• ช่างสิบหมู่เร่งบูรณะพระมหาพิชัยราชรถ คาดแล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายนนี้
นางวิจิตร์ ไชยวิชิต หัวหน้ากลุ่มประณีตศิลป์ และนักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการ สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กล่าวถึงความคืบหน้าการบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและพระยานมาศ ว่าล่าสุดได้ประดับกระจกพระมหาพิชัยราชรถใกล้เสร็จแล้ว ยังเหลือในส่วนเสาย่อมุมไม้สิบสองส่วนบุษบก คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายนนี้ จากนั้นจะปิดทองส่วนลวดลายที่ชำรุดบริเวณหน้างอนราชรถ และส่วนชักลากที่จะปิดทองใหม่ทั้งหมด
จากนั้นจะประสานงานกับกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์เข้ามาทำความสะอาดอีกครั้ง เมื่อแล้วเสร็จกองทัพเรือจะเข้ามาถอดนั่งร้านบางส่วนเพื่อให้กรมสรรพาวุธทหารบกนำล้อพระมหาพิชัยราชรถที่จัดสร้างใหม่ และส่วนล่าง แหนบ เพลา มาประกอบให้สมบูรณ์เพื่อเตรียมพร้อมก่อนถึงพระราชพิธี
สำหรับการบูรณะเกรินบันไดนาค ล่าสุดอยู่ระหว่างการปิดทองประดับกระจกลวดลาย จำนวน 2 องค์ โดยองค์แรก ใช้เทียบพระมหาพิชัยราชรถที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร และองค์ที่ใช้เทียบราชรถปืนใหญ่ ซึ่งจะปรับระดับความสูงประมาณ 185 เซนติเมตร โดยกรมสรรพาวุธได้ตรวจสอบ และเทียบสะพานเกรินเชื่อมต่อแล้ว คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนกรกฎาคม
• กรม สบส.ขานรับนโยบาย “เมดิคัลฮับ” ชู “ปราจีนบุรี” เป็นเมืองนำร่องสุขภาวะดี
นายแพทย์วิศิษฎ์ ตั้งนภากร อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า กรม สบส. บูรณาการทำงานร่วมกับกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ตอบสนองนโยบายการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทย ให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) ระยะ 10 ปี และแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560-2564 ได้จัดตั้งเมืองสมุนไพร ใน 4 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี เชียงราย สกลนคร และปราจีนบุรี โดยเลือกปราจีนบุรีเป็นจังหวัดนำร่องเมืองสุขภาวะดี (Wellness City) แบบครบวงจรที่มีความหลากหลาย อาทิ สปา นวดไทย การรักษาพยาบาลทั้งแผนไทยและแผนปัจจุบันการดูแลสุขภาพระยะยาว การท่องเที่ยวพำนักระยะยาว ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ ศูนย์การค้าด้านสุขภาพและการจัดประชุม เป็นต้น
โดยการพัฒนาจะต้องมีความปลอดภัยและทันสมัย ครอบคลุมใน 4 มิติ คือ โครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค การรักษาโรคและการฟื้นฟูสภาพ ซึ่งได้ร่วมกับโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ดำเนินงานภายใต้ในรูปแบบของประชารัฐ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ภายใต้แนวคิด “อภัยภูเบศร์ Model”
ด้านทันตแพทย์อาคม ประดิษฐสุวรรณ ผู้อำนวยการกองสุขภาพระหว่างประเทศ กล่าวว่า จากการลงพื้นที่พบว่า จังหวัดปราจีนบุรีมีความพร้อมด้านทรัพยากรธรรมชาติ องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากชาวบ้านในการรักษาแพทย์แผนไทยแบบพื้นบ้าน และมีหน่วยงานหลักอย่างโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ที่เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัด ในการวิจัย พัฒนาองค์ความรู้ด้านสมุนไพร และวิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ที่ผลิตบุคลากรสำหรับบริการด้านแพทย์แผนไทยระดับปริญญาตรี โดยเฉพาะเป็นที่แรกของไทย
