คอลัมน์ ธรรมชาติบำบัด โดย ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
เซกชั่น Good Health & Well Being
นิตยสาร ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 10-18 ตุลาคม 2558
________________________
อาหารเจนั้นแท้ที่จริงแล้ว ก็คืออาหารมังสวิรัติที่ไม่กินแม้แต่ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ (Vegan) รวมถึงของมึนเมาและเครื่องเทศบางชนิด เพื่อให้ร่างกายและจิตใจบริสุทธิ์ โดยเทศกาลกินเจในปี พ.ศ.2558 นี้ เริ่มต้นวันอังคารที่ 13-21 ตุลาคม พ.ศ.2558 ซึ่งแต่ละคนนั้นจะมีเหตุผลในการกินเจด้วยความคาดหวังไม่เหมือนกัน บางคนคาดหวังในเรื่องสุขภาพ บางคนคาดหวังการใช้เวลาช่วงหนึ่งที่ไม่เบียดเบียนสิ่งมีชีวิต ละเว้นการทำบาป บางคนคาดหวังการปฏิบัติธรรมและถือศีลด้วยจิตเมตตา
เทศกาลการถือศีลกินผักนั้น เป็นประเพณีแบบลัทธิเต๋า รวม 9 วัน กำหนดเอาวันตามจันทรคติ คือเริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึงขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีนของทุกปี มีจุดเริ่มต้นจากประเทศจีนมานานแล้วมีไม่ต่ำกว่า 5-6 ตำนาน สำหรับประเทศไทยเชื่อกันว่าน่าจะเริ่มเกิดขึ้นกว่า 388 ปีที่แล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2170 ตรงกับสมัยอาณาจักรอยุธยา
"เจ" ในภาษาจีนทางพุทธศาสนานิกายมหายาน มีความหมายเดียวกับคำว่า "อุโบสถ" จึงมีความหมายถึงการรักษาความบริสุทธิ์ทั้งกายและใจเพื่อสักการบูชาเทพยดา
ความจริงแล้วในหมู่คนที่กินมังสวิรัตินั้นสามารถแบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม คือกลุ่มที่เรียกว่า มังสวิรัติ ในความหมายของ Vegetarian ซึ่งหมายถึงเว้นเนื้อสัตว์ทุกชนิดแต่ยังกินผลิตภัณฑ์จากสัตว์ได้เช่น นม ชีส เนย ไข่ อีกกลุ่มหนึ่งคือมังสวิรัติบริสุทธิ์ หรือในภาษาอังกฤษคือ Vegan มีความหมายถึงการกินอาหารที่งดเว้นไม่เพียงแต่เนื้อสัตว์เท่านั้นและยังงดเว้นผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์ไปด้วย นั่นหมายถึงงดเว้น ไข่ นม ชีส เนย
แต่อาหารเจนั้นมีความหมายคล้ายคลึงกับ มังสวิรัติบริสุทธิ์ (Vegan) แต่ก็ไม่เหมือนทีเดียวเพราะยังมีการอนุโลมในการกินหอยนางรมได้ แต่กลับห้ามกินพืชที่มีกลิ่นฉุน เช่น หอม กระเทียม หลักเกียว กุยช่าย ใบยาสูบ ผักชี เครื่องเทศเผ็ดร้อน
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลและงานวิจัยในเรื่องการกินอาหารเจนั้น ประโยชน์สำคัญกับการงดเนื้อสัตว์นั้นมีอยู่หลายประการ อย่างน้อยเราก็ไม่ต้องรับฮอร์โมนจากสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์เกินความจำเป็น อย่างน้อยเราก็ไม่ต้องรับสารพิษในสัตว์ที่ได้รับจากอาหาร อย่างน้อยกระบวนการย่อยอาหารก็ทำได้ดีขึ้นจากการพักอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ทั้งหลาย
