู้ทรงกอบกู้เอกราชเมื่อประมาณ 600 ปีก่อนนั้น แท้จริงเป็นเพศเมีย หลังจากเรียกเป็น “ปู่เต่า” หรือ "กุหรั่ว" (Cụ Rùa) มานานนับชั่วอายุคน

ดร.บุ่ยกวางเต๊ (Bui Quang Te) ผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นคนหนึ่งในคณะทำงานที่กำลังรักษา “ย่าเต่า” ในขณะนี้เป็นผู้เปิดเผยเรื่องนี้ และ คณะกรรมการประชาชนกรุงฮานอย จะจัดแถลงข่าวเพื่อให้รายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง

ในวันที่ 3 เม.ย.ที่ผ่านมา คณะทำงานเฉพาะกิจได้ใช้ทหารหน่วยปฏิบัติการพิเศษหลายสิบนาย ร่วมกับบริษัทเอกชนที่เชี่ยวชาญในเรื่องนี้ จับ “ย่าเต่า” ในสระคืนดาบ หรือ ฮว่านเกี๊ยม (Hồ Hoàn Kiếm) เพื่้อรักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ อันเนื่องมาจากสูงอายุ และพบว่า มีอาการติดเชื้อหลายชนิด ต้องใช้เวลารักษาประมาณ 90 วัน

ก่อนหน้านี้ มีเพียงไม่กี่คนที่ได้พบเห็นเต่าโบราณแห่งสระคืนดาบ หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สระกระบี่” หรือ โห่เกือม (Hồ Gươm) และหลายคนเชื่อว่า มีอยู่แต่ในตำนานกับนิยายปรัมปราเสียด้วยซ้ำ จึงไม่เคยมีการพิสูจน์เกี่ยวกับเพศมาก่อน

เรียกกันต่อๆ มาว่า “เต่า” หรือ “หรั่ว” (Rùa) แท้จริงเป็นตะพาบน้ำ หรือ “จุบหรั่ว” (Chụp rùa) ที่มีขนาดใหญ่และเป็นพันธุ์เฉพาะหายาก ซึ่งเชื่อกันว่าเหลืออยู่เป็นตัวสุดท้ายแล้วในบึงน้ำศักดิ์สิทธิ์ใจกลางกรุงฮานอยแห่งนี้

สัปดาห์ที่แล้วผู้เชี่ยวชาญได้เปิดเผยผลการตรวจพิสูจน์ดีเอ็นเอชุดแรก โดยยืนยันว่า “ปู่เต่า” เป็นคนละชนิดกับตะพาบน้ำขนาดใหญ่อีก 2 หรือ 3 ตัว ที่อยู่ในสวนสัตว์ในนครเซี่ยงไฮ้ของจีนขณะนี้ แต่ได้เก็บเงียบเรื่องเพศของเต่าศักดิ์สิทธิ์เอาไว้

เต่าศักดิ์สิทธิ์โผล่ขึ้นเหนือน้ำให้เห็นถี่ๆ ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว และถี่ยิ่งขึ้นในช่วงเดือน มี.ค.ศกนี้ เนื่องจากอาการเจ็บป่วย ซึ่งนำมาสู่การให้ความช่วยเหลือ โดยผู้เชี่ยวชาญจัดบริเวณที่อาศัยให้ใหม่ในบึงน้ำ และมีระบบฟอกน้ำเสีย

การเปิดเผยเรื่องเพศของเต่าโบราณเป็นข่าวชิ้นเล็กๆ ในสื่อต่างๆ วันพุธนี้ ซึ่งอาจจะสะท้อนให้เห็นบรรยากาศที่สาธารณชนอาจรู้สึกผิดหวัง และ อาจจะต้องมีการบอกเล่าหรือขยายความตำนานแห่งบึงฮว่านเกี๊ยม
กำลังโหลดความคิดเห็น