กระแสตอบรับปฏิญานตนเป็นคนปลอดเหล้าในช่วงเดือนบุญหน้าฝนดีเกินคาด “งดเหล้า” กลายเป็นหนึ่งในกิจกรรมสร้างบุญที่ฮิตไม่แพ้งานกฐินผ้าป่า นักดื่มประจำชุมชนรวมพลังคว่ำแก้วตลอด 3 เดือนโดยพร้อมเพรียง
ตัวเลขปีที่แล้วมีคนไทยใจแข็งงดเหล้าได้ตลอดรอดฝั่งถึงประมาณ 8 ล้านคนจากนักดื่ม 17 ล้านคนทั่วประเทศ ที่เหลือก็มีทั้งตั้งใจงดแต่พรรษาแตก และลดปริมาณในการดื่มลง มีแค่สิบกว่าเปอร์เซ็นต์ที่ไม่ยังสะดวกร่วมงานบุญขอเป็นแค่กองเชียร์ไปก่อน
จากผลการลงพื้นที่ของศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) พบว่านอกจากเรื่องการถือศีลข้อ 5 ในช่วงงานบุญแล้ว การมีเงินเหลือเก็บเพราะไม่ต้องเอาไปซื้อเหล้าตลอดเข้าพรรษา ที่เห็นเป็นกอบเป็นกำก็เป็นหนึ่งในข้อดีที่นักดื่มชักชวนกันมาร่วมงดเหล้ามากขึ้น
ไปต่างจังหวัดช่วงนี้ บรรยากาศช่วงหกโมงเย็นเป็นต้นไปอาจดูเงียบเหงา เพราะวงเหล้าตามร้านข้าวต้ม ร้านลาบ หรือซุ้มหัวมุมถนน นั้นบางตาลงเยอะ ยอดขายเบียร์ เหล้าสี เหล้าขาวตกกันฮวบฮาบ กลางคืนอาจเหงาๆ แต่บ่ายๆ เย็นๆ กลับครึกครื้น ทางโน้นก็วงหมากรุก ทางนี้ก็วงดนตรี ทางนั้นก็เตะบอลกันอยู่ ขาเหล้าจากทุกบ้านต่างมารวมตัวกันเป็นขาบอลแทน
นอกจากคนในครอบครัวแล้ว ชุมชนถือเป็นกำลังสำคัญที่ผลักดันให้กิจกรรมงดเหล้าช่วงเข้าพรรษานั้นประสบความสำเร็จ เพราะมีทั้งการรณรงค์ควบคู่กับการสร้างกลยุทธ์และแรงจูงใจให้บรรดานักดื่มทั้งรุ่นใหญ่และรุ่นเยาว์เห็นถึงสิ่งดีๆ ที่จะได้จากการเลิกเหล้า ปัจจุบันมีชุมชนปลอดเหล้าเกิดขึ้นมากมายทั่วประเทศ โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคอีสานที่มีสัดส่วนจำนวนนักดื่มสูงกว่าภาคอื่นๆ
จำนวนนักดื่มลดลงได้เพราะแรงสนับสนุนของทุกคนในชุมชน โดยมีผู้นำนชุมชนและพระสงฆ์เป็นแกนนำ เปลี่ยนช่วงเวลากินเหล้ามาเป็นเวลาแห่งการสร้างงาน คืนชีวิตให้กับภูมิปัญญาดั้งเดิม สร้างรายได้เพิ่ม เปลี่ยนพื้นที่ว่างให้เป็นลานออกกำลังกายและลานกิจกรรม ไม่ปล่อยให้นักดื่มมีเวลาว่างไปคิดถึงแต่ขวดเหล้า งานบุญต่างๆ ก็ขอความร่วมมือจากเจ้าภาพงดเลี้ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประหยัดงบแถมยังช่วยลดจำนวนคนเมาด้วย
“ชุมชนคนสู้เหล้า” จึงเกิดขึ้นทั่วประเทศ สามารถวัดผลของการเปลี่ยนแปลงได้ หลายชุมชนร่วมมือกันจริงจังต่อเนื่องมีทั้งในและนอกพรรษา มีเป้าหมายขัดเจน สามารถลดจำนวนนักดื่มในหมู่บ้านลงได้ เกิดเป็นชุมชนแหล่งเรียนรู้เพื่อสู้กับเหล้าให้สำเร็จ
