ช่วงประมาณ 5 ปีที่ผ่านมา กล่าวได้ว่า กระแสสังคมมีการอ้างอิงถึงแนวคิดเรื่อง “การพัฒนาที่อย่างยั่งยืน” หรือ SD (Sustainable Development) อย่างกว้างขวาง
แต่ก็มีคำถามว่าเป้าหมายความยั่งยืนนั้น เพื่อ “ใครยั่งยืน” กันแน่ !
เพราะแน่นอนว่าผู้บริหารธุรกิจ ย่อมมีหน้าที่หลักในการสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือมุ่งทำกำไร เป็นผลตอบแทนแก่เจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น
ขณะที่วงการธุรกิจที่ก้าวหน้าต่างเห็นความสำคัญและยอมรับว่า CSR เป็นหลัก “คุณธรรม” ที่สังคมคาดหวังให้มีการบริหารหรือการดำเนินกิจการที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
กิจการที่มีจิตสำนึกคุณธรรมจึงนำหลัก CSR เป็นกรอบในการกำกับดูแลกิจการที่ดี ผนึกเข้ากับนโยบายและแนวปฏิบัติทั้งกระบวนการผลิต การดำเนินธุรกรรมต่างๆ จะคำนึงถึงการสร้างคุณค่าต่อผู้มีส่วนได้เสียรอบด้าน (Stakeholder)
องค์กรที่ยึดมั่นในหลัก CSR จึงเสมือนมี “รากแก้วแห่งความดี” เป็นปัจจัยเอื้อในการสร้างคุณประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างเป็นระบบ และยังขยายเครือข่ายไปยังห่วงโซ่อุปทานให้เกิดการ “ใฝ่ดี” เพื่อการเป็นพลเมืองดีของสังคมโลก
CSR จึงเสมือนเป็นกระบวนการคู่แฝดกับ SD ที่มุ่งสู่ผลลัพธ์คือ “ความยั่งยืน” (Sustainability) เช่นเดียวกัน
ดังนั้น เมื่อกล่าวถึง “ความยั่งยืน” จึงไม่ใช่เพียงเพื่อความอยู่รอดยืนยาวหรือยั่งยืนเฉพาะตัวองค์กร ตัวอย่างดีๆ ของ “องค์กร 100 ปี” เราได้รับรู้การทุ่มเทความพยายามสร้างนวัตกรรมและความเป็นเลิศของผลประกอบการจนเติบโตก้าวหน้า
พร้อมกันนั้นก็คำนึงถึงการไม่สร้างผลกระทบและความเสียหายให้เป็นภาระสังคมและสิ่งแวดล้อม องค์กรจึงได้รับความนับถือศรัทธาจากสังคม ทำให้สินค้าและบริการเป็นที่นิยม
การพัฒนาที่ยั่งยืน (SD) นั้นมุ่งหมายถึงความยั่งยืนโดยรวมทั้งบุคคล องค์กร ชุมชน สังคมโลกและสิ่งแวดล้อม จึงคำนึงถึงผลสุดท้าย หรือผลลัพธ์ 3 มิติ (Triple Bottom Line) ได้แก่
Profit (เศรษฐกิจ) คือ ผลกำไรหรือตอบแทนทางเศรษฐกิจ
People (สังคม) คือ สังคมที่เกี่ยวข้องด้านต่างๆ
Planet (สิ่งแวดล้อม) คือ สิ่งแวดล้อม หรือโลกของเราใบนี้ที่ต้องรักษ์และห่วงใย
ท่ามกลางวิกฤติของโลกยุคปัจจุบันที่เราเห็นปรากฏการณ์และประจักษ์ในผลที่รุนแรงและกว้างขวางเหนือความคาดการณ์ในหลายพื้นที่ มีทั้งปัญหาทางเศรษฐกิจและวิกฤติทางธรรมชาติที่เกิดกับดิน (แห้งแล้ง แผ่นดินไหว) น้ำ (น้ำท่วม น้ำขาดแคลน) อากาศ (ภูมิอากาศแปรเปลี่ยน, ภาวะโลกร้อน)
เหตุการณ์เหล่านี้จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการด้วยจิตสำนึก CSR ที่ไม่เป็นเหตุปัจจัยหรือซ้ำเติมภาวะวิกฤต จึงจำเป็นต้องกำกับดูแลกิจการด้วยหลักธรรมาภิบาลหรือ CG (Good Governance) คือ มีความซื่อสัตย์สุจริต ถูกต้อง เป็นธรรม โปร่งใส และตรวจสอบได้
เป็นที่น่ายินดีว่ามีการต่อยอดแนวคิด CSR ไปสู่บริบทที่เหมาะสมกับขอบเขตการทำหน้าที่ของหลายวิชาชีพ เช่นวงการตลาดทุน นักลงทุนสถาบัน ได้เกิดความตระหนักว่า ควรมีการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible Investment) ด้วยการเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ หรือกิจการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งขณะเดียวกันจะเป็นการป้องกันความเสี่ยงจากผู้บริหารกิจการที่ขาดคุณธรรม และลดความเสี่ยงจากปฏิกิริยาของสังคมด้วย
ข้อสรุปก็คือ ในยุคปัจจุบันการให้ความสำคัญกับตัวเลขผลประกอบการนั้นไม่เพียงพอที่จะพิจารณาความยั่งยืน ดังนั้น จึงต้องใช้ตัวชี้วัดด้วยประเด็น ESG คือ สิ่งแวดล้อม (Environment)สังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance)
อย่างไรก็ตาม โลกก็ยังเต็มไปด้วยปัญหาทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่ขยายวงกว้างและทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Delvelopment Goals) หรือ SDGs ที่สมาชิก 193 ประเทศ รวมทั้งนายกรัฐมนตรีของไทยได้ร่วมให้การรับรองเป้าหมายทั้ง 17 หัวข้อ ในการนำคณะไปร่วมประชุม ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2558
เป้าหมายการพัฒนาที่ว่านี้เพื่อสร้างความสมดุล ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม นับจากนี้ไปอีก 15 ปี ซึ่งภาคส่วนต่างๆ ในประเทศไทย ทั้งภาครัฐ และธุรกิจย่อมจะต้องมีส่วนร่วมขับเคลื่อน
ปรากฏการณ์นี้จึงนับป็นปัจจัยเอื้อให้เกิดความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน และ CSR มีแง่มุมในลักษณะส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้าในหลายมิติที่ขอกล่าวถึง ดังนี้
1.ในแง่ SDGs ซึ่งมีการกำหนด 17 หัวข้อเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อสร้างความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สำหรับช่วง 15 ปี (พ.ศ.2559-2573)
สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะองค์กรภาคประชาสังคมที่ได้ไปลงนามเข้าเป็นภาคีในข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact) เมื่อปี พ.ศ.2555 ได้จัดตั้ง “คณะกรรมการเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืน” (Sustainable Delvelopment Network Board) เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อน ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศไทย ในระยะ 5 ปีแรก (พ.ศ.2559-2563) โดยกำหนดเป็นวาระสังคม 2020 (Society 2020)
ขณะนี้เริ่มมีการประสานงานเพื่อสร้างเครือข่ายความยั่งยืนซึ่งมีกิจการชั้นนำสนใจเข้าร่วม เช่น ธนาคารออมสิน และ DTAC ซึ่งจะมีโครงการ 5 ปีขึ้นไป โดยกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจที่ส่งผลดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับกรอบ 17 หัวข้อเป้าหมายของ SDGs
2.จากการที่ ก.ล.ต.มีประกาศให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานเกี่ยวกับ CSR ในรายงานประจำปี ซึ่งปัจจุบันมีกิจการนับร้อยที่ได้จัดทำแยกเล่มต่างหาก ในลักษณะรายงานแห่งความยั่งยืน (Sustainable Report) เพื่อเผยแพร่แก่นักลงทุนและผู้มีส่วนได้เสีย
ทั้งนี้ การทำรายงานดังกล่าวของธุรกิจชั้นนำ มักจัดทำตามกรอบการชี้วัดของรายงานสากล GRI (Global Reporting Initiative)
ต่อไปนี้ 17 หัวข้อของ SDGs จะเป็นตัวช่วยในการเป็นรายการพิจารณาตั้งเป็นโจทย์ในการดำเนินกิจกรรมตามหัวข้อเป้าหมายที่เลือกให้เหมาะกับกิจการ และชี้วัดด้วยการรายงานที่อิงหลัก GRI
suwatmgr@gmail.com
แต่ก็มีคำถามว่าเป้าหมายความยั่งยืนนั้น เพื่อ “ใครยั่งยืน” กันแน่ !
