เป็นที่รับรู้กันแล้วว่า ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ภาวะ “สังคมสูงอายุ” เพราะตั้งแต่ปี 2548 มีประชากรสูงวัยแตะ 10% และ10ปีต่อมาก็ขยับเป็น 15% แล้ว
ข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติยืนยันว่าอีก 5 ปีจากนี้ไปคือ พ.ศ. 2564 ประเทศเราจะเป็น “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” (Complete Aged Society) คือจะมีประชากรร้อยละ 20 เป็นผู้สูงวัย (อายุ 60 ปีขึ้นไป) เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่มีส.ว.ประมาณ 10.42 ล้านคน หรือ 15.6% ของประชากรทั้งหมด
ถ้ายังเป็นเช่นนี้ต่อไป อีก 10 ปี คือ พ.ศ.2574 เมื่อประชากรไทยมีผู้สูงอายุถึง 28% ก็จะเรียกซะโก้ว่า “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” (Super Aged Society)
ทั้งนี้เพราะอัตราเด็กเกิดใหม่น้อยลง และผู้คนอายุยืนขึ้น
ผศ.ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์ และ ศ.ปราโมทย์ ประสาทกุล แห่งสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้นำเสนอผลการศึกษาและระบุว่าปี 2565 จำนวนประชากรของไทยจะถึงจุดอิ่มตัว คืออัตราการเกิดใกล้เคียงกับอัตราการตาย ดังนั้น อัตราการเพิ่มประชากรจะใกล้เลขศูนย์
เมื่อพิจารณาจาก “อัตราส่วนเกื้อหนุนผู้สูงอายุ” (Potential Support Ratio) จะเห็นว่าเมื่อ 40 ปีก่อน คนวัยทำงาน (อายุ 15-59 ปี) 12 คน ช่วยดูแลเกื้อหนุนผู้สูงอายุ 1 คน แต่อัตราส่วนนี้ได้ลดลงต่อเนื่อง
อย่างปี 2557 อัตราส่วนคนวัยทำงาน 4.3 คนต่อผู้สูงอายุ 1 คน และอัตราส่วนจะลดลงเหลือคนวัยทำงาน 2 คน ช่วยเกื้อหนุนผู้สูงอายุ 1 คน ในอีก 30 ปีข้างหน้า
ปรากฏการณ์เช่นนี้ จึงสอดคล้องกับข่าวดีที่สถาบันไทยพัฒน์ร่วมมือกับกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เชิญชวนองค์กรที่สนใจ เข้าเป็นเครือข่ายธุรกิจที่ดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ และสนับสนุนการจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) เพื่อเตรียมพร้อมรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย
สถาบันไทยพัฒน์ได้แนะแนวทางการพัฒนาระบบคิดทางธุรกิจให้มีมิติ “ธุรกิจที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ” หรือ “Age-Friendly Business” เช่นจัดอาชีพหรือตำแหน่งงานที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ หรือพัฒนาสินค้าและบริการที่เหมาะกับผู้สูงอายุ เป็นการใช้กระบวนการทางธุรกิจให้มีบทบาทความรับผิดชอบต่อสัมคม (CSR-in-process)
อาจเป็นการพัฒนาธุรกิจใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้สูงอายุเป็นการเฉพาะ การส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมที่ก่อตั้งโดยพนักงานที่เกษียณอายุ หรืออาจแปลงสภาพชมรมผู้สูงอายุในสังกัดของหน่วยงานให้กลายเป็นกิจการที่เลี้ยงตัวเองได้ ในลักษณะที่เป็น Social Enterprise ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้แสดงศักยภาพ ภูมิปัญญา การใช้ความรู้และประสบการณ์ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม รวมทั้งสามารถสร้างอาชีพและรายได้ที่ต่อเนื่องหลังเกษียณอายุ
ในขณะเดียวกัน กรมสรรพากรเตรียมออกประกาศให้สิทธิพิเศษแก่กิจการที่จ้างงานผู้สูงอายุสามารถนำรายจ่ายไปหักภาษีได้ 2 เท่า
การดำเนินงานออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่หนึ่ง : เป็นการสำรวจความคิดเห็น และสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อศึกษาและประมวลรูปแบบ แนวคิด แนวทาง ทิศทางในการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ในกระบวนการทำงานหลักของกิจการ (CSR-in-process) หรือจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) สำหรับผู้สูงอายุ
มีการจัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) ประมาณ 30 องค์กรที่เข้าร่วมกิจกรรมเมื่อวันที่ 23 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยมี 14 กิจการธุรกิจที่ประกาศตัวร่วมมือโครงการนี้ ได้แก่
•ธนาคาร กรุงไทย จำกัด (มหาชน)
•บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
•บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
•บริษัท ทีวี ไดเร็ค จำกัด (มหาชน)
•บริษัท ไทยออพติคอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
•บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)
•บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
•บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน)
•บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)
