เมื่อวานนี้ (30 มิ.ย.) มีการประชุมครม.อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 2 ที่ ที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ เฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จ.เชียงใหม่ เมื่อเวลา 08.25 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช.ได้เดินทางมาเป็นประธานในการประชุม โดยได้สวมเสื้อผ้าไหมสีม่วงและมีสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส โดยนั่งรถอัลพาร์ทสีขาว ทะเบียน กง.5959 เชียงราย พร้อมกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม มีนายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ให้การต้อนรับ
ในส่วนของคณะรัฐมนตรีคนอื่นๆ ทางเจ้าหน้าที่ได้จัดรถตู้ และมาพร้อมกันกันละ 2-4 คน ซึ่งส่วนใหญ่ได้สวมผ้าไทยเข้าร่วมประชุม นอกจากนี้ สื่อมวลชนยังให้ความสนใจ พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา ผู้ช่วย ผบ.ทบ. น้องชายนายกรัฐมนตรี ที่เดินทางมาดูแลรักษาความปลอดภัยนายกรัฐมนตรี และครม.ด้วยตัวเอง เนื่องจากมีชื่อเป็นแคนดิเดตว่าที่ ผบ.ทบ. ในโผโยกย้ายนายทหารที่จะมีขึ้นในเดือนกันยายนนี้
สำหรับการรักษาความปลอดภัยเป็นไปอย่างเข้มงวดตามแผนรักษาความปลอดภัยขั้นสูงสุด ที่หน่วยงานที่รับผิดชอบได้กำหนด และซักซ้อมไว้ โดยมีเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ ทั้งในและนอกเครื่องแบบกว่า 1 พันนาย ตรวจตราบริเวณทั้งในะนอกสถานที่จัดการประชุม โดยผู้ที่เข้าร่วมประชุมทุกคน จะต้องติดบัตรแสดงตน และต้นสังกัดให้ชัดเจน หากจะเข้าไปในบริเวณอาคารสถานที่จัดประชุม และส่วนที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่จะมีการตรวจอย่างและเอียด และผ่านเครื่องแสกนวัตถุระเบิด ส่วนบริเวณรั้วรอบศูนย์การประชุมได้มีการจัดวางกำลังพลทหารจากหน่วย มทบ.33 ในเครื่องแบบ พร้อมอาวุธครบมือ ยืนประจำจุดทุก 100 เมตร
นอกจากนี้ทางการข่าวยังได้ตรวจเข้ม และเช็คความเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ที่เตรียมจะมายื่นหนังสือและแสดงสัญลักษณ์ โดยให้เจ้าหน้าที่ ไปประสานขอความร่วมมือว่าอย่าเพิ่งมีการเคลื่อนไหว หรือแสดงสัญลักษณ์อะไรในช่วงนี้ หากมีเรื่องร้องเรียนให้ยื่นไปตามขั้นตอนของทางจังหวัด โดยทางจังหวัดได้จัดเจ้าหน้าที่จากศูนย์ดำรงธรรม จ.เชียงใหม่ มาตั้งโต๊ะรับเรื่องที่ประตู 6 ของศูนย์ประชุมฯ นอกเหนือจากเปิดรับเรื่องที่ศูนย์ดำรงธรรม ที่ศาลากลาง จ.เชียงใหม่
ขณะที่วาระการประชุมจะมีการติดตามสถานการณ์และกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และโครงการสำคัญที่ทาง จ.เชียงใหม่ จะเสนอเพื่อพิจารณา อาทิ โครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในจ.เชียงใหม่ โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงระบบคมนาคมและขนส่งภูมิภาค โครงการศึกษาวิจัยเพื่อก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติแห่งชาติเชียงใหม่ แห่งที่ 2 เป็นต้น
รายงานข่าวจากสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) ซึ่งกำกับดูแลศูนย์ประชุมฯ ระบุว่า ในการเดินทางมาประชุมครม.สัญจรครั้งนี้ ทางสำนักงานพัฒนาพิงคนครฯได้ใช้งบประมาณ 2 ล้านบาท ในการปรับปรุงซ่อมแซม ทำความสะอาด ปรับภูมิทัศน์สถานที่ ทั้งภายนอกภายในศูนย์ประชุมฯกว่า 100 รายการ อาทิ หลอดไฟ หลังคา ปรับปรุงพื้นผิวถนนบางส่วน และล้างทำความสะอาดลานน้ำพุหน้าศูนย์ประชุม เพื่อรองรับการประชุมครม.สัญจรครั้งนี้
