xs
xsm
sm
md
lg

5 วิธีดูแลสมอง ให้เก่งไบรต์ใสวิ้ง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ภาพประกอบ blog.cognifit.com
แม้ว่ากรรมพันธุ์อาจมีส่วนเป็นตัวแปรที่ทำให้ความสามารถของสมองคนเรานั้นแตกต่างกัน แต่ทว่า “การดูแล” ให้สมองคงทำหน้าที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพนั้น นอกจากจะสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันแล้ว ยังช่วยให้เราสามารถขยับพัฒนาสมองให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

คำว่า “พรสวรรค์ 10% พรแสวง 90%” ก็ไม่ต่างจากการดูแลตัวเองที่กำลังกล่าวมานี้ ดังนั้น หากใครคิดอยากฉลาดขึ้น สมองดีขึ้น ไม่แพ้ใคร หรือจะรักษาความคมกริบของสมองให้คงอยู่กับเราไปตราบนานเท่านานแล้ว เรามาดูกันเลยว่าต่อไปนี้เราควรจะปรับเปลี่ยนหรือทำตัวอย่างไรบ้าง “สมอง” ถึงจะยังไบรต์ใสวิ้งคมกริบ
ภาพประกอบ dosomethingnewforyou.com
1. ล้างสมองให้ลื่นไหลด้วย “น้ำเปล่า”

ริ่มต้นง่ายๆ ด้วยน้ำเปล่า เพราะเป็นที่รู้ทั่วกันดีอยู่แล้วว่าสรรพคุณของน้ำเปล่านั้นมีมากเหลือคณานับ และร่างกายของเรายังประกอบไปด้วยน้ำถึง 3 ใน 4 ส่วนของน้ำหนักร่างกาย ซึ่งในสมองเราก็ประกอบไปด้วยน้ำถึง 85 เปอร์เซ็นต์ ฉะนั้นการที่เราใช้งานสมองหนักๆ ในแต่ละวัน “น้ำ” จึงเป็นเสมือนตัวช่วยการหล่อเลี้ยงให้เซลล์สมองกระชุ่มกระชวยมีพลังสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพครบวงจร ไม่ล่าช้าจนเกิดอาหารคิดไม่ออกหรือเฉื่อยชา เพิ่มการจดจำ เราจึงควรดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม
ภาพประกอบmr-ginseng.com
2. เติมโอเมก้า 3 และไฟเบอร์ ผัก ผลไม้

นอกจากน้ำจะเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของสมอง สมองยังมีคุณลักษณะและเซลล์ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยไขมันอีกเช่นกัน ดังนั้นไขมันจำเป็นที่เรียกว่า โอเมก้า 3 จึงมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของเซลล์สมองแต่ละเซลล์ ซึ่งมีส่วนช่วยโยงใยเครือข่ายทั้งหมดของระบบ และโอเมก้า 3 หรือไขมันดีที่ว่านี้ เราก็จะหาได้จากในอาหารจำพวกน้ำมันปลา หรือจากปลาทูน่า ปลาแซลมอน ไข่ นมถั่วเหลือง น้ำมันแฟลกซีต น้ำมันคาโนลา จมูกข้าวสาลี

ส่วนผักผลไม้ เช่น ลูกพรุน ลูกเกด ผักบร็อกโคลี ถั่วเขียว ผักปวยเล้ง ที่มีใยอาหารจำพวกไฟเบอร์อยู่เยอะ จะช่วยในการทำงานของระบบสมองหลักๆ ควบคุมการดูดซึมสารอาหาร น้ำตาล ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมแก่ร่างกาย
ภาพประกอบ madchima.org

3. หายใจลึกเข้าไว้ ท่องพุทโธ ไม่เครียด

เพราะสมองต้องใช้ออกซิเจนสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยง ดังนั้นการหายใจเข้าลึกๆ เอาออกซิเจนบริสุทธิ์เข้าสู่ร่างกายจึงเป็นการส่งผลให้ส่วนต่างของร่างกายนั้นทำงานได้ดีขึ้น และนอกจากนั้นเราก็ควรทำสมาธิ ทำจิตให้สงบเพื่อให้สมองปล่อยคลื่นปัญญาหรือที่เรียกว่าคลื่นธีต้า (Theta wave) ช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ สามารถดึงข้อมูลจากจิตใต้สำนึกได้

ทั้งหมดทั้งมวลเราต้องไม่เครียด เพราะเมื่อเครียดระบบร่างกายก็จะเกิดอาการแปรปรวนและส่งผลให้ระบบสมองก็ทำงานผิดปกติ ขาดสารอะเซทิลโคลีน ที่ช่วยทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำในระยะยาว ช่วยให้สมองเก็บความรู้ที่เรียน สารเอ็นดอร์ฟิน ที่เป็นสารทำให้รู้สึกผ่อนคลาย หรือสารเซโรโทนิน ที่ทำให้เราเกิดอาการวิตกกังวล ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ซึ่งเป็นตัวแปรที่ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลง
ภาพประกอบ extratechy.com
4. เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ไม่ทำอะไรซ้ำซากจำเจ

เนื่องจากสมองของเรามีคุณสมบัติพิเศษที่ซับซ้อนในการจดจำ ดังนั้นหากเราหมั่นศึกษาและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอๆ อาทิ เปลี่ยนทดลองใช้มือข้างที่ไม่ถนัดเขียนหนังสือ วาดภาพสี่เหลี่ยมด้วยมือหนึ่งพร้อมกับวาดวงกลมอีกมือหนึ่งพร้อมๆ กัน สมองของเราก็จะได้รับการกระตุ้นให้แบ่งแยกและจดจำอยู่ตลอดเวลา อย่างที่ภาษาบ้านๆ เราชอบเรียกกันว่าเพิ่มรอยหยักในสมองนั่นเอง
ภาพประกอบ neutron.rmutphysics.com และ youthfitnesscouncil.com
5. ออกกำลังกาย เล่นเกม ฝึกปฏิกิริยา

นอกจากร่างกายจะได้ผ่อนคลายแถมแข็งแรงควบคู่กันแล้ว สมองของคนเราหากได้รับการฝึกแก้ปัญหาเฉพาะหน้าบ่อยๆ สมองก็จะเรียนรู้ที่จะรับมือกับปัญหาเพื่อการแก้ไขในทุกๆ เมื่อ เพราะสมองของเราไม่เคยหลับใหลแม้ว่าเราจะพักผ่อนก็ตาม สมองก็จะมีการสร้างเครือข่ายขึ้นมาเชื่อมโยงข้อมูลเหล่านี้อยู่ตลอด

ฉะนั้นจึงเป็นการปิดโอกาสให้กับการเสื่อมและตายของเซลล์สมองที่ไม่ได้ใช้ ที่ทำให้เรามีความจำที่ถดถอยลง เราจึงควรฝึกรับสถานการณ์เหตุการณ์เฉพาะหน้าเพื่อความคมของสมอง

กำลังโหลดความคิดเห็น