•บริษัท พีทูวี กรุ๊ป จำกัด
•บริษัท เพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
•บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน)
•บริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)
•บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
ระยะที่สอง : การรับฟังความคิดเห็นต่อผลการศึกษา รูปแบบ และยกร่างแนวทางในการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ในกระบวนการทำงานหลักของกิจการ (CSR-in-process) หรือวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) สำหรับผู้สูงอายุ ด้วยการจัดประชุมสัมมนา (Seminar) ในวันที่ 28 กรกฎาคมนี้
ระยะที่สาม : การขับเคลื่อนการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ในกระบวนการทำงานหลักของกิจการ (CSR-in-process) หรือวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) สำหรับผู้สูงอายุ ด้วยการนำร่ององค์กรที่มีความพร้อม การเผยแพร่กรณีตัวอย่าง และผลักดันเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายนำเสนอต่อคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ
ข้อคิด...
โครงการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุที่ว่านี้จึงเป็นการส่งเสริมให้เกิดการริเริ่ม นำร่องการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ในกระบวนการทำงานหลักของกิจการ (CSR-in-process) หรือสนับสนุนให้เกิดกิจการวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) สำหรับผู้สูงอายุอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งส่งเสริมให้องค์กรที่มีรูปแบบดำเนินงานในเชิงธุรกิจแต่มีเป้าหมายเพื่อสังคม เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุที่เหมาะสมตามศักยภาพ
ปรากฏการณ์นี้จึงเป็นการสนับสนุนผู้สูงอายุที่ยังทำงานได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ดังนั้นบทบาท “การดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ” ในมิติใหม่จึงไม่ใช่การทำ CSR ในเชิงสังคมสงเคราะห์ แต่เป็นการช่วยเหลือด้วยกระบวนการธุรกิจ ที่ได้ทั้งประโยชน์และผลงานจากผู้มีประสบการณ์สั่งสม ขณะเดียวกันก็ได้ภาพลักษณ์ในการสนับสนุนผู้สูงอายุ
แต่เนื่องจากเป็น “ความสมัครใจ” ที่ธุรกิจการค้าหรืออุตสาหกรรมย่อมต้องพิจารณาเรื่องความสามารถในการทำงานและสมรรถภาพของร่างกาย เพราะมิใช่การช่วยเหลือแบบทำการกุสลเชิงบริจาคซึ่งไม่ยั่งยืน
กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งได้จังหวะทำโครงการเชิงรุกทั้งผู้สูงอายุและผู้พิการ จึงควรส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพและมีแนวปฏิบัติที่เอื้อต่อการจ้างงานและสนับสนุนด้วยเงื่อนไขจูงใจ ดังเช่นกรมสรรพากรจะออกประกาศให้สิทธิทางภาษีได้ 2 เท่า
แต่ถ้าบริษัทใดสนับสนุนการก่อตั้ง “วิสาหกิจเพื่อสังคม” หรือ Social Enterprise เงินที่ไปถือหุ้นด้วย หรือให้เป็นเงินบริจาคก็ยังสามารถนำไปหักภาษีได้อีกด้วย
การเข้าสู่ยุคสังคมผู้สูงวัยเต็มที่เช่นนี้ เราเริ่มเห็นความพยายามดีๆ ทั้งด้านอุปทาน หรือ Supply Side คือการสนับสนุนการจ้างงาน หรือการจัดซื้อจัดจ้างผู้สูงวัยผลิตสินค้าและบริการ ขณะที่ด้านอุปสงค์ หรือ Demand Side ในความต้องการของกินของใช้จากผู้สูงวัย ซึ่งจะเป็นโอกาสทางการตลาดที่ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ
ผู้สูงวัยส่วนใหญ่จึงมิใช่เป็น “ภาระสังคม” เสมอไปถ้ามีการวางแผนจัดการดีๆ ก็จะมีส่วนช่วยในมิติการเพิ่ม “ผลิตภาพ” หรือ Productivity ที่ดีด้วย
suwatmgr@gmail.com
ข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติยืนยันว่าอีก 5 ปีจากนี้ไปคือ พ.ศ. 2564 ประเทศเราจะเป็น “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” (Complete Aged Society) คือจะมีประชากรร้อยละ 20 เป็นผู้สูงวัย (อายุ 60 ปีขึ้นไป) เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่มีส.ว.ประมาณ 10.42 ล้านคน หรือ 15.6% ของประชากรทั้งหมด
ถ้ายังเป็นเช่นนี้ต่อไป อีก 10 ปี คือ พ.ศ.2574 เมื่อประชากรไทยมีผู้สูงอายุถึง 28% ก็จะเรียกซะโก้ว่า “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” (Super Aged Society)
ทั้งนี้เพราะอัตราเด็กเกิดใหม่น้อยลง และผู้คนอายุยืนขึ้น
ผศ.ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์ และ ศ.ปราโมทย์ ประสาทกุล แห่งสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้นำเสนอผลการศึกษาและระบุว่าปี 2565 จำนวนประชากรของไทยจะถึงจุดอิ่มตัว คืออัตราการเกิดใกล้เคียงกับอัตราการตาย ดังนั้น อัตราการเพิ่มประชากรจะใกล้เลขศูนย์
