เวทีหลวงปู่พุทธะอิสระ ถกปฏิรูปพลังงานรอบ 2 ดุเดือด ภาคประชาชนฉุนหลวงปู่ฯโน้มเอียงเข้าข้างบมจ.ปตท. ไม่เปิดโอกาสให้ชี้แจงคำถาม ก่อนจะออกวอร์กเอาต์ออกมาแถลงข่าวนอกห้องประชุม หลวงปู่ฯ รับผิดหวังเวทีครั้งนี้ แต่ยืนยันจะเป็นกลาง เตรียมนำผลสรุปหารือทั้งสองรอบเสนอรัฐบาลและคสช.ภายในสัปดาห์นี้ ด้าน "ปิยสวัสดิ์" ประธานบอร์ด ปตท. ถูกจี้จุด หลุด "อย่ามาเห่าหอนข้างนอก" หากมีหลักฐานให้สตง.ไปฟ้องเอาผิด หลัง “วีระ” แฉกองทุนเพื่อการอนุรักษ์พลังงานไปใช้ผิดประเภท
วานนี้ (24 ก.ย.) ได้มีการจัดเสวนา "ถาม-ตอบพลังงาน" เพื่อเสนอแนะทิศทางพลังงานของประเทศ ณ ห้องประชุมกองทัพบก ถ.วิภาวดี โดยมีหลวงปู่พุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย จ.นครปฐม เป็นผู้ดำเนินรายการ และเปิดให้ตัวแทนจากภาคประชาชนเข้าร่วมซักถาม และมีตัวแทนจาก บมจ. ปตท. และกระทรวงพลังงาน นำโดยนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานบอร์ด ปตท.มาตอบคำถาม
หลวงปู่พุทธะอิสะ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย จ. นครปฐม เปิดเผยภายหลังการเสวนา ว่า หลังจากนี้จะรวบรวมข้อสรุปการจัดเวทีทั้ง 2 ครังนำเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาลภายในสัปดาห์นี้ ซึ่งยอมรับว่าเวทีครั้งนี้ซึ่งเป็นเรื่องของคำถามตอบฟอสซิลจะยังไม่โดนใจนักเพราะคำตอบเน้นตอบคำถามของผู้ถามมากกว่าที่จะได้คำตอบของคนทั้งประเทศ
"ผิดหวังพอควรในช่วงแรกๆ ที่คำถาม ตอบไม่เกิดประโยชน์ภาพรวมมีแต่ท้ายๆ เท่านั้นเพราะมัวแต่ถามตอบกันเรื่องมุดท่อ ลงท่อ แต่ก็เอาเถอะ ถือว่ายังดีกว่าไม่ทำอะไรและไม่เคยมอว่าเวทีนี้ล้มเหลว"หลวงปู่ฯ กล่าว
ส่วนกรณีที่ฝ่ายของน.ส.รสนา โตสิตระกูล มองว่า เวทีของหลวงปู่ฯเหมือนจะเอื้อประโยชน์ให้กับบมจ.ปตท. นั้น หลวงปู่ฯ ชี้แจงว่า พอจะเข้าใจเพราะก่อนหน้านี้ได้เรียกไปประชุมคุณรสนาเองก็ไม่ได้มาและต่อมาจะขอขึ้นเวทีโดยมีการระบุว่ามีคำถามที่เป็นประโยชน์ก็ยอมและคำถามหลายคำถามก็ไม่เป็นไปตามมติที่ประชุมที่ตกลงไว้อีกด้วย
หลวงปู่ฯกล่าวย้ำว่า แม้แต่การเปิดแถลงซึ่งเชิญทางฝ่ายกระทรวงพลังงานมาร่วมด้วยหลังเสวนาเสร็จก็คงจะถูกมองว่ารวมหัวกันทุกอย่างเราย่อมรู้อยู่แก่ใจว่าทำอะไรเพราะทราบดีว่าอีกฝ่ายได้ชี้แจงกับนักข่าวไปแล้วก็เลยให้โอกาสอีกฝ่ายด้วย โดยระหว่างแถลงข่าวหลวงปูฯได้ชี้ให้เห็นว่าภาคประชาชนนั้นคิดแค่พียงต้องการรักษาสมบัติชาติไว้ให้ลูกหลานในอนาคต แต่วันนี้ไม่เคยชัดเจนว่ามีอะไรเหลืออยู่ และถ้าปตท.รวยทำอย่างไรให้ประชาชนให้คุณภาพชีวิตประชาชนดีขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเวทีเสวนาดังกล่าวได้แบ่งผู้ถามซึ่งเป็นฝ่ายเครือข่ายปฏิรปพลังงานภาคประชาชน เช่น น.ส.รสนา โตสิตระกล ม.ล.กรณ์กสิวัฒน์ เกษมศรี นายวีระ สมความิด นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ฯลฯ ขณะที่ฝ่ายตอบคำถามนำโดย นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร นายคุรุจิต นาครทรรพ นายวีรพล จิระประดษฐกุล ฯลฯ