และอย่างน้อยจากงานวิจัยจำนวนมากก็พบว่าคนที่อายุยืนส่วนใหญ่ในโลก (อายุเกิน 100 ปี และแข็งแรง) กินอาหารจากพืชเป็นหลัก
แต่ถึงกระนั้นก็ยังพบปัญหาในการกินอาหารเจอยู่เหมือนกัน หากกินไปโดยไม่เข้าใจหรือไม่มีข้อมูลก็ดี ก็อาจจะเป็นสาเหตุของการเกิดโรคอีกด้านหนึ่ง รวมถึงทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้โดยไม่จำเป็น ดังนี้
1.กินเจให้งดไขมันไม่อิ่มตัว จากงานวิจัยล่าสุดในวารสาร Plos One Public Library of Science ฉบับเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ได้รายงานวิจัยในหัวข้อ Soybean Oil is More Obesogenic and Diabetogenic than Coconut Oil and Fructose in Mouse : Potential Role for Liver. โดย Poonamjot Deol และคณะ พบเรื่องสำคัญว่า ไขมันจากถั่วเหลือง (ไขมันไม่อิ่มตัว) ทำให้เกิดโรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 1 โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และไขมันพอกตับ ทำให้ระบบการเผาผลาญผิดปกติได้มากกว่า เมื่อเทียบการกินน้ำตาลผลไม้ หรือการกินน้ำมันมะพร้าว
ทั้งนี้เนื่องจากการงดเนื้อสัตว์ ซึ่งส่วนใหญ่ให้ไขมันอิ่มตัวสูง ทำให้คนที่รับประทานอาหารเจต้องหาโปรตีนจากพืชตระกูลถั่วแทน ซึ่งถ้าเป็นพืชตระกูลถั่วที่มีไขมันสูงก็จะกลับจะเป็นไขมันที่ไม่อิ่มตัวประเภทไขมันโอเมก้า 6 ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้เกิดการอักเสบได้ง่าย ทำให้หลอดเลือดอักเสบง่าย เกิดลิ่มเลือดได้ง่าย เพิ่มความดันโลหิตสูง ยิ่งถ้านำไปผัดทอดด้วยน้ำมันพืชพวก น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน และน้ำมันรำข้าว ฯลฯ ก็กลับเป็นน้ำมันพืชที่ให้ไขมันโอเมก้า 6 เพิ่มขึ้นไปอีก ยิ่งโดนความร้อนก็ยิ่งทำให้ไขมันเหล่านี้กลายสภาพได้ง่าย ก่อให้เกิดปัญหาต่อหลอดเลือดโดยรวม คราวนี้ก็จะเป็นการได้โอเมก้า 6 สองชั้นมากกว่าคนกินเนื้อสัตว์เสียอีก คือได้จากถั่วที่มีไขมันสูงเป็นอาหารในชั้นแรก และจะได้ไขมันที่นำไปผัดหรือทอดเป็นชั้นที่สอง
ดังนั้น จึงควรหันไปกินพืชตระกูลถั่วที่มีไขมันต่ำๆ (Pulses) เช่น ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วพุ่ม ถั่วลาย ถั่วปากอ้า ฯลฯ แต่ถั่วเหล่านี้แม้จะมีไขมันต่ำแต่ก็สะสมพลังานในรูปของคาร์โบไฮเดรตด้วย ซึ่งคาร์โบไฮเดรตเหล่านี้จะสามารถแปลงเป็นน้ำตาลได้ ดังนั้นถั่วเหล่านี้จึงควรนำมาแช่น้ำให้งอกก่อน 1 คืน แล้วจึงค่อยน้ำมาผสมอาหารที่มีน้ำมันมะพร้าวผสม เช่น การต้มด้วยกะทิ หรือผัดหรือทอดด้วยน้ำมันมะพร้าว ถ้าผ่านความร้อนสลับความเย็นได้ ก็จะยิ่งทำให้เป็นอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำลงไปอีก ถ้าทำได้ก็จะกลายเป็นอาหารพรีไบโอติกส์ที่จะช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ใหญ่ได้ด้วย
