xs
xsm
sm
md
lg

Green Vision :ถอดรหัสความสำเร็จ “ 6 GREEN LPN”/พิเชษฐ ศุภกิจจานุสันติ์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

การเติบโตของเมืองและการขยายตัวของระบบขนส่งมวลชน (รถไฟฟ้า) ในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ราคาที่ดินในเมืองใหญ่สูงขึ้น พฤติกรรมการซื้อที่พักอาศัยของผู้บริโภคจึงเปลี่ยนแปลงไป การเลือกซื้อที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ แนวราบที่เคยเป็นที่นิยมกลับกลายเป็น “คอนโดมิเนียม” หรือที่อยู่อาศัยแนวสูงที่ครองตลาดส่วนใหญ่ บวกกับวิถีชีวิตของคนวัยทำงานที่ต้องการความสะดวกสบายในการเดินทาง ทำให้อาคารชุดพักอาศัยทำเลเกาะแนวรถไฟฟ้าได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ
LPN ในฐานะผู้พัฒนาอาคารชุดพักอาศัยที่มุ่งมั่นในการส่งมอบบ้านคุณภาพ และ “ชุมชนน่าอยู่” ให้กับกลุ่มเป้าหมายระดับกลางถึงกลาง-ล่าง ในราคาที่สามารถเป็นเจ้าของได้ (Affordable House) จึงให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับการพัฒนาคุณค่าของผลิตภัณฑ์และบริการ (Product and Service Value) ด้วยความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (STAKEHOLDERS)
เพราะตระหนักเสมอว่าการพัฒนาอาคารชุดพักอาศัยมีส่วนสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และชุมชนรอบข้าง LPN จึงให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อทุกกระบวนการในการดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่กระบวนการออกแบบและกระบวนการพัฒนาโครงการ โดยได้มีการกำหนดเป็นแนวทางในการบริหารและดำเนินงานในกระบวนการ เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม สังคม รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม

เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่ความอย่างยั่งยืน จึงได้ยึดหลัก Triple Bottom Line (3P) ที่ยึดเป็นแนวทางมากว่า 10 ปี ได้แก่ Profit ผลประกอบการและเศรษฐกิจ People สังคม Planet สิ่งแวดล้อม แต่ได้มีการต่อยอดพัฒนาเป็นกลยุทธ์ “6 GREEN LPN” ได้แก่ Green Marketing Management Green Financial Management Green Enterprise Green Community Management Green Design Concept Green Construction Process
Profit ผลประกอบการและเศรษฐกิจ เป้าหมายเชิงเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ การสร้างสมดุลของผลตอบแทนในการดำเนินงานที่พอประมาณและต่อเนื่อง บนพื้นฐานของการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมถึงการแบ่งปันผลตอบแทนไปสู่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