เพราะแน่นอนว่าผู้บริหารธุรกิจ ย่อมมีหน้าที่หลักในการสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือมุ่งทำกำไร เป็นผลตอบแทนแก่เจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น
ขณะที่วงการธุรกิจที่ก้าวหน้าต่างเห็นความสำคัญและยอมรับว่า CSR เป็นหลัก “คุณธรรม” ที่สังคมคาดหวังให้มีการบริหารหรือการดำเนินกิจการที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
กิจการที่มีจิตสำนึกคุณธรรมจึงนำหลัก CSR เป็นกรอบในการกำกับดูแลกิจการที่ดี ผนึกเข้ากับนโยบายและแนวปฏิบัติทั้งกระบวนการผลิต การดำเนินธุรกรรมต่างๆ จะคำนึงถึงการสร้างคุณค่าต่อผู้มีส่วนได้เสียรอบด้าน (Stakeholder)
องค์กรที่ยึดมั่นในหลัก CSR จึงเสมือนมี “รากแก้วแห่งความดี” เป็นปัจจัยเอื้อในการสร้างคุณประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างเป็นระบบ และยังขยายเครือข่ายไปยังห่วงโซ่อุปทานให้เกิดการ “ใฝ่ดี” เพื่อการเป็นพลเมืองดีของสังคมโลก
CSR จึงเสมือนเป็นกระบวนการคู่แฝดกับ SD ที่มุ่งสู่ผลลัพธ์คือ “ความยั่งยืน” (Sustainability) เช่นเดียวกัน
ดังนั้น เมื่อกล่าวถึง “ความยั่งยืน” จึงไม่ใช่เพียงเพื่อความอยู่รอดยืนยาวหรือยั่งยืนเฉพาะตัวองค์กร ตัวอย่างดีๆ ของ “องค์กร 100 ปี” เราได้รับรู้การทุ่มเทความพยายามสร้างนวัตกรรมและความเป็นเลิศของผลประกอบการจนเติบโตก้าวหน้า
พร้อมกันนั้นก็คำนึงถึงการไม่สร้างผลกระทบและความเสียหายให้เป็นภาระสังคมและสิ่งแวดล้อม องค์กรจึงได้รับความนับถือศรัทธาจากสังคม ทำให้สินค้าและบริการเป็นที่นิยม
การพัฒนาที่ยั่งยืน (SD) นั้นมุ่งหมายถึงความยั่งยืนโดยรวมทั้งบุคคล องค์กร ชุมชน สังคมโลกและสิ่งแวดล้อม จึงคำนึงถึงผลสุดท้าย หรือผลลัพธ์ 3 มิติ (Triple Bottom Line) ได้แก่
Profit (เศรษฐกิจ) คือ ผลกำไรหรือตอบแทนทางเศรษฐกิจ
People (สังคม) คือ สังคมที่เกี่ยวข้องด้านต่างๆ
Planet (สิ่งแวดล้อม) คือ สิ่งแวดล้อม หรือโลกของเราใบนี้ที่ต้องรักษ์และห่วงใย
ท่ามกลางวิกฤติของโลกยุคปัจจุบันที่เราเห็นปรากฏการณ์และประจักษ์ในผลที่รุนแรงและกว้างขวางเหนือความคาดการณ์ในหลายพื้นที่ มีทั้งปัญหาทางเศรษฐกิจและวิกฤติทางธรรมชาติที่เกิดกับดิน (แห้งแล้ง แผ่นดินไหว) น้ำ (น้ำท่วม น้ำขาดแคลน) อากาศ (ภูมิอากาศแปรเปลี่ยน, ภาวะโลกร้อน)
เหตุการณ์เหล่านี้จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการด้วยจิตสำนึก CSR ที่ไม่เป็นเหตุปัจจัยหรือซ้ำเติมภาวะวิกฤต จึงจำเป็นต้องกำกับดูแลกิจการด้วยหลักธรรมาภิบาลหรือ CG (Good Governance) คือ มีความซื่อสัตย์สุจริต ถูกต้อง เป็นธรรม โปร่งใส และตรวจสอบได้
เป็นที่น่ายินดีว่ามีการต่อยอดแนวคิด CSR ไปสู่บริบทที่เหมาะสมกับขอบเขตการทำหน้าที่ของหลายวิชาชีพ เช่นวงการตลาดทุน นักลงทุนสถาบัน ได้เกิดความตระหนักว่า ควรมีการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible Investment) ด้วยการเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ หรือกิจการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งขณะเดียวกันจะเป็นการป้องกันความเสี่ยงจากผู้บริหารกิจการที่ขาดคุณธรรม และลดความเสี่ยงจากปฏิกิริยาของสังคมด้วย