** ว้ากขรก.กรมชลฯบรรยายภัยแล้งไม่เข้าหู
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนการประชุม พล.อ.ประยุทธ์ ได้เยี่ยมชมบูธนิทรรศการของหน่วยงานต่างๆ ที่มาจัดแสดงภายในศูนย์ประชุมนานาชาติฯ ปรากฏว่าในช่วงหนึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ มีสีหน้าหงุดหงิด และได้ตำหนิการจัดทำป้าย ที่นำมาแสดงที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ พร้อมกับได้แนะนำ และได้นำปากกาเคมีมาเขียน และลากเส้นด้วยมือตัวเอง ทับลงบนบอร์ดการแสดง
นอกจากนี้ ยังได้ชมการออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นเป้สะพายหลัง พร้อมหยิบเป้ขึ้นมาสะพาย และแนะนำว่า ขอให้ออกแบบให้ดีกว่านี้ จากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ พร้อมด้วย พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ , พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการกำหนดนโยบายและบริหารจัดการน้ำ คสช. ได้เดินมาถึงบูธของกรมชลประทาน ที่นำโมเดลการบริหารการจัดการน้ำมาจัดแสดง ซึ่งมี นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน เป็นผู้บรรยาย โดยนายเลิศวิโรจน์ บรรยายว่า โมเดลนี้แสดงให้เห็นการบริหารจัดการน้ำของ จ.เชียงใหม่ ที่นำแนวพระราชดำริมาเป็นแนว ทางที่จะจัดการป้องกันน้ำท่วม
แต่ปรากฏว่า ขณะที่นายเลิศวิโรจน์ กำลังชี้มือบรรยายอยู่นั้น พล.อ.ประยุทธ์ มีสีหน้าหงุดหงิด และได้ดึงมือของนายเลิศวิโรจน์ ออกจากโมเดลทันที พร้อมบอกว่า พอๆ โดยนายกฯได้ถามว่า ต้นน้ำมาจากทางไหน และสั่งให้ข้าราชการกรมชลประทานอีกคน ใช้ไม้ชี้ให้ดู ขณะที่นายเลิศวิโรจน์ ได้แต่ยืนยิ้มอยู่ด้านหลังนายกฯ
ขณะที่ข้าราชการคนดังกล่าว ได้ชี้แจงว่า เส้นนี้คือแม่น้ำปิง และแม่น้ำแม่แตง ที่จะเข้าจ.เชียงใหม่ อย่างไรก็ตาม นายกฯ ยังมีสีหน้าหงุดหงิดอย่างเห็นได้ชัด และถามต่อว่า ต้นน้ำมาจากไหน ซึ่งข้าราชการรายนั้นได้ตอบว่า มาจากเวียงแหง พล.อ.ประยุทธ์ ถามอีกว่า "เวียงแหงมาจากตรงไหน มาจากบนเขา ในเขา หรือว่าต้นไม้ มาจากป่าใช่ไหม แล้ววันนี้มันแห้งหรือยัง ยังมีไหลอยู่หรือไม่ เพราะอะไร ทำไมถึงเหลือน้อย" เมื่อข้าราชการคนดังกล่าวตอบว่า "ฝนน้อย" นายกฯ จึงถามอีกว่า "ทำไมฝนถึงน้อย" ข้าราชการตอบว่า "เพราะป่าครับ" พล.อ.ประยุทธ์ จึงได้พูดว่า แล้วใครต้องดูแลป่า เพราะเมื่อมันไม่มีน้ำ บรรยายมาทั้งหมด มันก็ไม่มีน้ำ จะทำยังไงให้ต้นน้ำมาได้ ก็ต้องมีต้นไม้ ก็ต้องเสริมไปเรื่อยๆ แล้วต้นน้ำไม่มีน้ำ จะเอาน้ำที่ไหนไหลลงมา
จากนั้นข้าราชการคนดังกล่าวก็ยืนนิ่งไป จนทำให้นายกฯ เอื้อมมือไปคว้าไม้มาชี้ที่โมเดลด้วยตัวเอง แล้วกล่าวว่า "ก็ตอบไม่ตรง คุณต้องหาที่เก็บกักน้ำให้ได้ ถ้าฝนมันลงที่ต้นน้ำ คุณก็เก็บไว้ และต้องขุดลอกเพื่อเชื่อมต่อระบบน้ำ ทำได้ไหม ที่ผมถามเนี่ย ทำได้ไหม "
อย่างไรก็ตาม พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวเสริมว่า จากงบประมาณปี 56-57 มีงบประมาณทำโครงการที่จะทำให้แม่น้ำปิงเก็บน้ำได้มาก และที่แม่กวง ที่รัฐบาลนี้ได้อนุมัติไปแล้วด้วย และจากนั้นนายกฯ ก็ได้เดินไปชมบูธอื่นๆ ต่อ ก่อนเข้าห้องประชุม ครม.
