บทบาทธุรกิจที่ส่งเสริมการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนในบริบทใหม่ โดยผ่านการสนับสนุน “กิจการเพื่อสังคม” หรือ Social Enterprise (SE) เป็นกระแสโลกที่กำลังส่งแรงกระเพื่อมเข้ามาในเมืองไทย
น่ายินดีที่รัฐบาลในยุคนี้ขานรับและออกมาตรการให้ในสิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ภาคธุรกิจที่ไปลงทุนหรือให้เงินสนับสนุนแก่กิจการ SE ที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า “วิสาหกิจเพื่อสังคม”
มีตัวอย่างที่น่าสนใจคือ “โครงการพลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม” หรือ Banpu Champions for Change ที่ทำต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 โดยบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ธุรกิจชั้นนำด้านพลังงานระดับเอเชียร่วมกับสถาบัน Change Fusion องค์กรไม่แสวงผลกำไรที่ร่วมกัน ปลุกปั้นผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคม (Social Entrepreneur) ในเมืองไทย
ได้มีการคัดเลือกและประกาศผล 5 กิจการดีเด่นปีนี้ และมอบทุนสนับสนุนกิจการละ 200,000 บาท เพื่อนำไปต่อยอดการทำธุรกิจให้ได้ผลกำไร และแก้ปัญหาสังคมอย่างยั่งยืน
ความโดดเด่นของกิจการที่ได้รางวัลในปีนี้คือ การตั้งโจทย์และหยิบยกปัญหาใกล้ตัวในชีวิตประจำวันแต่ถูกมองข้าม อาทิ ความเครียด สุขภาพจิต สุขภาพกายและสิ่งแวดล้อม มาดำเนินกิจการที่จะช่วยแก้ปัญหาในหลากหลายมิติ
อุดมลักษณ์ โอฬาร ผู้อำนวยการสายอาวุโส-องค์กรสัมพันธ์ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “จุดเริ่มต้นของโครงการนี้ เพื่อส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่เรียนรู้การทำกิจการเพื่อสังคมและลงมือทำจริง โดยนำความคิดสร้างสรรค์มาพัฒนาเป็นแผนที่สามารถสร้างผลกำไร และตอบโจทย์ความต้องการทางสังคม เราเชื่อว่าการลองผิดลองถูกทำให้เกิดความรู้และประสบการณ์ตรงที่สามารถนำไปสู่การสร้างผลกระทบดีต่อสังคมได้”
หลังจากเปิดรับสมัครผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคมรุ่นใหม่ อายุระหว่าง 20 - 35 ปี ให้ส่งแผนเข้าร่วม
โครงการฯ ตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา มีการจัดเวิร์กชอปเบื้องต้น และคัดเลือก 10 กิจการให้ได้รับทุนกิจการละ 50,000 บาท นำไปดำเนินกิจการจริงในระยะแรก พร้อมจัดเวิร์กชอปเพิ่มเติมด้านธุรกิจการตลาด การวางแผนการเงิน และการพัฒนาสังคม เชิญกูรูในแวดวงที่เกี่ยวข้องมาให้ความรู้และชี้แนะแนวทางพัฒนาไอเดียที่ดี ไปสู่การดำเนินกิจการที่สร้างรายได้และทำประโยชน์เพื่อสังคมด้วย
จากนั้นก็คัดเลือก 5 กิจการที่มีความโดดเด่นด้านแนวคิด แผนธุรกิจและมีผลคืบหน้ามากที่สุด เพื่อรับทุนสนับสนุนต่อเนื่องกิจการละ 200,000 บาท ได้แก่
1.TP Packaging Solutions - ผู้จัดจำหน่ายภาชนะทางเลือกที่ไม่ก่อให้เกิดขยะและปลอดภัยต่อสุขภาพเพื่อทดแทนโฟม มุ่งแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
2.Relationflip - เว็บไซต์รวบรวมนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้คำปรึกษาแก่ผู้มีปัญหาด้านสุขภาพจิต ผ่านระบบออนไลน์ มุ่งแก้ปัญหาสุขภาพจิต
3.We Listen แพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับผู้ที่มีความเครียด เพื่อระบายความในใจและปัญหาให้กับอาสาสมัครที่ผ่านการอบรมให้มีความพร้อมรับฟังปัญหา มุ่งแก้ปัญหาโรคซึมเศร้า
4.Yellow Hello - ผู้ผลิตเครื่องดื่ม ขนม และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกากถั่วเหลืองครบวงจร อาทิ อาหารสัตว์และปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อไม่ก่อให้เกิดขยะ มุ่งแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
5.The Guidelight - ออดิโอบุ๊กสำหรับผู้พิการทางสายตา เพื่อเพิ่มโอกาสเข้าถึงการศึกษา พัฒนาตนเอง และประกอบอาชีพ มุ่งส่งเสริมความเท่าเทียมในสังคมของผู้พิการ
สุนิตย์ เชรษฐา ผู้อำนวยการสถาบัน Change Fusion กล่าวว่า “ปัจจุบันคนไทยรุ่นใหม่เข้าสู่วงการกิจการเพื่อสังคมมากยิ่งขึ้น นับเป็นเทรนด์ที่น่าสนใจ เพราะคนกลุ่มนี้มีไอเดียและมุมมองใหม่ๆ ในการหยิบยกปัญหาสังคมใกล้ตัวมาพัฒนาในเชิงธุรกิจและสังคมอย่างสร้างสรรค์”
“โครงการนี้ ทำให้เห็นแนวโน้มที่ดี คือ จำนวนกิจการเพื่อสังคมที่เติบโตต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันมี 29 กิจการ จากจำนวนทั้งหมดที่ได้รับการสนับสนุน 52 กิจการ ซึ่งนอกจากสร้างผลกำไรทางธุรกิจแล้ว ยังทำประโยชน์ให้แก่ชุมชน 50 แห่ง และประชาชนกว่า 120,000 คน บางกิจการสามารถต่อยอดได้ในระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นความมุ่งหวังสูงสุดของทั้งบ้านปูฯ และ Change Fusion”
ข้อคิด...
