ตัดเอาความเห็นประเภทเอาสะใจ เอาฮาเข้าว่าออกไป ต้องบอกว่าน่าสนใจไม่น้อยสำหรับความคิดเห็นของหลายๆ คนที่มีต่อข่าว "โค้ชเช" กับ "น้องก้อย" ที่เป็นกระแสร้อนแรงในช่วงตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
โดยเฉพาะความเห็นที่ดูเหมือนจะเป็นไปในเชิง "วิชาการ" ที่พยายามจะหยิบเอาความเห็น เอาความรู้สึกของคนอื่นๆ มาวิเคราะห์ แล้วอธิบายออกมาในเชิงมองเป็นปรากฏการณ์ของสังคมทำนองว่า...สังคมไทยเราทุกวันนี้ป่วยเป็นอะไรไปหมดแล้วถึงได้รู้สึกว่าการลงโทษด้วยความรุนแรงเป็นเรื่องที่ดี, ตกลงเราให้ความสำคัญกับ "คนเก่ง" มากกว่า "ความถูกต้อง" ไปแล้วหรือ, แปลกนะฝ่ายที่ถูกกระทำ คนที่สมควรได้รับความเห็นใจกลับถูกประนาม ส่วนคนที่สมควรถูกประนามกลับมีแต่คนให้กำลังใจ ฯลฯ
รวมไปถึงข้อความประชดประชันที่ว่า...ตกลงโค้ชคนนี้เป็นโค้ชเทวดาที่ใครแตะไม่ได้ หรือว่าทำอะไรก็ไม่ผิดเพราะว่ามีผลงานใช่มั้ย, ลองเป็นลูกสาวมึงโดนบ้างสิ ฯ...หรือความคิดเห็นแบบกำปั้นทุบดินทำนองว่า...ก็ดี ต่อไปเราจะระบุการลงโทษให้ชัดเจน จะเตะ ต่อย และทำทุกอย่างหากไม่มีวินัย ไม่มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายเพราะเราบอกไว้แล้ว หากใครจะคลานกลับมาเป็นทีมชาติ ก็ขอให้รับทราบไว้...ฯ
เป็นเรื่องที่ดีนะครับหากจะมีคนตั้งข้อสงสัยเสนอความเห็นที่ต่างจากกระแสที่คนส่วนใหญ่คิดหรือรู้สึก แต่ทั้งนี้ก็ต้องเป็นไปในข้อแม้ที่ว่าคนตั้งคำถามเองตั้งอยู่บนเจตนาพื้นฐานที่ดีเพื่อให้สังคมได้ฉุกคิดและร่วมกันค้นหาคำตอบ หาทางออกในทางที่ดีจริงๆ
ไม่ใช่สวนเพราะต้องการเรียกร้องความสนใจ หาความความเด่นดังสร้างมูลค่าให้กับตนเองว่าเฮ้ย กูเจ๋ง กูคิดไม่เหมือนใคร ฯ
ส่วนตัวผมไม่เชื่อนะครับว่าคนส่วนใหญ่ที่เขาเลือกไม่เห็นด้วยกับน้องก้อยจะเป็นพวกที่ป่วย, เป็นติ่งเกาหลี, เป็นพวกที่ให้ความสำคัญกับ "คนเก่ง" มากกว่า "ความถูกต้อง", เป็นพวกสนับสนุนให้มีการลงโทษด้วยการทำร้ายร่างกายอย่างรุนแรง หรือจะเป็นพวกที่มองเห็นโค้ชเชเป็นเทวดาจะตบกระโหลก จะต่อย จะตี จะทุบ จะทำอะไรนักกีฬาแบบไหนก็ได้
