เปิดให้บริการลูกค้ามาได้สักพักใหญ่แล้ว สำหรับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในชีวิตของผู้คน โดยเฉพาะปัจจุบัน พบว่า อัตราการเสียชีวิตบนท้องถนนนั้น สาเหตุหลักๆ มาจากการเมาแล้วขับ ซึ่งปัญหาดังกล่าว เมื่อมองผ่านสายตาของ “ยู ดริ๊งก์ ไอ ไดรฟ์” เขาการันตีว่านี่คืออีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยเซฟชีวิตของคุณได้
“ยู ดริ๊งก์ ไอ ไดรฟ์” ผ่านการก่อตั้งของสองสาวเพื่อนสนิท “สิ-สิรโสมย์ บริสุทธิ์สุวรรณ์” และ “มุ้งมิ้ง-ณิชมน วิริยะลัมภะ” โดยหลักการคือ ถ้าหากใครดื่มแอลกอฮอล์แล้วคิดว่าการขับขี่ของตนเองจะไม่ปลอดภัย ก็สามารถเรียกใช้บริการของบริษัทได้ ทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยที่บริษัทจะส่งพนักงานไดรเวอร์ไปรับและส่งคุณถึงที่ อย่างปลอดภัย ไร้กังวล
เราพาไปทำความรู้จักสองสาวไดรเวอร์ “วัชรี ชาสมบัติ” และ “ณภัค คัชรินทร์” ผู้อาสาเป็นสารถี ขับขี่พาคุณกลับถึงบ้านอย่างปลอดภัย เบื้องต้น โปรดจำว่า ดื่มสุราครั้งใด ถ้ารู้ตัวว่าขับรถไม่ไหว อย่าฝืน เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ เพียงชั่วพริบเดียว อาจทำให้คุณเสียใจไปทั้งชีวิต...
มาทำงานที่นี่นานหรือยังครับ
วัชรี : ก็ประมาณปีหนึ่งแล้วค่ะ
ณภัค : ประมาณ 2-3 เดือนค่ะ
การทำงานของที่นี่เป็นอย่างไรบ้าง
วัชรี : ระบบก็คือ เวลาลูกค้าไปดื่ม จะเมาหรือไม่เมาก็แล้วแต่ แต่ไม่อยากขับรถกลับเอง ก็จะติดต่อเข้ามา โทรมาที่เบอร์ของบริษัทว่าขอให้คนไปขับรถกลับบ้านให้หน่อย บริษัทเขาก็จะส่งงานต่อให้คนขับรถ ถ้าเป็นลูกค้าผู้หญิง บริษัทก็จะเน้นพนักงานหญิงให้ไปรับ
เนื่องจากเราเป็นผู้หญิง เคยกังวลหรือกลัวบ้างไหมกับการทำงานแบบนี้
ณภัค : ไม่กลัวค่ะ เพราะว่าเรามีระบบซีเคียวริตี้ดีอยู่แล้ว มีศูนย์ดูแล มีกล้องช่วยติดตาม แล้วก็เชื่อว่า คนที่ดื่มจริงๆ เขาจะไม่ใช่มารยาทไม่ดี เขายังมีสติ เพียงแต่ว่ายังไม่อยากจะขับรถเองหรือว่าไม่เสี่ยงที่จะขับรถ อาจจะเป็นเพราะเรื่องด่านด้วย เรื่องกลัวอุบัติเหตุด้วย หรือง่วงนอน กลัวหลับใน ระบบของเราจะมีกล้องติดไว้ที่ใบหู จะมีการติดตามพนักงานทุกฝีก้าว ดูว่ามีอุบัติหรือความปลอดภัยไหม สร้างความมั่นใจให้กับทางลูกค้าด้วย ทั้งผู้ขับขี่ด้วยค่ะ