ข้อสรุปก็คือ ในยุคปัจจุบันการให้ความสำคัญกับตัวเลขผลประกอบการนั้นไม่เพียงพอที่จะพิจารณาความยั่งยืน ดังนั้น จึงต้องใช้ตัวชี้วัดด้วยประเด็น ESG คือ สิ่งแวดล้อม (Environment)สังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance)
อย่างไรก็ตาม โลกก็ยังเต็มไปด้วยปัญหาทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่ขยายวงกว้างและทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Delvelopment Goals) หรือ SDGs ที่สมาชิก 193 ประเทศ รวมทั้งนายกรัฐมนตรีของไทยได้ร่วมให้การรับรองเป้าหมายทั้ง 17 หัวข้อ ในการนำคณะไปร่วมประชุม ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2558
เป้าหมายการพัฒนาที่ว่านี้เพื่อสร้างความสมดุล ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม นับจากนี้ไปอีก 15 ปี ซึ่งภาคส่วนต่างๆ ในประเทศไทย ทั้งภาครัฐ และธุรกิจย่อมจะต้องมีส่วนร่วมขับเคลื่อน
ปรากฏการณ์นี้จึงนับป็นปัจจัยเอื้อให้เกิดความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน และ CSR มีแง่มุมในลักษณะส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้าในหลายมิติที่ขอกล่าวถึง ดังนี้
1.ในแง่ SDGs ซึ่งมีการกำหนด 17 หัวข้อเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อสร้างความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สำหรับช่วง 15 ปี (พ.ศ.2559-2573)
สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะองค์กรภาคประชาสังคมที่ได้ไปลงนามเข้าเป็นภาคีในข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact) เมื่อปี พ.ศ.2555 ได้จัดตั้ง “คณะกรรมการเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืน” (Sustainable Delvelopment Network Board) เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อน ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศไทย ในระยะ 5 ปีแรก (พ.ศ.2559-2563) โดยกำหนดเป็นวาระสังคม 2020 (Society 2020)
ขณะนี้เริ่มมีการประสานงานเพื่อสร้างเครือข่ายความยั่งยืนซึ่งมีกิจการชั้นนำสนใจเข้าร่วม เช่น ธนาคารออมสิน และ DTAC ซึ่งจะมีโครงการ 5 ปีขึ้นไป โดยกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจที่ส่งผลดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับกรอบ 17 หัวข้อเป้าหมายของ SDGs
2.จากการที่ ก.ล.ต.มีประกาศให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานเกี่ยวกับ CSR ในรายงานประจำปี ซึ่งปัจจุบันมีกิจการนับร้อยที่ได้จัดทำแยกเล่มต่างหาก ในลักษณะรายงานแห่งความยั่งยืน (Sustainable Report) เพื่อเผยแพร่แก่นักลงทุนและผู้มีส่วนได้เสีย
ทั้งนี้ การทำรายงานดังกล่าวของธุรกิจชั้นนำ มักจัดทำตามกรอบการชี้วัดของรายงานสากล GRI (Global Reporting Initiative)
ต่อไปนี้ 17 หัวข้อของ SDGs จะเป็นตัวช่วยในการเป็นรายการพิจารณาตั้งเป็นโจทย์ในการดำเนินกิจกรรมตามหัวข้อเป้าหมายที่เลือกให้เหมาะกับกิจการ และชี้วัดด้วยการรายงานที่อิงหลัก GRI
suwatmgr@gmail.com