ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมที่มีความสำคัญมากต่อการดำรงชีวิตอย่างปกติสุข มีหน้าที่สร้างและหลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนออกมาสู่กระแสเลือด เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายทำงานเป็นปกติ โดยเฉพาะหัวใจและประสาท หากต่อมไทรอยด์ในร่างกายทำงานมากหรือน้อยเกินไปจะทำให้สมรรถภาพการทำงานแปรปรวนไป ส่งผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย
ความผิดปกติของโรคต่อมไทรอยด์ มีมากมายหลายชนิด แต่ที่สำคัญที่สุดคือ คอพอกชนิดไม่เป็นพิษ และคอพอกชนิดเป็นพิษ คอพอกชนิดไม่เป็นพิษ สาเหตุที่สำคัญเกิดจากการขาดไอโอดีน ซึ่งธาตุไอโอดีนนี้มีมากในอาหารทะเล ไอโอดีนที่ควรได้รับในแต่ละวันของคนทั่วไป คือ 150 ไมโครกรัม หรือ 200 ไมโครกรัม สำหรับหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
อาการที่สำคัญ คือต่อมไทรอยด์จะโตขึ้นชัดเจน เชื่องช้า เซื่องซึม ขี้หนาว พูดช้า เสียงแหบ ผิวแห้ง ผมแห้งหยาบและง่วงง่าย ท้องผูกและอ้วนขึ้น คอพอกชนิดเป็นพิษ เกิดจากต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน โดยต่อมใต้สมองไม่สามารถควบคุมการหลั่งฮอร์โมนได้ ทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาในกระแสเลือดเป็นจำนวนมาก โดยไม่ทราบสาเหตุและไม่เกี่ยวข้องกับอาหารทะเล แต่มีปัจจัยบางอย่างเกี่ยวข้อง ได้แก่ เพศและพันธุกรรม ส่วนใหญ่พบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 7-8 เท่า หากมีอาการไทรอยด์เป็นพิษจะสร้างฮอร์โมนออกมามากจะทำให้ต่อมมีขนาดโตขึ้น จนมองเห็นได้ชัดเจน
อรทัย เหลืองอ่อน นักกำหนดอาหารวิชาชีพ โรงพยาบาลปิยะเวท แนะนำ อาหารสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์ว่าควรเป็นอาหารที่ปรุงแต่งน้อย เพราะอาหารที่มาจากธรรมชาติจะยังคงคุณค่าของสารอาหารไว้มากที่สุด เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ แป้งไม่ขัดขาว และควรเลือกรับประทานผลไม้ที่มีรสไม่หวานจนเกินไป โดยเฉพาะกล้วยมีสารที่ช่วยลดแล็คติก เอซิด (Lactic Acid) ช่วยลดอาการเครียด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคไทรอยด์ เนื้อปลา ตลอดจนธัญพืช
สำหรับอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์ ได้แก่ อาหารหรือเครื่องดื่มที่เป็นสิ่งเร้าอย่าง เช่น กาแฟ ชา เครื่องดื่มชูกำลังและแอลกอฮอล์ ควรเลือกรับประทานเป็นเครื่องดื่มประเภทชาสมุนไพรแทน เช่น ตะไคร้ ขิง ดอกคำฝอย ก็จะช่วยเป็นเป็นทั้งยาและเครื่องดื่มที่ทำให้ร่างกายสดชื่นได้ดีกว่า ควรงดพริกชนิดเผ็ด เพราะอาหารพวกนี้จะไปเพิ่มเมตาบอลิซึ่ม ทำให้มีอาการใจสั่น หายใจติดขัด อาหารพวกหน่อไม้ฝรั่งและสาหร่าย ผักกาด หน่อไม้ เพราะมีสารขับน้ำและของเสียออกจากร่างกาย ทำให้เมแทบอลิซึมของร่างกายต้องทำงานเพิ่มมากขึ้น และควรระวังสำหรับพืชในกลุ่ม Cruciferae เช่น กะหล่ำปลีดิบ ทูนิป horseradish และเมล็ดพรรณผักกาดชนิดต่างๆ พืชเหล่านี้จะมีสารกลูโคซิโนเลท (สาร goitrogen)สารนี้จะไปขัดขวางการจับไอโอดีนของต่อมไทรอยด์ เพื่อสร้างเป็นฮอร์โมนไทรอกซิน ซึ่งทำให้เกิดเป็นไทรอยด์เป็นพิษ
อย่างไรก็ตาม การเลือกรับประทานอาหารของผู้ป่วยไทรอยด์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ และควรที่จะใส่ใจอย่างมาก ควรเลือกรับประทานอาหารที่ถูกหลักสุขลักษณะและตามหลักโภชนาการครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย และหมั่นดูแลน้ำหนักตัว รับประทานข้าวเป็นหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อรับประทานพืชผักให้มาก และผลไม้เป็นประจำ รับประทานปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ ถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย
สำหรับผู้ที่มีสงสัยว่าตัวเองมีอาการต่อมไทรอยด์ผิดปกติ เช่น ทานอาหารปกติแต่น้ำหนักเพิ่ม ตัวบวม หน้าบวม เฉื่อยชา อ่อนเพลีย ขี้หนาว ผมร่วง ผิวแห้ง ใจสั่น ขี้ร้อน เหนื่อยง่าย บ้างคนอาจมีอาการเคืองตาจนถึงขั้นตาโปนออกมาชัดเจน หากมีอาการเหล่านี้ควรเข้ารับการตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกาย ด้วยวิธีการเจาะเลือดตรวจหาระดับฮอร์โมน ที่เรียกว่า TSH (Thyroid stimulating hormone) ฮอร์โมน T3 (triiodothyronine) และ T4 (thyroxine) เพื่อดูระดับการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย และความผิดปกติอื่นๆ เพื่อหาแนวทางในการดูแลรักษาสุขภาพต่อไป
