xs
xsm
sm
md
lg

ปี 2020 กำลังทำลายสถิติโลกร้อนที่สุด นักวิทยาศาสตร์เตือน! ภาวะโลกร้อน คือหายนะอันดับต่อไปของมนุษยชาติ

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ดินแดนอาร์กติก ในปีนี้อาจจะเห็นอุณหภูมิสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ( เครดิตภาพ: Alamy)
นักวิทยาศาสตร์ทำนายว่ามีโอกาสถึง 50-75% ว่าในปี 2020 จะทำลายสถิติเป็นปีที่ร้อนที่สุด ถึงแม้ว่าการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาทำให้ท้องฟ้าสะอาด แทบจะปราศจากมลพิษ อันเนื่องมาจากการล็อกดาวน์ ( Lockdown) ในหลายประเทศทั่วโลก แต่นั่นยังไม่ได้ช่วยอุณหภูมิโลกลดลง


ถึงแม้ว่าก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นใหม่ หรือ New Emission จะลดลง แต่ค่าความเข้มข้นสะสมยังสูงอยู่ ซึ่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจำเป็นจะต้องใช้แผนการระยะยาว และต้องการนโยบายเร่งด่วนจากรัฐบาลของหลายๆ ประเทศในโลกใบนี้เช่นเดียวกับมาตรการลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา


ก่อนหน้านี้คลื่นความร้อนที่ Antarctic ขั้วโลกใต้ , Greenland ขั้วโลกเหนือ เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา สร้างความประหลาดใจให้แก่นักวิทยาศาสตร์ เพราะปีนี้เป็นปีที่ปราศจากเอลนิโน (El Niño) และปรากฏการณ์นี้มักเกิดด้วยกัน จึงทำให้เดือนมกราคมที่ผ่านมาเป็นเดือนมกราคมที่ร้อนที่สุด และประเทศในแถบ Arctic ขั้วโลกเหนือหลายประเทศพบกับปรากฏการณ์ไร้หิมะ ในขณะที่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ขั้วโลกใต้วัดอุณหภูมิได้สูงถึง 20 องศาเซลเซียส เป็นครั้งแรก และเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ดินแดนกรีนแลนด์ (Greenland) ที่ขั้วโลกเหนือ ก็สามารถวัดอุณหภูมิได้ถึง 6 องศาเซลเซียส

สกีรีสอร์ท ในกรานาดา ประเทศสเปน ถูกบังคับให้ใช้ปืนหิมะเทียมเนื่องจากขาดหิมะในฤดูหนาวนี้ (เครดิตภาพ: Carlos L Vives / Alamy)
องค์กร US Ntional Oceanic and Atmospheric Administration คำนวณถึงโอกาสในปี 2020 จะกลายเป็นปีที่อากาศร้อนที่สุด สูงถึง 75% และมีความน่าจะเป็น 99.9% ที่ 2020 จะเป็นหนึ่งในท็อป 5 ของปีที่ร้อนที่สุด ในขณะที่สถาบันอื่นคำนวณความน่าจะเป็นแตกต่างออกไป The Met Office คำนวณไว้ที่ 50% ,NASA คำนวณไว้ที่ 60%


ในปีนี้ เวลาผ่านไปเพียง 1 ใน 3 ของปี แต่อุณหภูมิของยุโรปและเอเชีย กลับสูงกว่าค่าเฉลี่ยถึง 3 องศาเซลเซียส และเมื่อเร็วๆ นี้ สหรัฐอเมริกาก็ประสบกับคลื่นความร้อนเช่นกัน ในตัวเมือง Los Angeles วัดได้สูงถึง 34 เซนเซียส เช่นเดียวกับที่สหราชอาณาจักร เมื่อเดือนเมษายนนี้ ก็วัดอุณหภูมิได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยถึง 3 องศาเซลเซียส


Karsten Hausten นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศกล่าวว่า อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเทียบกับยุค preindustrial กำลังขยับเข้าใกล้ 1.2 องศาเซนเซียส (ระดับที่ปลอดภัยคือ 1.5 องศาเซนเซียส) โดยจากฐานข้อมูลของเขา ขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 1.14 องศาเซนเซียส


“แม้ว่าปีนี้ สถานการณ์ไวรัสโคโรนา ทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยเพิ่มขึ้นใหม่สู่บรรยากาศจะลดลงบ้าง แต่ค่าความเข้มข้นที่สะสมในชั้นบรรยากาศยังไม่มีแนวโน้มลดลงเลย บทเรียนจากไวรัสโคโรนาครั้งนี้ เราควรจะพิจารณาการใช้พลังงานหรือการคมนาคมขนส่งที่ sustainable และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยใช้มาตรการที่เข้มงวดผ่านทางภาษี, carbon prices เป็นต้น”


Grahame Madge จาก Met Office กล่าวว่า “รัฐบาลและประชาชนต้องหันมาเชื่อใจและรับฟังข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ผลักดันให้เกิดการเคลื่อนไหวอย่างจริงจัง เพื่อต่อสู้กับหายนะอันดับต่อไปของมนุษยชาติ คือ ภาวะโลกร้อน”


หลายคนอาจไม่รู้ว่า โลกควรควบคุมอุณหภูมิไม่ให้เพิ่มสูงเกิน 1.5 องศาเซนเซียส (จากงานวิจัยของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ IPCC ) มิเช่นนั้นระบบนิเวศ และสภาพอากาศจะเสียหายถาวร ภายในปี 2050 และจะมีประชากรจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศแปรปรวน ภัยธรรมชาติ ภาวะแห้งแล้ง ขาดแคลนอาหาร และต้องย้ายที่อยู่จากสภาพอากาศที่ร้อนเกินไปที่จะอยู่อาศัย รวมถึงน้ำทะเลที่หนุนสูงจนอยู่ไม่ได้ (และประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศเหล่านั้น)

ข้อมูลอ้างอิง : เพจเฟ๊ซบุ๊ก Too Young to Diehttps://www.theguardian.com/…/meteorologists-say-2020-on-co…https://www.thesun.co.uk/…/2020-predicted-hottest-year-sin…/https://www.globalwarmingindex.org

ล็อกดาวน์ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เหตุจากไวรัสโคโรนา ทำให้สถานที่สำคัญว่างเปล่า เงียบสงบ (เครดิตภาพ : Andy Parsons)


กำลังโหลดความคิดเห็น