ASTVผู้จัดการรายวัน - “ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์” เผย ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปปนี้โตแค่ 1.4% จากปีที่แล้วโต 7.5% ส่วนมาม่าเดี้ยงโตไม่ถึง 1% ต่ำสุดเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ของบริษัทฯรอบ 42 ปี เหตุกำลังซื้อลดฮวบ เศรษฐกิจแย่ ดิ้นสารพัดทาง ตั้งเป้า 20,000 ล้านบาทใน 10 ปี
นายสุชัย รัตนเจียเจริญ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตบะหมี่ กึ่งสำเร็จรูปตรา"มาม่า" เปิดเผยว่า ตลาดรวมบะหมี่กึ่ง สำเร็จรูปในไทยปี 2557 คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 15,400 ล้านบาท (แบ่งเป็นแบบถ้วย 30% และแบบซอง 70%) ซึ่งมีอัตราการเติบโตต่ำมากแค่ 1.4% เท่านั้นเอง ลดลงจาก ปีที่แล้วที่มีการเติบโตมากถึง 7.5% โดยประเภทซองตลาด รวมในประเทศทรงตัว ส่วนประเภทถ้วยมีการเติบโตที่ลดลง เช่นกันจาก 20.3% ในปีที่แล้วเหลือเพียง 7.95% ในปี 2557
สำหรับผลประกอบการของบริษัท ในปี 2557 นี้ คาดว่าจะมี รายได้รวม 10,186 ล้านบาท เติบโต 0.2% และคาดว่าจะมี กำไรสุทธิประมาณ 1,468 ล้านบาท คิดเป็น 14% ของรายได้รวม ขณะที่มาม่ายังคงเป็นผู้นำตลาดด้วยส่วนแบ่งมากกว่า 50%
นายพิพัฒน์ พะเนียงเวทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปีนี้ถือเป็นปีแรกของบริษัทฯที่ก่อตั้งมานานกว่า 42 ปี ที่มียอดขายรวมมาม่าเติบโตต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์คือไม่ถึง 1% อีกทั้งในแง่ของตลาดประเภทถ้วย ปรกติตลาดรวมจะเติบโต 2 หลักแต่มาปีนี้ตลาดรวมก็แย่เติบโตแค่หลักเดียว
สาเหตุหลักมาจากปีนี้สภาพเศรษฐกิจแย่มาก กำลังซื้อของผู้ บริโภคไม่ค่อยดี ราคาพืชผลทางการเกษตรก็ตกต่ำ จำนำข้าว ก็ไม่ดีมีปัญหา มันไม่เติบโตจากรากหญ้าเลย ขนาดซองยังไม่โตเลย ซึ่งไม่เคยเกิดภาวะอย่างนี้มาก่อนเลย ทั้งๆที่ในอดีตเมื่อภาวะ เศรษฐกิจไม่ดีมาม่าจะต้องขายดีเป็นดัชนีชี้ชัดอย่างดี แต่ปีนี้แย่ มากถึงขนาดคนไม่มีเงินแม้แต่จะซื้อมาม่ากินเลย
อีกทั้งปริมาณการบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของคนไทยก็เริ่มอิ่มตัวแล้วมาหลายปี โดยอยู่ที่เฉลี่ย 45 ยูนิตต่อคนต่อปี จากค่าเฉลี่ยของสมาคมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปโลก ที่อยู่ที่ 40 ยูนิตต่อคนต่อปี โดยประเทศที่อัตราการบริโภคต่อคนต่อปี มากคือ อินโดนีเซีย ประมาณ 60.3 ยูนิต, ฮ่องกง 57.5 ยูนิต, เวียดนาม ประมาณ 57.3 ยูนิต, มาเลเซีย 46 ยูนิต, ขณะที่ประเทศที่บริโภคน้อยคือ ปากีสถาน ประมาณ 0.8 ยูนิต, บังคลาเทศ ประมาณ 1.4 ยูนิต อินเดียประมาณ 4 ยูนิต เป็นต้น
อย่างไรก็ตามภาวะเช่นนี้บริษัทฯได้ปรับตัวมาก่อนหน้าแล้ว ด้วยกลยุทธ์หลักคือ ควบคุมค่าใช้จ่าย , เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน, หาแหล่งวัตถุดิบคุณภาพต้นทุนต่ำ, การหาตลาดใหม่ๆ , การลงทุนในต่างประเทศ และ การขยายธุรกิจใหม่ๆที่เกี่ยวเนื่องกับอาหาร เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมาทำมาบ้างแล้ว เช่น การผลิตแป้งเองโดยร่วมทุนกับเคอร์รี่ฟลาวมิลล์ การเพิ่มการบริโภคประเภทถ้วยเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มมูลค่าตลาด การลงทุนต่างประเทศ เป็นต้น
