โดย บลจ.ทิสโก้
หากพูดถึงเรื่องการบริจาค หรือการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรต่างๆ เรามักจะนึกถึงการให้เงินหรือวัตถุสิ่งของ แต่การให้เปล่าดังกล่าวมีข้อจำกัดตรงที่องค์กรผู้ให้ความช่วยเหลือทำได้เป็นครั้งคราวหรือแค่เพียงชั่วระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ไม่สามารถจัดสรรงบประมาณเพื่อให้ความช่วยเหลือได้อย่างต่อเนื่องระยะยาว
เมื่อเงินบริจาคดังกล่าวหมดไป ชุมชนหรือหน่วยงานที่ได้รับความช่วยเหลือจึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาเงินทุนใหม่เพื่อให้โครงการเกิดความต่อเนื่อง มิเช่นนั้นโครงการดังกล่าวก็อาจถูกระงับไป และไม่ได้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนในที่สุด
ล่าสุดทางสถาบันไทยพัฒน์ ซึ่งร่วมกับองค์กรธุรกิจชั้นนำ 6 แห่ง ได้แก่ บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์, ไมเนอร์ กรุ๊ป, แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์, น้ำตาลขอนแก่น, นำสินประกันภัย และ ทิสโก้ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ได้เปิดตัวแนวคิด “การลงทุนสุนทาน” หรือ (Philanthropic Investment) ซึ่งเป็นการนำเงินหรือทรัพย์สินมาเป็นทุนเพื่อหาดอกผลนำไปใช้จ่ายในการให้ความช่วยเหลือแก่สังคมในด้านต่างๆ เช่น การศึกษา, สาธารณสุข, การพัฒนาอาชีพ, การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยที่ทุนหรือเงินต้นยังคงอยู่ ซึ่งจะแตกต่างจากการทำบุญสุนทานหรือการบริจาคที่เป็นการมอบเงินหรือทรัพย์สินนั้นให้เป็นความช่วยเหลือแก่สังคมโดยตรง
สำหรับการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ซึ่งรวมไปถึงการลงทุนในตราสารทุนของบริษัทจดทะเบียนฯ เพื่อให้เกิดดอกผลนั้น ปกติแล้วการคัดกรองโดยทั่วไปนักลงทุนจะให้ความสำคัญต่อลักษณะการประกอบธุรกิจของบริษัทจดทะเบียนฯ รวมไปถึงแนวโน้มของผลประกอบการในอนาคต ซึ่งวิเคราะห์โดยใช้ตัวเลขทางการเงินจากงบการเงินเป็นหลัก แต่สำหรับการลงทุนสุนทานนั้น ได้มีการผนวกเอามิติทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เข้ามาใช้ในการวิเคราะห์ หรือการตัดสินใจในการลงทุน (ESG Integration) ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้เองเริ่มได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้ลงทุนทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากนโยบายการลงทุนของนักลงทุนสถาบันที่นำ ESG factors ประกอบการตัดสินใจลงทุน, การจัดทำดัชนี ESG หรือจัดกลุ่มบริษัทจดทะเบียนฯ ที่ผ่านเกณฑ์ที่อิงต่อปัจจัย ESG (ESG Universe) เป็นต้น
สำหรับ บลจ.ทิสโก้ เอง ในฐานะหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งโครงการลงทุนสุนทาน และเป็นผู้รับบริหารจัดการเงินลงทุน มีความเชื่อว่า ผลการดำเนินงานด้าน ESG มีความเชื่อมโยงกับผลการดำเนินงานทางการเงินขององค์กรธุรกิจ ในแง่ของการจัดการ/บริหารความเสี่ยง และโอกาสในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้าน สะท้อนให้เห็นถึงความเอาใจใส่และรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงต่อความสามารถในการเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจในระยะยาว
ปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยผลักดันแนวคิดนี้คือ มาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลด้านการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ผ่านเกณฑ์การประเมินตามตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อันหมายรวมถึงผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบที่อยู่นอกงบการเงินของบริษัท ซึ่งปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนทุกแห่งรายงานเรื่อง “แนวทางการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน” เป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำรายงานประจำปี (56-1) เพื่อให้นักลงทุนได้เข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนมากขึ้น
สำหรับความท้าทายของแนวคิดดังกล่าวคือความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจจะต่ำกว่าพอร์ตการลงทุนที่หลากหลายมากกว่า เนื่องจากข้อจำกัดการลงทุนที่เปิดกว้างอาจยังคงต้องการพิสูจน์ต่อไป ซึ่งเชื่อว่าหากประเด็น ESG ได้รับการพิจารณาและนำไปใช้โดยผู้ลงทุน และบริษัทจดทะเบียนฯ อย่างกว้างขวางแล้ว อัตราผลตอบแทนของหุ้นบริษัทฯ ก็น่าจะสะท้อนในทิศทางที่ดีกว่า เมื่อเทียบกับบริษัทฯ ที่ไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวเลย
หากพูดถึงเรื่องการบริจาค หรือการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรต่างๆ เรามักจะนึกถึงการให้เงินหรือวัตถุสิ่งของ แต่การให้เปล่าดังกล่าวมีข้อจำกัดตรงที่องค์กรผู้ให้ความช่วยเหลือทำได้เป็นครั้งคราวหรือแค่เพียงชั่วระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ไม่สามารถจัดสรรงบประมาณเพื่อให้ความช่วยเหลือได้อย่างต่อเนื่องระยะยาว
เมื่อเงินบริจาคดังกล่าวหมดไป ชุมชนหรือหน่วยงานที่ได้รับความช่วยเหลือจึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาเงินทุนใหม่เพื่อให้โครงการเกิดความต่อเนื่อง มิเช่นนั้นโครงการดังกล่าวก็อาจถูกระงับไป และไม่ได้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนในที่สุด
ล่าสุดทางสถาบันไทยพัฒน์ ซึ่งร่วมกับองค์กรธุรกิจชั้นนำ 6 แห่ง ได้แก่ บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์, ไมเนอร์ กรุ๊ป, แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์, น้ำตาลขอนแก่น, นำสินประกันภัย และ ทิสโก้ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ได้เปิดตัวแนวคิด “การลงทุนสุนทาน” หรือ (Philanthropic Investment) ซึ่งเป็นการนำเงินหรือทรัพย์สินมาเป็นทุนเพื่อหาดอกผลนำไปใช้จ่ายในการให้ความช่วยเหลือแก่สังคมในด้านต่างๆ เช่น การศึกษา, สาธารณสุข, การพัฒนาอาชีพ, การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยที่ทุนหรือเงินต้นยังคงอยู่ ซึ่งจะแตกต่างจากการทำบุญสุนทานหรือการบริจาคที่เป็นการมอบเงินหรือทรัพย์สินนั้นให้เป็นความช่วยเหลือแก่สังคมโดยตรง
สำหรับการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ซึ่งรวมไปถึงการลงทุนในตราสารทุนของบริษัทจดทะเบียนฯ เพื่อให้เกิดดอกผลนั้น ปกติแล้วการคัดกรองโดยทั่วไปนักลงทุนจะให้ความสำคัญต่อลักษณะการประกอบธุรกิจของบริษัทจดทะเบียนฯ รวมไปถึงแนวโน้มของผลประกอบการในอนาคต ซึ่งวิเคราะห์โดยใช้ตัวเลขทางการเงินจากงบการเงินเป็นหลัก แต่สำหรับการลงทุนสุนทานนั้น ได้มีการผนวกเอามิติทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เข้ามาใช้ในการวิเคราะห์ หรือการตัดสินใจในการลงทุน (ESG Integration) ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้เองเริ่มได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้ลงทุนทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากนโยบายการลงทุนของนักลงทุนสถาบันที่นำ ESG factors ประกอบการตัดสินใจลงทุน, การจัดทำดัชนี ESG หรือจัดกลุ่มบริษัทจดทะเบียนฯ ที่ผ่านเกณฑ์ที่อิงต่อปัจจัย ESG (ESG Universe) เป็นต้น
สำหรับ บลจ.ทิสโก้ เอง ในฐานะหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งโครงการลงทุนสุนทาน และเป็นผู้รับบริหารจัดการเงินลงทุน มีความเชื่อว่า ผลการดำเนินงานด้าน ESG มีความเชื่อมโยงกับผลการดำเนินงานทางการเงินขององค์กรธุรกิจ ในแง่ของการจัดการ/บริหารความเสี่ยง และโอกาสในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้าน สะท้อนให้เห็นถึงความเอาใจใส่และรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงต่อความสามารถในการเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจในระยะยาว
ปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยผลักดันแนวคิดนี้คือ มาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลด้านการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ผ่านเกณฑ์การประเมินตามตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อันหมายรวมถึงผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบที่อยู่นอกงบการเงินของบริษัท ซึ่งปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนทุกแห่งรายงานเรื่อง “แนวทางการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน” เป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำรายงานประจำปี (56-1) เพื่อให้นักลงทุนได้เข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนมากขึ้น
สำหรับความท้าทายของแนวคิดดังกล่าวคือความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจจะต่ำกว่าพอร์ตการลงทุนที่หลากหลายมากกว่า เนื่องจากข้อจำกัดการลงทุนที่เปิดกว้างอาจยังคงต้องการพิสูจน์ต่อไป ซึ่งเชื่อว่าหากประเด็น ESG ได้รับการพิจารณาและนำไปใช้โดยผู้ลงทุน และบริษัทจดทะเบียนฯ อย่างกว้างขวางแล้ว อัตราผลตอบแทนของหุ้นบริษัทฯ ก็น่าจะสะท้อนในทิศทางที่ดีกว่า เมื่อเทียบกับบริษัทฯ ที่ไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวเลย