โดย : บอน บอระเพ็ด(skbon109@hotmail.com)
“กู้เพื่อโกง”, “กู้มาโกง”, “กู้เพื่อพี่ หนี้เพื่อประชาชน”, “กู้ชาตินี้ ใช้หนี้ชาติหน้า”, “กู้มาสร้างรถไฟไว้ขนผัก”, “แก้รัฐธรรมนูญถามกรูหรือยัง”, “แก้รัฐธรรมนูญเพื่อฟอกผิดไอ้หน้าเหลี่ยม”, “ที่ต้องแก้ไม่ใช่รัฐธรรมนูญ แต่เป็นสันดานเลวๆของนักการเมือง”
นั่นคือข้อความระบายอารมณ์จากประชาชนผู้รู้ทันต่อเล่ห์เหลี่ยมของรัฐบาลหุ่นเชิด ซึ่งปรากฏทั่วไปในโลกไซเบอร์ ขณะที่สื่อกระแสหลัก สื่อฟรีทีวี ส่วนใหญ่ปล่อยเงียบเป็นเป่าสาก ส่วนสื่อเชลียร์รัฐบาลแถวๆประชาชื่นนั้นไม่ต้องพูดถึง เพราะมีวิทยายุทธ์ล้ำลึกสามารถพลิกแพลงคำด่าให้เป็นคำชมได้หน้าตาเฉย
เหตุที่ผมนำข้อความระบายอารมณ์ของประชาชนผู้ทนไม่ไหว ประชาชนผู้รู้ทัน ต่อพฤติกรรมอันชั่วร้ายของนักการเมืองเส็งเคร็งในรัฐบาลหุ่นเชิดมาบอกกล่าว ก็เพราะเห็นว่ามันเข้ากันได้ดีกับอัลบั้ม “ระบายอารมณ์” ผลงานเพลงที่มีความแตกต่างแห่งยุคสมัย
ระบายอารมณ์ เป็นผลงานรวมเพลงจากหลากหลายศิลปิน ในสังกัด “ใบชาsong” บทเพลงเกือบทั้งหมดในชุดนี้แต่งโดย “บรรณ ณ ใบชา” หรือ “บรรณ สุวรรณโณชิน” ผู้กุมบังเหียนหลักของค่ายใบชาsong
สำหรับอัลบั้มระบายอารมณ์ แม้หน้าปกจะไม่สวยงาม แต่ว่าพอเห็นปุ๊บก็สะดุดตาผมปั๊บกับ 2 ข้อความที่ปรากฏบนปก นั่นก็คือ เครดิต(ยกเมฆ) “การรันตีด้วย 3 รางวัลจาก สถาบันที่ได้รับการยอมรับไปทั่วดาวอังคาร” กับข้อความคำเตือน “บทเพลงบางเพลงในชุดนี้ อาจมีคำบางคำไม่เป็นที่พึงพอใจ โปรดใช้วิจารณญาณในการฟัง ผู้ดีตีนดำ ไฮโซ ไฮซ้อ ควรระมัดระวังอย่างถึงที่สุด”
อั๊ยยะ...เห็นข้อความบ่องตง(บอกตรง)กันถึงขนาดนั้นแล้ว งานนี้เห็นทีต้องรีบเปิดฟังพิสูจน์
ระบายอารมณ์ เปิดตัวกันด้วย “อย่าว่าฉันแก่” ที่พูดถึงความไม่ค่อยพอใจของผู้หญิง สว. (สูงวัย) ที่มักถูกคนต่อว่าว่าแก่ ซึ่งผมฟังแล้วอดนึกถึงไฮโซหลายๆคน ที่ชอบไปโชว์เวอร์ออกรายการเกิดมาคุยไม่ได้
