ก่อนหน้านี้มีกระแสถกเถียงกันอย่างมากว่า ระหว่างน้ำมันหมูกับน้ำมันพืชนั้น เราควรบริโภคน้ำมันประเภทไหนกันแน่ บ้างก็บอกว่าน้ำมันหมูดีต่อสุขภาพมากกว่าเพราะมีกรรมวิธีการผลิตที่ปลอดภัยกว่า บ้างก็ว่าน้ำมันพืชดีกว่า เพราะเป็นไขมันไม่อิ่มตัว คอเลสเตอรอลน้อยกว่าไขมันสัตว์
เอาเป็นว่าเรามาเช็คกันดีกว่าว่าน้ำมันหมูกับน้ำมันพืชมีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
น้ำมันหมู เป็นน้ำมันที่ไม่ต้องผ่านกระบวนการผลิตหลายขั้นตอน เพียงนำมันหมูแข็งมาเจียวก็จะได้น้ำมันแล้ว
** หมายเหตุ น้ำมันหมูก็มีส่วนคล้ายน้ำมันพืชบางชนิด เช่น น้ำมันปาล์มและน้ำมันมะพร้าวเพราะมีไขมันอิ่มตัวสูงและมีจุดเกิดควันสูงเช่นเดียวกัน
ข้อดี
-ผลิตได้ง่ายกว่าน้ำมันพืช ไม่ต้องใช้สารเคมี ไม่ต้องผ่านขบวนการอุตสาหกรรม เพราะแค่นำมันหมูแข็งมาเจียวก็ได้น้ำมันแล้ว ต่างจากน้ำมันพืชที่ต้องผ่านกระบวนการผลิตหลายขั้นตอน
-มีจุดเกิดควันสูง ซึ่งเมื่อนำไปปรุงอาหารประเภททอดจะใช้ความร้อนสูง เลยไม่ก่อให้เกิดสารก่อมะเร็ง
- นํ้ามันหมูปรุงอาหารได้ หอม อร่อย กว่านํ้ามันพืช อีกทั้งยังทนความร้อนสูงทำให้อาหารกรอบ
-น้ำมันหมู เหมาะที่จะใช้กับมนุษย์ เนื่องจากอวัยวะในร่างกายหลายๆ อย่างมีส่วนคล้ายคลึงกัน และในวงการแพทย์ยังมีความพยายามที่จะเปลี่ยนถ่ายอวัยวะภายในของหมูกับคนอีกด้วย
- น้ำมันหมูสามารถเก็บได้นาน ไม่เหม็นหืน เนื่องจากเป็นไขมันที่อิ่มตัวจึงไม่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนให้เกิดกลิ่นหืน
ข้อเสีย
-น้ำมันหมูไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคเท่าน้ำมันพืช
-มีไขมันเลว เช่น คลอเลสเตอรอล กรดไขมันอิ่มตัวปริมาณสูง หากกินเป็นประจำจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ ภาวะไขมันในเลือดสูง และโรคมะเร็ง
-เป็นไข มีคุณสมบัติแข็งตัวง่าย
น้ำมันพืช ได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันข้าวโพด ฯลฯ เป็นต้น
**หมายเหตุ น้ำมันพืชแต่ละชนิดนั้นก็มีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป
ข้อดี
-ไขมันไม่อิ่มตัวสูง แทบจะไม่มีคลอเลสเตอรอลเลย ไม่เหมือนน้ำมันหมูที่มีคลอเลสเตอรอลมาก
-ไม่เป็นไข มีคุณสมบัติแข็งตัวยาก
-น้ำมันพืชบางชนิดมีกรดไขมันโอเมก้า-3 สูงมากๆ เช่น น้ำมันคาโนลา
-น้ำมันพืชมีโอเมก้า-6 เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันรำข้าว น้ำมันข้าวโพด ฯลฯ เป็นต้น
- น้ำมันพืชบางชนิด เช่น น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน น้ำมันมะกอก มีกรดไลโนเลอิกสูง ซึ่งกรดดังกล่าวจะช่วยลดคลอเลสเตอรอลที่ไม่ดีได้
ข้อเสีย
-ถึงแม้ว่าจะ ปราศจากไขมันอันตรายหรือไม่มีคลอเลสเตอรอลก็ตามแต่ทว่าน้ำมันพืชบางชนิดมีจุดเกิดควันต่ำมาก จึงไม่เหมาะกับการนำมาทอด แต่จะเหมาะกับการผัดมากกว่า เพราะถ้าหากนำมาทอดอาหารจะทำให้เกิดสารก่อมะเร็งได้
-การสกัดน้ำมันพืชยังต้องใช้ความร้อนที่สูงมาก ใช้สารเคมีหลายขั้นตอน ควรใช้น้ำมันพืชสกัดเย็นจะดีกว่า
ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ว่าเราจะบริโภคน้ำมันอะไรก็แล้วแต่เราควรบริโภคเพียงเล็กน้อย ซึ่งร่างกายคนเราต้องการพลังงานโดยประมาณ 2,000 แคลอรี่ ต่อวัน ดังนั้นควรจะเป็นไขมันไม่เกิน 25-30% ต่อพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวัน เพี่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อภาวะไขมันอุดตันในเส้นเลือด และโรคภัยต่างๆ นั่นเอง