“นิด้าโพล” เผย พุทธศาสนิกชนยังคงศรัทธาในพุทธศาสนา แต่อยากให้หน่วยงานรัฐตรวจสอบพระสงฆ์ที่ชอบเรี่ยไร
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน “นิด้าโพล” เรื่อง “พุทธศาสนิกชนกับการทำบุญในวันวิสาขบูชาและความศรัทธาในพุทธศาสนา” ซึ่งสำรวจระหว่างวันที่ 4-5 พฤษภาคม 2560 กรณีศึกษาจากประชาชนที่นับถือศาสนาพุทธทั่วประเทศ จำนวน 1,250 คน เกี่ยวกับการทำบุญในวันวิสาขบูชาและความศรัทธาในพุทธศาสนา
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความเลื่อมใสและศรัทธาในหลักคำสอน/แก่นแท้ของพุทธศาสนาจากกรณีที่พระสงฆ์มีข่าวฉาว หรือข่าวในภาพลบ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 82.88 ระบุว่า ยังมีความเลื่อมใสและศรัทธาในหลักคำสอน/แก่นแท้ของพุทธศาสนาเหมือนเดิม/ไม่เปลี่ยนแปลง รองลงมา ร้อยละ 11.04 ระบุว่า มีความเลื่อมใสและศรัทธาในหลักคำสอน/แก่นแท้ของพุทธศาสนาลดลง ร้อยละ 2.96 ระบุว่า มีความเลื่อมใสและศรัทธาในหลักคำสอน/แก่นแท้ของพุทธศาสนามากขึ้น ร้อยละ 0.88 ระบุว่า อยู่ที่ตัวบุคคล ดูเป็นรายกรณีไป และร้อยละ 2.24 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความเลื่อมใสและศรัทธาในตัวพระสงฆ์ จากกรณีที่พระสงฆ์มีข่าวฉาว หรือข่าวในภาพลบ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.68 ยังมีความเลื่อมใสและศรัทธาในตัวพระสงฆ์เหมือนเดิม/ไม่เปลี่ยนแปลง รองลงมา ร้อยละ 24.88มีความเลื่อมใสและศรัทธาในตัวพระสงฆ์ลดลง ร้อยละ 15.12 อยู่ที่ตัวบุคคล ดูเป็นรายกรณีไป ร้อยละ 1.60 มีความเลื่อมใสและศรัทธาในตัวพระสงฆ์มากขึ้น และร้อยละ 2.72 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการทำบุญทางศาสนา ที่ต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มหาเถรสมาคม กระทรวงศึกษาธิการ เข้ามาตรวจสอบแก้ไขอย่างเร่งด่วนมากที่สุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 20.40 ระบุว่า เป็นพฤติกรรมของพระสงฆ์ที่เรี่ยไรเงินบริจาคทำบุญในที่สาธารณะ รองลงมา ร้อยละ 16.16 ระบุว่า เป็นพฤติกรรมของพระสงฆ์หรือประชาชนที่หลอกลวงให้บริจาคเงินทำบุญ ร้อยละ 14.56 ระบุว่า เป็นการปลอมตัวเป็นพระสงฆ์ ร้อยละ 13.60 ระบุว่า วัดที่เน้นการทำบุญแบบพุทธพาณิชย์มากจนเกินไป ร้อยละ 9.28 ระบุว่า เป็นพฤติกรรมการแต่งกายที่ไม่เหมาะสมในการเข้าวัดทำบุญ ร้อยละ 3.44 ระบุว่า เป็นสังฆทานเวียน ร้อยละ 3.36 ระบุว่า เป็นการโยนเหรียญลงไปในบ่อที่มีสัตว์อาศัยอยู่ ร้อยละ 2.72 ระบุว่า เป็นการจับสัตว์มาเพื่อให้คนมาซื้อไปปล่อย ร้อยละ 1.60 ระบุอื่นๆ ได้แก่ การเช่าบูชาวัตถุ เครื่องลางของขลังในวัด การบิณฑบาตนอกเวลาของพระสงฆ์ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ทุกปัญหาที่กล่าวมา ร้อยละ 5.20 ระบุว่า ไม่มีปัญหาใดๆ และร้อยละ 9.68 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
• สปส. หยุดให้บริการสายด่วน 1506 ชั่วคราว พัฒนาระบบให้บริการรองรับไทยแลนด์ 4.0
นายสุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการสอดรับกับนโยบาย Thailand 4.0 สำนักงานประกันสังคมขอหยุดการให้บริการสายด่วน 1506 เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 2560 เป็นต้นไป เพื่อพัฒนาระบบการให้บริการสายด่วน 1506 ตอบสนองความต้องการของผู้ประกันตนและให้มีความทันสมัย รองรับ Social Media ทั้งนี้ระหว่างหยุดการให้บริการ นายจ้าง ผู้ประกันตนสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ และช่องทางออนไลน์ ได้แก่ Website สำนักประกันสังคม http://www.sso.go.th/Youtube/สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมกระทรวงแรงงาน ช่องทาง Social media และหมายเลขโทรศัพท์ ได้แก่ 0-2956-2539 ถึง 40 ในวันและเวลาราชการ
• กรมอนามัย จับมือภาคีเครือข่าย ร่วมยกระดับพัฒนาสุขอนามัยสามเณร 4.0
นายแพทย์ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยหลังเป็นประธานเปิดการประชุมพัฒนาสุขาภิบาลสุขอนามัยโรงเรียนพระปริยัติธรรม ในโครงการตามพระราชดำริ ภายใต้โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) ปีงบประมาณ 2560 ณ โรงแรมแพร่นครา อ.เมือง จ.แพร่ ว่า
กรมอนามัยได้มีส่วนร่วมจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมสุขภาพสามเณรโรงเรียนพระปริยัติธรรมตามแนวพระราชดำริ นำร่องโรงเรียนที่มีความพร้อม จังหวัดละ 1 แห่ง ตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา ร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุขพื้นที่จังหวัดเป้าหมายในการส่งเสริมโภชนาการที่เหมาะสมและบริหารกายตามวิถีสมณะ เพื่อลดภาวะอ้วนของสามเณร พร้อมสนับสนุนสื่อความรู้ โภชนาการสำหรับสามเณร แนวทางส่งเสริมโภชนาการ ข้อปฏิบัติสำหรับสามเณรที่มีภาวะโภชนาการเกิน
ดังนั้น กรมอนามัยจึงมีแนวคิดจะขยายผลในโรงเรียนอื่นอีกต่อไป และได้ทำการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำบริโภคในโรงเรียนและพัฒนาที่จำวัดของสามเณร ร่วมกับภาคีเครือข่ายด้วย และจัดทำโครงการพัฒนาสุขาภิบาลสุขอนามัยโรงเรียนพระปริยัติธรรมในโครงการตามพระราชดำริขึ้น
“สำหรับการประชุมในวันนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการสื่อสารความรู้ด้านสุขภาพ พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนางานด้านสุขภาพอนามัยสามเณรให้มีความชัดเจนและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนกำหนดแนวทางดำเนินงานร่วมกัน มุ่งให้สามเณรมีภาวะสุขภาพดีและพฤติกรรมที่พึงประสงค์อย่างยั่งยืน โดยมีกิจกรรมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “ยกระดับการพัฒนาสุขอนามัยสามเณร 4.0” ระหว่างฝ่ายโรงเรียนกับฝ่ายสาธารณสุขและภาคีเครือข่าย”
• ครั้งแรกในวงการจิตแพทย์ไทย กรมสุขภาพจิต พัฒนาสูตรเฉพาะการใช้สติบำบัด
นาวาอากาศตรี นายแพทย์ บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดรักษาผู้ป่วยทางจิตเวช ผู้ที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ และผู้ที่เสพสารเสพติด ซึ่งมีอยู่กว่า 7 ล้านคนทั่วประเทศ ให้ได้ผลดีที่สุด ลดการป่วยซ้ำ จึงได้พัฒนาจิตบำบัดที่เรียกว่าสติบำบัด เป็นสูตรเฉพาะของไทย ใช้บำบัดทางจิตใจแก่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล และผู้ป่วยติดสารเสพติดที่มีผู้ป่วยกว่า 240,000 คน ควบคู่กับการกินยา ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมตัวเองได้ดี ลดความเครียดลง นับเป็นครั้งแรกของวงการจิตแพทย์ไทย ซึ่งการรักษาแนวนี้เป็นที่ยอมรับของวงการจิตแพทย์ทั่วโลก ขณะนี้มีหลายประเทศเริ่มนำวิธีการรักษาของไทยไปใช้แล้ว เช่น เมียนมา ศรีลังกา แคนาดา และไต้หวัน
