• ศรีลังกาปิ๊งไอเดีย “บริจาคขยะเป็นบุญ” จัดการขยะกองโตทั่วพุทธสถาน
ศรีลังกา : เว็บไซต์ lbbonline.com รายงานว่า เมื่อเร็วๆนี้ บริษัทเอเจนต์ซี่โฆษณาชื่อดัง “ลีโอ เบอร์เน็ทท์ (ประเทศศรีลังกา)” ร่วมมือกับสภาเมืองรัตนปุระ ประเทศศรีลังกา เปิดโครงการรณรงค์รักษาความสะอาดภูเขาศรีบาทา ซึ่งเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ในพุทธศาสนา ด้วยการน้อมนำวิถีพุทธ มาประยุกต์ใช้จัดการขยะกองโตที่ถูกทิ้งเรี่ยราดทั่วบริเวณ
สืบเนื่องจากในช่วงฤดูกาลเฉลิมฉลอง แต่ละวันจะมีผู้แสวงบุญเกือบ 500,000 คนเดินขึ้นไปสักการะบนภูเขาศรีบาทา ตามเส้นทางเดินจึงเต็มไปด้วยขยะกองโตถูกทิ้งเรี่ยราด กลายเป็นภาพที่ไม่น่าดู ดังนั้น สภาเมืองรัตนปุระ ซึ่งมีหน้าที่ดูแลภูเขาศรีบาทา จึงต้องหาวิธีการจัดการกับขยะจำนวนมหาศาลให้ได้ผลอย่างยั่งยืน
โดยแนวทางแก้ไขที่จะนำมาใช้นั้น ต้องเคารพความสำคัญของภูเขาศรีบาทา เข้าใจความแตกต่างด้านวัฒนธรรม และนำกรอบความรู้สึกนึกคิดของผู้แสวงบุญ มาร่วมพิจารณาด้วย เนื่องจากผู้แสวงบุญมีทั้งคนหนุ่มสาวและคนชรา จึงจำเป็นต้องหาวิธีการที่ปรับใช้ได้ง่าย และเป็นที่ยอมรับ จึงเป็นที่มาของการเปลี่ยนแนวคิดการทิ้งขยะ ให้กลายเป็นการทำบุญ ซึ่งเป็นสิ่งดีงามและทำได้จริง
เริ่มจากการเดิน 25,000 ก้าว ขึ้นไปยังภูเขาศรีบาทา และสวดมนต์ไปด้วย เพื่อให้เกิดผลบุญนั้น ก็ให้เจ้าหน้าที่วัด ผู้แสวงบุญ หรือแม้แต่พระสงฆ์ บอกกล่าวผู้แสวงบุญว่า การทิ้งขยะก็เป็นแนวทางสะสมบุญได้เช่นกัน
อีกทั้งทางโครงการได้แรงบันดาลใจ จากการที่พุทธศาสนิกชนนิยมทำบุญด้วยการหยอดเงินใส่ในตู้บริจาคภายในวัด ดังนั้น จึงได้สร้างถังขยะพิเศษขึ้นใหม่ ตกแต่งด้วยลวดลายพุทธศิลป์ เลียนแบบตู้บริจาคของวัด เพื่อให้เข้ากับแนวคิดการทำบุญ แต่แทนที่จะใส่เงิน ผู้แสวงบุญสามารถใส่ขยะลงไปแทน โดยจะวางถังพิเศษเหล่านี้ตามเส้นทางเดินแสวงบุญทั้งขาขึ้นและขาลงเป็นระยะๆ
โดยรวมแล้ว แนวคิดนี้ช่วยให้เก็บขยะจากถังขยะทั้งหมดได้เพิ่มขึ้นราว 3.5 เท่า ขณะที่ถังพิเศษแต่ละใบจะเก็บขยะได้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า
(เครดิตภาพ : leoburnett.lk)
• คุณพ่อมือใหม่เปล่งเสียงสวดมนต์ กล่อมทารกหยุดร้องไห้ทันที
สหรัฐอเมริกา : เว็บไซต์ popsugar.com รายงานว่า เดเนียล ไอเซินแมน คุณพ่อมือใหม่ได้นำเสนอวิธีใหม่อันชาญฉลาดในการกล่อมลูกสาวตัวน้อย ให้หยุดร้องไห้อย่างได้ผลชงัด
โดยเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2017 เขาได้อัพโหลดคลิปวิดีโอของตัวเอง ขณะกำลังกล่อมลูกน้อยให้หยุดร้องไห้ด้วยการเปล่งเสียง “โอม” ซึ่งเป็นคำสวดมนต์ในพุทธศาสนา
ไอเซินแมนได้เปิดเผยในภายหลังว่า เขาและภรรยาเปล่งเสียง “โอม” ให้ลูกสาวตัวน้อยฟังตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และทันทีที่หนูน้อยลืมตาออกมาดูโลก เขาก็เปิดเสียงสวดมนต์อันไพเราะของพระไทยให้ฟังด้วย
ล่าสุด คลิปวิดีโออันแสนน่ารักนี้มีคนเปิดดูแล้วกว่า 30 ล้านครั้ง
• ครั้งแรกในโลก..ประธานาธิบดีศรีลังกา เปิดป้ายเลเซอร์วิสาขบูชา