สำหรับปี 2558 มีแผนที่จะลงทุนต่อเนื่อง เช่น ลงทุน 400 ล้านบาท เปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ 4 เครื่องเป็นแบบซองเหมือนเดิม ลงทุน 120 ล้านบาท เพื่อติดตั้งเครื่องจักรใหม่ผลิตแบบถ้วยที่โรงงานระยอง เพิ่มกำลังผลิตอีก 30% จากเดิมผลิตได้ประมาณ 800,000 หีบต่อวัน ขณะที่แบบซอง
นั้นมีกำลังผลิตรวม 6 ล้านซองต่อวัน และปีหน้าเตรียมที่จะก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ที่เมียนม่าร์หลังจากที่ได้ที่ดินแล้ว คาดว่าต้องลงทุน 300 ล้านบาท ล่าสุดเปิดโรงงานผลิตที่ฮังการีแล้ว ลงทุน 330 ล้านบาท กำลังผลิต 10 ล้านซองต่อเดือน
นอกจากนั้นยังมองหาตลาดใหม่ๆเพิ่มเติมและขยายเพิ่มด้วยเช่น เม็กซิโก กับบราซิล ซึ่งที่ผ่านมาสัดส่วนตลาดส่งออกของบริษัทฯแบ่งเป็น อเมริกา 23% ยุโรป 32% เอเซีย 34% แคนาดา 6% ออสเตรเลีย 4% แอฟริกา 1% รวมก่า 60 ประเทศทั่วโลก
นายพิพัฒน์ กล่าวด้วยว่า บริษัทฯยังมีแผนที่จะขยายธุรกิจอื่นที่เกี่ยงข้องเกี่ยวข้องกับอาหารด้วย ซึ่งที่อยู่ระหว่างการศึกษาและเจรจาคือ ร้านอาหาร ที่อาจจะเป็นบะหมี่เป็นวัตถุดิบหลัก ซึ่งมีการเจรจากันทั้งกลุ่มทุนจากยุโรป อเมริกา แต่ยังไม่มีข้อสรุป
นายพิพัฒน์กล่าวด้วยว่า นโยบายของบริษัทฯจากนี้มีเป้าหมายที่จะต้องเพิ่มรายได้รวมของบริษัทฯเป็น 20,000 ล้านบาท ภายใน 10 ปีเริ่มจากปีนี้ จากปัจจุบันที่มีรายได้รวมประมาณ 1 หมื่นกว่าล้านบาท
นายสุชัย รัตนเจียเจริญ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตบะหมี่ กึ่งสำเร็จรูปตรา"มาม่า" เปิดเผยว่า ตลาดรวมบะหมี่กึ่ง สำเร็จรูปในไทยปี 2557 คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 15,400 ล้านบาท (แบ่งเป็นแบบถ้วย 30% และแบบซอง 70%) ซึ่งมีอัตราการเติบโตต่ำมากแค่ 1.4% เท่านั้นเอง ลดลงจาก ปีที่แล้วที่มีการเติบโตมากถึง 7.5% โดยประเภทซองตลาด รวมในประเทศทรงตัว ส่วนประเภทถ้วยมีการเติบโตที่ลดลง เช่นกันจาก 20.3% ในปีที่แล้วเหลือเพียง 7.95% ในปี 2557
สำหรับผลประกอบการของบริษัท ในปี 2557 นี้ คาดว่าจะมี รายได้รวม 10,186 ล้านบาท เติบโต 0.2% และคาดว่าจะมี กำไรสุทธิประมาณ 1,468 ล้านบาท คิดเป็น 14% ของรายได้รวม ขณะที่มาม่ายังคงเป็นผู้นำตลาดด้วยส่วนแบ่งมากกว่า 50%
นายพิพัฒน์ พะเนียงเวทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปีนี้ถือเป็นปีแรกของบริษัทฯที่ก่อตั้งมานานกว่า 42 ปี ที่มียอดขายรวมมาม่าเติบโตต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์คือไม่ถึง 1% อีกทั้งในแง่ของตลาดประเภทถ้วย ปรกติตลาดรวมจะเติบโต 2 หลักแต่มาปีนี้ตลาดรวมก็แย่เติบโตแค่หลักเดียว