ผมได้มีโอกาสสนทนากับณัฐพงษ์ จารุวรรณพงศ์ กูรูด้าน Social Enterprise ทำให้เห็นภาพชัดขึ้นหลังจากเมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลได้ออกพระราชกฤษฎีกา ให้สิทธิทางภาษีกับนักลงทุนทางสังคมและ SE ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและมีคำว่า “วิสาหกิจเพื่อสังคม” ในชื่อของกิจการ
การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีของวิสาหกิจเพื่อสังคม มีสาระหลัก 2 ประการ คือ
1.จูงใจให้นักลงทุนทางสังคม และภาคเอกชน ที่เคยมีกิจกรรมทางสังคมในรูปแบบบริจาคที่ให้แล้วหมดไป หันมาสู่การลงทุนทางสังคมกับกิจการเพื่อสังคมซึ่งจะยั่งยืนกว่า โดยนักลงทุนสามารถนำเงินลงทุนไปหักลดหย่อนทางภาษีได้ 100% และยังมีโอกาสจะได้รับเงินต้นคืนอีกด้วย
2.กิจการเพื่อสังคมที่ได้รับการรับรองและไม่มีนโยบายปันผล ก็จะได้รับการยกเว้นภาษีนิติบุคคลก็เป็นการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
มาตรการนี้น่าจะช่วยทำให้การลงทุนทางสังคม เช่น เงินบริจาค งบ CSR ภาคเอกชน ที่รวมแล้วมีมากกว่า แสนล้านบาทต่อปี เกิดทางเลือกที่มีโอกาสในการสร้างผลกระทบทางสังคมเชิงบวกได้มากกว่ารูปแบบเดิมๆ ในอดีต
suwatmgr@gmail.com
น่ายินดีที่รัฐบาลในยุคนี้ขานรับและออกมาตรการให้ในสิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ภาคธุรกิจที่ไปลงทุนหรือให้เงินสนับสนุนแก่กิจการ SE ที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า “วิสาหกิจเพื่อสังคม”
มีตัวอย่างที่น่าสนใจคือ “โครงการพลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม” หรือ Banpu Champions for Change ที่ทำต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 โดยบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ธุรกิจชั้นนำด้านพลังงานระดับเอเชียร่วมกับสถาบัน Change Fusion องค์กรไม่แสวงผลกำไรที่ร่วมกัน ปลุกปั้นผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคม (Social Entrepreneur) ในเมืองไทย
ได้มีการคัดเลือกและประกาศผล 5 กิจการดีเด่นปีนี้ และมอบทุนสนับสนุนกิจการละ 200,000 บาท เพื่อนำไปต่อยอดการทำธุรกิจให้ได้ผลกำไร และแก้ปัญหาสังคมอย่างยั่งยืน
ความโดดเด่นของกิจการที่ได้รางวัลในปีนี้คือ การตั้งโจทย์และหยิบยกปัญหาใกล้ตัวในชีวิตประจำวันแต่ถูกมองข้าม อาทิ ความเครียด สุขภาพจิต สุขภาพกายและสิ่งแวดล้อม มาดำเนินกิจการที่จะช่วยแก้ปัญหาในหลากหลายมิติ
อุดมลักษณ์ โอฬาร ผู้อำนวยการสายอาวุโส-องค์กรสัมพันธ์ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “จุดเริ่มต้นของโครงการนี้ เพื่อส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่เรียนรู้การทำกิจการเพื่อสังคมและลงมือทำจริง โดยนำความคิดสร้างสรรค์มาพัฒนาเป็นแผนที่สามารถสร้างผลกำไร และตอบโจทย์ความต้องการทางสังคม เราเชื่อว่าการลองผิดลองถูกทำให้เกิดความรู้และประสบการณ์ตรงที่สามารถนำไปสู่การสร้างผลกระทบดีต่อสังคมได้”
หลังจากเปิดรับสมัครผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคมรุ่นใหม่ อายุระหว่าง 20 - 35 ปี ให้ส่งแผนเข้าร่วม
โครงการฯ ตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา มีการจัดเวิร์กชอปเบื้องต้น และคัดเลือก 10 กิจการให้ได้รับทุนกิจการละ 50,000 บาท นำไปดำเนินกิจการจริงในระยะแรก พร้อมจัดเวิร์กชอปเพิ่มเติมด้านธุรกิจการตลาด การวางแผนการเงิน และการพัฒนาสังคม เชิญกูรูในแวดวงที่เกี่ยวข้องมาให้ความรู้และชี้แนะแนวทางพัฒนาไอเดียที่ดี ไปสู่การดำเนินกิจการที่สร้างรายได้และทำประโยชน์เพื่อสังคมด้วย