ศรีลังกา : เว็บไซต์ dailynews.lk รายงานว่า เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2017 นายไมตรีปาละ สิริเสนา ประธานาธิบดีศรีลังกา ได้ทำพิธีเปิดป้ายเลเซอร์วิสาขบูชา ณ สวนสาธารณะ กัลลี เฟซ กรีน (Galle Face Green) ริมฝั่งมหาสมุทรอินเดีย ในกรุงโคลัมโบ เพื่อให้ประชาชนเข้าชม โดยนับเป็นป้ายเลเซอร์วิสาขบูชาครั้งแรกในโลก เพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลวิสาขบูชาโลก 2017 ที่ศรีลังกาเป็นเจ้าภาพ
ป้ายเลเซอร์ดังกล่าวมีความยาว 40 ฟุต สูง 60 ฟุต ตั้งตระหง่านเพื่อจัดแสดงเรื่องราวต่างๆที่สำคัญในพุทธประวัติ เป็นผลงานสร้างของ ดร.พระบาท จันทิมาอุควัตตี เนื้อเรื่องโดย ทิมูถุ จินตกา และดนตรีประกอบโดย วิมาลาจีวะ ดมพวัตตะ
• คนกลัวบินโล่งอก...สนามบินเยอรมนี เปิดให้บริการตู้สวดมนต์หยอดเหรียญ
เยอรมนี : เว็บไซต์ Hindustantimes.com รายงานว่า บรรดานักเดินทางที่รู้สึกกลัวก่อนการโดยสารเครื่องบิน บัดนี้สนามบินแห่งหนึ่งในประเทศเยอรมนี ได้จัดทำตู้สวดมนต์ เพื่อช่วยเรียกขวัญกำลังใจก่อนการขึ้นเครื่อง
เมื่อเดือนพฤษภาคม 2017 โจฮัน เนสชัมม์ โฆษกสนามบินสตุตการ์ต เปิดเผยว่า ได้เปิดให้บริการตู้สวดมนต์อัตโนมัติแบบหยอดเหรียญ แก่ผู้โดยสารขาออก ณ บริเวณเทอร์มินอล 3 โดยสามารถเลือกฟังเสียงจากนักเทศน์ 300 คนในศาสนาต่างๆ อาทิ คริสต์ ยิว อิสลาม พุทธ ฮินดู เป็นต้น รวมถึงพ่อมด หมอผี คนทรง ในลัทธิความเชื่อต่างๆ หรือจะฟังนักเทศน์ทางโทรทัศน์อเมริกา ด้วยการแตะหน้าจอสัมผัสที่มีให้เลือก 65 ภาษา
“บ่อยครั้งที่ผู้โดยสารยังคงมีเวลาเหลือก่อนการขึ้นเครื่องบิน ตู้สวดมนต์จึงเป็นบริการที่ช่วยให้พวกเขาได้สงบจิตใจ”
ตู้สวดมนต์ดังกล่าวมีชื่อว่า “Gebetomat” แปลว่า “Pray-o-Matic” (ตู้สวดมนต์อัตโนมัติ) ซึ่งถูกออกแบบเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 2008 โดยโอลิเวอร์ สตัม ศิลปินชาวเมืองเบอร์ลิน เป็นตู้สีแดง เปิดปิดด้วยผ้าม่านสีเทา ภายในมีเก้าอี้นั่งปรับหมุนได้ 1 ตัว โดยจะให้บริการฟรีเป็นเวลา 3 เดือน ณ สนามบินสตุตการ์ต บริเวณทางออกขึ้นเครื่องถัดจากประตูหมายเลข 310
ทั้งนี้ นักเทศน์ทั้งหมดเป็นผู้มีศรัทธาในแต่ละศาสนาและลัทธิความเชื่อนั้นๆ อย่างแท้จริง ซึ่งได้มารวมตัวกันสวดมนต์ตามสถานที่ต่างๆ อาทิ ศาสนสถาน ห้องสวดมนต์ บ้าน โดยไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ สตัมได้ออกแบบตู้สวดมนต์จำนวนมาก เพื่อนำไปติดตั้งที่โรงเรียน มหาวิทยาลัย และพิพิธภัณฑ์ต่างๆ
• วัดโบราณญี่ปุ่นบูรณะวิหารหลัก ใช้ภาพการเผยแผ่ศาสนาพุทธ เป็นจิตรกรรมฝาผนัง
ญี่ปุ่น : เว็บไซต์ The Asahi Shimbun รายงานว่า ภาพจิตรกรรมฝาผนังขนาดใหญ่ที่บรรยายเรื่องราวการเผยแผ่ของศาสนาพุทธเข้ามายังประเทศญี่ปุ่น ได้ถูกนำมาตกแต่งวิหารจิกิโดะ ซึ่งบูรณะแล้วเสร็จ ภายในวัดยาคุชิจิ เมืองนารา อันเป็นหนึ่งในวัดโบราณที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของญี่ปุ่น