ทั้งนี้ประเด็นที่นำมาตั้งคำถาม คำตอบช่วงเช้าเป็นเรื่องพลังงานจากฟอซิล ซึ่งบรรยากาศถามตอบเป็นไปอย่างดุเดือด โดยเฉพาะในช่วงหนึ่งที่มีการถามจากเครือข่ายประชาชนด้วยการยกเอกสารจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถามนายปิยสวัสดิ์ว่า ทราบหรือไม่เรื่องทที่มีการตรวจสอบการใช้เงินกองทุนเพื่อการส่งเสริมและอนุรักษ์พลังงานไม่โปร่งใสในช่วงที่นายปิยสวัสดิ์เป็นรมว.พลังงาน ช่วงปี 2551 ทำให้นายปิยสวัสดิ์ ได้กล่าวอย่างไม่พอใจและระบุว่า ถ้าสตง.ตรวจสอบว่าผิดก็ควรจะไปฟ้องร้องเอาผิดไม่ใช่มาเห่าหอนอยู่ข้างนอก ทำให้ผู้เข้ารับฟังโห่ร้อง จนหลวงปู่ฯ ต้องให้นายปิยสวัสดิ์ถอนคำพูด
อย่างไรก็ตาม เวลาประมาณ 11.30 .หลวงปู่ฯได้ขอพักเพื่อฉันอาหารโดยระหว่งนั้นน.ส.รสนา โตสิตรกูล และแกนนำภาคประชาชนอื่นๆได้มาทำการแถลงข่าวและได้รายงานสด ผ่านNews1 ซึ่งแสดงควมไม่พอใจหลวงปู่พุทธะอิสระที่เป็นผู้จัดรายการมีความโน้มเอียงไปทางฝ่ายรัฐ
นายวีระ สมความคิด กล่าวนอกเวทีว่า รู้สึกผิดหวังกับเวทีนี้ที่จัดมาเพื่อปตท. ซึ่งที่ผ่านมาภาคประชาชนไม่ได้มีโอกาสพูดปกป้องทุกคนในชาติมีอีกหลายเรื่องที่จะพูดแต่ก็ถูกหลวงปู่ฯเบรก ท่านก็จัดการเองทั้งหมดทั้งที่ยังฟังการชี้แจงไม่จบ เช่น กรณีผู้ตรวจการแผ่นดินทำหนังสือว่าปตท.คืนท่อฯไม่ครบแต่หลวงปู่ฯไม่ให้ชี้แจงต่อ ทั้งที่คืนท่อครบ ปตท.ก็เช่าท่อเงินก็เข้าสู่ประเทศชาติ และกรณีเงินกองทุนอนุรักษ์ฯก็มีการชี้แจงว่าใช้เงินผิดประเภทก็สอบถามถึงสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ก็ยังไม่ได้ยืนยันก็ถูกเบรกอีก
"กองทุนอนุรักษ์ฯ ควรจะยกเลิกไปถ้าไม่มีประโยชน์อะไร แต่ถ้าไม่ได้ก็ให้ลดจัดเก็บน้อยลงเพราะมีการบวกเข้าไปในต้นทุนทุกลิตร 25 สตางค์ ส่วนกองทุนน้ำมันฯก็ควรจะปรับให้เป็นธรรมอะไรที่ควรอุ้มหรือไม่ควรอุ้ม เช่น ปิโตรเคมีจ่ายเงินเข้ากองทุนฯแค่บาทเดียวก็น้อยกว่า"นายวีระกล่าว
สำหรับการถามตอบในเวที เริ่มต้นนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ได้กล่าวเกริ่นนำว่า เวทีนี้ไม่ใช่เวทีประชาพิจารณ์เพื่อหวังให้รัฐนำไปสู่การกำหนดนโยบายการปรับโครงสร้างราคาดีเซล แอลพีจีขนส่งและก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์หรือNGV หรือนำไปสู่การเจราเปิดสัมปทานและเจรจาพื้นที่ปิโตรเลียมทับซ้อนไทย-กัมพูชา