ส่วนถั่วเหลืองซึ่งเป็นโปรตีนหลักในเทศกาลกินเจ เป็นถั่วที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ แต่ถั่วเหลืองกลับเก็บพลังงานในรูปของไขมันโอเมก้า 6 มาก ดังนั้นถ้าจะไม่มีทางเลือกที่จะต้องกินถั่วเหล่านี้ก็มี 2 ทางเลือกคือ
ทางเลือกที่หนึ่ง ให้กินไขมันโอเมก้า 3 เพิ่มมากขึ้น (ซึ่งจะต้องไม่ผ่านความร้อน) ไขมันชนิดนี้จะมีฤทธิ์ตรงกันข้ามกับไขมันโอเมก้า 6 กล่าวคือ ไขมันโอเมก้า 3 จะช่วยทำให้เหลือดเหลว เป็นลิ่มยาก ลดการอักเสบ ลดความดัน เช่น น้ำมันงานขี้ม้อน, เมล็ดแฟล็กซ์, สาหร่ายบางชนิด ฯลฯ ซึ่งถ้าหากไม่สะดวก ก็สามารถมากินไขมันเหล่านี้ในรูปของแคปซูลแทน
ทางเลือกที่สอง ให้กินโปรตีนถั่วเหลือง (ไม่ใช่โปรตีนเกษตร) ที่กำจัดไขมันและแป้งออกไปแล้ว (แนะนำให้เลือกผลิตภัณฑ์วัตถุดิบจากร้านอาหารสปาฟู้ดส์ ถนนวิภาวดี ซอย 16 แยก 21)
2.กินเจแต่ให้งดไขมันทรานส์ ไขมันที่ไม่อิ่มตัวที่ถูกนำมาเติมไฮโดรเจนเพื่อป้องกันการหืน ทำให้เกิดไขมันกึ่งเหลวกึ่งแข็ง ซึ่งส่วนใหญ่คนทั่วไปคิดว่าเราไม่กินไขมันจากสัตว์แล้วจะปลอดภัย แต่ไขมันทรานส์กลับให้ผลอันตรายและเพิ่มความเสี่ยงในเรื่องโรคหลอดเลือดมากกว่า ซึ่งมักจะอยู่ในขนมกรุบกรอบ และเนยเทียม ซึ่งเรียกได้หลายชื่อ เช่น ไขมันทรานส์, เนยเทียม, ไฮโดรจีเนต, เนยขาว, มาร์การีน,ไขมันพืช ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างในอาหารจำพวก โดนัท เค้ก ซาลาเปา มันฝรั่งทอด ฯลฯ จะต้องสอบถามรายละเอียดในเรื่องการใช้ไขมันให้ดี
3.กินเจอย่ากินคาร์โบไฮเดรตมาก อย่ากินหวานมาก หลายคนที่หยุดกินเนื้อสัตว์มากแล้วนึกไม่ออกว่าจะกินอะไร จึงหันไปกินอาหารที่มีแป้งมาก หรือหวานมากแทน ซึ่งความจริงแล้วการกินแป้งมาก หรือหวานมาก กินน้ำผลไม้มาก กินน้ำอัดลมมาก นอกจากจะทำให้อ้วนง่ายแล้ว ยังทำให้กดภูมิคุ้มกัน แก่เร็ว และไขมันพุงเพิ่มขึ้น ไขมันพอกตับเพิ่มขึ้นด้วย
พอหยุด 3 อย่างแล้ว การกินเจเพื่อสุขภาพ จะถูกกำหนดให้เราควรกินผักมากขึ้น (ควรกินผักสดหรือผักสลัดทุกวัน) ใช้น้ำมันมะพร้าวในการปรุงอาหาร กินถั่วไขมันต่ำ และกินเห็ดมากขึ้น กินไขมันโอเมก้า 3 เพิ่มขึ้น
ส่วนอาหารประดิษฐ์ส่วนใหญ่ในเทศกาลเจ มักจะผสมแป้งมาก ไขมันทรานส์ปน รวมถึงทั้งวัตถุดิบและการผัดทอดก็เต็มไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัวสูง แถมถ้ายังกินหวานอีก แทนที่เทศกาลกินเจจะได้ประโยชน์ต่อสุขภาพเป็นอย่างดี ก็อาจทำให้เพิ่มความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยและอ้วนได้ด้วยเช่นกัน