เพราะหากพิจารณาจากตั้งแต่การโพสต์ข้อความผ่านโลกโซเชียลของ "น้องก้อย" เรื่อยไปกระทั่งการให้สัมภาษณ์+การกระทำต่างๆ ทั้งคนที่เกี่ยวข้องบ้างไม่เกี่ยวข้องบ้าง จนถึงท้ายที่สุดที่เรื่องจบลงไป ก็ไม่เห็นแปลกเลยที่คนส่วนใหญ่จะรู้สึกคล้ายๆ กันจนสะท้อนออกมาเป็นผลโพลทำนองว่าเรื่องวุ่นๆ ที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความไม่มีวินัยของนักกีฬาเอง
เหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ล้วนมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันไป บางครั้งเราก็ไม่สามารถที่จะไปเหมารวมหรือจับด้วยตรรกะเดียวกันทั้งหมดหรอกครับ
ป่าผืนหนึ่งใช่ว่าจะมีแต่ต้นไม้พันธุ์เดียวกันซะเมื่อไหร่
ยกตัวอย่างเรื่องที่เกิดขึ้นกับ "น้องก้อย" เทียบกับโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นกับ "น้องแก้ม" การใช้ตรรกะร่วมกันในเชิงที่ว่า...ใช่สิ ลองเป็นลูก เป็นเมีย เป็นแม่ ของมึงบ้างสิ...ผมมองว่ามองได้แต่ไม่สมบูรณ์สักเท่าไหร่
ในกรณีโค้ชเชและน้องก้อยส่วนตัวผมนอกจากคนนอกรวมไปถึงบางองค์กรที่อ้างว่าเป็นผู้รักษาสิทธิ์โน่นนี่นั่นที่พยายามจะเสนอตัวเข้ามาตลอดจนให้ความเห็นอยู่วงนอกจนทำให้เรื่องดูเหมือนจะวุ่นๆ มากยิ่งขึ้นแล้ว คนที่ควรตำหนิจริงๆ ก็คงจะเป็นทีท่ารวมถึงคำพูดของผู้ใหญ่ในสมาคมเทควันโดบางส่วนที่บอกในทำนองว่าเรื่องนี้จะไม่มีการตรวจสอบอะไรทั้งสิ้น หรือตรวจสอบแต่ก็จะไม่ทำอะไร ไม่ลงโทษใคร ฯ หรือแม้กระทั่งความพยายามในการแก้ปัญหาที่ออกมามากกว่า
ไม่รู้ว่าใรจะคิดอย่างไรแต่ผมรู้สึกว่าถ้าขนาดคนเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ยังคิดได้แค่นี้ ก็อย่าได้แปลกใจเลยว่าทำไมเด็กรุ่นใหม่ถึงได้มีการกระทำ มีเรื่องมีราว มีปัญหา มีการเรียกร้องอะไรที่ดูแล้วมันแปลกๆ ออกมาอยู่เรื่อยๆ
เรื่องวุ่นๆ ของเทควันโดเริ่มซาลงไป ก็ให้บังเอิญจริงๆ ที่แวดวงนางงามบ้านเราก็มีเรื่องให้ได้ถกเถียงกันอีกจากกรณีที่รองอันดับ 2 เวทีมิสยูนิสเวิร์สไทยแลนด์ปี 2014 "น้ำเพชร สุณัณณิการ์" ออกมาแถลงข่าวน้ำตานองหน้าทวงถามความเป็นธรรมจากกองประกวดภายหลังสั่งปลดเธอออกจากตำแหน่ง
โดยสิ่งที่่เธอตั้งข้อสงสัยก็คือความสองมาตรฐานของกองประกวดที่ปลดเธอเพราะไปรับงานพริตตี้มาก่อนด้วยการตั้งคำถามว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพที่น่ารังเกียจหรืออย่างไร? รวมทั้งเปรียบเทียบภาพหวิวของเธอกับภาพของรองอันดับ 1 ซึ่งมี ภาพถ่ายจุ๊บปาก มีภาพคลอเคลียอยู่กับชายหนุ่มที่ไม่ใช่สามีตนเองออกมาแบบไหนเรียกว่า "ขัดศีลธรรม" กันแน่