จากนั้นก็คัดเลือก 5 กิจการที่มีความโดดเด่นด้านแนวคิด แผนธุรกิจและมีผลคืบหน้ามากที่สุด เพื่อรับทุนสนับสนุนต่อเนื่องกิจการละ 200,000 บาท ได้แก่
1.TP Packaging Solutions - ผู้จัดจำหน่ายภาชนะทางเลือกที่ไม่ก่อให้เกิดขยะและปลอดภัยต่อสุขภาพเพื่อทดแทนโฟม มุ่งแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
2.Relationflip - เว็บไซต์รวบรวมนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้คำปรึกษาแก่ผู้มีปัญหาด้านสุขภาพจิต ผ่านระบบออนไลน์ มุ่งแก้ปัญหาสุขภาพจิต
3.We Listen แพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับผู้ที่มีความเครียด เพื่อระบายความในใจและปัญหาให้กับอาสาสมัครที่ผ่านการอบรมให้มีความพร้อมรับฟังปัญหา มุ่งแก้ปัญหาโรคซึมเศร้า
4.Yellow Hello - ผู้ผลิตเครื่องดื่ม ขนม และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกากถั่วเหลืองครบวงจร อาทิ อาหารสัตว์และปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อไม่ก่อให้เกิดขยะ มุ่งแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
5.The Guidelight - ออดิโอบุ๊กสำหรับผู้พิการทางสายตา เพื่อเพิ่มโอกาสเข้าถึงการศึกษา พัฒนาตนเอง และประกอบอาชีพ มุ่งส่งเสริมความเท่าเทียมในสังคมของผู้พิการ
สุนิตย์ เชรษฐา ผู้อำนวยการสถาบัน Change Fusion กล่าวว่า “ปัจจุบันคนไทยรุ่นใหม่เข้าสู่วงการกิจการเพื่อสังคมมากยิ่งขึ้น นับเป็นเทรนด์ที่น่าสนใจ เพราะคนกลุ่มนี้มีไอเดียและมุมมองใหม่ๆ ในการหยิบยกปัญหาสังคมใกล้ตัวมาพัฒนาในเชิงธุรกิจและสังคมอย่างสร้างสรรค์”
“โครงการนี้ ทำให้เห็นแนวโน้มที่ดี คือ จำนวนกิจการเพื่อสังคมที่เติบโตต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันมี 29 กิจการ จากจำนวนทั้งหมดที่ได้รับการสนับสนุน 52 กิจการ ซึ่งนอกจากสร้างผลกำไรทางธุรกิจแล้ว ยังทำประโยชน์ให้แก่ชุมชน 50 แห่ง และประชาชนกว่า 120,000 คน บางกิจการสามารถต่อยอดได้ในระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นความมุ่งหวังสูงสุดของทั้งบ้านปูฯ และ Change Fusion”
ข้อคิด...
ผมได้มีโอกาสสนทนากับณัฐพงษ์ จารุวรรณพงศ์ กูรูด้าน Social Enterprise ทำให้เห็นภาพชัดขึ้นหลังจากเมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลได้ออกพระราชกฤษฎีกา ให้สิทธิทางภาษีกับนักลงทุนทางสังคมและ SE ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและมีคำว่า “วิสาหกิจเพื่อสังคม” ในชื่อของกิจการ
การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีของวิสาหกิจเพื่อสังคม มีสาระหลัก 2 ประการ คือ
1.จูงใจให้นักลงทุนทางสังคม และภาคเอกชน ที่เคยมีกิจกรรมทางสังคมในรูปแบบบริจาคที่ให้แล้วหมดไป หันมาสู่การลงทุนทางสังคมกับกิจการเพื่อสังคมซึ่งจะยั่งยืนกว่า โดยนักลงทุนสามารถนำเงินลงทุนไปหักลดหย่อนทางภาษีได้ 100% และยังมีโอกาสจะได้รับเงินต้นคืนอีกด้วย
2.กิจการเพื่อสังคมที่ได้รับการรับรองและไม่มีนโยบายปันผล ก็จะได้รับการยกเว้นภาษีนิติบุคคลก็เป็นการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
มาตรการนี้น่าจะช่วยทำให้การลงทุนทางสังคม เช่น เงินบริจาค งบ CSR ภาคเอกชน ที่รวมแล้วมีมากกว่า แสนล้านบาทต่อปี เกิดทางเลือกที่มีโอกาสในการสร้างผลกระทบทางสังคมเชิงบวกได้มากกว่ารูปแบบเดิมๆ ในอดีต
suwatmgr@gmail.com