เพลงนี้พี่บรรณแกเล่นนำทำนอง Für Elise ของบีโธเฟน มาใส่เนื้อไทยนำเสนอเป็นทำนองหลักของเพลง ก่อนเรียบเรียงออกมาเป็นดนตรีลีลาศย้อนยุค ขณะที่พลังขับเคลื่อนสำคัญของเพลงต้องกด 100 ไลค์ให้กับน้ำเสียงป้าๆของ “สวีทนุช” ที่ฟังแล้วโดนใจถึงอารมณ์มาก นับเป็นการเลือกนักร้องที่เหมาะสมสุดๆ เพราะถ้าเลือก “มาช่า”มาร้อง เราคงไปว่าเธอแก่ไม่ได้
ต่อมาเป็น “อยู่ๆก็มีเธอ” ระบายโดย “ปุ๊ย คืนสิทธิ์” หรือ “ปุ๊ย ตีสิบ” เป็นเพลงร็อกอัลเทอร์โจ๊ะๆ นำชื่อดาราสาวๆดัง อาทิ นุ่น อั้ม แพนเค้ก กระแต จักจั่น มารวบรวมไว้ เพื่อบอกว่าเหล่าดาราสาวสวยมากมายที่เอ่ยชื่อมายังไงก็สู้เธอไม่ได้
เพลงถัดมา “ละครน้ำเน่า” ร่วมระบาย เดีย โดโรธี กับ อุ๊บอิ๊บ ภาคดนตรีเป็นแจ๊ซ ภาคเนื้อร้องเป็นแร็พ เปิดพื้นที่ให้เดียร้องบ่น โดยมีอุ๊บอิ๊บมาส่งเสียงหวานๆในภาคคอรัส
เพลงละครน้ำเน่า สะท้อนความจริงของวงการละครน้ำเน่าและสังคมบ้านเราออกมาได้อย่างแสบสัน ดังเช่นท่อน “..ถ้าไม่ตบไม่จูบ ไม่มีเสียงกรี๊ดลั่นก็คงไม่ดูกัน อ่ะเดาได้ชัวร์ๆ ถ้าไม่กอดไม่ปล้ำ ทำแล้วมีสาระ แล้วจะดูกันมั๊ยละ ประเดี๋ยวก็เปลี่ยนช่องไป...”
อย่างไรก็ดีเพลงนี้ก็ได้มีคติเตือนใจไว้ในท่อนท้ายให้สังคมไทยฉุกคิดกัน ว่า ดูละครแล้วช่วยย้อนดูตัว ช่วยย้อนดูแลครอบครัวให้ดีๆ แต่เอ...ผมอดสงสัยไม่ได้ว่า พวกที่นิยมชมละครน้ำเน่า เขาจะฟังเพลงแบบนี้ด้วยหรือเปล่า
“ไอ้...บ้าๆ” ระบายโดย Mr.Boom(ธรรมรัต อภิรดี) บทเพลงต่อว่าตัดพ้อสาวๆหลายๆคน ที่ติดมือถือจนงอมแงม ไม่สนใจแฟน จนหนุ่มๆอยากจะทำลายมือถือทิ้ง ซึ่งถูกสำเสนอผ่านท่อนแยกสุดเด็ด “...อยากจับมันโยนลงที่หน้าต่าง กระแทกชนข้างๆกำแพง ไปฟาดลงพื้นแล้วแยกกระจาย อยู่บนถนน ถูกคนเตะซ้ำจนต้องกระเด็น ไปลงส้วมเหม็นก็ยังไม่พอ อีกส่วนลงท่อระบายน้ำทิ้ง มันจะได้ไม่เจอเธอ...”