พร้อมกันนี้เจ้าตัวก็ยังยืนยันว่าคืนตำแหน่งให้ก็ได้ แต่จะไม่ขอคืนมงกุฎ รวมถึงเรียกร้องเงินรางวัลที่ยังไม่ได้รับอีกจำนวนหนึ่ง
กรณีนี้ว่ากันจริงๆ หากมองทุกอย่างอย่างเป็นเหตุอย่างเป็นผล มองถึงองค์ประกอบของเรื่องที่เกิดขึ้น มองถึงปัจจัย-สภาพแวดล้อมต่างๆ มองถึงสิ่งที่ผู้เรียกร้องกระทำ มองเข้าไปในความหมายของสิ่งที่พูด ฯ ผมเชื่อว่าทุกคนหรือแม้กระทั่งตัวของสาวน้ำเพชรเองก็จะพบคำตอบในสิ่งที่(เธอ)ตั้งข้อสงสัยได้อย่างไม่ยากเย็น
รวมถึงจะเข้าใจด้วยว่าทำไมกระแสสังคมถึงได้มีต่อตัวเองในลักษณะเช่นไร
กับหลายๆเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงหลังๆ บางทีก็ให้นึกสงสัยเหมือนกันนะครับว่าทำไมสังคมเราทุกวันนี้ไอ้เรื่องที่ควรเข้าจะใจง่ายๆ แต่กลายเป็นว่าหลายคนดูเหมือนจะไม่เข้าใจ (ไม่นับรวมพวกที่เข้าใจแต่พยายามไม่เข้าใจเพราะต้องการหวังผลประโยชน์บางอย่าง)
เรื่องที่ควรจะยอมรับกลับไม่ยอมรับ แต่ไอ้เรื่องที่ไม่ควรจะยอมรับกลับไปยอมรับ
เอาเป็นว่า ลองชั่งใช้กันดูครับกับสุภาษิตคำพังเพยที่ว่า "เอาหูไปนาเอาตาไปไร่"
จบแบบนี้จะเข้าใจตรงกันมั้ยหว่า?
โดยเฉพาะความเห็นที่ดูเหมือนจะเป็นไปในเชิง "วิชาการ" ที่พยายามจะหยิบเอาความเห็น เอาความรู้สึกของคนอื่นๆ มาวิเคราะห์ แล้วอธิบายออกมาในเชิงมองเป็นปรากฏการณ์ของสังคมทำนองว่า...สังคมไทยเราทุกวันนี้ป่วยเป็นอะไรไปหมดแล้วถึงได้รู้สึกว่าการลงโทษด้วยความรุนแรงเป็นเรื่องที่ดี, ตกลงเราให้ความสำคัญกับ "คนเก่ง" มากกว่า "ความถูกต้อง" ไปแล้วหรือ, แปลกนะฝ่ายที่ถูกกระทำ คนที่สมควรได้รับความเห็นใจกลับถูกประนาม ส่วนคนที่สมควรถูกประนามกลับมีแต่คนให้กำลังใจ ฯลฯ
รวมไปถึงข้อความประชดประชันที่ว่า...ตกลงโค้ชคนนี้เป็นโค้ชเทวดาที่ใครแตะไม่ได้ หรือว่าทำอะไรก็ไม่ผิดเพราะว่ามีผลงานใช่มั้ย, ลองเป็นลูกสาวมึงโดนบ้างสิ ฯ...หรือความคิดเห็นแบบกำปั้นทุบดินทำนองว่า...ก็ดี ต่อไปเราจะระบุการลงโทษให้ชัดเจน จะเตะ ต่อย และทำทุกอย่างหากไม่มีวินัย ไม่มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายเพราะเราบอกไว้แล้ว หากใครจะคลานกลับมาเป็นทีมชาติ ก็ขอให้รับทราบไว้...ฯ