นายปิยสวัสดิ์ ได้กล่าวยืนยันว่า ได้หารือกับหลวงปู่ฯแล้วว่าต้องการให้เวทีนี้เปิดรับฟังข้อมูลจากฝ่ายรัฐบ้างไม่ เคยคิดที่จะใช้เวทีนี้เป็นการประชาพิจารณ์เพื่อนำไปสู่การกำหนดโยบายด้านพลังงานแตอย่างใด
ส่วนประเด็นคำถามช่วงเช้าเริ่มจากน.ส.รสนา โตสิตระกูล ตั้งคำถามว่า ค่าไฟและก๊าซฯที่แพงเกิดจาค่าผ่านท่อฯที่แพงใช่หรือไม่ ขณะที่มล.กรณ์กสิวัฒน์ ก็ตั้งคำามถึงการแยกท่อก๊าซ โดยชี้ให้เห็นว่าปตท.คืนท่อก๊าซฯไม่ครบ ตั้งแต่ปี 44-50 ปตท.จ่ายค่าเช่าท่อจากรัฐเพียง 1,597 ล้านบาท (รวมดอกเบี้ย) แต่รายได้ที่ปตท.ด้รับมีสูงถึง 1.28 แสนล้านบาท และยังมีการประเมินค่าผ่านท่อใหม่หลังแปรรูปเป็นบมจ.ปตท.นำมาซึ่งการเพิ่มค่าผ่านท่อปี 51-52 จาก2.1หมื่นล้านบาทเป็น 2.5 หมื่นล้านบาท รวมถึงความคืบหน้าการคืนท่อก๊าฯในทะเล
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ซีอีโอ ปตท. กล่าวว่า ปัจจุบันระบบท่อก๊าซมีทั้งหมด 3,600 กิโลเมตร เป็นท่อที่เช่าจากกระทรวงการคลัง ตามคำสั่งศาปกครองสูงสุด 450 กิโลเมตร ในราคา 550 ล้านบาท/ปี โดยอำนาจกฏหมายการูท่อก๊าซทั้งระบบเป็นอำนาจของคณะกรรมกากำกับกิจการพลังงาน หรือกกพ.โดย ในส่วนของท่อก๊าซเส้นที่ 1 มีอายุเกือบ 30 ปี และ กกพ.มีมติ ให้ยืดอายุการใช้ท่อก๊าซต่อ เพราะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน เพราะการสร้างท่อใหม่ในพื้นที่ชุมชน อาจจะลงทุนสูงกว่า และมีผลต่อต้นทุนค่าไฟฟ้า
นายวีระพล จิรประดิษกุล กรรมการกกพ. กล่าวว่า ต้นทุนก๊าซฯที่สงผลต่อค่าไฟฟ้านั้น ผลส่วนใหญ่มาจากราคาก๊าซฯที่ผันตามราคาน้ำมันตลาดโลกเป็นหลัก โดยปัจจุบันราคาก๊าซฯอยู่ที่ 290 บาท/ล้านบีทียู ในขณะนี้ ค่าผ่านท่อ อยู่ที่ 21.99 บาท/ล้านบีทู ซึ่งในส่วนการต่ออายุท่อก๊าซเส้นที่ 1 ที่เริ่มใช้งาน ตั้งแต่ปี 2524 จาก มาบตาพุด ระยองไปสระบุรี รวม 355 กิโลเมตร ครบอายุ 25 ปี เมื่อปี 2549 และ กกพ.ห็นชอบให้ต่ออายุ 15 ปี โดยมีการให้ 2 บริษัทเข้ามาประเมินทรัพย์สินโดยมีการประเมินกว่า 9 หมื่นล้านบาท และ กกพ.เห็นชอบให้ตีมูลค่า 6.1 หมื่นล้านบาทเทานั้น โดยในส่วนนี้เป็นต้นทุนที่ ปตท.ต้องเสียค่าดูแลและบำรุงรักษา
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่ภาคประชาชนเสนอให้รัฐแก้มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ภาคครัวเรือนและขนส่งได้ใช้แอลพีจีก่อนลำดับแรก และอุตสาหกรรมและปิโตรเคมีลำดับต่อไปและให้ไปนำเข้าตลาดโลกเอง โดยรัฐไม่ต้องอุดหนุน ซึ่งนายมนูญ ศิริวรรณ ชี้แจงว่าที่เป็นเช่นนั้นไม่ได้เพราปิโตรเคมีของปตท.ต้องใช้ก๊าซฯ เป็นวัตถุดิบและไม่เหมือนกลุ่มอื่น เช่น เครือเอสซีจี ที่ใช้ได้ทั้งแนพทา และก๊าซฯและไม่มีโรงงานปิโตรเคมีในโลกนี้จะซื้อแอลพีจีตลาดโลกมาเป็นวัตถุดิบ