Green Marketing Management หมายถึง การตลาดที่เป็นธรรมกับผู้บริโภคหรือลูกค้า และคู่แข่ง ด้วยปณิธานในการสร้างบ้านที่มีคุณภาพในราคาที่สามารถเป็นเจ้าของได้ ให้กับกลุ่มเป้าหมายระดับกลางถึงกลาง-ล่าง เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตและสังคมที่ดี ด้วยความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคตั้งแต่ก่อนและหลังการส่งมอบ
Green Financial Management คือ การกำหนดผลตอบแทนและการเติบโตขององค์กรให้เหมาะสม ต่อเนื่องและสม่ำเสมอ รวมทั้งการจัดทำงบการเงินที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ มีระบบควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ มีการเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญอย่างเพียงพอ เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้นและนักลงทุนในการใช้ประโยชน์จากงบการเงินเพื่อความโปร่งใส การตรวจสอบได้
People สังคม ด้วยความตระหนักว่าธุรกิจจะเติบโตได้ด้วยพื้นฐานของสังคมที่ดี มีคุณภาพ มีความปลอดภัย การรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทซึ่งรวมทั้งพนักงานและสังคมภายนอก ได้แก่ คู่ค้า ลูกค้าและผู้พักอาศัยในโครงการ รวมถึงสังคมภายนอก อันได้แก่ ชุมชนเพื่อนบ้าน แรงงานก่อสร้าง ตลอดจนสภาพสังคมโดยรวมของประเทศ แนวคิดที่ใช้ในการดำเนินการ คือ
Green Enterprise คือการดำเนินธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการและทุนมนุษย์ ด้วยการกำหนดนโยบายระดับองค์กรที่มุ่งสู่ “องค์กรคุณค่า”
Green Community Management คือการดูแลคุณภาพชีวิตของผู้พักอาศัยในโครงการหลังการส่งมอบ รวมทั้งดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตให้กับผู้อยู่อาศัยและชุมชนโดยรอบโครงการ ที่อาจได้รับผลกระทบจากการพัฒนาโครงการ
Planet สิ่งแวดล้อม ด้วยลักษณะธุรกิจของการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีบทบาทและสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในหลายด้าน ดังนั้นจึงต้องรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการลดผลกระทบจากการพัฒนาโครงการในกระบวนการ (In process) ตั้งแต่การออกแบบ การก่อสร้าง ตลอดจนดูแลสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในชุมชนและชุมชนข้างเคียงภายหลังการส่งมอบ โดย 2 แนวคิดที่ใช้ คือ
Green Design Concept คือการออกแบบและพัฒนาโครงการ ตั้งแต่แนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์และการวางผังโครงการเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นแนวทางให้สอดคล้องกับมาตรฐานอาคารเขียว (Green Building) ของสหรัฐอเมริกา (LEED - The Leadership in Energy and Environmental Design)
Green Construction Process ได้พัฒนากระบวนการก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
จากกลยุทธ์ 6 GREEN LPN สู่การพัฒนาโครงการสีเขียว LPN Green Project

กระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Green Design Concept) คำนึงถึงตั้งแต่การเลือกทำเล ที่จะมองหาทำเลในเชิงกลยุทธ์ที่ยังไม่มีผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ระดับกลางถึงกลาง-ล่าง (Affordable House) แต่มีความต้องการที่พักอาศัยหนาแน่น มีศักยภาพในการพัฒนา อยู่ใกล้สิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อลดผลกระทบด้านการใช้พลังงานและการจราจร การออกแบบและจัดวางผังโครงการ มิได้คำนึงแต่การออกแบบพื้นที่สีเขียวภายในโครงการเพื่อความร่มรื่นเท่านั้น แต่ยังคำนึงถึงการพัฒนาพื้นที่ให้ยั่งยืน การใช้น้ำและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การเลือกใช้วัสดุและทรัพยากรที่เหมาะสม การสร้างสิ่งแวดล้อมภายในอาคารที่มีคุณภาพแก่ผู้อยู่อาศัย รวมทั้งการนำนวัตกรรมจากการออกแบบมาใช้งาน

แนวคิดในการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืน อันเป็นกลยุทธ์ในแบบฉบับของ LPN “6 GREEN LPN” และการพัฒนาโครงการภายใต้มาตรฐาน LPN Green Project นับเป็นก้าวสำคัญที่สะท้อนถึงความรับผิดชอบของ LPN ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อสานฝันการมี “บ้าน” คุณภาพ และสังคมที่เปี่ยมสุขให้กับทุกครอบครัวตามกลยุทธ์การสร้าง “ชุมชนน่าอยู่”

เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่ความอย่างยั่งยืน จึงได้ยึดหลัก Triple Bottom Line (3P) ที่ยึดเป็นแนวทางมากว่า 10 ปี ได้แก่ Profit ผลประกอบการและเศรษฐกิจ People สังคม Planet สิ่งแวดล้อม แต่ได้มีการต่อยอดพัฒนาเป็นกลยุทธ์ “6 GREEN LPN”

พิเชษฐ ศุภกิจจานุสันติ์
กรรมการบริหาร บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
กำลังโหลดความคิดเห็น