โดยภาพ “พระอมิตาภพุทธะ 3 องค์ในนิกายสุขาวดี” ขนาด 36 ตารางเมตร เป็นภาพหลักที่ใช้ตกแต่งภายในวิหาร ขณะที่ภาพ “การเผยแผ่ของศาสนาพุทธและวัดยาคุชิจิ” ขนาดความยาว 50 เมตร ถูกนำมาตกแต่งผนังโดยรอบ
“ภาพได้บรรยายถึงการเผยแผ่ของศาสนาพุทธจากจีนเข้าสู่ญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี ซึ่งภาพเหล่านี้ใช้ตกแต่งภายในวิหารได้อย่างเหมาะสม เพราะเป็นสถานที่ที่ใช้สอนธรรมะแก่คนทั่วไป” พระไตอิน มูรากามิ เจ้าอาวาสวัดยาคุชิจิ วัย 70 ปี กล่าว
วิหารจิกิโดะเป็นหนึ่งในวิหารหลักของวัดโบราณต่างๆ ซึ่งใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมและฉันอาหารของภิกษุสงฆ์ เจ้าหน้าที่วัดยาคุชิจิเผยว่า วิหารจิกิโดะดั้งเดิมของทางวัดถูกไฟไหม้ใน ค.ศ. 973 และได้รับการบูรณะใน ค.ศ. 1005 แต่ต่อมาได้ถูกทำลายลงอีกครั้ง
การบูรณะวิหารจิกิโดะในครั้งนี้ อยู่ภายใต้การดูแลของ “โตชิโอะ ตาบูชิ” จิตรกรภาพวาดญี่ปุ่นวัย 75 ปี ซึ่งเป็นศาสตราจารย์กิตติคุณของมหาวิทยาลัยศิลปะโตเกียว ใช้เวลาบูรณะ 4 ปี ทั้งนี้ ตัววิหารมีขนาดสูง 14 เมตร กว้าง 16 เมตร ยาว 41 เมตร ภายในออกแบบตกแต่งโดยสถาปนิก “โตโยโอะ อิโตะ”
ทั้งนี้ วิหารจิกิโดะจะเปิดให้สาธารณชนได้เข้าชมระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 30 พฤศจิกายน 2017
• ศิลปินอินเดียชื่อดังก่อพระนอนด้วยทราย ใหญ่สุดในโลก ฉลองวิสาขบูชาโลก
ศรีลังกา : เว็บไซต์ ibtimes.co.uk รายงานว่า เมื่อเดือนพฤษภาคม 2017 สุทารสรร ปัตตนึก (Sudarsan Pattnaik) ศิลปินหนุ่มชาวอินเดียที่มีชื่อเสียงระดับสากล ได้สร้างพระพุทธรูปปางไสยาสน์องค์ใหญ่ที่สุดในโลกด้วยทราย เพื่อร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลวิสาขบูชาโลก ครั้งที่ 14 ที่จัดขึ้น ณ กรุงโคลัมโบ ซึ่งประเทศศรีลังกาเป็นเจ้าภาพ
ศิลปินชื่อดังเปิดเผยว่า “ผมรู้สึกดีใจมากที่คนดูชื่นชอบผลงานของผม พระพุทธเจ้าทรงส่งสารเรื่องสันติสุข และผมดีใจที่งานของผมได้ถ่ายทอดข้อความดังกล่าวสู่ชาวโลก”
ทั้งนี้ การก่อพระพุทธรูปปางไสยาสน์ขนาดความยาว 40 ฟุตนั้น ใช้ทราย 4 คันรถบรรทุก ผู้ช่วย 5 คน นาน 3 วัน จึงแล้วเสร็จ
ศิลปินหนุ่มเกิดในครอบครัวยากจนในรัฐโอริศา ทางชายฝั่งตะวันออกของประเทศอินเดีย เขาใช้ชายฝั่งอ่าวเบงกอลเป็นผืนผ้าใบ เพื่อฝึกงานด้านศิลปะ จนปัจจุบันมีชื่อเสียงระดับโลกด้านงานศิลปะที่ทำด้วยทราย เมื่อเร็วๆนี้ เขาได้รับรางวัลเหรียญทองในการแข่งขันชิงแชมป์ศิลปะทราย 2017 ครั้งที่ 10 ที่จัดขึ้น ณ กรุงมอสโคว์ ประเทศรัสเซีย
งานของเขามักสื่อถึงสภาพแวดล้อมและสันติสุขบนโลก ซึ่งเขากล่าวว่า “ในฐานะศิลปิน ผมต้องการให้งานศิลปะของผม สื่อถึงประเด็นทางสังคม หากคุณรักศิลปะ คุณจะหาทางทำมันให้ได้ สมัยเด็กผมยากจน และไม่มีเงินเรียนหรือจ่ายค่าวัสดุในการทำงานศิลปะ ผมจึงเริ่มต้นสร้างงานศิลปะบนผืนทราย ซึ่งเป็นเหมือนผ้าใบที่ไม่ต้องซื้อ”
• มลพิษทางอากาศในลุมพินี สังเวชนียสถาน สูงกว่าค่ามาตรฐาน 10 เท่า
เนปาล : สำนักข่าว BBC ไทยได้รายงานว่า มลพิษทางอากาศในลุมพินี สังเวชนียสถาน สูงกว่าค่ามาตรฐาน 10 เท่า ทั้งนี้ ผลการสำรวจคุณภาพอากาศตามสถานที่สำคัญของเนปาล 5 แห่ง โดยองค์การอนามัยโลกและสถาบันอุตุนิยมวิทยาเขตร้อนของอินเดีย พบว่า สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าที่ตำบลลุมพินีในเนปาล มีระดับมลพิษทางอากาศสูงสุดในประเทศ โดยควันและฝุ่นละอองจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่โดยรอบ เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพของชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียง ส่วนบรรดาผู้แสวงบุญต่างต้องสวมหน้ากากป้องกันมลพิษ ขณะเข้าสักการะหรือนั่งสมาธิบริเวณสังเวชนียสถานแห่งนี้
เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีการตรวจวัดปริมาณของฝุ่นละอองขนาดเล็กละเอียด (PM2.5) ที่ลุมพินี พบว่า มีอยู่ 173.035 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งสูงกว่าระดับปลอดภัยที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ถึงเกือบ 10 เท่า นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์ฝุ่นละอองที่ตกค้างบนเสาพระเจ้าอโศกยังพบว่า มีสารที่ใช้ในอุตสาหกรรมจำนวนมากปกคลุมอยู่ทั้งยิปซัม แคลไซต์ โดโลไมต์ และแม็กนีไซต์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของการผลิตปูนซีเมนต์
งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งขององค์การยูเนสโกยังพบว่า มลพิษในอากาศจากแหล่งอุตสาหกรรมที่ปล่อยคาร์บอนรอบลุมพินี เริ่มส่งผลกระทบต่อมรดกโลกแห่งนี้อย่างหนัก ทั้งต่อความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ ซึ่งฝุ่นละอองจับตัวตามต้นไม้ใบหญ้าเป็นปื้นขาวหนา ทั้งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในท้องถิ่น และอาจสร้างความเสียหายให้กับตัวโบราณสถานในลุมพินีด้วย
ส่วนบรรดาพระสงฆ์และนักบวชในพื้นที่ รวมทั้งผู้แสวงบุญและนักท่องเที่ยวที่มาเยือนลุมพินีปีละราว 1 ล้านคน ต่างได้รับผลกระทบจากมลภาวะนี้ด้วย โดยพระภิกษุวิเวกนันทะ ผู้บริหารศูนย์วิปัสสนานานาชาติแห่งหนึ่งที่ลุมพินี บอกกับบีบีซีว่า รู้สึกหายใจไม่สะดวกและไอเป็นบางครั้ง ผู้ที่เข้าไปนั่งสมาธิใกล้วิหารมายาเทวีต่างต้องสวมหน้ากากป้องกันทางเดินหายใจ ผู้แสวงบุญหลายรายต้องเดินทางกลับเร็วกว่ากำหนด เพราะเกิดอาการแพ้และทนสภาพอากาศที่เต็มไปด้วยมลพิษไม่ไหว
ก่อนหน้านี้ รัฐบาลเนปาลได้กำหนดให้บริเวณ 15 กิโลเมตรโดยรอบของตำบลลุมพินี เป็นเขตสงวน แต่ก็ยังมีโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ เหล็ก กระดาษ และเส้นก๋วยเตี๋ยว มาตั้งอยู่โดยรอบหลายโรงงาน และเตาเผาอิฐหลายเตายังตั้งรุกล้ำเข้าไปในเขตสงวนนี้ด้วย ทำให้สภาพของมลพิษทางอากาศเลวร้ายลงอย่างมากในช่วง 7-8 ปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเนปาลซึ่งมีแผนพัฒนาลุมพินีให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก ให้คำมั่นว่าจะใช้โดรนออกสำรวจหาแหล่งที่มาของมลพิษ และจะจัดการแก้ไขปรับปรุงคุณภาพอากาศให้ดีขึ้น
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 198 มิถุนายน 2560 โดย เภตรา)
ศรีลังกา : เว็บไซต์ lbbonline.com รายงานว่า เมื่อเร็วๆนี้ บริษัทเอเจนต์ซี่โฆษณาชื่อดัง “ลีโอ เบอร์เน็ทท์ (ประเทศศรีลังกา)” ร่วมมือกับสภาเมืองรัตนปุระ ประเทศศรีลังกา เปิดโครงการรณรงค์รักษาความสะอาดภูเขาศรีบาทา ซึ่งเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ในพุทธศาสนา ด้วยการน้อมนำวิถีพุทธ มาประยุกต์ใช้จัดการขยะกองโตที่ถูกทิ้งเรี่ยราดทั่วบริเวณ
สืบเนื่องจากในช่วงฤดูกาลเฉลิมฉลอง แต่ละวันจะมีผู้แสวงบุญเกือบ 500,000 คนเดินขึ้นไปสักการะบนภูเขาศรีบาทา ตามเส้นทางเดินจึงเต็มไปด้วยขยะกองโตถูกทิ้งเรี่ยราด กลายเป็นภาพที่ไม่น่าดู ดังนั้น สภาเมืองรัตนปุระ ซึ่งมีหน้าที่ดูแลภูเขาศรีบาทา จึงต้องหาวิธีการจัดการกับขยะจำนวนมหาศาลให้ได้ผลอย่างยั่งยืน
โดยแนวทางแก้ไขที่จะนำมาใช้นั้น ต้องเคารพความสำคัญของภูเขาศรีบาทา เข้าใจความแตกต่างด้านวัฒนธรรม และนำกรอบความรู้สึกนึกคิดของผู้แสวงบุญ มาร่วมพิจารณาด้วย เนื่องจากผู้แสวงบุญมีทั้งคนหนุ่มสาวและคนชรา จึงจำเป็นต้องหาวิธีการที่ปรับใช้ได้ง่าย และเป็นที่ยอมรับ จึงเป็นที่มาของการเปลี่ยนแนวคิดการทิ้งขยะ ให้กลายเป็นการทำบุญ ซึ่งเป็นสิ่งดีงามและทำได้จริง
เริ่มจากการเดิน 25,000 ก้าว ขึ้นไปยังภูเขาศรีบาทา และสวดมนต์ไปด้วย เพื่อให้เกิดผลบุญนั้น ก็ให้เจ้าหน้าที่วัด ผู้แสวงบุญ หรือแม้แต่พระสงฆ์ บอกกล่าวผู้แสวงบุญว่า การทิ้งขยะก็เป็นแนวทางสะสมบุญได้เช่นกัน
อีกทั้งทางโครงการได้แรงบันดาลใจ จากการที่พุทธศาสนิกชนนิยมทำบุญด้วยการหยอดเงินใส่ในตู้บริจาคภายในวัด ดังนั้น จึงได้สร้างถังขยะพิเศษขึ้นใหม่ ตกแต่งด้วยลวดลายพุทธศิลป์ เลียนแบบตู้บริจาคของวัด เพื่อให้เข้ากับแนวคิดการทำบุญ แต่แทนที่จะใส่เงิน ผู้แสวงบุญสามารถใส่ขยะลงไปแทน โดยจะวางถังพิเศษเหล่านี้ตามเส้นทางเดินแสวงบุญทั้งขาขึ้นและขาลงเป็นระยะๆ
โดยรวมแล้ว แนวคิดนี้ช่วยให้เก็บขยะจากถังขยะทั้งหมดได้เพิ่มขึ้นราว 3.5 เท่า ขณะที่ถังพิเศษแต่ละใบจะเก็บขยะได้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า
(เครดิตภาพ : leoburnett.lk)
• คุณพ่อมือใหม่เปล่งเสียงสวดมนต์ กล่อมทารกหยุดร้องไห้ทันที
สหรัฐอเมริกา : เว็บไซต์ popsugar.com รายงานว่า เดเนียล ไอเซินแมน คุณพ่อมือใหม่ได้นำเสนอวิธีใหม่อันชาญฉลาดในการกล่อมลูกสาวตัวน้อย ให้หยุดร้องไห้อย่างได้ผลชงัด
โดยเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2017 เขาได้อัพโหลดคลิปวิดีโอของตัวเอง ขณะกำลังกล่อมลูกน้อยให้หยุดร้องไห้ด้วยการเปล่งเสียง “โอม” ซึ่งเป็นคำสวดมนต์ในพุทธศาสนา
ไอเซินแมนได้เปิดเผยในภายหลังว่า เขาและภรรยาเปล่งเสียง “โอม” ให้ลูกสาวตัวน้อยฟังตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และทันทีที่หนูน้อยลืมตาออกมาดูโลก เขาก็เปิดเสียงสวดมนต์อันไพเราะของพระไทยให้ฟังด้วย
ล่าสุด คลิปวิดีโออันแสนน่ารักนี้มีคนเปิดดูแล้วกว่า 30 ล้านครั้ง
• ครั้งแรกในโลก..ประธานาธิบดีศรีลังกา เปิดป้ายเลเซอร์วิสาขบูชา
