มีทายาทนักธุรกิจพันล้านสักกี่คนกันเชียว
กล้าตั้ง “คำถาม” และครุ่นคิด “คำตอบ”
กระทั่งตัดสินใจฉีกรัฐธรรมนูญชีวิตมนุษย์เงินเดือน
ที่ทำงานเช้าวันจันทร์ - ศุกร์, เสาร์ - อาทิตย์ กินเที่ยว
เหมือน “อรุษ นวราช” กรรมการผู้จัดการ สามพรานริเวอร์ไซต์ และเลขานุการมูลนิธิสังคมสุขใจ
ผู้เปลี่ยนแปลงเกษตรกรเคมี สู่วิถีเกษตรอินทรีย์ เพื่อความสุขที่ยั่งยืน
ถึงจะนั่งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ สามพรานริเวอร์ไซต์ แต่ “อรุษ นวราช” บอกว่าเวลา กว่า 10 ชม.ต่อวัน ถูกใช้ไปกับงานมูลนิธิสังคมสุขใจ ที่เขานั่งเป็นเลขานุการ โดยมองว่า การขับเคลื่อนสามพรานโมเดล และการขับเคลื่อนธุรกิจโรงแรมสามพรานริเวอร์ไซต์ เป็นเรื่องเดียวกัน
“ผมว่าจุดที่ผมทำ เป็นการตลาด และประชาสัมพันธ์นะ เพราะแนวทางการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์สอดคล้องกับนโยบายการบริหารของเราคือ วิถีชีวิตแบบไทยๆ คือช่วยเรื่องการสร้างกิจกรรม เพื่อให้พนักงานมีส่วนร่วม ช่วยในด้านการบริหาร และอุดมการณ์ร่วมของบริษัท ตรงนี้เชื่อมโยงกันหมดแยกกันไม่ออก
เพราะการจะขับเคลื่อนให้มีประสิทธิภาพ มันต้องทำอย่างต่อเนื่อง ในการขับเคลื่อนของสามพรานโมเดล เราทำเรื่อง ห่วงโซ่อาหาร ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ต้นน้ำ เป็นส่วนสำคัญมาก เพราะต้องปรับเปลี่ยนจากการใช้เคมีเป็นอินทรีย์ เรียกว่าต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตก็ว่าได้ เพราะฉะนั้น มันก็เหมือนเป็นพี่เลี้ยงกันในหลายมิติ
ส่วนในด้านผู้บริโภค อย่างเมื่อก่อนผมเคยห่วงเรื่องการเชื่อมโยงกับตลาด แต่ตอนนี้ไม่ค่อยห่วงเท่าไหร่ครับ เพราะเรามีแนวร่วมทางด้านปลายน้ำเยอะ ทั้งในรูปแบบบริษัท และ NGO คือขอแค่คุมมาตรฐาน ซื่อสัตย์ และให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยเท่านั้นพอ
ผลจากการทำในสิ่งที่ศรัทธา ทำให้งานวันสังคมสุขใจ ครั้งที่ 1 ณ สวนสามพราน ที่เขารับหน้าที่เชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ-เอกชน-เกษตรกร-NGO ซึ่งประกอบด้วย อำเภอสามพราน จ. นครปฐม อบต.17 ตำบล มูลนิธิสังคมสุขใจ สามพรานริเวอร์ไซด์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มหาวิทยาลัย โรงเรียน และเกษตรกรในจังหวัดนครปฐม เมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา ได้เสียงปรบมือด้วยความชื่นชม
“อรุษ นวราช” เผยที่มาของความสำเร็จกับสิ่งที่เขาทำมากว่า 5 ปีเต็มๆตั้งแต่วันที่เริ่มเปิดตลาดสุขใจว่า “ทั้งหมดมาจากความเชื่อที่ว่า ชีวิตของเราไม่จำเป็นต้องมีสารเคมีเท่านั้นเอง อย่างเมื่อก่อนเราก็เป็นอินทรีย์หมด เพิ่งจะมาปนเปื้อนกันตอนปฏิวัติเขียว พอเคมีเข้ามา เราก็ทำเกษตรอินทรีย์ไม่เป็น ต้องพึ่งเคมีตลอด มันก็เข้าไปอยู่ในโซ่อาหารที่สะสมอยู่ในตัวเรา ซึ่งก็มีผลต่อสุขภาพ และทำลายสิ่งแวดล้อมมหาศาล