ทั้งนี้ ผลการวิจัยในต่างประเทศพบว่า การรักษาโรคซึมเศร้า วิตกกังวล การติดสารเสพติด และโรคบาดแผลทางใจหรือพีทีเอสดี (PTSD) ด้วยยา ควบคู่กับการบำบัดทางจิตใจด้วย ได้ผลดีมาก ป้องกันการป่วยซ้ำหรือเสพสารเสพติดซ้ำสูงถึงร้อยละ 70 แนวโน้มระยะยาวสามารถลดและหยุดการกินยาได้ จึงได้กำหนดให้เป็นมาตรฐานการรักษาผู้ป่วยประเภทนี้ในหลายประเทศ
กรมสุขภาพจิตได้วางแผนจะผลักดันการรักษาด้วยสติบำบัดที่พัฒนาขึ้นนี้ เข้าสู่ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการอย่างถ้วนหน้าต่อไป
• วัดชมภูเวกเปิดพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน เป็นแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชน
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดชมภูเวก จ.นนทบุรี เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมและเรียนรู้ประวัติความเป็นมาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชน โดยพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านแห่งนี้ ได้รวบรวมประวัติความเป็นมาของวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชนมอญบ้านท่าทรายและวัดชมภูเวก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
นายวิษณุกล่าวว่าโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีการแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 4 ห้อง ประกอบด้วย ประวัติความเป็นมาของชุมชนบ้านท่าทรายและวัดชมภูเวก โบราณสถานที่สำคัญของวัดชมภูเวก โบราณวัตถุที่สำคัญทางศาสนาของวัด และโบราณวัตถุที่สำคัญทางด้านชาติพันธุ์ของชุมชนวัดชมภูเวก
นอกจากนี้ ยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังภาพแม่พระธรณีบีบมวยผมที่มีความงดงาม และรอยพระพุทธบาทศิลา ที่ทำด้วยหินชนวน สร้างขึ้นสมัยสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 18 อายุประมาณ 760 ปี ที่รอยพระพุทธบาทจารึกภาษาขอมโบราณ เป็นจารึกหลักที่ 85 ที่กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้ รวมทั้งวรรณกรรมพื้นบ้าน อักษรมอญและภาษามอญ อายุกว่า 300 ปี
ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีเชื่อว่าวัตถุสิ่งของที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์เป็นของที่มีค่ากับประเทศ จึงหวังว่าในอนาคตจะพัฒนาไปจนถึงพิพิธภัณฑ์ระดับจังหวัดและประเทศต่อไป
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดชมภูเวกแห่งนี้ จะเปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. โดยไม่เสียค่าเข้าชมแต่อย่างใด
อนึ่ง วัดชมภูเวกเป็นวัดเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อปี 2517 และถือเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านโบราณสถานของจังหวัดนนทบุรี
สิ่งที่โดดเด่นและขึ้นชื่อของวัดชมภูเวกคือ ภาพเขียน “แม่พระธรณีบีบมวยผม” ในซุ้มเรือนแก้ว ตรงผนังหุ้มกลองหน้าพระประธานเหนือประตู ซึ่งเป็นภาพพุทธประวัติตอนมารผจญ ว่ากันว่ามีความวิจิตรงดงาม ด้วยลายเส้นอันอ่อนช้อย แสดงให้เห็นถึงศิลปะขั้นสูงฝีมือบรมครู เป็นภาพที่ให้ความรู้สึกเหนือธรรมชาติ ซึ่งจิตรกรของกรมศิลปากรต่างยกย่องให้เป็นแบบอย่าง “ภาพเขียนแม่พระธรณีที่งดงามที่สุดในโลก”
