พร้อมๆ กับกระแส CSR ที่จุดติดทุกวันนี้ยังมีเสียงวิพากษ์ถึง พฤติกรรมการทำ CSR แบบ “สร้างภาพ” ที่ถูกมองว่าเป็น “CSR เทียม” ก็ยังมีอยู่ ขณะที่กระแสใหญ่เริ่มตระหนักรู้ว่า การมี CSR คือการมีจุดยืนในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องที่ “ต้องทำ” เพราะผู้ที่เกี่ยวข้องจะเชื่อถือและนำไปสู่ผลลัพธ์คือ “ความยั่งยืน”
เรียกว่าเป็นแก่นแท้ของกติกาโลกด้านดียุคปัจจุบัน
ถามว่าทำไมผู้นำองค์กรที่เจริญก้าวหน้าของโลก และผู้ใฝ่พัฒนาทั้งหลายจึงยืนยันกันว่า การขับเคลื่อนองค์กรด้วยหลัก CSR เป็นเรื่องจำเป็นขององค์กรใฝ่ดีและใฝ่สูง โดยเฉพาะที่มุ่งมั่นพัฒนาสู่ความยั่งยืน (Sustainable Development) หรือ ฝันอยากเป็น “องค์กร 100 ปี” ก็ต้องมี CSR ใน DNA ส่วนกลยุทธ์การขับเคลื่อนธุรกิจ และกลยุทธ์ CSR การดำเนินงานจะใช้วิธีการอย่างไร ก็มีให้เลือกตามที่เหมาะสม
แต่ที่ผมขอกล่าวถึงในข้อเขียนครั้งนี้ก็คือ สภาพการในมิติต่างๆ ทั้งทาง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี ที่เปลี่ยนแปลงไป ได้โดยสั่งสมกลายเป็นเงื่อนไข และข้อจำกัดให้ต้องคำนึงถึง ในบริบทของ CSR ด้วย
นั่นคือการมีบทสรุปสภาพการณ์ใหม่หรือบริบทใหม่ที่เกิดขึ้นในมิติต่างๆ ของยุคสมัยปัจจุบัน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ที่เรียกว่า New Normal
คำที่กล่าวถึงนี้เป็นที่สนใจของวงการต่างๆ เพราะเมื่อมีความใหม่ (New) ก็ย่อมไม่ใช่เรื่องปกติ (Normal) และเมื่อการลงรายละเอียดกระตุ้นความสนใจและทำให้ตระหนักว่า มันเป็นบริบท หรือบรรทัดฐานใหม่ ที่จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ที่เกิดผลกระทบจากเหตุการณ์สำคัญ หรือปรากฏการณ์ จากเหตุปัจจัยที่ทรงพลัง
ในระดับโลกนั้นมีการใช้คำ New Normal หลังจากตกผลึกผลจากวิกฤติ แฮมเบอร์เกอร์ เมื่อปี 2007-2008 ที่ส่งผลให้เกิดบรรทัดฐาน หรือมิติอ้างอิงใหม่ เช่น อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เฉลี่ยลดลงเหลือ 3% ต่อปี
ในมิติเศรษฐศาสตร์มหภาค ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ได้กล่าวปาฐกถาในงานสัมมนาก่อนหมดวาระการเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ได้พูดถึงบริบทใหม่ New Normal ที่เป็นปัจจัยกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ดร.ประสาร ชี้ว่า “บรรทัดฐานใหม่” ที่เป็นเงื่อนไข หรือข้อจำกัดที่ธุรกิจต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เช่น
1. อัตราเงินเฟ้อต่ำ เหตุส่วนหนึ่งเพราะ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ลดลง จะมีผลต่อการตั้งราคาสินค้าและบริการ
2. ระบบการเงินโลกมีความเชื่อมโยงมากขึ้น ความผวนผันในตลาดเงินโลกจะส่งผลบ่อยครั้งและรุนแรงขึ้น
3. โครงสร้างประชากรจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุมากขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบต่อภาคการผลิต และงบสวัสดิการสุขภาพผู้สูงอายุ
สำหรับในวงการ CSR นั้น สถาบันไทยพัฒน์ได้ระบุถึง New Normal ในการแถลงทิศทาง CSR เมื่อปี 2553 ว่าในการปรับทางเศรษฐกิจและกฎกติกาโลก จะมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจและอาการเซื่องซึมของโลกอย่างยาวนาน
บริบทใหม่ที่เกิดขึ้นนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบให้องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จำเป็นต้องทบทวนจุดยืนและบทบาทการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่ยืนยันได้ว่าจริงจังและจริงใจ เพราะสภาพการณ์ใหม่ด้านการรับรู้ข่าวสารของสังคม มีเทคโนโลยีดิจิทัลที่เป็นตัวช่วยให้ผู้คน เข้าใช้ประโยชน์จากสื่อในการรับรู้ เรียนรู้ ตรวจสอบ เปรียบเทียบ และบอกต่อได้หลากหลายวิธีและรวดเร็วฉับพลัน