วัชรี : ส่วนมากลูกค้าที่เจอก็จะแบบสุภาพ น่ารักๆ เมื่อก่อน ตอนที่มาทำใหม่ๆ ก็คิดเหมือนกัน คือคิดเหมือนกับทุกคนที่มองเข้ามาว่า คนเมาจะอันตรายสำหรับผู้หญิง แต่พอเรามาทำแล้วก็รู้สึกว่า ลูกค้าเขาก็ต้องการความปลอดภัยเหมือนกันกับเรา เราก็มีหน้าที่ขับรถพาลูกค้ากลับบ้านให้ปลอดภัย ก็เลยทำให้เราชอบงานนี้ ซึ่งก็ทำที่นี่มาได้ปีหนึ่งแล้วค่ะ
อีกอย่าง ในเรื่องความปลอดภัย ถ้าบ้านลูกค้าอยู่ไกล หรืออยู่ในซอยลึกๆ บริษัทมีนโยบายให้เราสามารถเรียกแท็กซี่ตามเราเข้าไปด้วยได้ จะไม่ให้เดินกลับออกมาเองหลังจากที่ส่งลูกค้าเรียบร้อยแล้ว เพราะมันดูอันตรายเกินไป
ทำงานมาสักพัก มีประสบการณ์ตื่นเต้นเกี่ยวกับคนเมาบ้างไหมครับ
วัชรี : ส่วนหนึ่งที่เจอ ก็จะเป็นประเภทแบบเมามาก แล้วพอเราขับๆ ไป เขาหลับแล้วก็ปลุกไม่ตื่น อะไรอย่างนี้ (หัวเราะ) ทำให้เราไม่รู้ว่าบ้านของลูกค้าอยู่หลังไหน เราก็ต้องรอจนกว่าลูกค้าจะตื่นหรือรู้สึกตัว เคสแบบนี้ก็จะเป็นลูกค้าที่ใช้บริการของเราครั้งแรก ยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดว่าบ้านของลูกค้าอยู่ที่ไหนยังไง แต่เรารู้ว่าอยู่ในซอยนั้นแหละ เพียงแต่ไม่รู้ว่าหลังไหน
ณภัค : คือที่เราเจอ ยังไม่ได้เคยเจอคนที่เมาจนไร้สติจริงๆ เพียงแต่ว่าเขาดื่มมาแล้วเขารู้สึกว่าเขาไม่อยากขับรถเท่านั้นเองค่ะ
คนกลุ่มอายุเท่าไหร่ที่ใช้บริการนี้
วัชรี : ก็มีประมาณอายุตั้งแต่อายุ 20 กว่า จนถึง 50 บางคนก็ดื่มไปแค่ 3-4 แก้ว เพียงแต่กังวลเรื่องด่านบ้างอะไรบ้าง ก็เลยปลอดภัยไว้ก่อน ส่วนมากลูกค้าจะเน้นปลอดภัยไว้ก่อน
คิดค่าบริการยังไงครับ
วัชรี : 5 กิโลแรก คิดที่ห้าร้อยบาท แล้วห้ากิโลกต่อมา ก็บวกไปอีกครั้งละห้าสิบบาทค่ะ คิดอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ
มีคนใช้บริการเยอะไหม
วัชรี : เยอะค่ะ ยิ่งช่วงศุกร์ เสาร์ นี่จะเยอะเป็นพิเศษ วันธรรมดาบางคืนก็สามสิบสี่สิบเที่ยวก็มี พนักงานแต่ละคนก็เฉลี่ยๆ ไป อย่างน้อยก็ต้องได้รับส่งสองสามคน
ในการทำงาน เราคำนึงถึงอะไรมากที่สุด
วัชรี : ความปลอดภัยค่ะ อันดับแรกสุดก็คือเรื่องอุบัติเหตุ กฎของบริษัทก็มี อย่างเช่น ถ้าขับทางธรรมดา ก็ไม่ให้ความเร็วเกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถ้าบนทางด่วน ก็ไม่ให้เกินหนึ่งร้อยกิโลเมตรต่อชั่วโมง ถ้าลูกค้าบอกว่า “พี่ เหยียบเลย” เราก็ยืนยันกฎของบริษัทนี้ให้ลูกค้าฟัง ว่าเขากำหนดมาให้เราแค่นี้เพื่อความปลอดภัย เพราะถ้าเราขับเร็ว การควบคุมก็จะไม่ได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์ บางทีมันมาแบบกะทันหัน กระชั้นชิด เพราะว่ากลางคืนมีสิ่งที่ไม่คาดคิดสามารถเกิดขึ้นได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเจอคนเมาขับมาชนเราเอง อันนี้ยังไม่เคยเจอนะ เพียงแต่ว่าเราคาดการณ์ไว้ก่อน