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 198 มิถุนายน 2560 โดย กองบรรณาธิการ)
นางวิจิตร์ ไชยวิชิต หัวหน้ากลุ่มประณีตศิลป์ และนักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการ สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กล่าวถึงความคืบหน้าการบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและพระยานมาศ ว่าล่าสุดได้ประดับกระจกพระมหาพิชัยราชรถใกล้เสร็จแล้ว ยังเหลือในส่วนเสาย่อมุมไม้สิบสองส่วนบุษบก คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายนนี้ จากนั้นจะปิดทองส่วนลวดลายที่ชำรุดบริเวณหน้างอนราชรถ และส่วนชักลากที่จะปิดทองใหม่ทั้งหมด
จากนั้นจะประสานงานกับกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์เข้ามาทำความสะอาดอีกครั้ง เมื่อแล้วเสร็จกองทัพเรือจะเข้ามาถอดนั่งร้านบางส่วนเพื่อให้กรมสรรพาวุธทหารบกนำล้อพระมหาพิชัยราชรถที่จัดสร้างใหม่ และส่วนล่าง แหนบ เพลา มาประกอบให้สมบูรณ์เพื่อเตรียมพร้อมก่อนถึงพระราชพิธี
สำหรับการบูรณะเกรินบันไดนาค ล่าสุดอยู่ระหว่างการปิดทองประดับกระจกลวดลาย จำนวน 2 องค์ โดยองค์แรก ใช้เทียบพระมหาพิชัยราชรถที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร และองค์ที่ใช้เทียบราชรถปืนใหญ่ ซึ่งจะปรับระดับความสูงประมาณ 185 เซนติเมตร โดยกรมสรรพาวุธได้ตรวจสอบ และเทียบสะพานเกรินเชื่อมต่อแล้ว คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนกรกฎาคม
• กรม สบส.ขานรับนโยบาย “เมดิคัลฮับ” ชู “ปราจีนบุรี” เป็นเมืองนำร่องสุขภาวะดี
นายแพทย์วิศิษฎ์ ตั้งนภากร อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า กรม สบส. บูรณาการทำงานร่วมกับกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ตอบสนองนโยบายการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทย ให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) ระยะ 10 ปี และแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560-2564 ได้จัดตั้งเมืองสมุนไพร ใน 4 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี เชียงราย สกลนคร และปราจีนบุรี โดยเลือกปราจีนบุรีเป็นจังหวัดนำร่องเมืองสุขภาวะดี (Wellness City) แบบครบวงจรที่มีความหลากหลาย อาทิ สปา นวดไทย การรักษาพยาบาลทั้งแผนไทยและแผนปัจจุบันการดูแลสุขภาพระยะยาว การท่องเที่ยวพำนักระยะยาว ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ ศูนย์การค้าด้านสุขภาพและการจัดประชุม เป็นต้น
โดยการพัฒนาจะต้องมีความปลอดภัยและทันสมัย ครอบคลุมใน 4 มิติ คือ โครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค การรักษาโรคและการฟื้นฟูสภาพ ซึ่งได้ร่วมกับโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ดำเนินงานภายใต้ในรูปแบบของประชารัฐ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ภายใต้แนวคิด “อภัยภูเบศร์ Model”
ด้านทันตแพทย์อาคม ประดิษฐสุวรรณ ผู้อำนวยการกองสุขภาพระหว่างประเทศ กล่าวว่า จากการลงพื้นที่พบว่า จังหวัดปราจีนบุรีมีความพร้อมด้านทรัพยากรธรรมชาติ องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากชาวบ้านในการรักษาแพทย์แผนไทยแบบพื้นบ้าน และมีหน่วยงานหลักอย่างโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ที่เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัด ในการวิจัย พัฒนาองค์ความรู้ด้านสมุนไพร และวิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ที่ผลิตบุคลากรสำหรับบริการด้านแพทย์แผนไทยระดับปริญญาตรี โดยเฉพาะเป็นที่แรกของไทย
