บางคนให้สัญญากับตัวเองมาตั้งแต่เรียนมัธยม จนถึงวันจบปริญญามีงานทำเรียบร้อยแล้ว ฝันนั้นก็ยังไม่สำเร็จ “ลดน้ำหนักไม่ได้ดั่งใจสักที” มันเป็นเพราะอะไรนะ เรามาสืบเสาะเบาะแสของเรื่องราวนี้กันหน่อยดีกว่า เพราะบางที มันอาจจะช่วยให้คุณได้ค้นพบว่า เรื่องที่ดูเหมือนธรรมดาๆ ใครๆ ก็รู้แล้ว เหล่านี้ล่ะ สำคัญนักต่อปริมาณน้ำหนักในตัวคุณ!
1.ละเลยการออกกำลังกาย
การออกกำลังกายไม่เพียงช่วยเผาผลาญไขมัน แต่ยังเพิ่มระบบการเผาผลาญของร่างกายอีกด้วย เพราะทำให้ร่างกายต้องใช้พลังงานมากขึ้น คนที่ออกกำลังกายขณะลดน้ำหนัก จะช่วยรักษาน้ำหนักตัวที่ต้องการได้
2.ช่วงเวลาลดน้ำหนักสั้นเกินควร
การรีบร้อนทำสิ่งใดก็ตาม ย่อมไม่ได้ผลตามเป้าหมาย การลดน้ำหนักอย่างช้าๆ ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและปลูกฝังนิสัยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะเป็นวิธีขจัดหรือป้องกันน้ำหนักส่วนเกินออกไปได้ในระยะยาว
3.หงุดหงิดกับปริมาณอาหารที่ลดลง
ความคุ้นเคยกับปริมาณและชนิดอาหารที่เคยกินตามใจปาก ทำให้อึดอัด และขาดความอดทน เมื่อต้องลดปริมาณลง
4.มองข้ามอาหารไขมันซ่อนรูป
ไขมันประเภทเนย ครีม น้ำมัน เป็นไขมันที่มองได้ไม่ยากเมื่ออยู่เดี่ยวๆ แต่เมื่อไขมันเหล่านี้กลายเป็นส่วนผสมของอาหารแปรรูปเช่น ประเทเบเกอรี่ ไอศกรีม หรือขนมหวานแล้ว จะทำให้เรามองสภาพไขมันที่แท้จริงไม่ออก ไขมันมีพลังงานสูงกว่าคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนเกิน 2 เท่า ไขมัน 1 กรัมให้พลังงาน9 กิโลแคลอรี ในขณะที่คาร์โบไฮเดรตและโปรตีน 1 กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี ฉะนั้น อาหารไขมันซ่อนรูปจึงเป็นอาหารที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่สำเร็จ
5.มองข้ามแคลอรีจากเครื่องดื่ม
เวลาที่ดื่มเครื่องดื่ม เรามักไม่ค่อยคิดถึงแคลอรีกัน ทั้งๆ ที่เครื่องดื่มหลายชนิดมีแคลอรีที่แอบแฝงอยู่จำนวนมาก เช่น ชานมไข่มุก ชาเย็น กาแฟเย็น คาปุชชิโน น้ำปั่นชนิดต่างๆ เป็นต้น
6.ยึดตาชั่งเป็นเกณฑ์
การชั่งน้ำหนักทุกวัน ไม่ได้ช่วยให้น้ำหนักลดลงได้เร็ว ในทางตรงข้าม กลับจะทำให้หมดกำลังใจเวลาที่น้ำหนักไม่ลด ดังนั้น ควรยึดการเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งในการบริโภคและการออกกำลังกายเป็นหลัก
7.ใช้วิธีลดน้ำหนักแบบเก่าๆ
แบบแผนการลดน้ำหนักแต่ละวิธีจะแตกต่างกัน แต่แนวทางการลดน้ำหนักที่ดี ควรสอนให้เปลี่ยนพฤติกรรมแทน เพราะจะแก้ปัญหาความอ้วนได้ในระยะยาว และไม่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ
8.ขาดแรงจูงใจที่เหมาะสม
การลดน้ำหนักเพราะทำตามเพื่อน หรือเพื่อไปงานสังคม ไม่ใช่แรงจูงใจที่จะทำให้ลดน้ำหนักได้สำเร็จ แรงกระตุ้นที่จะช่วยให้ลดน้ำหนักได้สำเร็จคือ ความหวังของการมีสุขภาพที่ดี และมีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะทำจริง
______________
ข้อมูล : หนังสือ “กินอย่างไร ไม่อ้วน ไม่มีโรค” เขียนโดย “ศัลยา คงสมบูรณ์เวช”, สำนักพิมพ์ Amarin Health
1.ละเลยการออกกำลังกาย
การออกกำลังกายไม่เพียงช่วยเผาผลาญไขมัน แต่ยังเพิ่มระบบการเผาผลาญของร่างกายอีกด้วย เพราะทำให้ร่างกายต้องใช้พลังงานมากขึ้น คนที่ออกกำลังกายขณะลดน้ำหนัก จะช่วยรักษาน้ำหนักตัวที่ต้องการได้
2.ช่วงเวลาลดน้ำหนักสั้นเกินควร
การรีบร้อนทำสิ่งใดก็ตาม ย่อมไม่ได้ผลตามเป้าหมาย การลดน้ำหนักอย่างช้าๆ ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและปลูกฝังนิสัยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะเป็นวิธีขจัดหรือป้องกันน้ำหนักส่วนเกินออกไปได้ในระยะยาว
3.หงุดหงิดกับปริมาณอาหารที่ลดลง
ความคุ้นเคยกับปริมาณและชนิดอาหารที่เคยกินตามใจปาก ทำให้อึดอัด และขาดความอดทน เมื่อต้องลดปริมาณลง
4.มองข้ามอาหารไขมันซ่อนรูป
ไขมันประเภทเนย ครีม น้ำมัน เป็นไขมันที่มองได้ไม่ยากเมื่ออยู่เดี่ยวๆ แต่เมื่อไขมันเหล่านี้กลายเป็นส่วนผสมของอาหารแปรรูปเช่น ประเทเบเกอรี่ ไอศกรีม หรือขนมหวานแล้ว จะทำให้เรามองสภาพไขมันที่แท้จริงไม่ออก ไขมันมีพลังงานสูงกว่าคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนเกิน 2 เท่า ไขมัน 1 กรัมให้พลังงาน9 กิโลแคลอรี ในขณะที่คาร์โบไฮเดรตและโปรตีน 1 กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี ฉะนั้น อาหารไขมันซ่อนรูปจึงเป็นอาหารที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่สำเร็จ
5.มองข้ามแคลอรีจากเครื่องดื่ม
เวลาที่ดื่มเครื่องดื่ม เรามักไม่ค่อยคิดถึงแคลอรีกัน ทั้งๆ ที่เครื่องดื่มหลายชนิดมีแคลอรีที่แอบแฝงอยู่จำนวนมาก เช่น ชานมไข่มุก ชาเย็น กาแฟเย็น คาปุชชิโน น้ำปั่นชนิดต่างๆ เป็นต้น
6.ยึดตาชั่งเป็นเกณฑ์
การชั่งน้ำหนักทุกวัน ไม่ได้ช่วยให้น้ำหนักลดลงได้เร็ว ในทางตรงข้าม กลับจะทำให้หมดกำลังใจเวลาที่น้ำหนักไม่ลด ดังนั้น ควรยึดการเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งในการบริโภคและการออกกำลังกายเป็นหลัก
7.ใช้วิธีลดน้ำหนักแบบเก่าๆ
แบบแผนการลดน้ำหนักแต่ละวิธีจะแตกต่างกัน แต่แนวทางการลดน้ำหนักที่ดี ควรสอนให้เปลี่ยนพฤติกรรมแทน เพราะจะแก้ปัญหาความอ้วนได้ในระยะยาว และไม่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ
8.ขาดแรงจูงใจที่เหมาะสม
การลดน้ำหนักเพราะทำตามเพื่อน หรือเพื่อไปงานสังคม ไม่ใช่แรงจูงใจที่จะทำให้ลดน้ำหนักได้สำเร็จ แรงกระตุ้นที่จะช่วยให้ลดน้ำหนักได้สำเร็จคือ ความหวังของการมีสุขภาพที่ดี และมีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะทำจริง
______________
ข้อมูล : หนังสือ “กินอย่างไร ไม่อ้วน ไม่มีโรค” เขียนโดย “ศัลยา คงสมบูรณ์เวช”, สำนักพิมพ์ Amarin Health