ณภัค : คือเมื่อก่อน ตอนที่ยังไม่ได้มาทำงานนี้ เราก็คนเที่ยวคนดื่มคนหนึ่ง เราก็เคยคิดว่า ถ้าสมมุติมีธุรกิจแบบนี้ ก็คือดีเลย เราก็เลยมาทำ การเป็นคนดื่มเที่ยวมาก่อน มันทำให้เรารู้เรื่องของความอันตราย ถ้าดื่มแล้วขับรถ มันไม่เต็มร้อยอยู่แล้ว ไหนจะเจอด่านตรวจ ไหนจะต้องระวังเรื่องอุบัติเหตุอีก ดังนั้น ความปลอดภัย จึงเป็นเรื่องที่เราคำนึงถึงมากที่สุดค่ะ
ที่นี่ทำงานกันตั้งแต่เวลาไหนถึงเวลาไหนครับ
วัชรี : ปกติก็ทำงานจากสามทุ่มถึงตีห้าค่ะ แต่จริงๆ ก็มีพิเศษ อย่างเช่น ลูกค้าบางท่านอาจจะเริ่มดื่มเร็ว ตั้งแต่ห้าโมงหกโมงเย็น ทุ่มหนึ่งก็อาจจะเริ่มเมาแล้ว อยากกลับบ้านก็เรียกใช้เราได้ เราก็จะมีโทรเรียกพนักงานมาก่อนเวลาแล้วให้เป็นโอทีไป
สุดท้าย อยากให้ฝากถึงผู้ที่ใช้รถ แต่ชอบดื่มชอบดริ๊งค์ในยามค่ำคืนหน่อยครับ
วัชรี : อยากให้นึกถึงความปลอดภัย เพราะว่าหลายๆ คนยังมีอนาคตที่ดี แล้วก็ยังมีครอบครัวที่เป็นห่วงอยู่ หลายๆ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นจากคนเมา เมาแล้วขับ เราไม่ชนเขา เขาก็อาจจะมาชนเราก็ได้ ก็เลยอยากให้นึกถึงจุดนี้มากๆ เพราะว่าบางคนอาจจะนึกถึงแต่ด่าน กลัวด่าน ด่านเราสามารถเคลียร์ได้หรือว่าประวัติเราอาจจะเสียไป แต่ความปลอดภัยจริงๆ ให้นึกมากกว่านั้น คือชีวิต ทั้งชีวิตของตัวเองและคนอื่นค่ะ
ณภัค : คือคนที่ดื่มส่วนใหญ่มักจะคิดว่า เราไม่เมา แต่จริงๆ แล้ว ความสามารถในการขับขี่มันลดน้อยลงกว่าตอนที่เรามีสติสัมปชัญญะเต็มร้อยอยู่แล้ว แม้แต่เราไม่ได้ดื่ม นั่งอยู่หลังพวงมาลัย หรือว่าพักผ่อนไม่เพียงพอ ความสามารถในการขับขี่ก็น้อยลงอยู่แล้ว แต่นี่บวกกับการที่เราดื่มเข้าไปอีก สติจากที่ร้อยแน่นอนว่าอาจจะไม่ถึงห้าหกสิบเปอร์เซ็นต์ บางคนบอกว่า เอ๊ย เราไม่เมา ไม่เมา ถ้ามันเกิดอะไรขึ้นมาแล้ว มันไม่คุ้ม บางที เราขับรถตอนกลางคืน แค่แวบนึง ก็เกิดอุบัติเหตุได้แล้ว
ดังนั้น ถ้าดื่มแล้ว อยากให้คิด โอเค คุณอาจจะไม่เมา คุณอาจจะคิดว่าไม่เมา แต่เบียร์กระป๋องนึง ก็อาจจะมึนๆ แล้ว ทำให้ลดหย่อนความสามารถใจการขับขี่ได้แล้ว เพราะสิ่งที่เราคาดไม่ถึง มันแว้บเดียวเท่านั้น กะพริบตาเดียวเท่านั้น ดังนั้น ถ้าดื่มแล้ว ก็ควรจะเรียกคนที่ไม่ได้ดื่มไปรับหรือหน่วยงานเราก็ได้ แต่ทางที่ดี ดื่มแล้วอย่าขับรถเลยดีกว่าค่ะ