ศรีลังกา : เว็บไซต์ dailynews.lk รายงานว่า เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2017 นายไมตรีปาละ สิริเสนา ประธานาธิบดีศรีลังกา ได้ทำพิธีเปิดป้ายเลเซอร์วิสาขบูชา ณ สวนสาธารณะ กัลลี เฟซ กรีน (Galle Face Green) ริมฝั่งมหาสมุทรอินเดีย ในกรุงโคลัมโบ เพื่อให้ประชาชนเข้าชม โดยนับเป็นป้ายเลเซอร์วิสาขบูชาครั้งแรกในโลก เพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลวิสาขบูชาโลก 2017 ที่ศรีลังกาเป็นเจ้าภาพ
ป้ายเลเซอร์ดังกล่าวมีความยาว 40 ฟุต สูง 60 ฟุต ตั้งตระหง่านเพื่อจัดแสดงเรื่องราวต่างๆที่สำคัญในพุทธประวัติ เป็นผลงานสร้างของ ดร.พระบาท จันทิมาอุควัตตี เนื้อเรื่องโดย ทิมูถุ จินตกา และดนตรีประกอบโดย วิมาลาจีวะ ดมพวัตตะ
• คนกลัวบินโล่งอก...สนามบินเยอรมนี เปิดให้บริการตู้สวดมนต์หยอดเหรียญ
เยอรมนี : เว็บไซต์ Hindustantimes.com รายงานว่า บรรดานักเดินทางที่รู้สึกกลัวก่อนการโดยสารเครื่องบิน บัดนี้สนามบินแห่งหนึ่งในประเทศเยอรมนี ได้จัดทำตู้สวดมนต์ เพื่อช่วยเรียกขวัญกำลังใจก่อนการขึ้นเครื่อง
เมื่อเดือนพฤษภาคม 2017 โจฮัน เนสชัมม์ โฆษกสนามบินสตุตการ์ต เปิดเผยว่า ได้เปิดให้บริการตู้สวดมนต์อัตโนมัติแบบหยอดเหรียญ แก่ผู้โดยสารขาออก ณ บริเวณเทอร์มินอล 3 โดยสามารถเลือกฟังเสียงจากนักเทศน์ 300 คนในศาสนาต่างๆ อาทิ คริสต์ ยิว อิสลาม พุทธ ฮินดู เป็นต้น รวมถึงพ่อมด หมอผี คนทรง ในลัทธิความเชื่อต่างๆ หรือจะฟังนักเทศน์ทางโทรทัศน์อเมริกา ด้วยการแตะหน้าจอสัมผัสที่มีให้เลือก 65 ภาษา
“บ่อยครั้งที่ผู้โดยสารยังคงมีเวลาเหลือก่อนการขึ้นเครื่องบิน ตู้สวดมนต์จึงเป็นบริการที่ช่วยให้พวกเขาได้สงบจิตใจ”
ตู้สวดมนต์ดังกล่าวมีชื่อว่า “Gebetomat” แปลว่า “Pray-o-Matic” (ตู้สวดมนต์อัตโนมัติ) ซึ่งถูกออกแบบเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 2008 โดยโอลิเวอร์ สตัม ศิลปินชาวเมืองเบอร์ลิน เป็นตู้สีแดง เปิดปิดด้วยผ้าม่านสีเทา ภายในมีเก้าอี้นั่งปรับหมุนได้ 1 ตัว โดยจะให้บริการฟรีเป็นเวลา 3 เดือน ณ สนามบินสตุตการ์ต บริเวณทางออกขึ้นเครื่องถัดจากประตูหมายเลข 310
ทั้งนี้ นักเทศน์ทั้งหมดเป็นผู้มีศรัทธาในแต่ละศาสนาและลัทธิความเชื่อนั้นๆ อย่างแท้จริง ซึ่งได้มารวมตัวกันสวดมนต์ตามสถานที่ต่างๆ อาทิ ศาสนสถาน ห้องสวดมนต์ บ้าน โดยไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ สตัมได้ออกแบบตู้สวดมนต์จำนวนมาก เพื่อนำไปติดตั้งที่โรงเรียน มหาวิทยาลัย และพิพิธภัณฑ์ต่างๆ
• วัดโบราณญี่ปุ่นบูรณะวิหารหลัก ใช้ภาพการเผยแผ่ศาสนาพุทธ เป็นจิตรกรรมฝาผนัง
ญี่ปุ่น : เว็บไซต์ The Asahi Shimbun รายงานว่า ภาพจิตรกรรมฝาผนังขนาดใหญ่ที่บรรยายเรื่องราวการเผยแผ่ของศาสนาพุทธเข้ามายังประเทศญี่ปุ่น ได้ถูกนำมาตกแต่งวิหารจิกิโดะ ซึ่งบูรณะแล้วเสร็จ ภายในวัดยาคุชิจิ เมืองนารา อันเป็นหนึ่งในวัดโบราณที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของญี่ปุ่น