เซกชั่น Good Health & Well Being
นิตยสาร ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 10-18 ตุลาคม 2558
________________________
อาหารเจนั้นแท้ที่จริงแล้ว ก็คืออาหารมังสวิรัติที่ไม่กินแม้แต่ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ (Vegan) รวมถึงของมึนเมาและเครื่องเทศบางชนิด เพื่อให้ร่างกายและจิตใจบริสุทธิ์ โดยเทศกาลกินเจในปี พ.ศ.2558 นี้ เริ่มต้นวันอังคารที่ 13-21 ตุลาคม พ.ศ.2558 ซึ่งแต่ละคนนั้นจะมีเหตุผลในการกินเจด้วยความคาดหวังไม่เหมือนกัน บางคนคาดหวังในเรื่องสุขภาพ บางคนคาดหวังการใช้เวลาช่วงหนึ่งที่ไม่เบียดเบียนสิ่งมีชีวิต ละเว้นการทำบาป บางคนคาดหวังการปฏิบัติธรรมและถือศีลด้วยจิตเมตตา
เทศกาลการถือศีลกินผักนั้น เป็นประเพณีแบบลัทธิเต๋า รวม 9 วัน กำหนดเอาวันตามจันทรคติ คือเริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึงขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีนของทุกปี มีจุดเริ่มต้นจากประเทศจีนมานานแล้วมีไม่ต่ำกว่า 5-6 ตำนาน สำหรับประเทศไทยเชื่อกันว่าน่าจะเริ่มเกิดขึ้นกว่า 388 ปีที่แล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2170 ตรงกับสมัยอาณาจักรอยุธยา
"เจ" ในภาษาจีนทางพุทธศาสนานิกายมหายาน มีความหมายเดียวกับคำว่า "อุโบสถ" จึงมีความหมายถึงการรักษาความบริสุทธิ์ทั้งกายและใจเพื่อสักการบูชาเทพยดา
ความจริงแล้วในหมู่คนที่กินมังสวิรัตินั้นสามารถแบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม คือกลุ่มที่เรียกว่า มังสวิรัติ ในความหมายของ Vegetarian ซึ่งหมายถึงเว้นเนื้อสัตว์ทุกชนิดแต่ยังกินผลิตภัณฑ์จากสัตว์ได้เช่น นม ชีส เนย ไข่ อีกกลุ่มหนึ่งคือมังสวิรัติบริสุทธิ์ หรือในภาษาอังกฤษคือ Vegan มีความหมายถึงการกินอาหารที่งดเว้นไม่เพียงแต่เนื้อสัตว์เท่านั้นและยังงดเว้นผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์ไปด้วย นั่นหมายถึงงดเว้น ไข่ นม ชีส เนย
แต่อาหารเจนั้นมีความหมายคล้ายคลึงกับ มังสวิรัติบริสุทธิ์ (Vegan) แต่ก็ไม่เหมือนทีเดียวเพราะยังมีการอนุโลมในการกินหอยนางรมได้ แต่กลับห้ามกินพืชที่มีกลิ่นฉุน เช่น หอม กระเทียม หลักเกียว กุยช่าย ใบยาสูบ ผักชี เครื่องเทศเผ็ดร้อน
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลและงานวิจัยในเรื่องการกินอาหารเจนั้น ประโยชน์สำคัญกับการงดเนื้อสัตว์นั้นมีอยู่หลายประการ อย่างน้อยเราก็ไม่ต้องรับฮอร์โมนจากสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์เกินความจำเป็น อย่างน้อยเราก็ไม่ต้องรับสารพิษในสัตว์ที่ได้รับจากอาหาร อย่างน้อยกระบวนการย่อยอาหารก็ทำได้ดีขึ้นจากการพักอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ทั้งหลาย