หวังคืนความสุขให้กับครอบครัวและชุมชนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
โดยมีแนวทางในการปฏิบัติ 9 ข้อ ร่วมสร้างชุมชนสู้เหล้า คือ
1.สร้างคุณค่าให้แก่ผู้เลิกดื่ม ด้วยการร่วมให้คำมั่นในการงดเหล้า
2.สร้างกระแสในชุมชน รณรงค์ผ่านสื่อต่างๆ ในชุมชน
3.สร้างเงินออมและความอบอุ่นให้ครอบครัว เตรียมกระปุกออมสิน ไว้หยอดเงินค่าเหล้าเพื่อเก็บเป็นเงินออม
4.สร้างบุญร่วมกัน จัดกิจกรรมธรรมะเสวนาเพื่อคนเลิกเหล้า เพื่อให้กำลังใจ
5.สร้างรอยยิ้มให้ชุมชน จัดกิจกรรมเพิ่มความใกล้ชิดและสานสัมพันธ์ในชุมชน
6.สร้างกำลังใจต่อเนื่อง แกนนำเลิกเหล้าเยี่ยมบ้านพร้อมแนะนำการปฏิบัติตัวต่างๆ
7.สร้างค่านิยมใหม่ให้เด็ก รณรงค์ให้เด็กอยู่ห่างเหล้า
8.สร้างเสริมรายได้และมีงานให้ทำ รวมกลุ่มสอนอาชีพให้กลุ่มคนงดเหล้า
9.สร้างประเพณีที่ดีให้ลูกหลาน ร่วมกันจัดงานบุญปลอดเหล้า
จะเห็นได้ว่าการสร้างชุมชนปลอดเหล้านั้นไม่ง่ายแต่ก็ไม่ยากเกินกำลัง หากคนในชุมชนร่วมมือกัน รวมแรงรวมใจเปลี่ยนคนเมาเป็นคนใหม่ จากงดเหล้า 3 เดือน เพิ่มเป็น 1 ปี และตลอดชีวิต เพื่อความสุขของทุกคนในชุมชน
ตัวเลขปีที่แล้วมีคนไทยใจแข็งงดเหล้าได้ตลอดรอดฝั่งถึงประมาณ 8 ล้านคนจากนักดื่ม 17 ล้านคนทั่วประเทศ ที่เหลือก็มีทั้งตั้งใจงดแต่พรรษาแตก และลดปริมาณในการดื่มลง มีแค่สิบกว่าเปอร์เซ็นต์ที่ไม่ยังสะดวกร่วมงานบุญขอเป็นแค่กองเชียร์ไปก่อน
จากผลการลงพื้นที่ของศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) พบว่านอกจากเรื่องการถือศีลข้อ 5 ในช่วงงานบุญแล้ว การมีเงินเหลือเก็บเพราะไม่ต้องเอาไปซื้อเหล้าตลอดเข้าพรรษา ที่เห็นเป็นกอบเป็นกำก็เป็นหนึ่งในข้อดีที่นักดื่มชักชวนกันมาร่วมงดเหล้ามากขึ้น
ไปต่างจังหวัดช่วงนี้ บรรยากาศช่วงหกโมงเย็นเป็นต้นไปอาจดูเงียบเหงา เพราะวงเหล้าตามร้านข้าวต้ม ร้านลาบ หรือซุ้มหัวมุมถนน นั้นบางตาลงเยอะ ยอดขายเบียร์ เหล้าสี เหล้าขาวตกกันฮวบฮาบ กลางคืนอาจเหงาๆ แต่บ่ายๆ เย็นๆ กลับครึกครื้น ทางโน้นก็วงหมากรุก ทางนี้ก็วงดนตรี ทางนั้นก็เตะบอลกันอยู่ ขาเหล้าจากทุกบ้านต่างมารวมตัวกันเป็นขาบอลแทน