โดยภาพ “พระอมิตาภพุทธะ 3 องค์ในนิกายสุขาวดี” ขนาด 36 ตารางเมตร เป็นภาพหลักที่ใช้ตกแต่งภายในวิหาร ขณะที่ภาพ “การเผยแผ่ของศาสนาพุทธและวัดยาคุชิจิ” ขนาดความยาว 50 เมตร ถูกนำมาตกแต่งผนังโดยรอบ
“ภาพได้บรรยายถึงการเผยแผ่ของศาสนาพุทธจากจีนเข้าสู่ญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี ซึ่งภาพเหล่านี้ใช้ตกแต่งภายในวิหารได้อย่างเหมาะสม เพราะเป็นสถานที่ที่ใช้สอนธรรมะแก่คนทั่วไป” พระไตอิน มูรากามิ เจ้าอาวาสวัดยาคุชิจิ วัย 70 ปี กล่าว
วิหารจิกิโดะเป็นหนึ่งในวิหารหลักของวัดโบราณต่างๆ ซึ่งใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมและฉันอาหารของภิกษุสงฆ์ เจ้าหน้าที่วัดยาคุชิจิเผยว่า วิหารจิกิโดะดั้งเดิมของทางวัดถูกไฟไหม้ใน ค.ศ. 973 และได้รับการบูรณะใน ค.ศ. 1005 แต่ต่อมาได้ถูกทำลายลงอีกครั้ง
การบูรณะวิหารจิกิโดะในครั้งนี้ อยู่ภายใต้การดูแลของ “โตชิโอะ ตาบูชิ” จิตรกรภาพวาดญี่ปุ่นวัย 75 ปี ซึ่งเป็นศาสตราจารย์กิตติคุณของมหาวิทยาลัยศิลปะโตเกียว ใช้เวลาบูรณะ 4 ปี ทั้งนี้ ตัววิหารมีขนาดสูง 14 เมตร กว้าง 16 เมตร ยาว 41 เมตร ภายในออกแบบตกแต่งโดยสถาปนิก “โตโยโอะ อิโตะ”
ทั้งนี้ วิหารจิกิโดะจะเปิดให้สาธารณชนได้เข้าชมระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 30 พฤศจิกายน 2017
• ศิลปินอินเดียชื่อดังก่อพระนอนด้วยทราย ใหญ่สุดในโลก ฉลองวิสาขบูชาโลก
ศรีลังกา : เว็บไซต์ ibtimes.co.uk รายงานว่า เมื่อเดือนพฤษภาคม 2017 สุทารสรร ปัตตนึก (Sudarsan Pattnaik) ศิลปินหนุ่มชาวอินเดียที่มีชื่อเสียงระดับสากล ได้สร้างพระพุทธรูปปางไสยาสน์องค์ใหญ่ที่สุดในโลกด้วยทราย เพื่อร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลวิสาขบูชาโลก ครั้งที่ 14 ที่จัดขึ้น ณ กรุงโคลัมโบ ซึ่งประเทศศรีลังกาเป็นเจ้าภาพ
ศิลปินชื่อดังเปิดเผยว่า “ผมรู้สึกดีใจมากที่คนดูชื่นชอบผลงานของผม พระพุทธเจ้าทรงส่งสารเรื่องสันติสุข และผมดีใจที่งานของผมได้ถ่ายทอดข้อความดังกล่าวสู่ชาวโลก”
ทั้งนี้ การก่อพระพุทธรูปปางไสยาสน์ขนาดความยาว 40 ฟุตนั้น ใช้ทราย 4 คันรถบรรทุก ผู้ช่วย 5 คน นาน 3 วัน จึงแล้วเสร็จ
ศิลปินหนุ่มเกิดในครอบครัวยากจนในรัฐโอริศา ทางชายฝั่งตะวันออกของประเทศอินเดีย เขาใช้ชายฝั่งอ่าวเบงกอลเป็นผืนผ้าใบ เพื่อฝึกงานด้านศิลปะ จนปัจจุบันมีชื่อเสียงระดับโลกด้านงานศิลปะที่ทำด้วยทราย เมื่อเร็วๆนี้ เขาได้รับรางวัลเหรียญทองในการแข่งขันชิงแชมป์ศิลปะทราย 2017 ครั้งที่ 10 ที่จัดขึ้น ณ กรุงมอสโคว์ ประเทศรัสเซีย
งานของเขามักสื่อถึงสภาพแวดล้อมและสันติสุขบนโลก ซึ่งเขากล่าวว่า “ในฐานะศิลปิน ผมต้องการให้งานศิลปะของผม สื่อถึงประเด็นทางสังคม หากคุณรักศิลปะ คุณจะหาทางทำมันให้ได้ สมัยเด็กผมยากจน และไม่มีเงินเรียนหรือจ่ายค่าวัสดุในการทำงานศิลปะ ผมจึงเริ่มต้นสร้างงานศิลปะบนผืนทราย ซึ่งเป็นเหมือนผ้าใบที่ไม่ต้องซื้อ”
• มลพิษทางอากาศในลุมพินี สังเวชนียสถาน สูงกว่าค่ามาตรฐาน 10 เท่า