และอย่างน้อยจากงานวิจัยจำนวนมากก็พบว่าคนที่อายุยืนส่วนใหญ่ในโลก (อายุเกิน 100 ปี และแข็งแรง) กินอาหารจากพืชเป็นหลัก
แต่ถึงกระนั้นก็ยังพบปัญหาในการกินอาหารเจอยู่เหมือนกัน หากกินไปโดยไม่เข้าใจหรือไม่มีข้อมูลก็ดี ก็อาจจะเป็นสาเหตุของการเกิดโรคอีกด้านหนึ่ง รวมถึงทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้โดยไม่จำเป็น ดังนี้
1.กินเจให้งดไขมันไม่อิ่มตัว จากงานวิจัยล่าสุดในวารสาร Plos One Public Library of Science ฉบับเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ได้รายงานวิจัยในหัวข้อ Soybean Oil is More Obesogenic and Diabetogenic than Coconut Oil and Fructose in Mouse : Potential Role for Liver. โดย Poonamjot Deol และคณะ พบเรื่องสำคัญว่า ไขมันจากถั่วเหลือง (ไขมันไม่อิ่มตัว) ทำให้เกิดโรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 1 โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และไขมันพอกตับ ทำให้ระบบการเผาผลาญผิดปกติได้มากกว่า เมื่อเทียบการกินน้ำตาลผลไม้ หรือการกินน้ำมันมะพร้าว
ทั้งนี้เนื่องจากการงดเนื้อสัตว์ ซึ่งส่วนใหญ่ให้ไขมันอิ่มตัวสูง ทำให้คนที่รับประทานอาหารเจต้องหาโปรตีนจากพืชตระกูลถั่วแทน ซึ่งถ้าเป็นพืชตระกูลถั่วที่มีไขมันสูงก็จะกลับจะเป็นไขมันที่ไม่อิ่มตัวประเภทไขมันโอเมก้า 6 ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้เกิดการอักเสบได้ง่าย ทำให้หลอดเลือดอักเสบง่าย เกิดลิ่มเลือดได้ง่าย เพิ่มความดันโลหิตสูง ยิ่งถ้านำไปผัดทอดด้วยน้ำมันพืชพวก น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน และน้ำมันรำข้าว ฯลฯ ก็กลับเป็นน้ำมันพืชที่ให้ไขมันโอเมก้า 6 เพิ่มขึ้นไปอีก ยิ่งโดนความร้อนก็ยิ่งทำให้ไขมันเหล่านี้กลายสภาพได้ง่าย ก่อให้เกิดปัญหาต่อหลอดเลือดโดยรวม คราวนี้ก็จะเป็นการได้โอเมก้า 6 สองชั้นมากกว่าคนกินเนื้อสัตว์เสียอีก คือได้จากถั่วที่มีไขมันสูงเป็นอาหารในชั้นแรก และจะได้ไขมันที่นำไปผัดหรือทอดเป็นชั้นที่สอง
ดังนั้น จึงควรหันไปกินพืชตระกูลถั่วที่มีไขมันต่ำๆ (Pulses) เช่น ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วพุ่ม ถั่วลาย ถั่วปากอ้า ฯลฯ แต่ถั่วเหล่านี้แม้จะมีไขมันต่ำแต่ก็สะสมพลังานในรูปของคาร์โบไฮเดรตด้วย ซึ่งคาร์โบไฮเดรตเหล่านี้จะสามารถแปลงเป็นน้ำตาลได้ ดังนั้นถั่วเหล่านี้จึงควรนำมาแช่น้ำให้งอกก่อน 1 คืน แล้วจึงค่อยน้ำมาผสมอาหารที่มีน้ำมันมะพร้าวผสม เช่น การต้มด้วยกะทิ หรือผัดหรือทอดด้วยน้ำมันมะพร้าว ถ้าผ่านความร้อนสลับความเย็นได้ ก็จะยิ่งทำให้เป็นอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำลงไปอีก ถ้าทำได้ก็จะกลายเป็นอาหารพรีไบโอติกส์ที่จะช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ใหญ่ได้ด้วย
