คุณอรทัย เหลืองอ่อน
นักกำหนดอาหารวิชาชีพ โรงพยาบาลปิยะเวท
ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมที่มีความสำคัญมากต่อการดำรงชีวิตอย่างปกติสุข มีหน้าที่สร้างและหลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนออกมาสู่กระแสเลือด เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายทำงานเป็นปกติ โดยเฉพาะหัวใจและประสาท หากต่อมไทรอยด์ในร่างกายทำงานมากหรือน้อยเกินไปจะทำให้สมรรถภาพการทำงานแปรปรวนไป ส่งผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายความผิดปกติของโรคต่อมไทรอยด์ มีมากมายหลายชนิด แต่ที่สำคัญที่สุดคือ คอพอกชนิดไม่เป็นพิษ และคอพอกชนิดเป็นพิษคอพอกชนิดไม่เป็นพิษ สาเหตุที่สำคัญเกิดจากการขาดไอโอดีน ซึ่งธาตุไอโอดีนนี้มีมากในอาหารทะเล ไอโอดีนที่ควรได้รับในแต่ละวันของคนทั่วไป คือ 150 ไมโครกรัมหรือ 200 ไมโครกรัม สำหรับหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร อาการที่สำคัญ คือ ต่อมไทรอยด์จะโตขึ้นชัดเจนเชื่องช้าเซื่องซึมขี้หนาวพูดช้าเสียงแหบผิวแห้งผมแห้งหยาบและง่วงง่ายท้องผูกและอ้วนขึ้นคอพอกชนิดเป็นพิษเกิดจากต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน โดยต่อมใต้สมองไม่สามารถควบคุมการหลั่งฮอร์โมนได้ ทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาในกระแสเลือดเป็นจำนวนมาก โดยไม่ทราบสาเหตุและไม่เกี่ยวข้องกับอาหารทะเล แต่มีปัจจัยบางอย่างเกี่ยวข้อง ได้แก่เพศและพันธุกรรม ส่วนใหญ่พบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 7-8 เท่าหากมีอาการไทรอยด์เป็นพิษจะสร้างฮอร์โมนออกมามากจะทำให้ต่อมมีขนาดโตขึ้น จนมองเห็นได้ชัดเจน
คุณอรทัย เหลืองอ่อน นักกำหนดอาหารวิชาชีพ โรงพยาบาลปิยะเวทแนะนำ อาหารสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์ว่าควรเป็นอาหารที่ปรุงแต่งน้อย เพราะอาหารที่มาจากธรรมชาติจะยังคงคุณค่าของสารอาหารไว้มากที่สุด เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ แป้งไม่ขัดขาวและควรเลือกรับประทานผลไม้ที่มีรสไม่หวานจนเกินไป โดยเฉพาะกล้วยมีสารที่ช่วยลดแล็คติก เอซิด (Lactic Acid) ช่วยลดอาการเครียด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคไทรอยด์ เนื้อปลา ตลอดจนธัญพืช สำหรับอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์ ได้แก่ อาหารหรือเครื่องดื่มที่เป็นสิ่งเร้าอย่างเช่น กาแฟ ชา เครื่องดื่มชูกำลังและแอลกอฮอล์ควรเลือกรับประทานเป็นเครื่องดื่มประเภทชาสมุนไพรแทน เช่น ตะไคร้ขิง ดอกคำฝอย ก็จะช่วยเป็นเป็นทั้งยาและเครื่องดื่มที่ทำให้ร่างกายสดชื่นได้ดีกว่า ควรงดพริกชนิดเผ็ด เพราะอาหารพวกนี้จะไปเพิ่มเมแทบอลิซึม ทำให้มีอาการใจสั่นหายใจติดขัดอาหารพวกหน่อไม้ฝรั่งและสาหร่าย ผักกาด หน่อไม้ เพราะมีสารขับน้ำและของเสียออกจากร่างกาย ทำให้เมแทบอลิซึมของร่างกายต้องทำงานเพิ่มมากขึ้นและควรระวังสำหรับพืชในกลุ่ม Cruciferaeเช่น กะหล่ำปลีดิบทูนิปhorseradish และเมล็ดพรรณผักกาดชนิดต่างๆ พืชเหล่านี้จะมีสารกลูโคซิโนเลท (สาร goitrogen)สารนี้จะไปขัดขวางการจับไอโอดีนของต่อมไทรอยด์ เพื่อสร้างเป็นฮอร์โมนไทรอกซินซึ่งทำให้เกิดเป็นไทรอยด์เป็นพิษ
อย่างไรก็ตามการเลือกรับประทานอาหารของผู้ป่วยไทรอยด์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ และควรที่จะใส่ใจอย่างมาก ควรเลือกรับประทานอาหารที่ถูกหลักสุขลักษณะและตามหลักโภชนาการครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย และหมั่นดูแลน้ำหนักตัวรับประทานข้าวเป็นหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อรับประทานพืชผักให้มาก และผลไม้เป็นประจำรับประทานปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ ถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย
สำหรับผู้ที่มีสงสัยว่าตัวเองมีอาการต่อมไทรอยด์ผิดปกติเช่น ทานอาหารปกติแต่น้ำหนักเพิ่ม ตัวบวม หน้าบวม เฉื่อยชา อ่อนเพลีย ขี้หนาว ผมร่วง ผิวแห้ง ใจสั่น ขี้ร้อน เหนื่อยง่าย บ้างคนอาจมีอาการเคืองตาจนถึงขั้นตาโปนออกมาชัดเจนหากมีอาการเหล่านี้ควรเข้ารับการตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกาย ด้วยวิธีการเจาะเลือดตรวจหาระดับฮอร์โมนที่เรียกว่า TSH(Thyroid stimulating hormone)ฮอร์โมน T3 (triiodothyronine) และ T4 (thyroxine) เพื่อดูระดับการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย และความผิดปกติอื่นๆ เพื่อหาแนวทางในการดูแลรักษาสุขภาพต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่