#61607;สถานการณ์ภัยแล้งในฤดูกาลปี 2563 (มกราคม-เมษายน 2563) ได้เกิดขึ้นเร็วกว่าปีก่อน และส่อเค้าความรุนแรง ยาวนานมากขึ้น จากปริมาณน้ำในเขื่อนที่ลดลงร้อยละ 33.1 (YoY) ซึ่งเป็นการลดลงในแทบทุกภาคของประเทศ และยังเป็นระดับน้ำที่วิกฤติกว่าปี 2558 ที่เกิดภัยแล้งรุนแรงอีกด้วย #61607;ข้าว มันสำปะหลัง และอ้อย เป็นพืชฤดูแล้งที่ได้รับผลกระทบจากผลผลิตเสียหายหนักที่สุด ซึ่งอาจช่วยผลักดันราคาพืชฤดูแล้งกลุ่มนี้ให้ปรับตัวขึ้นได้ในระยะสั้น แต่ด้วยแรงฉุดด้านผลผลิตที่ลดลง จะเป็นปัจจัยฉุดรายได้เกษตรกรในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2563 ให้หดตัวอยู่ในกรอบร้อยละ 0.5-1.0 (YoY) ซึ่งนอกจากภัยแล้งจะกระทบต่อภาคการผลิตในประเทศแล้ว ยังส่งผลต่อเนื่องถึงภาคการส่งออกที่อาจขาดแคลนผลผลิตเพื่อการส่งออก ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงที่ความต้องการในตลาดโลกชะลอตัวลง #61607;ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ผลกระทบในเบื้องต้นของสถานการณ์ภัยแล้งในปี 2563 อาจทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจราว 17,000-19,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นราวร้อยละ 0.10-0.11 ของ GDP ทั้งนี้ ยังต้องติดตามระดับความรุนแรงของภัยแล้งโดยเฉพาะในเดือนมีนาคม-เมษายน และระยะเวลาการเกิดภัยแล้งที่อาจลากยาวไปในช่วงแล้งนอกฤดูกาล จนไปกระทบต่อภาพรวมความสูญเสียทางเศรษฐกิจทั้งปีนี้ให้อยู่ในภาวะวิกฤติมากขึ้น รายละเอียด...
ภัยแล้งปี 2563 ส่อวิกฤติ คาดเสียหายราว 17,000-19,000 ล้านบาท
เผยแพร่: โดย: ผู้จัดการออนไลน์
กำลังโหลดความคิดเห็น