ภาพ : ปัญญพัฒน์ เข็มราช
“ยู ดริ๊งก์ ไอ ไดรฟ์” ผ่านการก่อตั้งของสองสาวเพื่อนสนิท “สิ-สิรโสมย์ บริสุทธิ์สุวรรณ์” และ “มุ้งมิ้ง-ณิชมน วิริยะลัมภะ” โดยหลักการคือ ถ้าหากใครดื่มแอลกอฮอล์แล้วคิดว่าการขับขี่ของตนเองจะไม่ปลอดภัย ก็สามารถเรียกใช้บริการของบริษัทได้ ทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยที่บริษัทจะส่งพนักงานไดรเวอร์ไปรับและส่งคุณถึงที่ อย่างปลอดภัย ไร้กังวล
เราพาไปทำความรู้จักสองสาวไดรเวอร์ “วัชรี ชาสมบัติ” และ “ณภัค คัชรินทร์” ผู้อาสาเป็นสารถี ขับขี่พาคุณกลับถึงบ้านอย่างปลอดภัย เบื้องต้น โปรดจำว่า ดื่มสุราครั้งใด ถ้ารู้ตัวว่าขับรถไม่ไหว อย่าฝืน เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ เพียงชั่วพริบเดียว อาจทำให้คุณเสียใจไปทั้งชีวิต...
มาทำงานที่นี่นานหรือยังครับ
วัชรี : ก็ประมาณปีหนึ่งแล้วค่ะ
ณภัค : ประมาณ 2-3 เดือนค่ะ
การทำงานของที่นี่เป็นอย่างไรบ้าง
วัชรี : ระบบก็คือ เวลาลูกค้าไปดื่ม จะเมาหรือไม่เมาก็แล้วแต่ แต่ไม่อยากขับรถกลับเอง ก็จะติดต่อเข้ามา โทรมาที่เบอร์ของบริษัทว่าขอให้คนไปขับรถกลับบ้านให้หน่อย บริษัทเขาก็จะส่งงานต่อให้คนขับรถ ถ้าเป็นลูกค้าผู้หญิง บริษัทก็จะเน้นพนักงานหญิงให้ไปรับ
เนื่องจากเราเป็นผู้หญิง เคยกังวลหรือกลัวบ้างไหมกับการทำงานแบบนี้
ณภัค : ไม่กลัวค่ะ เพราะว่าเรามีระบบซีเคียวริตี้ดีอยู่แล้ว มีศูนย์ดูแล มีกล้องช่วยติดตาม แล้วก็เชื่อว่า คนที่ดื่มจริงๆ เขาจะไม่ใช่มารยาทไม่ดี เขายังมีสติ เพียงแต่ว่ายังไม่อยากจะขับรถเองหรือว่าไม่เสี่ยงที่จะขับรถ อาจจะเป็นเพราะเรื่องด่านด้วย เรื่องกลัวอุบัติเหตุด้วย หรือง่วงนอน กลัวหลับใน ระบบของเราจะมีกล้องติดไว้ที่ใบหู จะมีการติดตามพนักงานทุกฝีก้าว ดูว่ามีอุบัติหรือความปลอดภัยไหม สร้างความมั่นใจให้กับทางลูกค้าด้วย ทั้งผู้ขับขี่ด้วยค่ะ
วัชรี : ส่วนมากลูกค้าที่เจอก็จะแบบสุภาพ น่ารักๆ เมื่อก่อน ตอนที่มาทำใหม่ๆ ก็คิดเหมือนกัน คือคิดเหมือนกับทุกคนที่มองเข้ามาว่า คนเมาจะอันตรายสำหรับผู้หญิง แต่พอเรามาทำแล้วก็รู้สึกว่า ลูกค้าเขาก็ต้องการความปลอดภัยเหมือนกันกับเรา เราก็มีหน้าที่ขับรถพาลูกค้ากลับบ้านให้ปลอดภัย ก็เลยทำให้เราชอบงานนี้ ซึ่งก็ทำที่นี่มาได้ปีหนึ่งแล้วค่ะ