เป็นเรื่องที่ดีนะครับหากจะมีคนตั้งข้อสงสัยเสนอความเห็นที่ต่างจากกระแสที่คนส่วนใหญ่คิดหรือรู้สึก แต่ทั้งนี้ก็ต้องเป็นไปในข้อแม้ที่ว่าคนตั้งคำถามเองตั้งอยู่บนเจตนาพื้นฐานที่ดีเพื่อให้สังคมได้ฉุกคิดและร่วมกันค้นหาคำตอบ หาทางออกในทางที่ดีจริงๆ
ไม่ใช่สวนเพราะต้องการเรียกร้องความสนใจ หาความความเด่นดังสร้างมูลค่าให้กับตนเองว่าเฮ้ย กูเจ๋ง กูคิดไม่เหมือนใคร ฯ
ส่วนตัวผมไม่เชื่อนะครับว่าคนส่วนใหญ่ที่เขาเลือกไม่เห็นด้วยกับน้องก้อยจะเป็นพวกที่ป่วย, เป็นติ่งเกาหลี, เป็นพวกที่ให้ความสำคัญกับ "คนเก่ง" มากกว่า "ความถูกต้อง", เป็นพวกสนับสนุนให้มีการลงโทษด้วยการทำร้ายร่างกายอย่างรุนแรง หรือจะเป็นพวกที่มองเห็นโค้ชเชเป็นเทวดาจะตบกระโหลก จะต่อย จะตี จะทุบ จะทำอะไรนักกีฬาแบบไหนก็ได้
เพราะหากพิจารณาจากตั้งแต่การโพสต์ข้อความผ่านโลกโซเชียลของ "น้องก้อย" เรื่อยไปกระทั่งการให้สัมภาษณ์+การกระทำต่างๆ ทั้งคนที่เกี่ยวข้องบ้างไม่เกี่ยวข้องบ้าง จนถึงท้ายที่สุดที่เรื่องจบลงไป ก็ไม่เห็นแปลกเลยที่คนส่วนใหญ่จะรู้สึกคล้ายๆ กันจนสะท้อนออกมาเป็นผลโพลทำนองว่าเรื่องวุ่นๆ ที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความไม่มีวินัยของนักกีฬาเอง
เหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ล้วนมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันไป บางครั้งเราก็ไม่สามารถที่จะไปเหมารวมหรือจับด้วยตรรกะเดียวกันทั้งหมดหรอกครับ
ป่าผืนหนึ่งใช่ว่าจะมีแต่ต้นไม้พันธุ์เดียวกันซะเมื่อไหร่
ยกตัวอย่างเรื่องที่เกิดขึ้นกับ "น้องก้อย" เทียบกับโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นกับ "น้องแก้ม" การใช้ตรรกะร่วมกันในเชิงที่ว่า...ใช่สิ ลองเป็นลูก เป็นเมีย เป็นแม่ ของมึงบ้างสิ...ผมมองว่ามองได้แต่ไม่สมบูรณ์สักเท่าไหร่
ในกรณีโค้ชเชและน้องก้อยส่วนตัวผมนอกจากคนนอกรวมไปถึงบางองค์กรที่อ้างว่าเป็นผู้รักษาสิทธิ์โน่นนี่นั่นที่พยายามจะเสนอตัวเข้ามาตลอดจนให้ความเห็นอยู่วงนอกจนทำให้เรื่องดูเหมือนจะวุ่นๆ มากยิ่งขึ้นแล้ว คนที่ควรตำหนิจริงๆ ก็คงจะเป็นทีท่ารวมถึงคำพูดของผู้ใหญ่ในสมาคมเทควันโดบางส่วนที่บอกในทำนองว่าเรื่องนี้จะไม่มีการตรวจสอบอะไรทั้งสิ้น หรือตรวจสอบแต่ก็จะไม่ทำอะไร ไม่ลงโทษใคร ฯ หรือแม้กระทั่งความพยายามในการแก้ปัญหาที่ออกมามากกว่า