** เพิ่มงบฯเจาะบ่อบาดาลเป็น 1 พันบ่อ
หลังการประชุมครม. พล.อ.ประยุทธ์ ให้สัมภาษณ์ว่า จุดประสงค์ในการประชุมครม.นอกสถานที่ ก็เพื่อเยี่ยมเยียน รับทราบปัญหาในเรื่องการบริหารจัดการ ที่ต้องมีการพูดคุยกับผู้ปฏิบัติในพื้นที่ ว่าสิ่งที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบายมีเรื่องอะไรบ้าง ซึ่งวันนี้ได้เน้นเรื่องการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ เรามาดูตั้งแต่พื้นที่ต้นน้ำ โดยสมัยก่อนน้ำก็มีการไหลลงไปตามปกติ แต่วันนี้พอฝนไม่มา ก็ต้องมีการสำรวจในพื้นที่ต้นน้ำ พบว่าแห้งแล้งเพราะป่าน้อยลง โดยที่ผ่านมามีการทำฝนเทียมมากว่า 2,000 ครั้ง แต่ได้ปริมาณฝนไม่มาก เพราะมีปริมาณเมฆน้อย อากาศยังแห้งแล้งอยู่ ฉะนั้นฝนที่ตกลงมา อาจทำให้แผ่นดินชุ่มฉ่ำ แต่ยังปลูกพืชไม่ได้ โดยวันนี้จะมาเร่งดูที่ต้นน้ำ สิ่งที่ตนคิดให้เร็วๆได้คือ จะดูว่าปรับแก้งบประมาณในส่วนไหนได้บ้าง ซึ่งมีการปรับบาง ส่วนในเรื่องการทำน้ำบาดาลที่จะต้องเพิ่มจาก 500 แห่ง เป็น 1,000 แห่ง
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ฝากชาวเมืองทุกจังหวัด ใช้น้ำอย่างประหยัด ต้องนึกถึงเกษตรกร ถ้าผลผลิตที่เป็นพืชเศรษฐกิจของเรา ถ้าไม่สามารถปลูกได้ จะทำให้ยิ่งแย่ไปกว่าเดิม รายได้จากการท่องเที่ยวก็เอาไม่อยู่
**เร่งจัดโซนนิ่งปลูกพืชให้เหมาะสม
อย่างไรก็ตาม ขอเตือนว่าน้ำบาดาลไม่ได้ใช้ในการทำเกษตร แต่จำเป็นต้องทำให้พื้นที่ที่เพาะปลูกไปแล้ว เพราะเราได้เตือนไปแล้ว แต่จะไม่ช่วย ก็ไม่ได้ ทำได้แค่ไหนก็ต้องแค่นั้น ไม่ใช่จะให้ทำได้แบบปกติ อีกส่วนหนึ่งคือ กลุ่มที่ยังไม่ได้ปลูกครอปแรกนั้น จะทำอย่างไร เพราะเคยปลูก 2 ครอป ในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาทั้งตอนบนและตอนล่าง เมื่อทำไม่ได้ ก็ต้องไปหาอาชีพอื่น ซึ่งวันนี้เขาก็ไปปลูกถั่ว ปลูกงา ทำกิจกรรมอื่นๆ โดยวันนี้ต้องทำวิกฤตให้เป็นโอกาส ในการจัดสรรพื้นที่การปลูกให้เหมาะสมกับพืช โดยตนได้สั่งการไปแล้วว่า จะต้องเพิ่มพื้นที่ชลประทานอีกร้อยละ 10 ของพื้นที่เดิม ภายในปี 2559 ทั้งนี้ จากพื้นที่เพาะปลูก 137 ล้านไร่ จะสามารถเพราะปลูกได้เพียง ร้อยละ 40 ฉะนั้นต้องดูว่า นอกเขตพื้นที่ดังกล่าวจะทำอย่างไร จึงจะนำไปสู่การโซนนิ่งพื้นที่ กำหนดการปลูกพืชให้เหมาะสม เป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย และต้องกำหนดอุปสงค์ อุปทาน ในประเทศ และการส่งออก และเพิ่มการแปรรูปให้มากขึ้น และจะต้องมีความเชื่อมโยงในทุกระดับ และสร้างทั้งระบบให้มีความเข้มแข็ง