เพลงนี้เป็นมาร์ช ฟังสนุก มีเสียงทรอมโบนเล่นนำ เข้ากันดีกับเนื้อร้องที่แดกกันพวกติดมือถือจำนวนมาก
แทรคที่ 5 เป็น “พ่อแม่ไม่สั่งสอน” ระบายโดย ต้น แห่งวง 32 October Band เพลงนี้ภาคดนตรีเป็นอะคูสติกเพราะๆ สบายๆ ในจังหวะสโลว์ วอลซ์ ฟังสวนทางกับเนื้อร้องแรงๆ สบถ ด่าพวกเด็กยุคใหม่หลายๆคนที่ไม่มีสัมมาคาราวะ
“ไม่อยากเป็นแจ๋ว” มากับดนตรีสนุกๆติดกลิ่นฟังกี้ และมีซาวนด์แบบไทยๆเข้าไปผสม ระบายโดย ไอ้มดแดง ที่เป็นเสียงของนักร้องสาวใสๆ กวนๆ ว่าด้วยเรื่องราวของคนที่ต้องทำงานบ้านสารพัด แต่ไม่อยากให้ใครเรียกว่า“แจ๋ว”
ระบายอารมณ์กันต่อกับบทเพลงอิงการเมือง“มาลงที่กู” ที่กำลังเข้ากับยุคสมัย เพลงนี้จัดหนักกับเนื้อร้องดุดัน ระบายโดย “นายรัฐ ธรรมนูญ” ผู้คับแค้นกับใจกับความต่ำช้าของนักการเมืองไทยหลายๆคน เพราะที่ผ่านมารัฐธรรมนูญไม่เคยทำอะไรผิด แต่มีไอ้พวกอสูร(นักการเมือง)ชั่วช้าที่ทำผิด กลับกระเหี้ยนกระหือรืออยากแก้รัฐธรรมนูญเสียเหลือเกิน
“...ทรยศแผ่นดิน อยากโกงกิน ก็มาลงที่กู ทำเรื่องน่าอดสู ต้องแอบปิดรู กูก็เป็นเหยื่อ เบื่อไอ้พวกนรก มาเป็นก๊ก วกมาที่กู ใครผิดถูกไม่รู้ มึงไม่เคยดู แก้กูทุกที...”
นี่คือเนื้อร้องแรงๆ ฟังแล้วแสลงใจใครหลายๆคน ที่นายรัฐ ธรรมนูญ จัดมา อ้อ!?! ยังมีอสูรอีกกลุ่มที่ในเพลงไม่ได้บอกไว้นั่นก็คือ พวกอาจารย์ อาจม มือถือสากปากคาบคัมภีร์ ที่กระสันอยากแก้รัฐธรรมนูญบางมาตราให้หมิ่นฟ้าหมิ่นเจ้าได้อย่างที่มันปรารถนา
“ไข่ไถเสา” บทเพลงสนุก ออกแนวทะลึ่ง นำกลิ่นอายเพลงจีนมาดัดแปลงเป็นไทยได้อย่างแยบยล ระบายโดย “กมลสังวาลย์”
ไปสะท้อนสังคมไทยกันต่อผ่านบทเพลง “อะไรๆก็เกาหลี” ที่แต่งเนื้อร้อง/ทำนองโดย สมศักดิ์ วงศ์ศิริทรัพย์ ระบายโดย “เบิร์ด ไฮไฟ” ว่าด้วยกระแสคลั่งเกาหลีฟีเวอร์ของวัยรุ่นไทยจำนวนมากในยุคนี้ พ.ศ.นี้ โดยมีสวีทนุชมาร่วมร้องคอรัสสร้างสีสัน
เพลงนี้มีการนำความเป็นไทยใส่ลงไป โดยเฉพาะการร้องเพลงแบบแหล่ เนื้อเพลงตัดพ้อต่อการหลงใหลวัฒนธรรมเกาหลี ซึ่งผู้ร้องอยากให้วัยรุ่นไทยหันมาสนใจของดีๆของไทยบ้าง และถึงแม้จะชอบเกาหลี ก็ต้องสนใจเรื่องเรียน ต้องเป็นเด็กดี