เอาเป็นว่าเรามาเช็คกันดีกว่าว่าน้ำมันหมูกับน้ำมันพืชมีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
น้ำมันหมู เป็นน้ำมันที่ไม่ต้องผ่านกระบวนการผลิตหลายขั้นตอน เพียงนำมันหมูแข็งมาเจียวก็จะได้น้ำมันแล้ว
** หมายเหตุ น้ำมันหมูก็มีส่วนคล้ายน้ำมันพืชบางชนิด เช่น น้ำมันปาล์มและน้ำมันมะพร้าวเพราะมีไขมันอิ่มตัวสูงและมีจุดเกิดควันสูงเช่นเดียวกัน
ข้อดี
-ผลิตได้ง่ายกว่าน้ำมันพืช ไม่ต้องใช้สารเคมี ไม่ต้องผ่านขบวนการอุตสาหกรรม เพราะแค่นำมันหมูแข็งมาเจียวก็ได้น้ำมันแล้ว ต่างจากน้ำมันพืชที่ต้องผ่านกระบวนการผลิตหลายขั้นตอน
-มีจุดเกิดควันสูง ซึ่งเมื่อนำไปปรุงอาหารประเภททอดจะใช้ความร้อนสูง เลยไม่ก่อให้เกิดสารก่อมะเร็ง
- นํ้ามันหมูปรุงอาหารได้ หอม อร่อย กว่านํ้ามันพืช อีกทั้งยังทนความร้อนสูงทำให้อาหารกรอบ
-น้ำมันหมู เหมาะที่จะใช้กับมนุษย์ เนื่องจากอวัยวะในร่างกายหลายๆ อย่างมีส่วนคล้ายคลึงกัน และในวงการแพทย์ยังมีความพยายามที่จะเปลี่ยนถ่ายอวัยวะภายในของหมูกับคนอีกด้วย
- น้ำมันหมูสามารถเก็บได้นาน ไม่เหม็นหืน เนื่องจากเป็นไขมันที่อิ่มตัวจึงไม่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนให้เกิดกลิ่นหืน
ข้อเสีย
-น้ำมันหมูไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคเท่าน้ำมันพืช
-มีไขมันเลว เช่น คลอเลสเตอรอล กรดไขมันอิ่มตัวปริมาณสูง หากกินเป็นประจำจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ ภาวะไขมันในเลือดสูง และโรคมะเร็ง
-เป็นไข มีคุณสมบัติแข็งตัวง่าย
น้ำมันพืช ได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันข้าวโพด ฯลฯ เป็นต้น
**หมายเหตุ น้ำมันพืชแต่ละชนิดนั้นก็มีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป
ข้อดี
-ไขมันไม่อิ่มตัวสูง แทบจะไม่มีคลอเลสเตอรอลเลย ไม่เหมือนน้ำมันหมูที่มีคลอเลสเตอรอลมาก
-ไม่เป็นไข มีคุณสมบัติแข็งตัวยาก
-น้ำมันพืชบางชนิดมีกรดไขมันโอเมก้า-3 สูงมากๆ เช่น น้ำมันคาโนลา
-น้ำมันพืชมีโอเมก้า-6 เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันรำข้าว น้ำมันข้าวโพด ฯลฯ เป็นต้น
- น้ำมันพืชบางชนิด เช่น น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน น้ำมันมะกอก มีกรดไลโนเลอิกสูง ซึ่งกรดดังกล่าวจะช่วยลดคลอเลสเตอรอลที่ไม่ดีได้
ข้อเสีย
-ถึงแม้ว่าจะ ปราศจากไขมันอันตรายหรือไม่มีคลอเลสเตอรอลก็ตามแต่ทว่าน้ำมันพืชบางชนิดมีจุดเกิดควันต่ำมาก จึงไม่เหมาะกับการนำมาทอด แต่จะเหมาะกับการผัดมากกว่า เพราะถ้าหากนำมาทอดอาหารจะทำให้เกิดสารก่อมะเร็งได้
-การสกัดน้ำมันพืชยังต้องใช้ความร้อนที่สูงมาก ใช้สารเคมีหลายขั้นตอน ควรใช้น้ำมันพืชสกัดเย็นจะดีกว่า
ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ว่าเราจะบริโภคน้ำมันอะไรก็แล้วแต่เราควรบริโภคเพียงเล็กน้อย ซึ่งร่างกายคนเราต้องการพลังงานโดยประมาณ 2,000 แคลอรี่ ต่อวัน ดังนั้นควรจะเป็นไขมันไม่เกิน 25-30% ต่อพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวัน เพี่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อภาวะไขมันอุดตันในเส้นเลือด และโรคภัยต่างๆ นั่นเอง