นอกจากนี้ยังต้องพัฒนาในเรื่องระบบขนส่ง ถนน ทางรถไฟต่างๆ ซึ่งต้องเป็นไปตามห้วงเวลาที่เราสามารถดำเนินการได้ ขณะนี้รัฐบาลได้มีการเริ่มดำเนินการไปแล้วอะไรที่ทำได้ก็ทำ อะไรที่ทำไม่ได้ก็ส่งให้รัฐบาลหน้ารับไปทำ เพราะต้องใช้งบประมาณสูง ต้องมีการศึกษาวิจัย และทำประชาพิจารณ์ ไม่ใช่อยู่ดีๆ สร้างได้เลย แต่ปีนี้ที่สามารถทำได้ก่อนก็มีเพียง การก่อสร้างรถไฟความเร็วปานกลางไทย-จีน ส่วนต่อไปจะมีการเดินหน้าในเส้นทางรถไฟสายเหนือ ซึ่งมีการพูดคุยกับญี่ปุ่นแล้ว สำหรับรถไฟทางคู่ในประเทศเรา จะใช้งบประมาณของเราเอง โดยทั้งหมดนั้นเป็นอนาคต อย่าคิดว่าที่ เราวางแผน 3 ล้านล้าน จะมาใช้วันเดียว ซึ่งต้องไปว่ากันในรัฐบาลหน้า อย่ากังวลเรื่องนี้ เราทำอย่างโปร่งใสที่สุด ไม่เหมือนที่ผ่านมา ที่ไม่มีความชัดเจน
ส่วนโครงการสำคัญของ จ.เชียงใหม่ 46 โครงการ ที่มีการเสนอเข้าที่ประชุมครั้งนี้ ก็จะนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของแต่ละกระทรวง ซึ่งจะมีการพิจารณาในทุกจังหวัดที่เสนอมา และกระทรวงมหาดไทย จะเป็นผู้รวบรวมมาให้ ซึ่งบางโครงการก็รับได้ แต่บางโครงการก็ต้องชะลอไว้ก่อน ตนไม่สามารถให้ได้ทั้งหมดทั้ง 46 โครงการ แต่หากเรามีรายได้ดี ก็สามารถจะเอาอะไรก็ได้ และวันนี้ตนกำลังทำให้ประเทศมีรายได้ ดีขึ้น
**นายกฯบินดูปัญหาน้ำที่พรหมพิราม
เวลา 15.45 น. หลังประชุมครม.เสร็จสิ้น พล.อ.ประยุทธ์ และคณะ เดินทางลงพื้นที่ ไปยังองค์การบริหารส่วนตำบลพรหมพิราม อ.พรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก เพื่อตรวจราชการพร้อมติดตามความคืบหน้าการบริหารจัดการน้ำ โครงการข้าว และการทวงคืนผืนป่า โดยมีนายจักริน เปลี่ยนวงศ์ ผวจ.พิษณุโลก และประชาชนให้การต้อนรับ
ผวจ.พิษณุโลก รายงานว่า พื้นที่ อบต.พรหมพิราม ห่างจาก อ.พรหมพิราม ประมาณ 2 กม. และห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 30 กม. มีพื้นที่ 45,437.5 ไร่ หรือ 72.70 ตร.กม. เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำนานไหลผ่าน อาชีพหลักของประชาชนร้อยละ 90 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
สำหรับการบริหารจัดการน้ำ จ.พิษณุโลก มีเขื่อนขนาดใหญ่ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำน่านอยู่ 2 เขื่อน ประกอบด้วย เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน โดยมีเขื่อนนเรศวร เป็นเขื่อนทดน้ำในลุ่มน้ำน่าน เพื่อส่งน้ำเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูกเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร
สำหรับพื้นที่ลุ่มต่ำของ จ.พิษณุโลก ประกอบด้วยพื้นที่บางส่วนของอ.พรหมพิราม อ.เมืองพิษณุโลก และอ.บางระกำ เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำที่อยู่ต้นน้ำเจ้าพระยาจำนวน 325,000ไร่ จำนวนครัวเรือน 15,000 ครัวเรือน อย่างไรก็ตาม ประชาชนในพื้นที่ลุ่มต่ำ ต้องการขอเปลี่ยนปฏิทินการเพาะปลูกในพื้นที่ จากเดือนพ.ค. เป็น 1 เม.ย. เพื่อให้ทำการเกษตร หรือทำการเก็บเกี่ยวได้ทัน ก่อนที่จะรองรับน้ำในฤดูน้ำหลาก
ทั้งนี้ จ.พิษณุโลก ขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ดังกล่าว 21 โครงการ เป็นเงิน 649 ล้านบาท หากดำเนินการได้ ก็จะเป็นการพัฒนาแหล่งน้ำต่าง ๆ ให้เป็นพื้นที่รับน้ำนอง ซึ่งสามารถรองรับปริมาตรน้ำได้ 800 ล้านลบ.ม.