การขับเคลื่อนองค์กรด้วยการคำนึงถึงหลัก CSR ที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ที่เน้นความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) ในทุกขั้นตอนของกระบวนการธุรกิจและการลงทุน (CSR-in-Process) ก็จะไม่สร้างผลเสียต่อผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร รวมทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ดังนั้นในการดำเนินกิจการที่กำหนดทิศทางและวางแนวทางด้วย ค่านิยม วิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย กลยุทธ์ และแผนดำเนินงาน ถ้ามีจุดยืน หรือมี DNA ที่ยึดหลัก CSR เป็น “รากแก้วความดี” การแตกกิ่งก้านสาขาของกระบวนการบริหารทุกระดับก็จะสอดคล้องกับกรอบ “ธรรมาภิบาล” หรือ การบริหารกิจการที่ดี (Good Governance)
เมื่อมืออาชีพนักลงทุนในกระแสโลกยุคใหม่ ต้องการความเชื่อมั่นว่าเป็นกิจการที่มีความยั่งยืน (Sustainable Enterprise) จึงให้ความสำคัญกับข้อมูล “เชิงคุณภาพ” ที่ไม่ใช่ข้อมูลที่เป็นตัวเลขทางการเงินเพิ่มมากขึ้น
นักลงทุนจึงประเมินองค์กรที่มีความยั่งยืน เพื่อตัดสินใจว่าคุ้มค่าในการลงทุน เพราะมั่นคงและลดความเสี่ยง โดยใช้เครื่องมือชี้วัดด้วยหลัก ESG ที่ดูผลการดำเนินงานในมิติ สิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social)ธรรมาภิบาล (Governance)
ยิ่งไปกว่านั้นในระดับสมัชชาสหประชาชาติ 193 ประเทศ ยังให้การรับรองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่ใช้ในแผนการพัฒนาสังคมโลกใน 15 ปี เริ่มจากปีหน้าเป็นต้นไปก็ใช้ด้วย 3 เกณฑ์นี้เป็น เสาหลักคือ เศรษฐกิจ (ที่มีธรรมาภิบาล) สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีประเด็นเป้าหมาย 17 ข้อ ดูข่าวที่เกี่ยวข้อง http://goo.gl/hX5O1M
กรอบการพัฒนาเหล่านี้ ก็สามารถเป็นเป้าหมายในการที่นำไปใช้วางกลยุทธ์ CSR ให้สอดคล้องกับกระแสโลกขณะนี้ได้ครับ
suwatmgr@gmail.com
เรียกว่าเป็นแก่นแท้ของกติกาโลกด้านดียุคปัจจุบัน
ถามว่าทำไมผู้นำองค์กรที่เจริญก้าวหน้าของโลก และผู้ใฝ่พัฒนาทั้งหลายจึงยืนยันกันว่า การขับเคลื่อนองค์กรด้วยหลัก CSR เป็นเรื่องจำเป็นขององค์กรใฝ่ดีและใฝ่สูง โดยเฉพาะที่มุ่งมั่นพัฒนาสู่ความยั่งยืน (Sustainable Development) หรือ ฝันอยากเป็น “องค์กร 100 ปี” ก็ต้องมี CSR ใน DNA ส่วนกลยุทธ์การขับเคลื่อนธุรกิจ และกลยุทธ์ CSR การดำเนินงานจะใช้วิธีการอย่างไร ก็มีให้เลือกตามที่เหมาะสม
แต่ที่ผมขอกล่าวถึงในข้อเขียนครั้งนี้ก็คือ สภาพการในมิติต่างๆ ทั้งทาง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี ที่เปลี่ยนแปลงไป ได้โดยสั่งสมกลายเป็นเงื่อนไข และข้อจำกัดให้ต้องคำนึงถึง ในบริบทของ CSR ด้วย
นั่นคือการมีบทสรุปสภาพการณ์ใหม่หรือบริบทใหม่ที่เกิดขึ้นในมิติต่างๆ ของยุคสมัยปัจจุบัน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ที่เรียกว่า New Normal
คำที่กล่าวถึงนี้เป็นที่สนใจของวงการต่างๆ เพราะเมื่อมีความใหม่ (New) ก็ย่อมไม่ใช่เรื่องปกติ (Normal) และเมื่อการลงรายละเอียดกระตุ้นความสนใจและทำให้ตระหนักว่า มันเป็นบริบท หรือบรรทัดฐานใหม่ ที่จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ที่เกิดผลกระทบจากเหตุการณ์สำคัญ หรือปรากฏการณ์ จากเหตุปัจจัยที่ทรงพลัง
ในระดับโลกนั้นมีการใช้คำ New Normal หลังจากตกผลึกผลจากวิกฤติ แฮมเบอร์เกอร์ เมื่อปี 2007-2008 ที่ส่งผลให้เกิดบรรทัดฐาน หรือมิติอ้างอิงใหม่ เช่น อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เฉลี่ยลดลงเหลือ 3% ต่อปี