“แว้น” มาในแนวดนตรีเนิบช้า ไพเราะ นุ่มนวล ได้นักร้องเสียงสวยใสเย็นอย่าง “Abb Jabar” มาขับขาน ซึ่งหากฟังผ่านๆแบบไม่จับรายละเอียด นี่น่าเป็นบทเพลงหวานซึ้งในอารมณ์สตริงวันวานยุค 80’s
แต่ประทานโทษ!!! ใครที่ฟังเนื้อหารายละเอียดของเพลงนี้ จะพบว่ามัน มีคำหยาบ คำสบถ การแช่งด่า พวกเด็กแว้นป่วนเมืองอยู่แทบทั้งเพลง (ทำนองเดียวกับเพลงพ่อแม่ไม่สั่งสอน) ซึ่งนี่เป็นหนึ่งในตัวอย่างเนื้อร้องท่อนสุดแสบของเพลงนี้ “...ปอเต็กตึ๊งรอมึงทุกคืน หรือโดนลูกปืนของใครสักคน แต่ถ้ามึงหลบตำรวจพ้น รีบจนพุ่งชน อาจโดนสิบล้อทับตาย”
สำหรับเพลงแว้น ผมยกให้นี่เป็นบทเพลงสุดเด็ดประจำอัลบั้มนี้เลยทีเดียว เพราะสามารถเลือกวิธีการนำเสนอได้เด็ดดวงมาก เป็นการด่าเด็กแว้นในอารมณ์ผู้ดีอย่างแสบสัน ฟังแล้วคนที่เคยโดนพวกแว้นกวนใจและกวนตีนคงแอบสะใจอยู่เหลือหลาย
ปิดท้ายกันด้วย “แสนดีใจ R.I.P. Tom” บทเพลงที่ค่อนข้างเป็นส่วนตัว เพราะแต่งขึ้นเพื่อไว้อาลัยกับหมาแสนรู้แห่งบ้านใบชาซองกับดนตรีแนวแจ๊ซสนุกๆ
และนั่นก็เป็น 11 บทเพลง จากระบายอารมณ์ ที่ภาคดนตรีมีให้เลือกฟังกันหลากหลาย ทั้งร็อก แจ๊ซ โฟล์ค อารมณ์ไทยๆ แร็พ ฟังก์ ไปกระทั่งถึงมาร์ช แต่ในความหลากหลายนั้นมันก็มีข้อด้อยตรงความไม่ต่อเนื่อง ความกระโดดไปกระโดดมาของอารมณ์เพลงอยู่เหมือนกัน
อย่างไรก็ดีหากมองกันให้ลึกลงในรายละเอียดของภาคดนตรี จะพบว่ามีหลายเพลงที่เป็นดังแนวร่วมช่วยขับเคลื่อนให้บทเพลงฟังดูแข็งแกร่งและชัดเจนในคอนเซ็ปต์ของตัวเพลงมากขึ้น
หันมาดูด้านเนื้อหาเพลงกันบ้าง ภาคเนื้อร้องโดยรวมในระบายอารมณ์ แม้มันจะไม่ใช่งานเพลงที่มีภาษาสละสลวย คิดบวกโลกสวย อีกทั้งมันไม่มีเพลงรักเพลงโหลตามสมัยนิยม แต่สำหรับผมแล้วนี่คือความแตกต่างที่โดดเด่นและเป็นจุดแข็งโป๊กของอัลบั้มชุดนี้ ด้วยเนื้อหาที่ตีตรง ต่อยตรง มีทั้ง สะท้อนความเป็นไปสังคมไทยร่วมสมัย ให้แง่มุมชวนคิด แดกดัน จิกกัด สนุก แสบสัน คัน มัน ฮา ก่นด่า และกวนตีน!!! ฟังแล้วเหมาะสมกันดีกับคอนเซ็ปต์ระบายอารมณ์ที่เป็นธงนำของอัลบั้มชุดนี้ ซึ่งแน่นอนว่า ผลงานเพลงชุดระบายอารมณ์คงเป็นที่แสลงใจ ไม่สบอารมณ์ ใครและใครหลายๆคน
เพราะเรื่องของเรื่อง มันคือความจริง !?!