__________________
ข้อมูลจากนิตยสาร Slimming เดือนสิงหาคม 2558
ความผิดปกติของโรคต่อมไทรอยด์ มีมากมายหลายชนิด แต่ที่สำคัญที่สุดคือ คอพอกชนิดไม่เป็นพิษ และคอพอกชนิดเป็นพิษ คอพอกชนิดไม่เป็นพิษ สาเหตุที่สำคัญเกิดจากการขาดไอโอดีน ซึ่งธาตุไอโอดีนนี้มีมากในอาหารทะเล ไอโอดีนที่ควรได้รับในแต่ละวันของคนทั่วไป คือ 150 ไมโครกรัม หรือ 200 ไมโครกรัม สำหรับหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
อาการที่สำคัญ คือต่อมไทรอยด์จะโตขึ้นชัดเจน เชื่องช้า เซื่องซึม ขี้หนาว พูดช้า เสียงแหบ ผิวแห้ง ผมแห้งหยาบและง่วงง่าย ท้องผูกและอ้วนขึ้น คอพอกชนิดเป็นพิษ เกิดจากต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน โดยต่อมใต้สมองไม่สามารถควบคุมการหลั่งฮอร์โมนได้ ทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาในกระแสเลือดเป็นจำนวนมาก โดยไม่ทราบสาเหตุและไม่เกี่ยวข้องกับอาหารทะเล แต่มีปัจจัยบางอย่างเกี่ยวข้อง ได้แก่ เพศและพันธุกรรม ส่วนใหญ่พบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 7-8 เท่า หากมีอาการไทรอยด์เป็นพิษจะสร้างฮอร์โมนออกมามากจะทำให้ต่อมมีขนาดโตขึ้น จนมองเห็นได้ชัดเจน
อรทัย เหลืองอ่อน นักกำหนดอาหารวิชาชีพ โรงพยาบาลปิยะเวท แนะนำ อาหารสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์ว่าควรเป็นอาหารที่ปรุงแต่งน้อย เพราะอาหารที่มาจากธรรมชาติจะยังคงคุณค่าของสารอาหารไว้มากที่สุด เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ แป้งไม่ขัดขาว และควรเลือกรับประทานผลไม้ที่มีรสไม่หวานจนเกินไป โดยเฉพาะกล้วยมีสารที่ช่วยลดแล็คติก เอซิด (Lactic Acid) ช่วยลดอาการเครียด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคไทรอยด์ เนื้อปลา ตลอดจนธัญพืช
สำหรับอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์ ได้แก่ อาหารหรือเครื่องดื่มที่เป็นสิ่งเร้าอย่าง เช่น กาแฟ ชา เครื่องดื่มชูกำลังและแอลกอฮอล์ ควรเลือกรับประทานเป็นเครื่องดื่มประเภทชาสมุนไพรแทน เช่น ตะไคร้ ขิง ดอกคำฝอย ก็จะช่วยเป็นเป็นทั้งยาและเครื่องดื่มที่ทำให้ร่างกายสดชื่นได้ดีกว่า ควรงดพริกชนิดเผ็ด เพราะอาหารพวกนี้จะไปเพิ่มเมตาบอลิซึ่ม ทำให้มีอาการใจสั่น หายใจติดขัด อาหารพวกหน่อไม้ฝรั่งและสาหร่าย ผักกาด หน่อไม้ เพราะมีสารขับน้ำและของเสียออกจากร่างกาย ทำให้เมแทบอลิซึมของร่างกายต้องทำงานเพิ่มมากขึ้น และควรระวังสำหรับพืชในกลุ่ม Cruciferae เช่น กะหล่ำปลีดิบ ทูนิป horseradish และเมล็ดพรรณผักกาดชนิดต่างๆ พืชเหล่านี้จะมีสารกลูโคซิโนเลท (สาร goitrogen)สารนี้จะไปขัดขวางการจับไอโอดีนของต่อมไทรอยด์ เพื่อสร้างเป็นฮอร์โมนไทรอกซิน ซึ่งทำให้เกิดเป็นไทรอยด์เป็นพิษ
อย่างไรก็ตาม การเลือกรับประทานอาหารของผู้ป่วยไทรอยด์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ และควรที่จะใส่ใจอย่างมาก ควรเลือกรับประทานอาหารที่ถูกหลักสุขลักษณะและตามหลักโภชนาการครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย และหมั่นดูแลน้ำหนักตัว รับประทานข้าวเป็นหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อรับประทานพืชผักให้มาก และผลไม้เป็นประจำ รับประทานปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ ถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย
สำหรับผู้ที่มีสงสัยว่าตัวเองมีอาการต่อมไทรอยด์ผิดปกติ เช่น ทานอาหารปกติแต่น้ำหนักเพิ่ม ตัวบวม หน้าบวม เฉื่อยชา อ่อนเพลีย ขี้หนาว ผมร่วง ผิวแห้ง ใจสั่น ขี้ร้อน เหนื่อยง่าย บ้างคนอาจมีอาการเคืองตาจนถึงขั้นตาโปนออกมาชัดเจน หากมีอาการเหล่านี้ควรเข้ารับการตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกาย ด้วยวิธีการเจาะเลือดตรวจหาระดับฮอร์โมน ที่เรียกว่า TSH (Thyroid stimulating hormone) ฮอร์โมน T3 (triiodothyronine) และ T4 (thyroxine) เพื่อดูระดับการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย และความผิดปกติอื่นๆ เพื่อหาแนวทางในการดูแลรักษาสุขภาพต่อไป
__________________
ข้อมูลจากนิตยสาร Slimming เดือนสิงหาคม 2558