ในมิติเศรษฐศาสตร์มหภาค ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ได้กล่าวปาฐกถาในงานสัมมนาก่อนหมดวาระการเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ได้พูดถึงบริบทใหม่ New Normal ที่เป็นปัจจัยกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ดร.ประสาร ชี้ว่า “บรรทัดฐานใหม่” ที่เป็นเงื่อนไข หรือข้อจำกัดที่ธุรกิจต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เช่น
1. อัตราเงินเฟ้อต่ำ เหตุส่วนหนึ่งเพราะ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ลดลง จะมีผลต่อการตั้งราคาสินค้าและบริการ
2. ระบบการเงินโลกมีความเชื่อมโยงมากขึ้น ความผวนผันในตลาดเงินโลกจะส่งผลบ่อยครั้งและรุนแรงขึ้น
3. โครงสร้างประชากรจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุมากขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบต่อภาคการผลิต และงบสวัสดิการสุขภาพผู้สูงอายุ
สำหรับในวงการ CSR นั้น สถาบันไทยพัฒน์ได้ระบุถึง New Normal ในการแถลงทิศทาง CSR เมื่อปี 2553 ว่าในการปรับทางเศรษฐกิจและกฎกติกาโลก จะมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจและอาการเซื่องซึมของโลกอย่างยาวนาน
บริบทใหม่ที่เกิดขึ้นนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบให้องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จำเป็นต้องทบทวนจุดยืนและบทบาทการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่ยืนยันได้ว่าจริงจังและจริงใจ เพราะสภาพการณ์ใหม่ด้านการรับรู้ข่าวสารของสังคม มีเทคโนโลยีดิจิทัลที่เป็นตัวช่วยให้ผู้คน เข้าใช้ประโยชน์จากสื่อในการรับรู้ เรียนรู้ ตรวจสอบ เปรียบเทียบ และบอกต่อได้หลากหลายวิธีและรวดเร็วฉับพลัน
การขับเคลื่อนองค์กรด้วยการคำนึงถึงหลัก CSR ที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ที่เน้นความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) ในทุกขั้นตอนของกระบวนการธุรกิจและการลงทุน (CSR-in-Process) ก็จะไม่สร้างผลเสียต่อผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร รวมทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ดังนั้นในการดำเนินกิจการที่กำหนดทิศทางและวางแนวทางด้วย ค่านิยม วิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย กลยุทธ์ และแผนดำเนินงาน ถ้ามีจุดยืน หรือมี DNA ที่ยึดหลัก CSR เป็น “รากแก้วความดี” การแตกกิ่งก้านสาขาของกระบวนการบริหารทุกระดับก็จะสอดคล้องกับกรอบ “ธรรมาภิบาล” หรือ การบริหารกิจการที่ดี (Good Governance)
เมื่อมืออาชีพนักลงทุนในกระแสโลกยุคใหม่ ต้องการความเชื่อมั่นว่าเป็นกิจการที่มีความยั่งยืน (Sustainable Enterprise) จึงให้ความสำคัญกับข้อมูล “เชิงคุณภาพ” ที่ไม่ใช่ข้อมูลที่เป็นตัวเลขทางการเงินเพิ่มมากขึ้น
นักลงทุนจึงประเมินองค์กรที่มีความยั่งยืน เพื่อตัดสินใจว่าคุ้มค่าในการลงทุน เพราะมั่นคงและลดความเสี่ยง โดยใช้เครื่องมือชี้วัดด้วยหลัก ESG ที่ดูผลการดำเนินงานในมิติ สิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social)ธรรมาภิบาล (Governance)
ยิ่งไปกว่านั้นในระดับสมัชชาสหประชาชาติ 193 ประเทศ ยังให้การรับรองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่ใช้ในแผนการพัฒนาสังคมโลกใน 15 ปี เริ่มจากปีหน้าเป็นต้นไปก็ใช้ด้วย 3 เกณฑ์นี้เป็น เสาหลักคือ เศรษฐกิจ (ที่มีธรรมาภิบาล) สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีประเด็นเป้าหมาย 17 ข้อ ดูข่าวที่เกี่ยวข้อง http://goo.gl/hX5O1M
กรอบการพัฒนาเหล่านี้ ก็สามารถเป็นเป้าหมายในการที่นำไปใช้วางกลยุทธ์ CSR ให้สอดคล้องกับกระแสโลกขณะนี้ได้ครับ
suwatmgr@gmail.com