ส่วนการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่21 ทางเครือข่ายฯ เสนอให้เป็นรูปแบบการแบ่งปันผลผลิต (พีเอสซี) นายคุรุจิต นาครทรรพ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่า การเสนอ สัมปทานรอบที่21 ในขณะนี้กำลังเสนอข้อมูลแก่ นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รมว.พลังงานว่าหากจะเปิดสัมปทานจะทบทวนหลักเกณฑ์ให้ผู้ได้รับสัมปทาน จะต้องเปิดให้บริษัทคนไทยร่วมทุนมากยิ่งขึ้น และกำหนดให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่รัฐในรูปแบบต่างเพิ่มขึ้น และระบุว่าหากไทยไม่เปิดสำรวจเพิ่ม ไม่ต่ออายุสัญญาสัมปทานที่หมดลงหรือไม่ใช่ถ่านหินก็จะต้องพึ่งการนำเข้าแอลเอ็นจีจากต่างประเทศที่มีราคาแพงกว่าก๊าซอ่าวไทย 2 เท่าซึ่งจะทำให้ค่าไฟฟ้าเพิ่มเป็น 6 บาทต่อหน่วย จากปัจจุบัน 3.91 บาทต่อหน่วย ก็ต้องถามว่าปะชาชนยอมรับได้หรือไม่
นายปิยสวัสดิ์ ยังกล่าวว่า รายได้จากค่าภาคหลวงปิโตรเลียมและภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจะหายทันที2 แสน้านบาท ต่อปี ถ้าไทยไม่หาเพิ่มและจะนำเข้าอย่างเดียวไทยยังต้องเสียเงินตรานำเข้าพลังงานเพิ่มขึ้นสุทธิอีกปีละ 6-7 แสนล้านบาทจากปัจจุบันที่ต้องจ่ายนำเข้าอยู่แล้ว 1 ล้านล้านบาท
นายเทวินทร์ วงศ์วานิข ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ ปตท.สผ. ยังได้ชี้แจงระบบสัมปทานว่า ปตท.สผ.ลงทุนในต่างประเทศมีทั้งพีเอสซี และสัมปทาน ซึ่งไทยมีสำรองน้ำมันระดับกลางค่อนไปทางต่ำของโลกโดยอยู่อันดับ 48 มีสำรองเพียง 400 ล้านบาร์เรล เวเนซูเอล่าอันดับ 1 อยู่ที่ 3 แสนล้านบาร์เรล ขณะที่มาเลเซียอันดับที 29 ของโลกแต่ไทยใช้อันดับ19 ของโลกคือใช้มากว่าผลิตทำให้ต้องนำเข้าพลังงานมาก
สำหรับภาคบ่ายได้เน้นพลังงานทดแทนทางเครือข่ายภาคประชาชนได้เสนอให้รัฐส่งเสริมพลังงานทดแทนด้วยการออกกฏมายมาดูแลโดยเฉพาะ ขณะเดียวกันหลวงปู่ฯได้เสนอขึ้นเองโดยต้องการให้บริษัทปิโตรเลียมและปิโตรเคมีอุดหนุนโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนจากเดิมที่ภาครัฐอุดหนุนเพื่อให้โครงการเดินไปได้เพราะถือว่าบริษัทเหล่านี้ได้นำทรัพยากรของประเทศไปใช้
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กล่าวว่า กรณีที่ถูกพาดิงว่ามีส่วนพัวพันกบการใช้เงินของกองทนอนุรักษ์ฯสมัยเป็นมว.พลังงานนั้นอาจมีารฟ้องร้องเพราะตนยนยันว่าไม่มีส่วนเก่ยวข้องกับมูลนิธิพังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ได้รับงบประมาณในขณะนั้น