ไม่รู้ว่าใรจะคิดอย่างไรแต่ผมรู้สึกว่าถ้าขนาดคนเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ยังคิดได้แค่นี้ ก็อย่าได้แปลกใจเลยว่าทำไมเด็กรุ่นใหม่ถึงได้มีการกระทำ มีเรื่องมีราว มีปัญหา มีการเรียกร้องอะไรที่ดูแล้วมันแปลกๆ ออกมาอยู่เรื่อยๆ
เรื่องวุ่นๆ ของเทควันโดเริ่มซาลงไป ก็ให้บังเอิญจริงๆ ที่แวดวงนางงามบ้านเราก็มีเรื่องให้ได้ถกเถียงกันอีกจากกรณีที่รองอันดับ 2 เวทีมิสยูนิสเวิร์สไทยแลนด์ปี 2014 "น้ำเพชร สุณัณณิการ์" ออกมาแถลงข่าวน้ำตานองหน้าทวงถามความเป็นธรรมจากกองประกวดภายหลังสั่งปลดเธอออกจากตำแหน่ง
โดยสิ่งที่่เธอตั้งข้อสงสัยก็คือความสองมาตรฐานของกองประกวดที่ปลดเธอเพราะไปรับงานพริตตี้มาก่อนด้วยการตั้งคำถามว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพที่น่ารังเกียจหรืออย่างไร? รวมทั้งเปรียบเทียบภาพหวิวของเธอกับภาพของรองอันดับ 1 ซึ่งมี ภาพถ่ายจุ๊บปาก มีภาพคลอเคลียอยู่กับชายหนุ่มที่ไม่ใช่สามีตนเองออกมาแบบไหนเรียกว่า "ขัดศีลธรรม" กันแน่
พร้อมกันนี้เจ้าตัวก็ยังยืนยันว่าคืนตำแหน่งให้ก็ได้ แต่จะไม่ขอคืนมงกุฎ รวมถึงเรียกร้องเงินรางวัลที่ยังไม่ได้รับอีกจำนวนหนึ่ง
กรณีนี้ว่ากันจริงๆ หากมองทุกอย่างอย่างเป็นเหตุอย่างเป็นผล มองถึงองค์ประกอบของเรื่องที่เกิดขึ้น มองถึงปัจจัย-สภาพแวดล้อมต่างๆ มองถึงสิ่งที่ผู้เรียกร้องกระทำ มองเข้าไปในความหมายของสิ่งที่พูด ฯ ผมเชื่อว่าทุกคนหรือแม้กระทั่งตัวของสาวน้ำเพชรเองก็จะพบคำตอบในสิ่งที่(เธอ)ตั้งข้อสงสัยได้อย่างไม่ยากเย็น
รวมถึงจะเข้าใจด้วยว่าทำไมกระแสสังคมถึงได้มีต่อตัวเองในลักษณะเช่นไร
กับหลายๆเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงหลังๆ บางทีก็ให้นึกสงสัยเหมือนกันนะครับว่าทำไมสังคมเราทุกวันนี้ไอ้เรื่องที่ควรเข้าจะใจง่ายๆ แต่กลายเป็นว่าหลายคนดูเหมือนจะไม่เข้าใจ (ไม่นับรวมพวกที่เข้าใจแต่พยายามไม่เข้าใจเพราะต้องการหวังผลประโยชน์บางอย่าง)
เรื่องที่ควรจะยอมรับกลับไม่ยอมรับ แต่ไอ้เรื่องที่ไม่ควรจะยอมรับกลับไปยอมรับ
เอาเป็นว่า ลองชั่งใช้กันดูครับกับสุภาษิตคำพังเพยที่ว่า "เอาหูไปนาเอาตาไปไร่"
จบแบบนี้จะเข้าใจตรงกันมั้ยหว่า?