นอกจากคนในครอบครัวแล้ว ชุมชนถือเป็นกำลังสำคัญที่ผลักดันให้กิจกรรมงดเหล้าช่วงเข้าพรรษานั้นประสบความสำเร็จ เพราะมีทั้งการรณรงค์ควบคู่กับการสร้างกลยุทธ์และแรงจูงใจให้บรรดานักดื่มทั้งรุ่นใหญ่และรุ่นเยาว์เห็นถึงสิ่งดีๆ ที่จะได้จากการเลิกเหล้า ปัจจุบันมีชุมชนปลอดเหล้าเกิดขึ้นมากมายทั่วประเทศ โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคอีสานที่มีสัดส่วนจำนวนนักดื่มสูงกว่าภาคอื่นๆ
จำนวนนักดื่มลดลงได้เพราะแรงสนับสนุนของทุกคนในชุมชน โดยมีผู้นำนชุมชนและพระสงฆ์เป็นแกนนำ เปลี่ยนช่วงเวลากินเหล้ามาเป็นเวลาแห่งการสร้างงาน คืนชีวิตให้กับภูมิปัญญาดั้งเดิม สร้างรายได้เพิ่ม เปลี่ยนพื้นที่ว่างให้เป็นลานออกกำลังกายและลานกิจกรรม ไม่ปล่อยให้นักดื่มมีเวลาว่างไปคิดถึงแต่ขวดเหล้า งานบุญต่างๆ ก็ขอความร่วมมือจากเจ้าภาพงดเลี้ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประหยัดงบแถมยังช่วยลดจำนวนคนเมาด้วย
“ชุมชนคนสู้เหล้า” จึงเกิดขึ้นทั่วประเทศ สามารถวัดผลของการเปลี่ยนแปลงได้ หลายชุมชนร่วมมือกันจริงจังต่อเนื่องมีทั้งในและนอกพรรษา มีเป้าหมายขัดเจน สามารถลดจำนวนนักดื่มในหมู่บ้านลงได้ เกิดเป็นชุมชนแหล่งเรียนรู้เพื่อสู้กับเหล้าให้สำเร็จ
หวังคืนความสุขให้กับครอบครัวและชุมชนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
โดยมีแนวทางในการปฏิบัติ 9 ข้อ ร่วมสร้างชุมชนสู้เหล้า คือ
1.สร้างคุณค่าให้แก่ผู้เลิกดื่ม ด้วยการร่วมให้คำมั่นในการงดเหล้า
2.สร้างกระแสในชุมชน รณรงค์ผ่านสื่อต่างๆ ในชุมชน
3.สร้างเงินออมและความอบอุ่นให้ครอบครัว เตรียมกระปุกออมสิน ไว้หยอดเงินค่าเหล้าเพื่อเก็บเป็นเงินออม
4.สร้างบุญร่วมกัน จัดกิจกรรมธรรมะเสวนาเพื่อคนเลิกเหล้า เพื่อให้กำลังใจ
5.สร้างรอยยิ้มให้ชุมชน จัดกิจกรรมเพิ่มความใกล้ชิดและสานสัมพันธ์ในชุมชน
6.สร้างกำลังใจต่อเนื่อง แกนนำเลิกเหล้าเยี่ยมบ้านพร้อมแนะนำการปฏิบัติตัวต่างๆ
7.สร้างค่านิยมใหม่ให้เด็ก รณรงค์ให้เด็กอยู่ห่างเหล้า
8.สร้างเสริมรายได้และมีงานให้ทำ รวมกลุ่มสอนอาชีพให้กลุ่มคนงดเหล้า
9.สร้างประเพณีที่ดีให้ลูกหลาน ร่วมกันจัดงานบุญปลอดเหล้า
จะเห็นได้ว่าการสร้างชุมชนปลอดเหล้านั้นไม่ง่ายแต่ก็ไม่ยากเกินกำลัง หากคนในชุมชนร่วมมือกัน รวมแรงรวมใจเปลี่ยนคนเมาเป็นคนใหม่ จากงดเหล้า 3 เดือน เพิ่มเป็น 1 ปี และตลอดชีวิต เพื่อความสุขของทุกคนในชุมชน