“กู้เพื่อโกง”, “กู้มาโกง”, “กู้เพื่อพี่ หนี้เพื่อประชาชน”, “กู้ชาตินี้ ใช้หนี้ชาติหน้า”, “กู้มาสร้างรถไฟไว้ขนผัก”, “แก้รัฐธรรมนูญถามกรูหรือยัง”, “แก้รัฐธรรมนูญเพื่อฟอกผิดไอ้หน้าเหลี่ยม”, “ที่ต้องแก้ไม่ใช่รัฐธรรมนูญ แต่เป็นสันดานเลวๆของนักการเมือง”
นั่นคือข้อความระบายอารมณ์จากประชาชนผู้รู้ทันต่อเล่ห์เหลี่ยมของรัฐบาลหุ่นเชิด ซึ่งปรากฏทั่วไปในโลกไซเบอร์ ขณะที่สื่อกระแสหลัก สื่อฟรีทีวี ส่วนใหญ่ปล่อยเงียบเป็นเป่าสาก ส่วนสื่อเชลียร์รัฐบาลแถวๆประชาชื่นนั้นไม่ต้องพูดถึง เพราะมีวิทยายุทธ์ล้ำลึกสามารถพลิกแพลงคำด่าให้เป็นคำชมได้หน้าตาเฉย
เหตุที่ผมนำข้อความระบายอารมณ์ของประชาชนผู้ทนไม่ไหว ประชาชนผู้รู้ทัน ต่อพฤติกรรมอันชั่วร้ายของนักการเมืองเส็งเคร็งในรัฐบาลหุ่นเชิดมาบอกกล่าว ก็เพราะเห็นว่ามันเข้ากันได้ดีกับอัลบั้ม “ระบายอารมณ์” ผลงานเพลงที่มีความแตกต่างแห่งยุคสมัย
ระบายอารมณ์ เป็นผลงานรวมเพลงจากหลากหลายศิลปิน ในสังกัด “ใบชาsong” บทเพลงเกือบทั้งหมดในชุดนี้แต่งโดย “บรรณ ณ ใบชา” หรือ “บรรณ สุวรรณโณชิน” ผู้กุมบังเหียนหลักของค่ายใบชาsong
สำหรับอัลบั้มระบายอารมณ์ แม้หน้าปกจะไม่สวยงาม แต่ว่าพอเห็นปุ๊บก็สะดุดตาผมปั๊บกับ 2 ข้อความที่ปรากฏบนปก นั่นก็คือ เครดิต(ยกเมฆ) “การรันตีด้วย 3 รางวัลจาก สถาบันที่ได้รับการยอมรับไปทั่วดาวอังคาร” กับข้อความคำเตือน “บทเพลงบางเพลงในชุดนี้ อาจมีคำบางคำไม่เป็นที่พึงพอใจ โปรดใช้วิจารณญาณในการฟัง ผู้ดีตีนดำ ไฮโซ ไฮซ้อ ควรระมัดระวังอย่างถึงที่สุด”
อั๊ยยะ...เห็นข้อความบ่องตง(บอกตรง)กันถึงขนาดนั้นแล้ว งานนี้เห็นทีต้องรีบเปิดฟังพิสูจน์
ระบายอารมณ์ เปิดตัวกันด้วย “อย่าว่าฉันแก่” ที่พูดถึงความไม่ค่อยพอใจของผู้หญิง สว. (สูงวัย) ที่มักถูกคนต่อว่าว่าแก่ ซึ่งผมฟังแล้วอดนึกถึงไฮโซหลายๆคน ที่ชอบไปโชว์เวอร์ออกรายการเกิดมาคุยไม่ได้