ผลของการพึ่งพาสารเคมี ทำให้เกษตรกรติดอยู่ในวงจรนั้น หาทางออกไม่ได้ คือพึ่งสารเคมี สุขภาพแย่ลง เป็นหนี้มากขึ้น ปีหน้าต้องใช้ยาแรงขึ้น สิ่งแวดล้อมแย่ลง มันจึงเป็นวงจรอุบาทว์ที่ต้องช่วยกันแก้
ทั้งที่จริงๆ แล้ว เราไม่จำเป็นต้องพึ่งเคมีเลย เพราะมีวัตถุดิบมากมายอยู่รอบๆตัวมากมาย เรามีมูลสัตว์ มีจอกมีแหน เอามาหมักได้ ขอเพียงนำมาพึ่งพากัน สุขภาพก็ดีขึ้น แถมต้นทุนต่ำ ผลผลิตดีขึ้น ดินมันก็ดีขึ้น ทุกอย่างมันสมดุล สภาพแวดล้อมก็สมดุล
ทุกครั้งที่เขารู้สึกเหนื่อย และท้อ “อรุษ นวราช” เลือกที่จะ “เชื่อ” ว่าสิ่งที่เขาทำเป็นเรื่องที่ถูกต้อง และ ไม่ใช่สิ่งที่ยากเกินมนุษย์จะทำ เขาเล่าย้อนไปยังจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติชีวิตครั้งสำคัญว่า “ชีวิตใหม่ของผมเริ่มจากตอนที่ตัดสินใจกลับมาทำงานที่บ้าน เพราะรู้สึกเบื่อกับชีวิตมนุษย์เงินเดือน ประกอบกับชอบดูแลสุขภาพ ก็เลยตัดสินใจทิ้งเงินเดือนแสนกว่าบาท กลับมามองหาเส้นทางชีวิตเส้นใหม่ ที่ไม่ต้องวนเวียนอยู่ในวงจรมนุษย์ ที่บ้าน และพบโจทย์ของชีวิตในที่สุดครับ”
“สำคัญที่สุด คือสมดุล และทำธุรกิจบนพื้นฐานของความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และคนอื่น สำหรับผมการนำบริษัทไปเข้าตลาดหุ้น เอาเงินต่อเงินอันนี้มันไม่สมดุลนะ เพราะชีวิต ไม่ใช่แค่เรื่องเงินอย่างเดียว ยอมทำงานหนักเพียงเพื่อหาเงินไปเที่ยว ยอมทำงานหนักเพื่อแสวงหาความสุขที่ไม่มีอยู่จริง ออกแรงไปวิ่งตามสิ่งที่ตามไม่ทัน ถามว่าการทำแบบนั้นชีวิตมันยั่งยืน และมีความสุขกว่าตรงไหน”
กล้าตั้ง “คำถาม” และครุ่นคิด “คำตอบ”
กระทั่งตัดสินใจฉีกรัฐธรรมนูญชีวิตมนุษย์เงินเดือน
ที่ทำงานเช้าวันจันทร์ - ศุกร์, เสาร์ - อาทิตย์ กินเที่ยว
เหมือน “อรุษ นวราช” กรรมการผู้จัดการ สามพรานริเวอร์ไซต์ และเลขานุการมูลนิธิสังคมสุขใจ
ผู้เปลี่ยนแปลงเกษตรกรเคมี สู่วิถีเกษตรอินทรีย์ เพื่อความสุขที่ยั่งยืน
ถึงจะนั่งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ สามพรานริเวอร์ไซต์ แต่ “อรุษ นวราช” บอกว่าเวลา กว่า 10 ชม.ต่อวัน ถูกใช้ไปกับงานมูลนิธิสังคมสุขใจ ที่เขานั่งเป็นเลขานุการ โดยมองว่า การขับเคลื่อนสามพรานโมเดล และการขับเคลื่อนธุรกิจโรงแรมสามพรานริเวอร์ไซต์ เป็นเรื่องเดียวกัน
“ผมว่าจุดที่ผมทำ เป็นการตลาด และประชาสัมพันธ์นะ เพราะแนวทางการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์สอดคล้องกับนโยบายการบริหารของเราคือ วิถีชีวิตแบบไทยๆ คือช่วยเรื่องการสร้างกิจกรรม เพื่อให้พนักงานมีส่วนร่วม ช่วยในด้านการบริหาร และอุดมการณ์ร่วมของบริษัท ตรงนี้เชื่อมโยงกันหมดแยกกันไม่ออก
เพราะการจะขับเคลื่อนให้มีประสิทธิภาพ มันต้องทำอย่างต่อเนื่อง ในการขับเคลื่อนของสามพรานโมเดล เราทำเรื่อง ห่วงโซ่อาหาร ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ต้นน้ำ เป็นส่วนสำคัญมาก เพราะต้องปรับเปลี่ยนจากการใช้เคมีเป็นอินทรีย์ เรียกว่าต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตก็ว่าได้ เพราะฉะนั้น มันก็เหมือนเป็นพี่เลี้ยงกันในหลายมิติ