ภายหลังการรับฟังบรรยายสรุป นายกรัฐมนตรี กล่าวมอบนโยบายตอนหนึ่งว่า วันนี้ประเทศไทยกำลังเดินไปข้างหน้า แต่ติดปัญหาเรื่องความยากจน เพราะเกิดความเหลื่อมล้ำในสังคม จึงทำให้เกิดความขัดแย้งในประเทศตามมา รัฐบาลจึงต้องทำให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิ์ทางกฎหมายอย่างเท่าเทียม เพื่อสร้างบรรทัดฐานให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างเข้มแข็ง
ในส่วนของหน่วยงานราชการต้องทำงานเดินหน้าไปพร้อมกันอย่างเป็นระบบ ในกลุ่มงานที่เกี่ยวข้องกัน เพื่ออำนวยความสะดวกแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนอย่างมีศักดิ์ศรี และเป็นธรรม สำหรับการผลิตสินค้าเกษตรภายในประเทศ ต้องปรับโครงสร้างใหม่ทั้งประเทศ ต้องคำนึงถึงความต้องการอุปโภคภายในประเทศ และเพื่อส่งออกจำหน่ายไปยังต่างประเทศ รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสินค้าเกษตรมุ่งผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า ทั้งนี้ เกษตรกรต้องมีการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง มีอำนาจในการต่อรองราคาสินค้า พร้อมกับพัฒนาการเรียนรู้มุ่งสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน
หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีได้เดินพบปะประชาชนที่มาให้การต้อนรับอย่างเป็นกันเอง พร้อมเยี่ยมชมการจัดนิทรรศการสินค้าโอทอปจังหวัดพิษณุโลก ก่อนเดินทางกลับกรุงเทพฯ
ในส่วนของคณะรัฐมนตรีคนอื่นๆ ทางเจ้าหน้าที่ได้จัดรถตู้ และมาพร้อมกันกันละ 2-4 คน ซึ่งส่วนใหญ่ได้สวมผ้าไทยเข้าร่วมประชุม นอกจากนี้ สื่อมวลชนยังให้ความสนใจ พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา ผู้ช่วย ผบ.ทบ. น้องชายนายกรัฐมนตรี ที่เดินทางมาดูแลรักษาความปลอดภัยนายกรัฐมนตรี และครม.ด้วยตัวเอง เนื่องจากมีชื่อเป็นแคนดิเดตว่าที่ ผบ.ทบ. ในโผโยกย้ายนายทหารที่จะมีขึ้นในเดือนกันยายนนี้
สำหรับการรักษาความปลอดภัยเป็นไปอย่างเข้มงวดตามแผนรักษาความปลอดภัยขั้นสูงสุด ที่หน่วยงานที่รับผิดชอบได้กำหนด และซักซ้อมไว้ โดยมีเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ ทั้งในและนอกเครื่องแบบกว่า 1 พันนาย ตรวจตราบริเวณทั้งในะนอกสถานที่จัดการประชุม โดยผู้ที่เข้าร่วมประชุมทุกคน จะต้องติดบัตรแสดงตน และต้นสังกัดให้ชัดเจน หากจะเข้าไปในบริเวณอาคารสถานที่จัดประชุม และส่วนที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่จะมีการตรวจอย่างและเอียด และผ่านเครื่องแสกนวัตถุระเบิด ส่วนบริเวณรั้วรอบศูนย์การประชุมได้มีการจัดวางกำลังพลทหารจากหน่วย มทบ.33 ในเครื่องแบบ พร้อมอาวุธครบมือ ยืนประจำจุดทุก 100 เมตร
นอกจากนี้ทางการข่าวยังได้ตรวจเข้ม และเช็คความเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ที่เตรียมจะมายื่นหนังสือและแสดงสัญลักษณ์ โดยให้เจ้าหน้าที่ ไปประสานขอความร่วมมือว่าอย่าเพิ่งมีการเคลื่อนไหว หรือแสดงสัญลักษณ์อะไรในช่วงนี้ หากมีเรื่องร้องเรียนให้ยื่นไปตามขั้นตอนของทางจังหวัด โดยทางจังหวัดได้จัดเจ้าหน้าที่จากศูนย์ดำรงธรรม จ.เชียงใหม่ มาตั้งโต๊ะรับเรื่องที่ประตู 6 ของศูนย์ประชุมฯ นอกเหนือจากเปิดรับเรื่องที่ศูนย์ดำรงธรรม ที่ศาลากลาง จ.เชียงใหม่
ขณะที่วาระการประชุมจะมีการติดตามสถานการณ์และกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และโครงการสำคัญที่ทาง จ.เชียงใหม่ จะเสนอเพื่อพิจารณา อาทิ โครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในจ.เชียงใหม่ โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงระบบคมนาคมและขนส่งภูมิภาค โครงการศึกษาวิจัยเพื่อก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติแห่งชาติเชียงใหม่ แห่งที่ 2 เป็นต้น
