xs
xsm
sm
md
lg

หม่องเพี้ยนหนักห้ามชาวบ้านบริจาคช่วยชาวบ้าน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#660099> ชาวกรุงย่างกุ้งซึ่งถือเป็นเขตภัยพิบัติไปลงประชามติเมื่อวันเสาร์ บางหน่วยลงคะแนนมีการแจกใบปลิวของทางการที่สั่งให้ผู้ใจบุญเลิกบริจาคเงินกับสิ่งของไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย   (ภาพ: Reuters)  </FONT></CENTER>

ผู้จัดการออนไลน์-- ภาพถ่ายของสำนักข่าวเอเอฟพีเมื่อวันเสาร์ (24 พ.ค.) นี้แสดงให้เห็นใบปลิวของทางการที่มีข้อความ ให้ชาวพม่าผู้ใจบุญทั้งหลายเลิกให้บริจาคและหยุดช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจากพายุนาร์กิส

ใบปลิวที่มีเนื้อหาทั้งชักชวนชี้นำและห้ามปรามมิให้กระทำการดังกล่าว ออกโดยสภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐในระดับท้องถิ่น และถูกนำออกแจกจ่ายแก่ราษฎรที่คูหาลงประชามติแห่งหนึ่งในย่านรอบนอกกรุงย่างกุ้ง

ใบปลิวได้เรียกร้องให้ภาคเอกชนทั่วไปหยุดการนำอาหารไปแจกจ่ายแก่ผู้ประสบเคราะห์จากพายุนาร์กิสเมื่อวันที่ 2-3 พ.ค. แม้เวลาจะผ่านไปนาน 3 สัปดาห์แล้วแต่คนเรือนล้านก็ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือใดๆ จากรัฐบาล และองค์การระหว่างประเทศซึ่งถูกห้ามลงสู่พื้นที่

ระยะ 2 สัปดาห์มานี้ได้มีชาวกรุงย่างกุ้งกับชาวเมืองอื่นๆ ที่เริ่มฟื้นตัวจากภัยพิบัติรวมตัวกันรับบริจาคและนำเงินตลอดจนอาหารกับน้ำดื่ม เครื่องยังชีพพื้นฐาน ออกไปแจกจ่ายให้กับประชาชนผู้ประสบเคราะห์ในเขตทราบปากแม่น้ำอิรวดี ที่อยู่ห่างออกไปนับร้อยกิโลเมตร โดยไม่รอการช่วยเหลือจากรัฐบาลที่ยังไม่เคยเข้าไปถึง
<CENTER><FONT color=#660099> ผู้ไปใช้สิทธิ์คนหนึ่งโชว์แผ่นปลิวที่ออกโดยหน่วยปกครองระดับท้องถิ่นและถูกนำไปแจกจ่ายถึงคูหาลงคะแนนเมื่อวันเสาร์ (ภาพ: AFP) </FONT></CENTER>
ยังไม่ทราบสาเหตุว่าเพราะเหตุใดสภาเพื่อสันติภาพฯ ซึ่งเป็นองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จึงได้ออกใบปลิวห้ามปรามประชาชนบริจาคและช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์

นายบันคีมูน เลขาธิการสหประชาชาติกล่าวหลังจากพบหารือพล.อ.อาวุโสตานฉ่วย วันศุกร์ (23 พ.ค.) ที่ผ่านมา ระบุว่าผู้นำสูงสุดของพม่าได้ตกลงจะเปิดรับการช่วยเหลือทุกอย่างและอนุญาตให้บรรดาเจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญกู้ภัยต่างชาติเดินทางเข้าไปช่วยเหลือประชาชนในเขตภัยพิบัติได้

อย่างไรก็ตามหน่วยงานระหว่างประเทศยังคงแสดงความสงสัย เชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่งและได้แต่รอคอย ว่าพม่าจะทำเช่นนั้นจริงหรือไม่ จะให้เข้าไปที่ใดได้บ้างหรือสามารถทำอะไรได้บ้าง
<CENTER><FONT color=#660099>ดูใกล้เข้าไปก็จะเห็นเนื้อหาได้ชัดเจน แต่ยังไม่มีฝ่ายใดทราบว่า ทางการมีเหตุผลอะไร จึงต้องห้ามประชาชนไปช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบเคราะห์ และทำไมต้องรณรงค์เรื่องนี้ถึงคูหาลงประชามติ (ภาพ: AFP) </FONT> </CENTER>
วันเสาร์นี้ทางการได้จัดให้ประชาชนในเขตประสบภัยพิบัติลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ หลังจากประชาชนส่วนใหญ่ทั่วประเทศที่ไม่ได้อยู่ในเขตภัยพิบัติได้ลงไปแล้ว ตามกำหนดในวันเสาร์ที่ 10 พ.ค.

การลงประชามติมีขึ้นท่ามกลางเสียงประณามจากนานาประเทศ ที่กล่าวว่ารัฐบาลทหารพม่าควรจะเร่งให้การช่วยเหลือแก่ประชาชนมากกว่าการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งฝ่ายทหารจัดร่างขึ้นมาเองโดยไม่มีฝ่ายค้านเข้าร่วมด้วย

รัฐบาลทหารประกาศว่าผลการลงประชามติคราวที่แล้ว ผู้ใช้สิทธิ์ถึง 92% ได้ให้การรับรอง ท่ามกลางเสียงกล่าวหาอย่างหนาหูว่าฝ่ายทหารเกณฑ์ราษฎรไป และกำชับให้รับร่างรัฐธรรมนูญ
<CENTER><FONT color=#660099> ภาพถ่ายวันที่ 22 พ.ค.2551 วันที่เลขาธิการสหประชาชาติเดินทางไปที่นั่น พื้นที่ส่วนใหญ่บริเวณที่ราบปากแม่น้ำอิรวดียังจมน้ำ แล้วชาวบ้านจะไปลงประชามติกันอย่างไรเมื่อวันเสาร์นี้ (ภาพ: Reuters) </FONT> </CENTER>
สำนักข่าวของต่างประเทศรายงานว่า หน่วยที่เปิดให้ประชาชนไปใช้สิทธิ์หลายหน่วยได้ขยายเวลาเปิดทำการไปหลายชั่วโมงเพื่อรอประชาชนที่ถูกเกณฑ์ให้ไปลงคะแนน

เวลาผ่านไปอีกกว่า 24 ชั่วโมงนับตั้งแต่เลขาธิการสหประชาชาติ ได้รับคำมั่นจาก พล.อ.ต่านฉ่วย ก็ยังไม่มีการประกาศจากคณะปกครองทหารว่า จะเปิดรับเจ้าหน้ากู้ภัยได้วันใด และเจ้าหน้าที่องค์การระหว่างประเทศจะเข้าไปปฏิบัติงานในเขตภัยพิบัติได้เมื่อไร

เจ้าหน้าที่องค์การสหประชาชาติไม่ว่าจะเป็น โครงการอาหารโลก แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่สหพันธ์สภากาชาดสากลและสภาเสี้ยววงเดือนแดงนานาชาติ รวมนับร้อยๆ คนต่างรอวีซ่าเข้าพม่ามาตั้งแต่วันที่ไซโคลนนาร์กิสพัดถล่ม
<CENTER><FONT color=#660099> ภาพถ่ายวันที่ 23 พ.ค.2551 ชาวบ้านที่หมู่บ้านกะยาดอง (Kayadaung) ในเขตเมืองกันเส็ก (Kanseik) ซึ่งอยู่ห่างไกลในเขตที่ราบอิรวดี เข้าถึงได้โดยทางเรือเพียงอย่างเดียว ยังไม่เคยได้รับความช่วยเหลือใดๆ จากฝ่ายใดทั้งสิ้น ตลอด 3 สัปดาห์ผ่านมา แล้วคนเหล่านี้ไปลงประชามติได้อย่างไรเมื่อวันเสาร์นี้ (ภาพ: AFP)  </FONT></CENTER>
เจ้าหน้าที่โครงการอาหารโลกกล่าวว่าเมื่อวันศุกร์ว่ามีผู้ประสบเคราะห์ 2.4 ล้านคน ที่กำลังรออาหาร น้ำสะอาดกับที่พักพิง โดยที่ยังไม่เคยได้รับการช่วยเหลือใดๆ จากภายนอก

องค์การ Save the Children จากอังกฤษ ซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดาหน่วยงานระหว่างประเทศไม่กี่แห่งที่ได้รับอนุญาตให้เข้าปฏิบัติงานประจำในพม่ากล่าวว่า อาจจะมีเด็กอ่อนที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์วันที่ 2-3 พ.ค. เสียชีวิตไปแล้วนับพันๆ คนในช่วง 3 สัปดาห์มานี้ เพราะขาดอาหาร.
กำลังโหลดความคิดเห็น