ศวปถ.วิเคราะห์อุบัติเหตุช่วงปีใหม่ พบเจ็บตายน้อยลง แต่ความรุนแรงเพิ่มขึ้น ระบุคนหันสวดมนต์ข้ามปีมากขึ้น ไม่ไปกินเหล้า ช่วยลดการตายจากอุบัติเหตุลงถึง 20%
วันนี้ (8 ม.ค.) นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ช่วง 7 วันอันตรายปีใหม่ 2558 แม้ภาพรวมการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจะลดลงจากปีที่แล้วคือ จาก 367 ราย เหลือ 341 ราย หรือลดลงร้อยละ 7 แต่พบว่าความรุนแรงของอุบัติเหตุเพิ่มสูงขึ้น โดยดัชนีความรุนแรงอยู่ที่ 11.37 โดยวัดจากจำนวนผู้เสียชีวิต 100 ครั้ง สำหรับสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ เกิดจากใช้ความเร็วเป็นสาเหตุหลัก ร้อยละ 40.7 รวมกับการตัดหน้ากระชั้นชิด ที่เกิดจากการใช้ความเร็วมากไป ทำให้เบรคไม่ทันอีก ร้อยละ 24.5 สองปัจจัยนี้รวมกันจะเท่ากับ 2 ใน 3 ของการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด จากข้อมูลของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) พบอุบัติเหตุร้อยละ 45.9 ผู้ขับขี่มีการดื่มร่วมด้วย และเฉพาะในคืนวันที่ 1 ม.ค. พบผู้เสียชีวิตที่มีการดื่มแอลกอฮอล์ร่วมด้วย ร้อยละ 57.7
“สถิติการเกิดอุบัติเหตุที่ลดลงในปีนี้มาจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะในคืนวันที่ 31 ธ.ค. - 1 ม.ค. พบว่า ทั่วประเทศมีการจัดกิจกรรมสวดมนต์ข้าม จึงทำให้อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนลดลง ร้อยละ 20 มีผู้เสียชีวิต 60 ราย ลดลงจากปีก่อนที่มีผู้เสียชีวิต 75 ราย โดยสำนักงานพระพุทธศาสนา สำรวจพบประชาชนร่วมกิจกรรมสวดมนต์ในวัดใกล้บ้านมากถึง 6.5 ล้านคน อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องวิเคราะห์ข้อมูลอุบัติเหตุในช่วงปีใหม่ที่ผ่านมาเพื่อหาวิธีการป้องกัน เช่น อุบัติเหตุที่เกิดกับคนเดินเท้าที่เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า และเป็นคนในพื้นที่ ร้อยละ 60 หรือ การใช้ความเร็วเกินกำหนดที่ทำให้เกิดความรุนแรงเพิ่มขึ้น รวมทั้งการป้องกันการดื่มแล้วขับที่ยังเป็นปัญหาต่อเนื่อง” นพ.ธนะพงศ์ กล่าว
นายชโลธร ผาโคตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี กล่าวว่า จ.สิงห์บุรี มีอุบัติเหตุ 16 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บ 18 ราย แต่ไม่มีผู้เสียชีวิตเลย โดยในอุบัติเหตุ 16 ครั้งพบว่า 10 ครั้ง ไม่มีคู่กรณี แต่เป็นการเกิดจากเมาแล้วขับและล้มเอง ทั้งนี้ มาตรการที่สำคัญที่ จ.สิงห์บุรี ใช้ คือ มาตรการ 5 ส. คือ 1.จุดเสี่ยง มีการปิดจุดกลับรถบนถนนสายเอเชีย ไม่ให้รถบรรทุกขนาดใหญ่จอดข้างทาง 2.สื่อสาร ใช้วิทยุสื่อสารรวมทั้งระบบออนไลน์ เพื่อความรวดเร็วในการประสานงาน 3.สืบสวน สอบสวน จัดทีมประเมินความเสี่ยง จุดเสี่ยงเพื่อหาทางป้องกันทันทีตลอดเวลา 4.สนองตอบรวดเร็ว มีชุดเคลื่อนที่เร็วที่ป้องกันและช่วยเหลืออย่างรวดเร็วเมื่อเกิดเหตุ และ 5.สวดมนต์ข้ามปี โดยพบว่าวัด ร้อยละ 99 จัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี มีประชาชนเข้าร่วมจำนวนมากแทนการไปดื่ม เมาฉลองข้ามปี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อุบัติเหตุในช่วงคืนข้ามปีลดลง ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์พบว่า จำเป็นต้องเพิ่มมาตรการป้องกันเรื่องการดื่มสุราเพิ่มเติมต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (8 ม.