บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เดินหน้าโครงการ “คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร” (Carbon Footprint for Organization : CFO) ตั้งเป้าภายใน 3 ปี ดำเนินการครอบคลุมทุกหน่วยงาน พร้อมการลดการปล่อยคาร์บอน 20% ทั้งองค์กรในปี 2020
ล่าสุด ได้ดำเนินโครงการ “คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร” เพื่อคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากกระบวนการผลิตและกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่การผลิตอาหารสัตว์ (Feed) ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ (Farm) การแปรรูปอาหาร (Food) การขนส่งและการกระจายสินค้า (Logistic & DC) ที่จะนำไปสู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการที่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
วีรชัย รัตนบานชื่น รองประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ กล่าวว่า เพื่อให้การแก้ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากตัวบุคลากรของซีพีเอฟเอง บริษัทจึงได้ชักชวนผู้บริหารและบุคลากรทุกระดับเข้าร่วม โครงการ “Carbon Neutral Man : คนไทยหัวใจไร้คาร์บอน” ซึ่งเป็นกิจกรรมการชดเชยคาร์บอนประเภทบุคคลนำร่องแห่งแรกในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรของซีพีเอฟ มีความตระหนักในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
โครงการนี้จะช่วยขับเคลื่อนตลาดสินค้าคาร์บอนต่ำในไทย ด้วยการสร้างวิถีชีวิตแบบ Low carbon และชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากชีวิตประจำวันให้เป็นศูนย์ จากการซื้อคาร์บอนเครดิตจากโครงการสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2556 โดยมีองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ให้การรับรองบุคคลที่เป็น Carbon Neutral Man ซึ่งผลการดำเนินโครงการในปีที่ผ่านมาบุคลากรได้ร่วมกันชดเชยคาร์บอนไปแล้วรวม 145 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และในปีนี้มีบุคลากรเข้าร่วมโครงการฯ 30 คน ชดเชยคาร์บอนไปแล้วรวม 134 ตันคาร์บอน เทียบกับการปิดไฟ ประมาณ 6.1 ล้านดวง เป็นเวลา 1 ชม.
ทั้งนี้ ซีพีเอฟในฐานะผู้นำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจร ที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศด้านคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ควบคู่ไปกับการการใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างประโยชน์ต่อสังคม ภายใต้แนวคิดการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืน (Sustainable Consumption and Production) เพื่อการสร้างเสถียรภาพทางอาหาร และสามารถบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่ความยั่งยืนในทุกภาคส่วน
อีกทั้งใช้ในการสื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ได้อย่างโปร่งใส สอดคล้องกับความต้องการของสังคมที่มีความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นทุกขณะ และตอบสนองต่อกลยุทธ์การบริหารอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจสีเขียว (Green Business) เขาบอกว่า อยู่ในขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลด้านการใช้พลังงานของหน่วยงานต่างๆ เพื่อนำไปคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากการดำเนินงานขององค์กร สู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากการดำเนินงานขององค์กร สู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2560 หรือระยะเวลา 3 ปีนับจากนี้
ล่าสุด ได้ดำเนินโครงการ “คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร” เพื่อคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากกระบวนการผลิตและกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่การผลิตอาหารสัตว์ (Feed) ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ (Farm) การแปรรูปอาหาร (Food) การขนส่งและการกระจายสินค้า (Logistic & DC) ที่จะนำไปสู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการที่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
วีรชัย รัตนบานชื่น รองประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ กล่าวว่า เพื่อให้การแก้ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากตัวบุคลากรของซีพีเอฟเอง บริษัทจึงได้ชักชวนผู้บริหารและบุคลากรทุกระดับเข้าร่วม โครงการ “Carbon Neutral Man : คนไทยหัวใจไร้คาร์บอน” ซึ่งเป็นกิจกรรมการชดเชยคาร์บอนประเภทบุคคลนำร่องแห่งแรกในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรของซีพีเอฟ มีความตระหนักในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
โครงการนี้จะช่วยขับเคลื่อนตลาดสินค้าคาร์บอนต่ำในไทย ด้วยการสร้างวิถีชีวิตแบบ Low carbon และชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากชีวิตประจำวันให้เป็นศูนย์ จากการซื้อคาร์บอนเครดิตจากโครงการสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2556 โดยมีองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ให้การรับรองบุคคลที่เป็น Carbon Neutral Man ซึ่งผลการดำเนินโครงการในปีที่ผ่านมาบุคลากรได้ร่วมกันชดเชยคาร์บอนไปแล้วรวม 145 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และในปีนี้มีบุคลากรเข้าร่วมโครงการฯ 30 คน ชดเชยคาร์บอนไปแล้วรวม 134 ตันคาร์บอน เทียบกับการปิดไฟ ประมาณ 6.1 ล้านดวง เป็นเวลา 1 ชม.
ทั้งนี้ ซีพีเอฟในฐานะผู้นำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจร ที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศด้านคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ควบคู่ไปกับการการใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างประโยชน์ต่อสังคม ภายใต้แนวคิดการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืน (Sustainable Consumption and Production) เพื่อการสร้างเสถียรภาพทางอาหาร และสามารถบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่ความยั่งยืนในทุกภาคส่วน
อีกทั้งใช้ในการสื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ได้อย่างโปร่งใส สอดคล้องกับความต้องการของสังคมที่มีความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นทุกขณะ และตอบสนองต่อกลยุทธ์การบริหารอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจสีเขียว (Green Business) เขาบอกว่า อยู่ในขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลด้านการใช้พลังงานของหน่วยงานต่างๆ เพื่อนำไปคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากการดำเนินงานขององค์กร สู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากการดำเนินงานขององค์กร สู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2560 หรือระยะเวลา 3 ปีนับจากนี้