เพลงนี้พี่บรรณแกเล่นนำทำนอง Für Elise ของบีโธเฟน มาใส่เนื้อไทยนำเสนอเป็นทำนองหลักของเพลง ก่อนเรียบเรียงออกมาเป็นดนตรีลีลาศย้อนยุค ขณะที่พลังขับเคลื่อนสำคัญของเพลงต้องกด 100 ไลค์ให้กับน้ำเสียงป้าๆของ “สวีทนุช” ที่ฟังแล้วโดนใจถึงอารมณ์มาก นับเป็นการเลือกนักร้องที่เหมาะสมสุดๆ เพราะถ้าเลือก “มาช่า”มาร้อง เราคงไปว่าเธอแก่ไม่ได้
ต่อมาเป็น “อยู่ๆก็มีเธอ” ระบายโดย “ปุ๊ย คืนสิทธิ์” หรือ “ปุ๊ย ตีสิบ” เป็นเพลงร็อกอัลเทอร์โจ๊ะๆ นำชื่อดาราสาวๆดัง อาทิ นุ่น อั้ม แพนเค้ก กระแต จักจั่น มารวบรวมไว้ เพื่อบอกว่าเหล่าดาราสาวสวยมากมายที่เอ่ยชื่อมายังไงก็สู้เธอไม่ได้
เพลงถัดมา “ละครน้ำเน่า” ร่วมระบาย เดีย โดโรธี กับ อุ๊บอิ๊บ ภาคดนตรีเป็นแจ๊ซ ภาคเนื้อร้องเป็นแร็พ เปิดพื้นที่ให้เดียร้องบ่น โดยมีอุ๊บอิ๊บมาส่งเสียงหวานๆในภาคคอรัส
เพลงละครน้ำเน่า สะท้อนความจริงของวงการละครน้ำเน่าและสังคมบ้านเราออกมาได้อย่างแสบสัน ดังเช่นท่อน “..ถ้าไม่ตบไม่จูบ ไม่มีเสียงกรี๊ดลั่นก็คงไม่ดูกัน อ่ะเดาได้ชัวร์ๆ ถ้าไม่กอดไม่ปล้ำ ทำแล้วมีสาระ แล้วจะดูกันมั๊ยละ ประเดี๋ยวก็เปลี่ยนช่องไป...”
อย่างไรก็ดีเพลงนี้ก็ได้มีคติเตือนใจไว้ในท่อนท้ายให้สังคมไทยฉุกคิดกัน ว่า ดูละครแล้วช่วยย้อนดูตัว ช่วยย้อนดูแลครอบครัวให้ดีๆ แต่เอ...ผมอดสงสัยไม่ได้ว่า พวกที่นิยมชมละครน้ำเน่า เขาจะฟังเพลงแบบนี้ด้วยหรือเปล่า
“ไอ้...บ้าๆ” ระบายโดย Mr.Boom(ธรรมรัต อภิรดี) บทเพลงต่อว่าตัดพ้อสาวๆหลายๆคน ที่ติดมือถือจนงอมแงม ไม่สนใจแฟน จนหนุ่มๆอยากจะทำลายมือถือทิ้ง ซึ่งถูกสำเสนอผ่านท่อนแยกสุดเด็ด “...อยากจับมันโยนลงที่หน้าต่าง กระแทกชนข้างๆกำแพง ไปฟาดลงพื้นแล้วแยกกระจาย อยู่บนถนน ถูกคนเตะซ้ำจนต้องกระเด็น ไปลงส้วมเหม็นก็ยังไม่พอ อีกส่วนลงท่อระบายน้ำทิ้ง มันจะได้ไม่เจอเธอ...”