ส่วนในด้านผู้บริโภค อย่างเมื่อก่อนผมเคยห่วงเรื่องการเชื่อมโยงกับตลาด แต่ตอนนี้ไม่ค่อยห่วงเท่าไหร่ครับ เพราะเรามีแนวร่วมทางด้านปลายน้ำเยอะ ทั้งในรูปแบบบริษัท และ NGO คือขอแค่คุมมาตรฐาน ซื่อสัตย์ และให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยเท่านั้นพอ
ผลจากการทำในสิ่งที่ศรัทธา ทำให้งานวันสังคมสุขใจ ครั้งที่ 1 ณ สวนสามพราน ที่เขารับหน้าที่เชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ-เอกชน-เกษตรกร-NGO ซึ่งประกอบด้วย อำเภอสามพราน จ. นครปฐม อบต.17 ตำบล มูลนิธิสังคมสุขใจ สามพรานริเวอร์ไซด์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มหาวิทยาลัย โรงเรียน และเกษตรกรในจังหวัดนครปฐม เมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา ได้เสียงปรบมือด้วยความชื่นชม
“อรุษ นวราช” เผยที่มาของความสำเร็จกับสิ่งที่เขาทำมากว่า 5 ปีเต็มๆตั้งแต่วันที่เริ่มเปิดตลาดสุขใจว่า “ทั้งหมดมาจากความเชื่อที่ว่า ชีวิตของเราไม่จำเป็นต้องมีสารเคมีเท่านั้นเอง อย่างเมื่อก่อนเราก็เป็นอินทรีย์หมด เพิ่งจะมาปนเปื้อนกันตอนปฏิวัติเขียว พอเคมีเข้ามา เราก็ทำเกษตรอินทรีย์ไม่เป็น ต้องพึ่งเคมีตลอด มันก็เข้าไปอยู่ในโซ่อาหารที่สะสมอยู่ในตัวเรา ซึ่งก็มีผลต่อสุขภาพ และทำลายสิ่งแวดล้อมมหาศาล
ผลของการพึ่งพาสารเคมี ทำให้เกษตรกรติดอยู่ในวงจรนั้น หาทางออกไม่ได้ คือพึ่งสารเคมี สุขภาพแย่ลง เป็นหนี้มากขึ้น ปีหน้าต้องใช้ยาแรงขึ้น สิ่งแวดล้อมแย่ลง มันจึงเป็นวงจรอุบาทว์ที่ต้องช่วยกันแก้
ทั้งที่จริงๆ แล้ว เราไม่จำเป็นต้องพึ่งเคมีเลย เพราะมีวัตถุดิบมากมายอยู่รอบๆตัวมากมาย เรามีมูลสัตว์ มีจอกมีแหน เอามาหมักได้ ขอเพียงนำมาพึ่งพากัน สุขภาพก็ดีขึ้น แถมต้นทุนต่ำ ผลผลิตดีขึ้น ดินมันก็ดีขึ้น ทุกอย่างมันสมดุล สภาพแวดล้อมก็สมดุล
ทุกครั้งที่เขารู้สึกเหนื่อย และท้อ “อรุษ นวราช” เลือกที่จะ “เชื่อ” ว่าสิ่งที่เขาทำเป็นเรื่องที่ถูกต้อง และ ไม่ใช่สิ่งที่ยากเกินมนุษย์จะทำ เขาเล่าย้อนไปยังจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติชีวิตครั้งสำคัญว่า “ชีวิตใหม่ของผมเริ่มจากตอนที่ตัดสินใจกลับมาทำงานที่บ้าน เพราะรู้สึกเบื่อกับชีวิตมนุษย์เงินเดือน ประกอบกับชอบดูแลสุขภาพ ก็เลยตัดสินใจทิ้งเงินเดือนแสนกว่าบาท กลับมามองหาเส้นทางชีวิตเส้นใหม่ ที่ไม่ต้องวนเวียนอยู่ในวงจรมนุษย์ ที่บ้าน และพบโจทย์ของชีวิตในที่สุดครับ”
“สำคัญที่สุด คือสมดุล และทำธุรกิจบนพื้นฐานของความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และคนอื่น สำหรับผมการนำบริษัทไปเข้าตลาดหุ้น เอาเงินต่อเงินอันนี้มันไม่สมดุลนะ เพราะชีวิต ไม่ใช่แค่เรื่องเงินอย่างเดียว ยอมทำงานหนักเพียงเพื่อหาเงินไปเที่ยว ยอมทำงานหนักเพื่อแสวงหาความสุขที่ไม่มีอยู่จริง ออกแรงไปวิ่งตามสิ่งที่ตามไม่ทัน ถามว่าการทำแบบนั้นชีวิตมันยั่งยืน และมีความสุขกว่าตรงไหน”