โรคหลอดเลือดสมอง เป็นหนึ่งในเหตุผลหลักที่มาของการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต องค์การอนามัยโลกรายงานว่า ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ทั่วโลกมีผู้ป่วยด้วยโรคนี้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 15 ล้านคนต่อปี และในจำนวนนี้มีผู้พิการถาวร (อัมพาต) มากถึง 5 ล้านคน และเสียชีวิตอีกถึง 5 ล้านคน ขณะที่ในประเทศไทย ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ผู้เป็นโรคหลอดเลือดสมองมีจำนวนเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าหนึ่งแสนห้าหมื่นคนต่อปี และในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคน
อย่างไรก็ดี กันไว้ย่อมดีกว่าแก้ เพราะแก้แล้วอาจจะแก้ไม่ทัน และหนึ่งในการป้องกันไม่ให้โรคดังกล่าวนี้มาเยือน ผู้เชี่ยวชาญก็แนะนำโภชนาการอาหารการกินที่ป้องกันโรคหลอดสมอง ดังต่อไปนี้
1.รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ได้แก่ ข้าว แป้ง ธัญพืช เนื้อสัตว์ ไขมัน ผักและผลไม้ โดยให้แต่ละหมู่มีความหลากหลาย ในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย
2.เลือกชนิดหรือประเภทอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง เช่น ข้าว แป้ง และธัญพืชที่ผ่านการขัดสีน้อย ผักและผลไม้
3.งดหรือลดอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลสูง เช่น ขนมหวาน ผลไม้กวน ผลไม้แช่อิ่ม น้ำผึ้ง รวมถึงลดการเติมน้ำตาลในอาหาร
4.เลือกรับประทานผลไม้ที่มีรสหวานร้อย เช่น ฝรั่ง ชมพู่ แตงโม มะละกอ ฯลฯ
5.เลือกเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น ปลา สันในสัตว์ (อกไก่ สันในไก่-หมู่ สันนอกหมู) และเลือกผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ แทนเนื้อสัตว์ในบางมื้อ
6.เลือกดื่มนมพร่องไขมัน นมขาดมันเนย หรือนมถั่วเหลืองชนิดที่ไม่หวาน
7.เลือกใช้น้ำมันพืชที่มีไขมันไม่อิ่มตัวในการประกอบอาหารและใช้ในปริมาณที่เหมาะสม เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก
8.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ติดมันติดหนัง อาหารประเภททอด ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ (เค้ก พาย คุกกี้) รวมทั้งอาหารที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ
9.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น เครื่องในสัตว์ ไขมันสัตว์ อาหารทะเล (ปลาหมึก กุ้ง หอย ปู)
10.หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปและอาหารหมักดอง เช่น เนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการถนอมอาหาร (หมูหย็อง หมูแผ่น ปลาเค็ม อาหารแดดเดียว ปลาร้า ไตปลา น้ำบูดู ฯลฯ) ผักและผลไม้ดอง ทั้งดองเปรี้ยว ดองเค็ม และแช่อิ่มต่างๆ เนื่องจากมีโซเดียมสูง ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
11.รับประทานอาหารที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อนเชื้อโรคและสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
12.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ปริมาณมาก
_________________
ข้อมูล : หนังสือ “โรคหลอดเลือดสมอง ยิ่งรู้เร็ว ยิ่งรอดไว ยิ่งห่างไกลจากอัมพาต”, สำนักพิมพ์ Amarin Health
อย่างไรก็ดี กันไว้ย่อมดีกว่าแก้ เพราะแก้แล้วอาจจะแก้ไม่ทัน และหนึ่งในการป้องกันไม่ให้โรคดังกล่าวนี้มาเยือน ผู้เชี่ยวชาญก็แนะนำโภชนาการอาหารการกินที่ป้องกันโรคหลอดสมอง ดังต่อไปนี้
1.รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ได้แก่ ข้าว แป้ง ธัญพืช เนื้อสัตว์ ไขมัน ผักและผลไม้ โดยให้แต่ละหมู่มีความหลากหลาย ในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย
2.เลือกชนิดหรือประเภทอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง เช่น ข้าว แป้ง และธัญพืชที่ผ่านการขัดสีน้อย ผักและผลไม้
3.งดหรือลดอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลสูง เช่น ขนมหวาน ผลไม้กวน ผลไม้แช่อิ่ม น้ำผึ้ง รวมถึงลดการเติมน้ำตาลในอาหาร
4.เลือกรับประทานผลไม้ที่มีรสหวานร้อย เช่น ฝรั่ง ชมพู่ แตงโม มะละกอ ฯลฯ
5.เลือกเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น ปลา สันในสัตว์ (อกไก่ สันในไก่-หมู่ สันนอกหมู) และเลือกผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ แทนเนื้อสัตว์ในบางมื้อ
6.เลือกดื่มนมพร่องไขมัน นมขาดมันเนย หรือนมถั่วเหลืองชนิดที่ไม่หวาน
7.เลือกใช้น้ำมันพืชที่มีไขมันไม่อิ่มตัวในการประกอบอาหารและใช้ในปริมาณที่เหมาะสม เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก
8.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ติดมันติดหนัง อาหารประเภททอด ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ (เค้ก พาย คุกกี้) รวมทั้งอาหารที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ
9.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น เครื่องในสัตว์ ไขมันสัตว์ อาหารทะเล (ปลาหมึก กุ้ง หอย ปู)
10.หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปและอาหารหมักดอง เช่น เนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการถนอมอาหาร (หมูหย็อง หมูแผ่น ปลาเค็ม อาหารแดดเดียว ปลาร้า ไตปลา น้ำบูดู ฯลฯ) ผักและผลไม้ดอง ทั้งดองเปรี้ยว ดองเค็ม และแช่อิ่มต่างๆ เนื่องจากมีโซเดียมสูง ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
11.รับประทานอาหารที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อนเชื้อโรคและสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
12.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ปริมาณมาก
_________________
ข้อมูล : หนังสือ “โรคหลอดเลือดสมอง ยิ่งรู้เร็ว ยิ่งรอดไว ยิ่งห่างไกลจากอัมพาต”, สำนักพิมพ์ Amarin Health