เพลงนี้เป็นมาร์ช ฟังสนุก มีเสียงทรอมโบนเล่นนำ เข้ากันดีกับเนื้อร้องที่แดกกันพวกติดมือถือจำนวนมาก
แทรคที่ 5 เป็น “พ่อแม่ไม่สั่งสอน” ระบายโดย ต้น แห่งวง 32 October Band เพลงนี้ภาคดนตรีเป็นอะคูสติกเพราะๆ สบายๆ ในจังหวะสโลว์ วอลซ์ ฟังสวนทางกับเนื้อร้องแรงๆ สบถ ด่าพวกเด็กยุคใหม่หลายๆคนที่ไม่มีสัมมาคาราวะ
“ไม่อยากเป็นแจ๋ว” มากับดนตรีสนุกๆติดกลิ่นฟังกี้ และมีซาวนด์แบบไทยๆเข้าไปผสม ระบายโดย ไอ้มดแดง ที่เป็นเสียงของนักร้องสาวใสๆ กวนๆ ว่าด้วยเรื่องราวของคนที่ต้องทำงานบ้านสารพัด แต่ไม่อยากให้ใครเรียกว่า“แจ๋ว”
ระบายอารมณ์กันต่อกับบทเพลงอิงการเมือง“มาลงที่กู” ที่กำลังเข้ากับยุคสมัย เพลงนี้จัดหนักกับเนื้อร้องดุดัน ระบายโดย “นายรัฐ ธรรมนูญ” ผู้คับแค้นกับใจกับความต่ำช้าของนักการเมืองไทยหลายๆคน เพราะที่ผ่านมารัฐธรรมนูญไม่เคยทำอะไรผิด แต่มีไอ้พวกอสูร(นักการเมือง)ชั่วช้าที่ทำผิด กลับกระเหี้ยนกระหือรืออยากแก้รัฐธรรมนูญเสียเหลือเกิน
“...ทรยศแผ่นดิน อยากโกงกิน ก็มาลงที่กู ทำเรื่องน่าอดสู ต้องแอบปิดรู กูก็เป็นเหยื่อ เบื่อไอ้พวกนรก มาเป็นก๊ก วกมาที่กู ใครผิดถูกไม่รู้ มึงไม่เคยดู แก้กูทุกที...”
นี่คือเนื้อร้องแรงๆ ฟังแล้วแสลงใจใครหลายๆคน ที่นายรัฐ ธรรมนูญ จัดมา อ้อ!?! ยังมีอสูรอีกกลุ่มที่ในเพลงไม่ได้บอกไว้นั่นก็คือ พวกอาจารย์ อาจม มือถือสากปากคาบคัมภีร์ ที่กระสันอยากแก้รัฐธรรมนูญบางมาตราให้หมิ่นฟ้าหมิ่นเจ้าได้อย่างที่มันปรารถนา
“ไข่ไถเสา” บทเพลงสนุก ออกแนวทะลึ่ง นำกลิ่นอายเพลงจีนมาดัดแปลงเป็นไทยได้อย่างแยบยล ระบายโดย “กมลสังวาลย์”
ไปสะท้อนสังคมไทยกันต่อผ่านบทเพลง “อะไรๆก็เกาหลี” ที่แต่งเนื้อร้อง/ทำนองโดย สมศักดิ์ วงศ์ศิริทรัพย์ ระบายโดย “เบิร์ด ไฮไฟ” ว่าด้วยกระแสคลั่งเกาหลีฟีเวอร์ของวัยรุ่นไทยจำนวนมากในยุคนี้ พ.ศ.นี้ โดยมีสวีทนุชมาร่วมร้องคอรัสสร้างสีสัน
เพลงนี้มีการนำความเป็นไทยใส่ลงไป โดยเฉพาะการร้องเพลงแบบแหล่ เนื้อเพลงตัดพ้อต่อการหลงใหลวัฒนธรรมเกาหลี ซึ่งผู้ร้องอยากให้วัยรุ่นไทยหันมาสนใจของดีๆของไทยบ้าง และถึงแม้จะชอบเกาหลี ก็ต้องสนใจเรื่องเรียน ต้องเป็นเด็กดี