รายงานข่าวจากสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) ซึ่งกำกับดูแลศูนย์ประชุมฯ ระบุว่า ในการเดินทางมาประชุมครม.สัญจรครั้งนี้ ทางสำนักงานพัฒนาพิงคนครฯได้ใช้งบประมาณ 2 ล้านบาท ในการปรับปรุงซ่อมแซม ทำความสะอาด ปรับภูมิทัศน์สถานที่ ทั้งภายนอกภายในศูนย์ประชุมฯกว่า 100 รายการ อาทิ หลอดไฟ หลังคา ปรับปรุงพื้นผิวถนนบางส่วน และล้างทำความสะอาดลานน้ำพุหน้าศูนย์ประชุม เพื่อรองรับการประชุมครม.สัญจรครั้งนี้
** ว้ากขรก.กรมชลฯบรรยายภัยแล้งไม่เข้าหู
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนการประชุม พล.อ.ประยุทธ์ ได้เยี่ยมชมบูธนิทรรศการของหน่วยงานต่างๆ ที่มาจัดแสดงภายในศูนย์ประชุมนานาชาติฯ ปรากฏว่าในช่วงหนึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ มีสีหน้าหงุดหงิด และได้ตำหนิการจัดทำป้าย ที่นำมาแสดงที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ พร้อมกับได้แนะนำ และได้นำปากกาเคมีมาเขียน และลากเส้นด้วยมือตัวเอง ทับลงบนบอร์ดการแสดง
นอกจากนี้ ยังได้ชมการออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นเป้สะพายหลัง พร้อมหยิบเป้ขึ้นมาสะพาย และแนะนำว่า ขอให้ออกแบบให้ดีกว่านี้ จากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ พร้อมด้วย พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ , พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการกำหนดนโยบายและบริหารจัดการน้ำ คสช. ได้เดินมาถึงบูธของกรมชลประทาน ที่นำโมเดลการบริหารการจัดการน้ำมาจัดแสดง ซึ่งมี นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน เป็นผู้บรรยาย โดยนายเลิศวิโรจน์ บรรยายว่า โมเดลนี้แสดงให้เห็นการบริหารจัดการน้ำของ จ.เชียงใหม่ ที่นำแนวพระราชดำริมาเป็นแนว ทางที่จะจัดการป้องกันน้ำท่วม
แต่ปรากฏว่า ขณะที่นายเลิศวิโรจน์ กำลังชี้มือบรรยายอยู่นั้น พล.อ.ประยุทธ์ มีสีหน้าหงุดหงิด และได้ดึงมือของนายเลิศวิโรจน์ ออกจากโมเดลทันที พร้อมบอกว่า พอๆ โดยนายกฯได้ถามว่า ต้นน้ำมาจากทางไหน และสั่งให้ข้าราชการกรมชลประทานอีกคน ใช้ไม้ชี้ให้ดู ขณะที่นายเลิศวิโรจน์ ได้แต่ยืนยิ้มอยู่ด้านหลังนายกฯ
ขณะที่ข้าราชการคนดังกล่าว ได้ชี้แจงว่า เส้นนี้คือแม่น้ำปิง และแม่น้ำแม่แตง ที่จะเข้าจ.เชียงใหม่ อย่างไรก็ตาม นายกฯ ยังมีสีหน้าหงุดหงิดอย่างเห็นได้ชัด และถามต่อว่า ต้นน้ำมาจากไหน ซึ่งข้าราชการรายนั้นได้ตอบว่า มาจากเวียงแหง พล.อ.ประยุทธ์ ถามอีกว่า "เวียงแหงมาจากตรงไหน มาจากบนเขา ในเขา หรือว่าต้นไม้ มาจากป่าใช่ไหม แล้ววันนี้มันแห้งหรือยัง ยังมีไหลอยู่หรือไม่ เพราะอะไร ทำไมถึงเหลือน้อย" เมื่อข้าราชการคนดังกล่าวตอบว่า "ฝนน้อย" นายกฯ จึงถามอีกว่า "ทำไมฝนถึงน้อย" ข้าราชการตอบว่า "เพราะป่าครับ" พล.อ.ประยุทธ์ จึงได้พูดว่า แล้วใครต้องดูแลป่า เพราะเมื่อมันไม่มีน้ำ บรรยายมาทั้งหมด มันก็ไม่มีน้ำ จะทำยังไงให้ต้นน้ำมาได้ ก็ต้องมีต้นไม้ ก็ต้องเสริมไปเรื่อยๆ แล้วต้นน้ำไม่มีน้ำ จะเอาน้ำที่ไหนไหลลงมา
จากนั้นข้าราชการคนดังกล่าวก็ยืนนิ่งไป จนทำให้นายกฯ เอื้อมมือไปคว้าไม้มาชี้ที่โมเดลด้วยตัวเอง แล้วกล่าวว่า "ก็ตอบไม่ตรง คุณต้องหาที่เก็บกักน้ำให้ได้ ถ้าฝนมันลงที่ต้นน้ำ คุณก็เก็บไว้ และต้องขุดลอกเพื่อเชื่อมต่อระบบน้ำ ทำได้ไหม ที่ผมถามเนี่ย ทำได้ไหม "
อย่างไรก็ตาม พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวเสริมว่า จากงบประมาณปี 56-57 มีงบประมาณทำโครงการที่จะทำให้แม่น้ำปิงเก็บน้ำได้มาก และที่แม่กวง ที่รัฐบาลนี้ได้อนุมัติไปแล้วด้วย และจากนั้นนายกฯ ก็ได้เดินไปชมบูธอื่นๆ ต่อ ก่อนเข้าห้องประชุม ครม.