“นิด้าโพล” เผย พุทธศาสนิกชนยังคงศรัทธาในพุทธศาสนา แต่อยากให้หน่วยงานรัฐตรวจสอบพระสงฆ์ที่ชอบเรี่ยไร
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน “นิด้าโพล” เรื่อง “พุทธศาสนิกชนกับการทำบุญในวันวิสาขบูชาและความศรัทธาในพุทธศาสนา” ซึ่งสำรวจระหว่างวันที่ 4-5 พฤษภาคม 2560 กรณีศึกษาจากประชาชนที่นับถือศาสนาพุทธทั่วประเทศ จำนวน 1,250 คน เกี่ยวกับการทำบุญในวันวิสาขบูชาและความศรัทธาในพุทธศาสนา
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความเลื่อมใสและศรัทธาในหลักคำสอน/แก่นแท้ของพุทธศาสนาจากกรณีที่พระสงฆ์มีข่าวฉาว หรือข่าวในภาพลบ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 82.88 ระบุว่า ยังมีความเลื่อมใสและศรัทธาในหลักคำสอน/แก่นแท้ของพุทธศาสนาเหมือนเดิม/ไม่เปลี่ยนแปลง รองลงมา ร้อยละ 11.04 ระบุว่า มีความเลื่อมใสและศรัทธาในหลักคำสอน/แก่นแท้ของพุทธศาสนาลดลง ร้อยละ 2.96 ระบุว่า มีความเลื่อมใสและศรัทธาในหลักคำสอน/แก่นแท้ของพุทธศาสนามากขึ้น ร้อยละ 0.88 ระบุว่า อยู่ที่ตัวบุคคล ดูเป็นรายกรณีไป และร้อยละ 2.24 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความเลื่อมใสและศรัทธาในตัวพระสงฆ์ จากกรณีที่พระสงฆ์มีข่าวฉาว หรือข่าวในภาพลบ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.68 ยังมีความเลื่อมใสและศรัทธาในตัวพระสงฆ์เหมือนเดิม/ไม่เปลี่ยนแปลง รองลงมา ร้อยละ 24.88มีความเลื่อมใสและศรัทธาในตัวพระสงฆ์ลดลง ร้อยละ 15.12 อยู่ที่ตัวบุคคล ดูเป็นรายกรณีไป ร้อยละ 1.60 มีความเลื่อมใสและศรัทธาในตัวพระสงฆ์มากขึ้น และร้อยละ 2.72 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการทำบุญทางศาสนา ที่ต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มหาเถรสมาคม กระทรวงศึกษาธิการ เข้ามาตรวจสอบแก้ไขอย่างเร่งด่วนมากที่สุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 20.40 ระบุว่า เป็นพฤติกรรมของพระสงฆ์ที่เรี่ยไรเงินบริจาคทำบุญในที่สาธารณะ รองลงมา ร้อยละ 16.16 ระบุว่า เป็นพฤติกรรมของพระสงฆ์หรือประชาชนที่หลอกลวงให้บริจาคเงินทำบุญ ร้อยละ 14.56 ระบุว่า เป็นการปลอมตัวเป็นพระสงฆ์ ร้อยละ 13.60 ระบุว่า วัดที่เน้นการทำบุญแบบพุทธพาณิชย์มากจนเกินไป ร้อยละ 9.28 ระบุว่า เป็นพฤติกรรมการแต่งกายที่ไม่เหมาะสมในการเข้าวัดทำบุญ ร้อยละ 3.44 ระบุว่า เป็นสังฆทานเวียน ร้อยละ 3.36 ระบุว่า เป็นการโยนเหรียญลงไปในบ่อที่มีสัตว์อาศัยอยู่ ร้อยละ 2.72 ระบุว่า เป็นการจับสัตว์มาเพื่อให้คนมาซื้อไปปล่อย ร้อยละ 1.60 ระบุอื่นๆ ได้แก่ การเช่าบูชาวัตถุ เครื่องลางของขลังในวัด การบิณฑบาตนอกเวลาของพระสงฆ์ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ทุกปัญหาที่กล่าวมา ร้อยละ 5.20 ระบุว่า ไม่มีปัญหาใดๆ และร้อยละ 9.68 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
• สปส. หยุดให้บริการสายด่วน 1506 ชั่วคราว พัฒนาระบบให้บริการรองรับไทยแลนด์ 4.0
นายสุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการสอดรับกับนโยบาย Thailand 4.0 สำนักงานประกันสังคมขอหยุดการให้บริการสายด่วน 1506 เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 2560 เป็นต้นไป เพื่อพัฒนาระบบการให้บริการสายด่วน 1506 ตอบสนองความต้องการของผู้ประกันตนและให้มีความทันสมัย รองรับ Social Media ทั้งนี้ระหว่างหยุดการให้บริการ นายจ้าง ผู้ประกันตนสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ และช่องทางออนไลน์ ได้แก่ Website สำนักประกันสังคม http://www.sso.go.th/Youtube/สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมกระทรวงแรงงาน ช่องทาง Social media และหมายเลขโทรศัพท์ ได้แก่ 0-2956-2539 ถึง 40 ในวันและเวลาราชการ
• กรมอนามัย จับมือภาคีเครือข่าย ร่วมยกระดับพัฒนาสุขอนามัยสามเณร 4.0
นายแพทย์ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยหลังเป็นประธานเปิดการประชุมพัฒนาสุขาภิบาลสุขอนามัยโรงเรียนพระปริยัติธรรม ในโครงการตามพระราชดำริ ภายใต้โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) ปีงบประมาณ 2560 ณ โรงแรมแพร่นครา อ.เมือง จ.แพร่ ว่า
กรมอนามัยได้มีส่วนร่วมจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมสุขภาพสามเณรโรงเรียนพระปริยัติธรรมตามแนวพระราชดำริ นำร่องโรงเรียนที่มีความพร้อม จังหวัดละ 1 แห่ง ตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา ร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุขพื้นที่จังหวัดเป้าหมายในการส่งเสริมโภชนาการที่เหมาะสมและบริหารกายตามวิถีสมณะ เพื่อลดภาวะอ้วนของสามเณร พร้อมสนับสนุนสื่อความรู้ โภชนาการสำหรับสามเณร แนวทางส่งเสริมโภชนาการ ข้อปฏิบัติสำหรับสามเณรที่มีภาวะโภชนาการเกิน
ดังนั้น กรมอนามัยจึงมีแนวคิดจะขยายผลในโรงเรียนอื่นอีกต่อไป และได้ทำการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำบริโภคในโรงเรียนและพัฒนาที่จำวัดของสามเณร ร่วมกับภาคีเครือข่ายด้วย และจัดทำโครงการพัฒนาสุขาภิบาลสุขอนามัยโรงเรียนพระปริยัติธรรมในโครงการตามพระราชดำริขึ้น
“สำหรับการประชุมในวันนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการสื่อสารความรู้ด้านสุขภาพ พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนางานด้านสุขภาพอนามัยสามเณรให้มีความชัดเจนและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนกำหนดแนวทางดำเนินงานร่วมกัน มุ่งให้สามเณรมีภาวะสุขภาพดีและพฤติกรรมที่พึงประสงค์อย่างยั่งยืน โดยมีกิจกรรมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “ยกระดับการพัฒนาสุขอนามัยสามเณร 4.0” ระหว่างฝ่ายโรงเรียนกับฝ่ายสาธารณสุขและภาคีเครือข่าย”
• ครั้งแรกในวงการจิตแพทย์ไทย กรมสุขภาพจิต พัฒนาสูตรเฉพาะการใช้สติบำบัด
นาวาอากาศตรี นายแพทย์ บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดรักษาผู้ป่วยทางจิตเวช ผู้ที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ และผู้ที่เสพสารเสพติด ซึ่งมีอยู่กว่า 7 ล้านคนทั่วประเทศ ให้ได้ผลดีที่สุด ลดการป่วยซ้ำ จึงได้พัฒนาจิตบำบัดที่เรียกว่าสติบำบัด เป็นสูตรเฉพาะของไทย ใช้บำบัดทางจิตใจแก่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล และผู้ป่วยติดสารเสพติดที่มีผู้ป่วยกว่า 240,000 คน ควบคู่กับการกินยา ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมตัวเองได้ดี ลดความเครียดลง นับเป็นครั้งแรกของวงการจิตแพทย์ไทย ซึ่งการรักษาแนวนี้เป็นที่ยอมรับของวงการจิตแพทย์ทั่วโลก ขณะนี้มีหลายประเทศเริ่มนำวิธีการรักษาของไทยไปใช้แล้ว เช่น เมียนมา ศรีลังกา แคนาดา และไต้หวัน