อีกอย่าง ในเรื่องความปลอดภัย ถ้าบ้านลูกค้าอยู่ไกล หรืออยู่ในซอยลึกๆ บริษัทมีนโยบายให้เราสามารถเรียกแท็กซี่ตามเราเข้าไปด้วยได้ จะไม่ให้เดินกลับออกมาเองหลังจากที่ส่งลูกค้าเรียบร้อยแล้ว เพราะมันดูอันตรายเกินไป
ทำงานมาสักพัก มีประสบการณ์ตื่นเต้นเกี่ยวกับคนเมาบ้างไหมครับ
วัชรี : ส่วนหนึ่งที่เจอ ก็จะเป็นประเภทแบบเมามาก แล้วพอเราขับๆ ไป เขาหลับแล้วก็ปลุกไม่ตื่น อะไรอย่างนี้ (หัวเราะ) ทำให้เราไม่รู้ว่าบ้านของลูกค้าอยู่หลังไหน เราก็ต้องรอจนกว่าลูกค้าจะตื่นหรือรู้สึกตัว เคสแบบนี้ก็จะเป็นลูกค้าที่ใช้บริการของเราครั้งแรก ยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดว่าบ้านของลูกค้าอยู่ที่ไหนยังไง แต่เรารู้ว่าอยู่ในซอยนั้นแหละ เพียงแต่ไม่รู้ว่าหลังไหน
ณภัค : คือที่เราเจอ ยังไม่ได้เคยเจอคนที่เมาจนไร้สติจริงๆ เพียงแต่ว่าเขาดื่มมาแล้วเขารู้สึกว่าเขาไม่อยากขับรถเท่านั้นเองค่ะ
คนกลุ่มอายุเท่าไหร่ที่ใช้บริการนี้
วัชรี : ก็มีประมาณอายุตั้งแต่อายุ 20 กว่า จนถึง 50 บางคนก็ดื่มไปแค่ 3-4 แก้ว เพียงแต่กังวลเรื่องด่านบ้างอะไรบ้าง ก็เลยปลอดภัยไว้ก่อน ส่วนมากลูกค้าจะเน้นปลอดภัยไว้ก่อน
คิดค่าบริการยังไงครับ
วัชรี : 5 กิโลแรก คิดที่ห้าร้อยบาท แล้วห้ากิโลกต่อมา ก็บวกไปอีกครั้งละห้าสิบบาทค่ะ คิดอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ
มีคนใช้บริการเยอะไหม
วัชรี : เยอะค่ะ ยิ่งช่วงศุกร์ เสาร์ นี่จะเยอะเป็นพิเศษ วันธรรมดาบางคืนก็สามสิบสี่สิบเที่ยวก็มี พนักงานแต่ละคนก็เฉลี่ยๆ ไป อย่างน้อยก็ต้องได้รับส่งสองสามคน
ในการทำงาน เราคำนึงถึงอะไรมากที่สุด
วัชรี : ความปลอดภัยค่ะ อันดับแรกสุดก็คือเรื่องอุบัติเหตุ กฎของบริษัทก็มี อย่างเช่น ถ้าขับทางธรรมดา ก็ไม่ให้ความเร็วเกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถ้าบนทางด่วน ก็ไม่ให้เกินหนึ่งร้อยกิโลเมตรต่อชั่วโมง ถ้าลูกค้าบอกว่า “พี่ เหยียบเลย” เราก็ยืนยันกฎของบริษัทนี้ให้ลูกค้าฟัง ว่าเขากำหนดมาให้เราแค่นี้เพื่อความปลอดภัย เพราะถ้าเราขับเร็ว การควบคุมก็จะไม่ได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์ บางทีมันมาแบบกะทันหัน กระชั้นชิด เพราะว่ากลางคืนมีสิ่งที่ไม่คาดคิดสามารถเกิดขึ้นได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเจอคนเมาขับมาชนเราเอง อันนี้ยังไม่เคยเจอนะ เพียงแต่ว่าเราคาดการณ์ไว้ก่อน