** เพิ่มงบฯเจาะบ่อบาดาลเป็น 1 พันบ่อ
หลังการประชุมครม. พล.อ.ประยุทธ์ ให้สัมภาษณ์ว่า จุดประสงค์ในการประชุมครม.นอกสถานที่ ก็เพื่อเยี่ยมเยียน รับทราบปัญหาในเรื่องการบริหารจัดการ ที่ต้องมีการพูดคุยกับผู้ปฏิบัติในพื้นที่ ว่าสิ่งที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบายมีเรื่องอะไรบ้าง ซึ่งวันนี้ได้เน้นเรื่องการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ เรามาดูตั้งแต่พื้นที่ต้นน้ำ โดยสมัยก่อนน้ำก็มีการไหลลงไปตามปกติ แต่วันนี้พอฝนไม่มา ก็ต้องมีการสำรวจในพื้นที่ต้นน้ำ พบว่าแห้งแล้งเพราะป่าน้อยลง โดยที่ผ่านมามีการทำฝนเทียมมากว่า 2,000 ครั้ง แต่ได้ปริมาณฝนไม่มาก เพราะมีปริมาณเมฆน้อย อากาศยังแห้งแล้งอยู่ ฉะนั้นฝนที่ตกลงมา อาจทำให้แผ่นดินชุ่มฉ่ำ แต่ยังปลูกพืชไม่ได้ โดยวันนี้จะมาเร่งดูที่ต้นน้ำ สิ่งที่ตนคิดให้เร็วๆได้คือ จะดูว่าปรับแก้งบประมาณในส่วนไหนได้บ้าง ซึ่งมีการปรับบาง ส่วนในเรื่องการทำน้ำบาดาลที่จะต้องเพิ่มจาก 500 แห่ง เป็น 1,000 แห่ง
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ฝากชาวเมืองทุกจังหวัด ใช้น้ำอย่างประหยัด ต้องนึกถึงเกษตรกร ถ้าผลผลิตที่เป็นพืชเศรษฐกิจของเรา ถ้าไม่สามารถปลูกได้ จะทำให้ยิ่งแย่ไปกว่าเดิม รายได้จากการท่องเที่ยวก็เอาไม่อยู่
**เร่งจัดโซนนิ่งปลูกพืชให้เหมาะสม
อย่างไรก็ตาม ขอเตือนว่าน้ำบาดาลไม่ได้ใช้ในการทำเกษตร แต่จำเป็นต้องทำให้พื้นที่ที่เพาะปลูกไปแล้ว เพราะเราได้เตือนไปแล้ว แต่จะไม่ช่วย ก็ไม่ได้ ทำได้แค่ไหนก็ต้องแค่นั้น ไม่ใช่จะให้ทำได้แบบปกติ อีกส่วนหนึ่งคือ กลุ่มที่ยังไม่ได้ปลูกครอปแรกนั้น จะทำอย่างไร เพราะเคยปลูก 2 ครอป ในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาทั้งตอนบนและตอนล่าง เมื่อทำไม่ได้ ก็ต้องไปหาอาชีพอื่น ซึ่งวันนี้เขาก็ไปปลูกถั่ว ปลูกงา ทำกิจกรรมอื่นๆ โดยวันนี้ต้องทำวิกฤตให้เป็นโอกาส ในการจัดสรรพื้นที่การปลูกให้เหมาะสมกับพืช โดยตนได้สั่งการไปแล้วว่า จะต้องเพิ่มพื้นที่ชลประทานอีกร้อยละ 10 ของพื้นที่เดิม ภายในปี 2559 ทั้งนี้ จากพื้นที่เพาะปลูก 137 ล้านไร่ จะสามารถเพราะปลูกได้เพียง ร้อยละ 40 ฉะนั้นต้องดูว่า นอกเขตพื้นที่ดังกล่าวจะทำอย่างไร จึงจะนำไปสู่การโซนนิ่งพื้นที่ กำหนดการปลูกพืชให้เหมาะสม เป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย และต้องกำหนดอุปสงค์ อุปทาน ในประเทศ และการส่งออก และเพิ่มการแปรรูปให้มากขึ้น และจะต้องมีความเชื่อมโยงในทุกระดับ และสร้างทั้งระบบให้มีความเข้มแข็ง
นอกจากนี้ยังต้องพัฒนาในเรื่องระบบขนส่ง ถนน ทางรถไฟต่างๆ ซึ่งต้องเป็นไปตามห้วงเวลาที่เราสามารถดำเนินการได้ ขณะนี้รัฐบาลได้มีการเริ่มดำเนินการไปแล้วอะไรที่ทำได้ก็ทำ อะไรที่ทำไม่ได้ก็ส่งให้รัฐบาลหน้ารับไปทำ เพราะต้องใช้งบประมาณสูง ต้องมีการศึกษาวิจัย และทำประชาพิจารณ์ ไม่ใช่อยู่ดีๆ สร้างได้เลย แต่ปีนี้ที่สามารถทำได้ก่อนก็มีเพียง การก่อสร้างรถไฟความเร็วปานกลางไทย-จีน ส่วนต่อไปจะมีการเดินหน้าในเส้นทางรถไฟสายเหนือ ซึ่งมีการพูดคุยกับญี่ปุ่นแล้ว สำหรับรถไฟทางคู่ในประเทศเรา จะใช้งบประมาณของเราเอง โดยทั้งหมดนั้นเป็นอนาคต อย่าคิดว่าที่ เราวางแผน 3 ล้านล้าน จะมาใช้วันเดียว ซึ่งต้องไปว่ากันในรัฐบาลหน้า อย่ากังวลเรื่องนี้ เราทำอย่างโปร่งใสที่สุด ไม่เหมือนที่ผ่านมา ที่ไม่มีความชัดเจน
ส่วนโครงการสำคัญของ จ.เชียงใหม่ 46 โครงการ ที่มีการเสนอเข้าที่ประชุมครั้งนี้ ก็จะนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของแต่ละกระทรวง ซึ่งจะมีการพิจารณาในทุกจังหวัดที่เสนอมา และกระทรวงมหาดไทย จะเป็นผู้รวบรวมมาให้ ซึ่งบางโครงการก็รับได้ แต่บางโครงการก็ต้องชะลอไว้ก่อน ตนไม่สามารถให้ได้ทั้งหมดทั้ง 46 โครงการ แต่หากเรามีรายได้ดี ก็สามารถจะเอาอะไรก็ได้ และวันนี้ตนกำลังทำให้ประเทศมีรายได้ ดีขึ้น