ส่วนถั่วเหลืองซึ่งเป็นโปรตีนหลักในเทศกาลกินเจ เป็นถั่วที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ แต่ถั่วเหลืองกลับเก็บพลังงานในรูปของไขมันโอเมก้า 6 มาก ดังนั้นถ้าจะไม่มีทางเลือกที่จะต้องกินถั่วเหล่านี้ก็มี 2 ทางเลือกคือ
ทางเลือกที่หนึ่ง ให้กินไขมันโอเมก้า 3 เพิ่มมากขึ้น (ซึ่งจะต้องไม่ผ่านความร้อน) ไขมันชนิดนี้จะมีฤทธิ์ตรงกันข้ามกับไขมันโอเมก้า 6 กล่าวคือ ไขมันโอเมก้า 3 จะช่วยทำให้เหลือดเหลว เป็นลิ่มยาก ลดการอักเสบ ลดความดัน เช่น น้ำมันงานขี้ม้อน, เมล็ดแฟล็กซ์, สาหร่ายบางชนิด ฯลฯ ซึ่งถ้าหากไม่สะดวก ก็สามารถมากินไขมันเหล่านี้ในรูปของแคปซูลแทน
ทางเลือกที่สอง ให้กินโปรตีนถั่วเหลือง (ไม่ใช่โปรตีนเกษตร) ที่กำจัดไขมันและแป้งออกไปแล้ว (แนะนำให้เลือกผลิตภัณฑ์วัตถุดิบจากร้านอาหารสปาฟู้ดส์ ถนนวิภาวดี ซอย 16 แยก 21)
2.กินเจแต่ให้งดไขมันทรานส์ ไขมันที่ไม่อิ่มตัวที่ถูกนำมาเติมไฮโดรเจนเพื่อป้องกันการหืน ทำให้เกิดไขมันกึ่งเหลวกึ่งแข็ง ซึ่งส่วนใหญ่คนทั่วไปคิดว่าเราไม่กินไขมันจากสัตว์แล้วจะปลอดภัย แต่ไขมันทรานส์กลับให้ผลอันตรายและเพิ่มความเสี่ยงในเรื่องโรคหลอดเลือดมากกว่า ซึ่งมักจะอยู่ในขนมกรุบกรอบ และเนยเทียม ซึ่งเรียกได้หลายชื่อ เช่น ไขมันทรานส์, เนยเทียม, ไฮโดรจีเนต, เนยขาว, มาร์การีน,ไขมันพืช ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างในอาหารจำพวก โดนัท เค้ก ซาลาเปา มันฝรั่งทอด ฯลฯ จะต้องสอบถามรายละเอียดในเรื่องการใช้ไขมันให้ดี
3.กินเจอย่ากินคาร์โบไฮเดรตมาก อย่ากินหวานมาก หลายคนที่หยุดกินเนื้อสัตว์มากแล้วนึกไม่ออกว่าจะกินอะไร จึงหันไปกินอาหารที่มีแป้งมาก หรือหวานมากแทน ซึ่งความจริงแล้วการกินแป้งมาก หรือหวานมาก กินน้ำผลไม้มาก กินน้ำอัดลมมาก นอกจากจะทำให้อ้วนง่ายแล้ว ยังทำให้กดภูมิคุ้มกัน แก่เร็ว และไขมันพุงเพิ่มขึ้น ไขมันพอกตับเพิ่มขึ้นด้วย
พอหยุด 3 อย่างแล้ว การกินเจเพื่อสุขภาพ จะถูกกำหนดให้เราควรกินผักมากขึ้น (ควรกินผักสดหรือผักสลัดทุกวัน) ใช้น้ำมันมะพร้าวในการปรุงอาหาร กินถั่วไขมันต่ำ และกินเห็ดมากขึ้น กินไขมันโอเมก้า 3 เพิ่มขึ้น
ส่วนอาหารประดิษฐ์ส่วนใหญ่ในเทศกาลเจ มักจะผสมแป้งมาก ไขมันทรานส์ปน รวมถึงทั้งวัตถุดิบและการผัดทอดก็เต็มไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัวสูง แถมถ้ายังกินหวานอีก แทนที่เทศกาลกินเจจะได้ประโยชน์ต่อสุขภาพเป็นอย่างดี ก็อาจทำให้เพิ่มความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยและอ้วนได้ด้วยเช่นกัน