ทั้งนี้ ผลการวิจัยในต่างประเทศพบว่า การรักษาโรคซึมเศร้า วิตกกังวล การติดสารเสพติด และโรคบาดแผลทางใจหรือพีทีเอสดี (PTSD) ด้วยยา ควบคู่กับการบำบัดทางจิตใจด้วย ได้ผลดีมาก ป้องกันการป่วยซ้ำหรือเสพสารเสพติดซ้ำสูงถึงร้อยละ 70 แนวโน้มระยะยาวสามารถลดและหยุดการกินยาได้ จึงได้กำหนดให้เป็นมาตรฐานการรักษาผู้ป่วยประเภทนี้ในหลายประเทศ
กรมสุขภาพจิตได้วางแผนจะผลักดันการรักษาด้วยสติบำบัดที่พัฒนาขึ้นนี้ เข้าสู่ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการอย่างถ้วนหน้าต่อไป
• วัดชมภูเวกเปิดพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน เป็นแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชน
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดชมภูเวก จ.นนทบุรี เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมและเรียนรู้ประวัติความเป็นมาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชน โดยพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านแห่งนี้ ได้รวบรวมประวัติความเป็นมาของวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชนมอญบ้านท่าทรายและวัดชมภูเวก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
นายวิษณุกล่าวว่าโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีการแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 4 ห้อง ประกอบด้วย ประวัติความเป็นมาของชุมชนบ้านท่าทรายและวัดชมภูเวก โบราณสถานที่สำคัญของวัดชมภูเวก โบราณวัตถุที่สำคัญทางศาสนาของวัด และโบราณวัตถุที่สำคัญทางด้านชาติพันธุ์ของชุมชนวัดชมภูเวก
นอกจากนี้ ยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังภาพแม่พระธรณีบีบมวยผมที่มีความงดงาม และรอยพระพุทธบาทศิลา ที่ทำด้วยหินชนวน สร้างขึ้นสมัยสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 18 อายุประมาณ 760 ปี ที่รอยพระพุทธบาทจารึกภาษาขอมโบราณ เป็นจารึกหลักที่ 85 ที่กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้ รวมทั้งวรรณกรรมพื้นบ้าน อักษรมอญและภาษามอญ อายุกว่า 300 ปี
ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีเชื่อว่าวัตถุสิ่งของที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์เป็นของที่มีค่ากับประเทศ จึงหวังว่าในอนาคตจะพัฒนาไปจนถึงพิพิธภัณฑ์ระดับจังหวัดและประเทศต่อไป
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดชมภูเวกแห่งนี้ จะเปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. โดยไม่เสียค่าเข้าชมแต่อย่างใด
อนึ่ง วัดชมภูเวกเป็นวัดเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อปี 2517 และถือเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านโบราณสถานของจังหวัดนนทบุรี
สิ่งที่โดดเด่นและขึ้นชื่อของวัดชมภูเวกคือ ภาพเขียน “แม่พระธรณีบีบมวยผม” ในซุ้มเรือนแก้ว ตรงผนังหุ้มกลองหน้าพระประธานเหนือประตู ซึ่งเป็นภาพพุทธประวัติตอนมารผจญ ว่ากันว่ามีความวิจิตรงดงาม ด้วยลายเส้นอันอ่อนช้อย แสดงให้เห็นถึงศิลปะขั้นสูงฝีมือบรมครู เป็นภาพที่ให้ความรู้สึกเหนือธรรมชาติ ซึ่งจิตรกรของกรมศิลปากรต่างยกย่องให้เป็นแบบอย่าง “ภาพเขียนแม่พระธรณีที่งดงามที่สุดในโลก”
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 198 มิถุนายน 2560 โดย กองบรรณาธิการ)