ค.) นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ช่วง 7 วันอันตรายปีใหม่ 2558 แม้ภาพรวมการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจะลดลงจากปีที่แล้วคือ จาก 367 ราย เหลือ 341 ราย หรือลดลงร้อยละ 7 แต่พบว่าความรุนแรงของอุบัติเหตุเพิ่มสูงขึ้น โดยดัชนีความรุนแรงอยู่ที่ 11.37 โดยวัดจากจำนวนผู้เสียชีวิต 100 ครั้ง สำหรับสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ เกิดจากใช้ความเร็วเป็นสาเหตุหลัก ร้อยละ 40.7 รวมกับการตัดหน้ากระชั้นชิด ที่เกิดจากการใช้ความเร็วมากไป ทำให้เบรคไม่ทันอีก ร้อยละ 24.5 สองปัจจัยนี้รวมกันจะเท่ากับ 2 ใน 3 ของการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด จากข้อมูลของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) พบอุบัติเหตุร้อยละ 45.9 ผู้ขับขี่มีการดื่มร่วมด้วย และเฉพาะในคืนวันที่ 1 ม.ค. พบผู้เสียชีวิตที่มีการดื่มแอลกอฮอล์ร่วมด้วย ร้อยละ 57.7
“สถิติการเกิดอุบัติเหตุที่ลดลงในปีนี้มาจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะในคืนวันที่ 31 ธ.ค. - 1 ม.ค. พบว่า ทั่วประเทศมีการจัดกิจกรรมสวดมนต์ข้าม จึงทำให้อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนลดลง ร้อยละ 20 มีผู้เสียชีวิต 60 ราย ลดลงจากปีก่อนที่มีผู้เสียชีวิต 75 ราย โดยสำนักงานพระพุทธศาสนา สำรวจพบประชาชนร่วมกิจกรรมสวดมนต์ในวัดใกล้บ้านมากถึง 6.5 ล้านคน อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องวิเคราะห์ข้อมูลอุบัติเหตุในช่วงปีใหม่ที่ผ่านมาเพื่อหาวิธีการป้องกัน เช่น อุบัติเหตุที่เกิดกับคนเดินเท้าที่เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า และเป็นคนในพื้นที่ ร้อยละ 60 หรือ การใช้ความเร็วเกินกำหนดที่ทำให้เกิดความรุนแรงเพิ่มขึ้น รวมทั้งการป้องกันการดื่มแล้วขับที่ยังเป็นปัญหาต่อเนื่อง” นพ.ธนะพงศ์ กล่าว
นายชโลธร ผาโคตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี กล่าวว่า จ.สิงห์บุรี มีอุบัติเหตุ 16 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บ 18 ราย แต่ไม่มีผู้เสียชีวิตเลย โดยในอุบัติเหตุ 16 ครั้งพบว่า 10 ครั้ง ไม่มีคู่กรณี แต่เป็นการเกิดจากเมาแล้วขับและล้มเอง ทั้งนี้ มาตรการที่สำคัญที่ จ.สิงห์บุรี ใช้ คือ มาตรการ 5 ส. คือ 1.จุดเสี่ยง มีการปิดจุดกลับรถบนถนนสายเอเชีย ไม่ให้รถบรรทุกขนาดใหญ่จอดข้างทาง 2.สื่อสาร ใช้วิทยุสื่อสารรวมทั้งระบบออนไลน์ เพื่อความรวดเร็วในการประสานงาน 3.สืบสวน สอบสวน จัดทีมประเมินความเสี่ยง จุดเสี่ยงเพื่อหาทางป้องกันทันทีตลอดเวลา 4.สนองตอบรวดเร็ว มีชุดเคลื่อนที่เร็วที่ป้องกันและช่วยเหลืออย่างรวดเร็วเมื่อเกิดเหตุ และ 5.สวดมนต์ข้ามปี โดยพบว่าวัด ร้อยละ 99 จัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี มีประชาชนเข้าร่วมจำนวนมากแทนการไปดื่ม เมาฉลองข้ามปี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อุบัติเหตุในช่วงคืนข้ามปีลดลง ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์พบว่า จำเป็นต้องเพิ่มมาตรการป้องกันเรื่องการดื่มสุราเพิ่มเติมต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่