“แว้น” มาในแนวดนตรีเนิบช้า ไพเราะ นุ่มนวล ได้นักร้องเสียงสวยใสเย็นอย่าง “Abb Jabar” มาขับขาน ซึ่งหากฟังผ่านๆแบบไม่จับรายละเอียด นี่น่าเป็นบทเพลงหวานซึ้งในอารมณ์สตริงวันวานยุค 80’s
แต่ประทานโทษ!!! ใครที่ฟังเนื้อหารายละเอียดของเพลงนี้ จะพบว่ามัน มีคำหยาบ คำสบถ การแช่งด่า พวกเด็กแว้นป่วนเมืองอยู่แทบทั้งเพลง (ทำนองเดียวกับเพลงพ่อแม่ไม่สั่งสอน) ซึ่งนี่เป็นหนึ่งในตัวอย่างเนื้อร้องท่อนสุดแสบของเพลงนี้ “...ปอเต็กตึ๊งรอมึงทุกคืน หรือโดนลูกปืนของใครสักคน แต่ถ้ามึงหลบตำรวจพ้น รีบจนพุ่งชน อาจโดนสิบล้อทับตาย”
สำหรับเพลงแว้น ผมยกให้นี่เป็นบทเพลงสุดเด็ดประจำอัลบั้มนี้เลยทีเดียว เพราะสามารถเลือกวิธีการนำเสนอได้เด็ดดวงมาก เป็นการด่าเด็กแว้นในอารมณ์ผู้ดีอย่างแสบสัน ฟังแล้วคนที่เคยโดนพวกแว้นกวนใจและกวนตีนคงแอบสะใจอยู่เหลือหลาย
ปิดท้ายกันด้วย “แสนดีใจ R.I.P. Tom” บทเพลงที่ค่อนข้างเป็นส่วนตัว เพราะแต่งขึ้นเพื่อไว้อาลัยกับหมาแสนรู้แห่งบ้านใบชาซองกับดนตรีแนวแจ๊ซสนุกๆ
และนั่นก็เป็น 11 บทเพลง จากระบายอารมณ์ ที่ภาคดนตรีมีให้เลือกฟังกันหลากหลาย ทั้งร็อก แจ๊ซ โฟล์ค อารมณ์ไทยๆ แร็พ ฟังก์ ไปกระทั่งถึงมาร์ช แต่ในความหลากหลายนั้นมันก็มีข้อด้อยตรงความไม่ต่อเนื่อง ความกระโดดไปกระโดดมาของอารมณ์เพลงอยู่เหมือนกัน
อย่างไรก็ดีหากมองกันให้ลึกลงในรายละเอียดของภาคดนตรี จะพบว่ามีหลายเพลงที่เป็นดังแนวร่วมช่วยขับเคลื่อนให้บทเพลงฟังดูแข็งแกร่งและชัดเจนในคอนเซ็ปต์ของตัวเพลงมากขึ้น
หันมาดูด้านเนื้อหาเพลงกันบ้าง ภาคเนื้อร้องโดยรวมในระบายอารมณ์ แม้มันจะไม่ใช่งานเพลงที่มีภาษาสละสลวย คิดบวกโลกสวย อีกทั้งมันไม่มีเพลงรักเพลงโหลตามสมัยนิยม แต่สำหรับผมแล้วนี่คือความแตกต่างที่โดดเด่นและเป็นจุดแข็งโป๊กของอัลบั้มชุดนี้ ด้วยเนื้อหาที่ตีตรง ต่อยตรง มีทั้ง สะท้อนความเป็นไปสังคมไทยร่วมสมัย ให้แง่มุมชวนคิด แดกดัน จิกกัด สนุก แสบสัน คัน มัน ฮา ก่นด่า และกวนตีน!!! ฟังแล้วเหมาะสมกันดีกับคอนเซ็ปต์ระบายอารมณ์ที่เป็นธงนำของอัลบั้มชุดนี้ ซึ่งแน่นอนว่า ผลงานเพลงชุดระบายอารมณ์คงเป็นที่แสลงใจ ไม่สบอารมณ์ ใครและใครหลายๆคน
เพราะเรื่องของเรื่อง มันคือความจริง !?!