xs
xsm
sm
md
lg

7 ของโปรดคนออฟฟิศ แต่เสี่ยงโรค

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

คุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องนั่งทำงานอยู่แต่ในออฟฟิศหรือเปล่า ?
แล้วอาหารประเภทไหนกันล่ะที่คุณเลือกกิน ?

แน่นอนว่าหลายคนคงตอบว่ากาแฟเย็น ชาเย็น ขนมปัง และอื่นๆ ซึ่งเท่าที่ดูแล้วก็คงเป็นของโปรดปรานของใครหลายๆ คน แต่รู้หรือไม่ว่าการรับประทานอาหารดังที่กล่าวมาคร่าวๆ นั้นทำให้เสี่ยงต่อ “โรค”

มาดูอาหารสุดโปรดสุดเสี่ยงกันดีกว่า จะมีอาหารที่คุณชอบรับประทานเป็นประจำด้วยหรือไม่นั้นตามทาง Good Health & Well-being มากันเลย

1. น้ำหวาน อาทิ กาแฟเย็น ชาเย็น ชาเขียวนมสด ฯลฯ
ภาพจาก http://www.thaihealth.or.th/
ในน้ำหวานประกอบไปด้วยน้ำตาลปริมาณมาก อีกทั้งยังมีแคลอรี่ที่สูง ยกตัวอย่าง เช่น กาแฟเย็นแก้วหนึ่งมีแคลอรี่เฉลี่ยอยู่ที่ 97-400 กิโลแคลอรี่ โดยเป็นไขมัน 0.4-22.1 กรัม โปรตีน 0.6-10.9 กรัม คาร์โบไฮเดรต 14.4-49.4 กรัม เป็นส่วนที่เป็นน้ำตาล 11-38 กรัม หรือประมาณ 3-10 ช้อนชา ( ข้อมูลจาก สสส. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) อีกทั้งองค์การอนามัยโลกยังแนะนำไว้ว่าไม่ควรบริโภคน้ำตาลจากอาหารทุกชนิดเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน (ข้อมูลจากแฟนเพจ “ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์”) คอลัมนิสต์ชื่อดังผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ

ความเสี่ยงต่อโรค :

- โรคเบาหวาน
- โรคความดันโลหิตสูง
- มีความเสี่ยงทำให้สมองพัฒนาช้าลง เนื่องจากในกาแฟมีสารคาเฟอีนจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลทำให้เกิดความเสี่ยง (ข้อมูลจาก : มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสวิตเซอร์แลนด์)

2. น้ำอัดลม
ภาพจาก http://www.mahayokathai.com/
เครื่องดื่มยอดฮิตที่ใครหลายคนต่างพากันชื่นชอบ ซึ่งในน้ำอัดลมประกอบไปด้วย น้ำ,น้ำตาล,คาเฟอีน,วัตถุกันเสีย, กรดคาร์บอนิก, กรดฟอสฟอริก,สี กลิ่น สี และรส อีกทั้งในน้ำอัดลม1 กระป๋อง (325 มิลลิลิตร) ยังมีน้ำตาลในปริมาณที่สูงมากถึง 38 กรัม หรือประมาณกว่า 7 ช้อนชาเลยทีเดียว

ความเสี่ยงต่อโรค :

- โรคเบาหวาน
- โรคหลอดเลือดหัวใจ
- โรคอ้วน
- โรคความดันสูง
- โรคมะเร็ง
- โรคกระเพาะ (คนเป็นโรคกระเพาะควรหลีกเลี่ยง)
- มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง (ผลสำรวจพฤติกรรมของนักวิจัยของสถาบันคาโรลินสกา ประเทศสวีเดน)

3. บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
ภาพจาก http://waymagazine.org/
เชื่อว่าเป็นอาหารที่หลายคนคงรู้จักและเคยรับประทาน โดยเฉพาะในเวลาที่เร่งรีบ งบน้อย ฯลฯ  

บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปประกอบไปด้วยเส้นที่ทำมาจากแป้งสาลี หรือแป้งชนิดอื่นๆ และมาพร้อมเครื่องปรุง ซึ่งประกอบไปด้วยผงชูรสเลยทำให้ในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีโซเดียมสูงมาก หากร่างกายได้รับโซเดียมมากเกินความจำเป็น จะทำให้เกิดอาการอ้วนบวมน้ำ แถมยังเป็นอันตรายต่อไต อีกทั้งยังทำให้ขาดสารอาหารอีกด้วย แต่ถ้าใครเกิดนึกอยากรับประทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปขึ้นมาทางที่ดีควรใส่ผัก ไข่และเนื้อสัตว์ ลงไปด้วยอย่างน้อยก็เพื่อเป็นการเพิ่มสารอาหารหรือนำมาดัดแปลงเป็นเมนูใหม่อย่าง ยำมาม่า ต้มยำมาม่า ฯลฯ นอกจากนี้แล้วนั้นทางกระทรวงสาธารณะสุขแนะนำมาว่าไม่ควรรับประทานมากเกินวันละ 1 ซอง เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวคุณเอง

ความเสี่ยงต่อโรค :

- โรคหัวใจ
- โรคไต
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคขาดสารอาหารเพราะมีสารอาหารไม่ครบถ้วน

4. อาหารปิ้งย่าง อาทิ หมูปิ้ง ไก่ปิ้ง ตับปิ้ง ฯลฯ
ภาพจาก http://www.bloggang.com/
ข้าวเหนียวหมูปิ้ง ไก่ปิ้ง ตับปิ้งคงเป็นอาหารโปรดตอนเช้าของใครหลายๆ คน เพราะหาซื้อรับประทานง่าย อิ่มท้อง อีกทั้งประหยัดเวลาในการรับประทานอีกด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้วในอาหารปิ้งย่างนั้นมีฤทธิ์ก่อให้เกิดโรคมะเร็งเพราะมีสารโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนและสารเฮทเทอโรโซ คลิกเอมีนซึ่งสารนี้จะเกิดจากการเผาไหม้โปรตีน

ทั้งนี้ในวารสาร Food Journal (ข้อมูลจากhttp://www.jr-rsu.net) ยังได้ระบุอีกด้วยว่า ข้าวเหนียวครึ่งทัพพีมีพลังงาน 80 กิโลแคลอรี่ หมูปิ้ง 1 ไม้คิดเป็น 130 แคลอรี่ โดยส่วนใหญ่คนจะนิยมรับประทานประมาณ 3 ไม้ ต่อ 1 คน ซึ่งคิดเป็นพลังงาน 470 กิโลแคลอรี่ ซึ่งมีแคลอรี่ใกล้เคียงกับข้าวมันไก่ที่มีแคลอรี่ 457 กิโลแคลอรี่เลยทีเดียว

ความเสี่ยงต่อโรค :

- โรคมะเร็ง
- โรคอ้วน

5. ขนมขบเคี้ยว ขนมกรุบกรอบ
ภาพจาก http://smmediabag.bangkoksync.com/
เป็นอีกหนึ่งอย่างที่ใครหลายคนอาจมีไว้บนโต๊ะทำงาน เพราะสามารถหยิบทานเล่นเวลาง่วงเหงาหาวนอนได้ ขนมขบเคี้ยวไม่ว่าจะเป็น ขนมถุง,ลูกอม,หมากฝรั่ง,ช็อกโกแลต ฯลฯ ซึ่งขนมขบเคี้ยวบางชนิดจะประกอบไปด้วยน้ำตาล ไขมันที่ค่อนข้างสูง ยิ่งในขนมกรุบกรอบด้วยแล้วนั้นส่วนใหญ่จะทำมาจากแป้ง มีไขมันปริมาณสูง อีกทั้งยังพ่วงโซเดียมจากผงชูรสที่เกิดจากการแต่งรสแต่งกลิ่นอีกด้วย

ความเสี่ยงต่อโรค :

- โรคไต
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคอ้วน

6. ขนมปังที่ทำจากแป้งขัดขาว อาทิ เค้ก คุกกี้ ปาท่องโก๋ เบเกอรี่ต่างๆ
ภาพจาก http://edunews.eduzones.com/
ขนมปังหรือเบเกอรี่ขัดขาวต่างๆ ถือได้ว่าเป็น คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว ประกอบไปด้วยแป้ง ซึ่งคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวนั้นสามารถเปลี่ยนเป็นน้ำตาลได้ทันทีหลังจากที่เรารับประทานเข้าไป ทั้งนี้จึงทำให้เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างรวดเร็ว ทางที่ดีหากอยากรับประทานขนมปัง หรือเบเกอรี่ต่างๆ ควรหันมาทานแบบคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนหรือแป้งที่ไม่ผ่านกระบวนการขัดขาวอย่าง ขนมปังโฮลวีต,คุกกี้ข้าวโอ๊ต ฯลฯ ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าไม่น้อย

ความเสี่ยงต่อโรค :

- โรคเบาหวาน
- โรคอ้วน
- โรคหัวใจ

7. อาหารฟาสต์ฟู้ด
ภาพจาก http://prinkgold.blogspot.com/
อาหารฟาสต์ฟู้ดหรืออาหารจานด่วนเป็นอาหารที่นิยมไม่แพ้ไปกว่าอาหารประเภทอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นแฮมเบอร์เกอร์, เฟรนช์ฟรายส์ และอื่นๆ อาหารประเภทนี้มีปริมาณแป้ง ไขมัน และน้ำตาลสูง หากรับประทานเป็นประจำจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ ตามมาได้

ความเสี่ยงต่อโรค :

- โรคอ้วน
- โรคไขมันในเลือดสุง
- โรคหัวใจขาดเลือด
- โรคซึมเศร้า (ผลการสำรวจของนักโภชนาการจากมหาวิทยาลัยตะวันออกของฟินแลนด์)
- เสี่ยงต่อการทำลายตับ (ข้อมูลจาก รายการโทรทัศน์"the doctors" ที่ออกอากาศในหลายประเทศ)
ข้อมูลบางส่วน http://www.thaihealth.or.th
กำลังโหลดความคิดเห็น