ณภัค : คือเมื่อก่อน ตอนที่ยังไม่ได้มาทำงานนี้ เราก็คนเที่ยวคนดื่มคนหนึ่ง เราก็เคยคิดว่า ถ้าสมมุติมีธุรกิจแบบนี้ ก็คือดีเลย เราก็เลยมาทำ การเป็นคนดื่มเที่ยวมาก่อน มันทำให้เรารู้เรื่องของความอันตราย ถ้าดื่มแล้วขับรถ มันไม่เต็มร้อยอยู่แล้ว ไหนจะเจอด่านตรวจ ไหนจะต้องระวังเรื่องอุบัติเหตุอีก ดังนั้น ความปลอดภัย จึงเป็นเรื่องที่เราคำนึงถึงมากที่สุดค่ะ
ที่นี่ทำงานกันตั้งแต่เวลาไหนถึงเวลาไหนครับ
วัชรี : ปกติก็ทำงานจากสามทุ่มถึงตีห้าค่ะ แต่จริงๆ ก็มีพิเศษ อย่างเช่น ลูกค้าบางท่านอาจจะเริ่มดื่มเร็ว ตั้งแต่ห้าโมงหกโมงเย็น ทุ่มหนึ่งก็อาจจะเริ่มเมาแล้ว อยากกลับบ้านก็เรียกใช้เราได้ เราก็จะมีโทรเรียกพนักงานมาก่อนเวลาแล้วให้เป็นโอทีไป
สุดท้าย อยากให้ฝากถึงผู้ที่ใช้รถ แต่ชอบดื่มชอบดริ๊งค์ในยามค่ำคืนหน่อยครับ
วัชรี : อยากให้นึกถึงความปลอดภัย เพราะว่าหลายๆ คนยังมีอนาคตที่ดี แล้วก็ยังมีครอบครัวที่เป็นห่วงอยู่ หลายๆ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นจากคนเมา เมาแล้วขับ เราไม่ชนเขา เขาก็อาจจะมาชนเราก็ได้ ก็เลยอยากให้นึกถึงจุดนี้มากๆ เพราะว่าบางคนอาจจะนึกถึงแต่ด่าน กลัวด่าน ด่านเราสามารถเคลียร์ได้หรือว่าประวัติเราอาจจะเสียไป แต่ความปลอดภัยจริงๆ ให้นึกมากกว่านั้น คือชีวิต ทั้งชีวิตของตัวเองและคนอื่นค่ะ
ณภัค : คือคนที่ดื่มส่วนใหญ่มักจะคิดว่า เราไม่เมา แต่จริงๆ แล้ว ความสามารถในการขับขี่มันลดน้อยลงกว่าตอนที่เรามีสติสัมปชัญญะเต็มร้อยอยู่แล้ว แม้แต่เราไม่ได้ดื่ม นั่งอยู่หลังพวงมาลัย หรือว่าพักผ่อนไม่เพียงพอ ความสามารถในการขับขี่ก็น้อยลงอยู่แล้ว แต่นี่บวกกับการที่เราดื่มเข้าไปอีก สติจากที่ร้อยแน่นอนว่าอาจจะไม่ถึงห้าหกสิบเปอร์เซ็นต์ บางคนบอกว่า เอ๊ย เราไม่เมา ไม่เมา ถ้ามันเกิดอะไรขึ้นมาแล้ว มันไม่คุ้ม บางที เราขับรถตอนกลางคืน แค่แวบนึง ก็เกิดอุบัติเหตุได้แล้ว
ดังนั้น ถ้าดื่มแล้ว อยากให้คิด โอเค คุณอาจจะไม่เมา คุณอาจจะคิดว่าไม่เมา แต่เบียร์กระป๋องนึง ก็อาจจะมึนๆ แล้ว ทำให้ลดหย่อนความสามารถใจการขับขี่ได้แล้ว เพราะสิ่งที่เราคาดไม่ถึง มันแว้บเดียวเท่านั้น กะพริบตาเดียวเท่านั้น ดังนั้น ถ้าดื่มแล้ว ก็ควรจะเรียกคนที่ไม่ได้ดื่มไปรับหรือหน่วยงานเราก็ได้ แต่ทางที่ดี ดื่มแล้วอย่าขับรถเลยดีกว่าค่ะ
ภาพ : ปัญญพัฒน์ เข็มราช