เมื่อพิจารณาจาก “อัตราส่วนเกื้อหนุนผู้สูงอายุ” (Potential Support Ratio) จะเห็นว่าเมื่อ 40 ปีก่อน คนวัยทำงาน (อายุ 15-59 ปี) 12 คน ช่วยดูแลเกื้อหนุนผู้สูงอายุ 1 คน แต่อัตราส่วนนี้ได้ลดลงต่อเนื่อง
อย่างปี 2557 อัตราส่วนคนวัยทำงาน 4.3 คนต่อผู้สูงอายุ 1 คน และอัตราส่วนจะลดลงเหลือคนวัยทำงาน 2 คน ช่วยเกื้อหนุนผู้สูงอายุ 1 คน ในอีก 30 ปีข้างหน้า
ปรากฏการณ์เช่นนี้ จึงสอดคล้องกับข่าวดีที่สถาบันไทยพัฒน์ร่วมมือกับกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เชิญชวนองค์กรที่สนใจ เข้าเป็นเครือข่ายธุรกิจที่ดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ และสนับสนุนการจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) เพื่อเตรียมพร้อมรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย
สถาบันไทยพัฒน์ได้แนะแนวทางการพัฒนาระบบคิดทางธุรกิจให้มีมิติ “ธุรกิจที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ” หรือ “Age-Friendly Business” เช่นจัดอาชีพหรือตำแหน่งงานที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ หรือพัฒนาสินค้าและบริการที่เหมาะกับผู้สูงอายุ เป็นการใช้กระบวนการทางธุรกิจให้มีบทบาทความรับผิดชอบต่อสัมคม (CSR-in-process)
อาจเป็นการพัฒนาธุรกิจใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้สูงอายุเป็นการเฉพาะ การส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมที่ก่อตั้งโดยพนักงานที่เกษียณอายุ หรืออาจแปลงสภาพชมรมผู้สูงอายุในสังกัดของหน่วยงานให้กลายเป็นกิจการที่เลี้ยงตัวเองได้ ในลักษณะที่เป็น Social Enterprise ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้แสดงศักยภาพ ภูมิปัญญา การใช้ความรู้และประสบการณ์ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม รวมทั้งสามารถสร้างอาชีพและรายได้ที่ต่อเนื่องหลังเกษียณอายุ
ในขณะเดียวกัน กรมสรรพากรเตรียมออกประกาศให้สิทธิพิเศษแก่กิจการที่จ้างงานผู้สูงอายุสามารถนำรายจ่ายไปหักภาษีได้ 2 เท่า
การดำเนินงานออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่หนึ่ง : เป็นการสำรวจความคิดเห็น และสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อศึกษาและประมวลรูปแบบ แนวคิด แนวทาง ทิศทางในการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ในกระบวนการทำงานหลักของกิจการ (CSR-in-process) หรือจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) สำหรับผู้สูงอายุ
มีการจัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) ประมาณ 30 องค์กรที่เข้าร่วมกิจกรรมเมื่อวันที่ 23 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยมี 14 กิจการธุรกิจที่ประกาศตัวร่วมมือโครงการนี้ ได้แก่
•ธนาคาร กรุงไทย จำกัด (มหาชน)
•บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
•บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
•บริษัท ทีวี ไดเร็ค จำกัด (มหาชน)
•บริษัท ไทยออพติคอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
•บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)
•บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
•บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน)
•บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)
•บริษัท พีทูวี กรุ๊ป จำกัด
•บริษัท เพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
•บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน)
•บริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)
•บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
ระยะที่สอง : การรับฟังความคิดเห็นต่อผลการศึกษา รูปแบบ และยกร่างแนวทางในการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ในกระบวนการทำงานหลักของกิจการ (CSR-in-process) หรือวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) สำหรับผู้สูงอายุ ด้วยการจัดประชุมสัมมนา (Seminar) ในวันที่ 28 กรกฎาคมนี้
ระยะที่สาม : การขับเคลื่อนการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ในกระบวนการทำงานหลักของกิจการ (CSR-in-process) หรือวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) สำหรับผู้สูงอายุ ด้วยการนำร่ององค์กรที่มีความพร้อม การเผยแพร่กรณีตัวอย่าง และผลักดันเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายนำเสนอต่อคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ
ข้อคิด...
โครงการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุที่ว่านี้จึงเป็นการส่งเสริมให้เกิดการริเริ่ม นำร่องการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ในกระบวนการทำงานหลักของกิจการ (CSR-in-process) หรือสนับสนุนให้เกิดกิจการวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) สำหรับผู้สูงอายุอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งส่งเสริมให้องค์กรที่มีรูปแบบดำเนินงานในเชิงธุรกิจแต่มีเป้าหมายเพื่อสังคม เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุที่เหมาะสมตามศักยภาพ
ปรากฏการณ์นี้จึงเป็นการสนับสนุนผู้สูงอายุที่ยังทำงานได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ดังนั้นบทบาท “การดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ” ในมิติใหม่จึงไม่ใช่การทำ CSR ในเชิงสังคมสงเคราะห์ แต่เป็นการช่วยเหลือด้วยกระบวนการธุรกิจ ที่ได้ทั้งประโยชน์และผลงานจากผู้มีประสบการณ์สั่งสม ขณะเดียวกันก็ได้ภาพลักษณ์ในการสนับสนุนผู้สูงอายุ
แต่เนื่องจากเป็น “ความสมัครใจ” ที่ธุรกิจการค้าหรืออุตสาหกรรมย่อมต้องพิจารณาเรื่องความสามารถในการทำงานและสมรรถภาพของร่างกาย เพราะมิใช่การช่วยเหลือแบบทำการกุสลเชิงบริจาคซึ่งไม่ยั่งยืน
กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งได้จังหวะทำโครงการเชิงรุกทั้งผู้สูงอายุและผู้พิการ จึงควรส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพและมีแนวปฏิบัติที่เอื้อต่อการจ้างงานและสนับสนุนด้วยเงื่อนไขจูงใจ ดังเช่นกรมสรรพากรจะออกประกาศให้สิทธิทางภาษีได้ 2 เท่า
แต่ถ้าบริษัทใดสนับสนุนการก่อตั้ง “วิสาหกิจเพื่อสังคม” หรือ Social Enterprise เงินที่ไปถือหุ้นด้วย หรือให้เป็นเงินบริจาคก็ยังสามารถนำไปหักภาษีได้อีกด้วย
การเข้าสู่ยุคสังคมผู้สูงวัยเต็มที่เช่นนี้ เราเริ่มเห็นความพยายามดีๆ ทั้งด้านอุปทาน หรือ Supply Side คือการสนับสนุนการจ้างงาน หรือการจัดซื้อจัดจ้างผู้สูงวัยผลิตสินค้าและบริการ ขณะที่ด้านอุปสงค์ หรือ Demand Side ในความต้องการของกินของใช้จากผู้สูงวัย ซึ่งจะเป็นโอกาสทางการตลาดที่ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ
ผู้สูงวัยส่วนใหญ่จึงมิใช่เป็น “ภาระสังคม” เสมอไปถ้ามีการวางแผนจัดการดีๆ ก็จะมีส่วนช่วยในมิติการเพิ่ม “ผลิตภาพ” หรือ Productivity ที่ดีด้วย
suwatmgr@gmail.com