เนปาล : สำนักข่าว BBC ไทยได้รายงานว่า มลพิษทางอากาศในลุมพินี สังเวชนียสถาน สูงกว่าค่ามาตรฐาน 10 เท่า ทั้งนี้ ผลการสำรวจคุณภาพอากาศตามสถานที่สำคัญของเนปาล 5 แห่ง โดยองค์การอนามัยโลกและสถาบันอุตุนิยมวิทยาเขตร้อนของอินเดีย พบว่า สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าที่ตำบลลุมพินีในเนปาล มีระดับมลพิษทางอากาศสูงสุดในประเทศ โดยควันและฝุ่นละอองจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่โดยรอบ เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพของชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียง ส่วนบรรดาผู้แสวงบุญต่างต้องสวมหน้ากากป้องกันมลพิษ ขณะเข้าสักการะหรือนั่งสมาธิบริเวณสังเวชนียสถานแห่งนี้
เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีการตรวจวัดปริมาณของฝุ่นละอองขนาดเล็กละเอียด (PM2.5) ที่ลุมพินี พบว่า มีอยู่ 173.035 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งสูงกว่าระดับปลอดภัยที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ถึงเกือบ 10 เท่า นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์ฝุ่นละอองที่ตกค้างบนเสาพระเจ้าอโศกยังพบว่า มีสารที่ใช้ในอุตสาหกรรมจำนวนมากปกคลุมอยู่ทั้งยิปซัม แคลไซต์ โดโลไมต์ และแม็กนีไซต์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของการผลิตปูนซีเมนต์
งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งขององค์การยูเนสโกยังพบว่า มลพิษในอากาศจากแหล่งอุตสาหกรรมที่ปล่อยคาร์บอนรอบลุมพินี เริ่มส่งผลกระทบต่อมรดกโลกแห่งนี้อย่างหนัก ทั้งต่อความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ ซึ่งฝุ่นละอองจับตัวตามต้นไม้ใบหญ้าเป็นปื้นขาวหนา ทั้งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในท้องถิ่น และอาจสร้างความเสียหายให้กับตัวโบราณสถานในลุมพินีด้วย
ส่วนบรรดาพระสงฆ์และนักบวชในพื้นที่ รวมทั้งผู้แสวงบุญและนักท่องเที่ยวที่มาเยือนลุมพินีปีละราว 1 ล้านคน ต่างได้รับผลกระทบจากมลภาวะนี้ด้วย โดยพระภิกษุวิเวกนันทะ ผู้บริหารศูนย์วิปัสสนานานาชาติแห่งหนึ่งที่ลุมพินี บอกกับบีบีซีว่า รู้สึกหายใจไม่สะดวกและไอเป็นบางครั้ง ผู้ที่เข้าไปนั่งสมาธิใกล้วิหารมายาเทวีต่างต้องสวมหน้ากากป้องกันทางเดินหายใจ ผู้แสวงบุญหลายรายต้องเดินทางกลับเร็วกว่ากำหนด เพราะเกิดอาการแพ้และทนสภาพอากาศที่เต็มไปด้วยมลพิษไม่ไหว
ก่อนหน้านี้ รัฐบาลเนปาลได้กำหนดให้บริเวณ 15 กิโลเมตรโดยรอบของตำบลลุมพินี เป็นเขตสงวน แต่ก็ยังมีโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ เหล็ก กระดาษ และเส้นก๋วยเตี๋ยว มาตั้งอยู่โดยรอบหลายโรงงาน และเตาเผาอิฐหลายเตายังตั้งรุกล้ำเข้าไปในเขตสงวนนี้ด้วย ทำให้สภาพของมลพิษทางอากาศเลวร้ายลงอย่างมากในช่วง 7-8 ปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเนปาลซึ่งมีแผนพัฒนาลุมพินีให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก ให้คำมั่นว่าจะใช้โดรนออกสำรวจหาแหล่งที่มาของมลพิษ และจะจัดการแก้ไขปรับปรุงคุณภาพอากาศให้ดีขึ้น
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 198 มิถุนายน 2560 โดย เภตรา)