**นายกฯบินดูปัญหาน้ำที่พรหมพิราม
เวลา 15.45 น. หลังประชุมครม.เสร็จสิ้น พล.อ.ประยุทธ์ และคณะ เดินทางลงพื้นที่ ไปยังองค์การบริหารส่วนตำบลพรหมพิราม อ.พรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก เพื่อตรวจราชการพร้อมติดตามความคืบหน้าการบริหารจัดการน้ำ โครงการข้าว และการทวงคืนผืนป่า โดยมีนายจักริน เปลี่ยนวงศ์ ผวจ.พิษณุโลก และประชาชนให้การต้อนรับ
ผวจ.พิษณุโลก รายงานว่า พื้นที่ อบต.พรหมพิราม ห่างจาก อ.พรหมพิราม ประมาณ 2 กม. และห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 30 กม. มีพื้นที่ 45,437.5 ไร่ หรือ 72.70 ตร.กม. เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำนานไหลผ่าน อาชีพหลักของประชาชนร้อยละ 90 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
สำหรับการบริหารจัดการน้ำ จ.พิษณุโลก มีเขื่อนขนาดใหญ่ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำน่านอยู่ 2 เขื่อน ประกอบด้วย เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน โดยมีเขื่อนนเรศวร เป็นเขื่อนทดน้ำในลุ่มน้ำน่าน เพื่อส่งน้ำเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูกเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร
สำหรับพื้นที่ลุ่มต่ำของ จ.พิษณุโลก ประกอบด้วยพื้นที่บางส่วนของอ.พรหมพิราม อ.เมืองพิษณุโลก และอ.บางระกำ เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำที่อยู่ต้นน้ำเจ้าพระยาจำนวน 325,000ไร่ จำนวนครัวเรือน 15,000 ครัวเรือน อย่างไรก็ตาม ประชาชนในพื้นที่ลุ่มต่ำ ต้องการขอเปลี่ยนปฏิทินการเพาะปลูกในพื้นที่ จากเดือนพ.ค. เป็น 1 เม.ย. เพื่อให้ทำการเกษตร หรือทำการเก็บเกี่ยวได้ทัน ก่อนที่จะรองรับน้ำในฤดูน้ำหลาก
ทั้งนี้ จ.พิษณุโลก ขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ดังกล่าว 21 โครงการ เป็นเงิน 649 ล้านบาท หากดำเนินการได้ ก็จะเป็นการพัฒนาแหล่งน้ำต่าง ๆ ให้เป็นพื้นที่รับน้ำนอง ซึ่งสามารถรองรับปริมาตรน้ำได้ 800 ล้านลบ.ม.
ภายหลังการรับฟังบรรยายสรุป นายกรัฐมนตรี กล่าวมอบนโยบายตอนหนึ่งว่า วันนี้ประเทศไทยกำลังเดินไปข้างหน้า แต่ติดปัญหาเรื่องความยากจน เพราะเกิดความเหลื่อมล้ำในสังคม จึงทำให้เกิดความขัดแย้งในประเทศตามมา รัฐบาลจึงต้องทำให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิ์ทางกฎหมายอย่างเท่าเทียม เพื่อสร้างบรรทัดฐานให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างเข้มแข็ง
ในส่วนของหน่วยงานราชการต้องทำงานเดินหน้าไปพร้อมกันอย่างเป็นระบบ ในกลุ่มงานที่เกี่ยวข้องกัน เพื่ออำนวยความสะดวกแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนอย่างมีศักดิ์ศรี และเป็นธรรม สำหรับการผลิตสินค้าเกษตรภายในประเทศ ต้องปรับโครงสร้างใหม่ทั้งประเทศ ต้องคำนึงถึงความต้องการอุปโภคภายในประเทศ และเพื่อส่งออกจำหน่ายไปยังต่างประเทศ รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสินค้าเกษตรมุ่งผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า ทั้งนี้ เกษตรกรต้องมีการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง มีอำนาจในการต่อรองราคาสินค้า พร้อมกับพัฒนาการเรียนรู้มุ่งสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน
หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีได้เดินพบปะประชาชนที่มาให้การต้อนรับอย่างเป็นกันเอง พร้อมเยี่ยมชมการจัดนิทรรศการสินค้าโอทอปจังหวัดพิษณุโลก ก่อนเดินทางกลับกรุงเทพฯ