สาเหตุหลักมาจากปีนี้สภาพเศรษฐกิจแย่มาก กำลังซื้อของผู้ บริโภคไม่ค่อยดี ราคาพืชผลทางการเกษตรก็ตกต่ำ จำนำข้าว ก็ไม่ดีมีปัญหา มันไม่เติบโตจากรากหญ้าเลย ขนาดซองยังไม่โตเลย ซึ่งไม่เคยเกิดภาวะอย่างนี้มาก่อนเลย ทั้งๆที่ในอดีตเมื่อภาวะ เศรษฐกิจไม่ดีมาม่าจะต้องขายดีเป็นดัชนีชี้ชัดอย่างดี แต่ปีนี้แย่ มากถึงขนาดคนไม่มีเงินแม้แต่จะซื้อมาม่ากินเลย
อีกทั้งปริมาณการบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของคนไทยก็เริ่มอิ่มตัวแล้วมาหลายปี โดยอยู่ที่เฉลี่ย 45 ยูนิตต่อคนต่อปี จากค่าเฉลี่ยของสมาคมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปโลก ที่อยู่ที่ 40 ยูนิตต่อคนต่อปี โดยประเทศที่อัตราการบริโภคต่อคนต่อปี มากคือ อินโดนีเซีย ประมาณ 60.3 ยูนิต, ฮ่องกง 57.5 ยูนิต, เวียดนาม ประมาณ 57.3 ยูนิต, มาเลเซีย 46 ยูนิต, ขณะที่ประเทศที่บริโภคน้อยคือ ปากีสถาน ประมาณ 0.8 ยูนิต, บังคลาเทศ ประมาณ 1.4 ยูนิต อินเดียประมาณ 4 ยูนิต เป็นต้น
อย่างไรก็ตามภาวะเช่นนี้บริษัทฯได้ปรับตัวมาก่อนหน้าแล้ว ด้วยกลยุทธ์หลักคือ ควบคุมค่าใช้จ่าย , เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน, หาแหล่งวัตถุดิบคุณภาพต้นทุนต่ำ, การหาตลาดใหม่ๆ , การลงทุนในต่างประเทศ และ การขยายธุรกิจใหม่ๆที่เกี่ยวเนื่องกับอาหาร เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมาทำมาบ้างแล้ว เช่น การผลิตแป้งเองโดยร่วมทุนกับเคอร์รี่ฟลาวมิลล์ การเพิ่มการบริโภคประเภทถ้วยเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มมูลค่าตลาด การลงทุนต่างประเทศ เป็นต้น
สำหรับปี 2558 มีแผนที่จะลงทุนต่อเนื่อง เช่น ลงทุน 400 ล้านบาท เปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ 4 เครื่องเป็นแบบซองเหมือนเดิม ลงทุน 120 ล้านบาท เพื่อติดตั้งเครื่องจักรใหม่ผลิตแบบถ้วยที่โรงงานระยอง เพิ่มกำลังผลิตอีก 30% จากเดิมผลิตได้ประมาณ 800,000 หีบต่อวัน ขณะที่แบบซอง
นั้นมีกำลังผลิตรวม 6 ล้านซองต่อวัน และปีหน้าเตรียมที่จะก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ที่เมียนม่าร์หลังจากที่ได้ที่ดินแล้ว คาดว่าต้องลงทุน 300 ล้านบาท ล่าสุดเปิดโรงงานผลิตที่ฮังการีแล้ว ลงทุน 330 ล้านบาท กำลังผลิต 10 ล้านซองต่อเดือน
นอกจากนั้นยังมองหาตลาดใหม่ๆเพิ่มเติมและขยายเพิ่มด้วยเช่น เม็กซิโก กับบราซิล ซึ่งที่ผ่านมาสัดส่วนตลาดส่งออกของบริษัทฯแบ่งเป็น อเมริกา 23% ยุโรป 32% เอเซีย 34% แคนาดา 6% ออสเตรเลีย 4% แอฟริกา 1% รวมก่า 60 ประเทศทั่วโลก
นายพิพัฒน์ กล่าวด้วยว่า บริษัทฯยังมีแผนที่จะขยายธุรกิจอื่นที่เกี่ยงข้องเกี่ยวข้องกับอาหารด้วย ซึ่งที่อยู่ระหว่างการศึกษาและเจรจาคือ ร้านอาหาร ที่อาจจะเป็นบะหมี่เป็นวัตถุดิบหลัก ซึ่งมีการเจรจากันทั้งกลุ่มทุนจากยุโรป อเมริกา แต่ยังไม่มีข้อสรุป
นายพิพัฒน์กล่าวด้วยว่า นโยบายของบริษัทฯจากนี้มีเป้าหมายที่จะต้องเพิ่มรายได้รวมของบริษัทฯเป็น 20,000 ล้านบาท ภายใน 10 ปีเริ่มจากปีนี้ จากปัจจุบันที่มีรายได้รวมประมาณ 1 หมื่นกว่าล้านบาท