“มือ” เป็นอวัยวะที่ทำงานหนักไม่แพ้ส่วนอื่นๆของร่างกาย เพราะต้องใช้งานหยิบจับโน่นนี่นั่นทั้งวันแทบไม่มีเวลาพัก แต่คนเรามักไม่ค่อยสนใจหรือให้ความเอาใจใส่มือมากนัก ทั้งๆที่หากใส่ใจมือกันสักนิด ก็อาจจะป้องกันโรคภัยต่างๆได้ เพราะ “มือ” ของเรานั้น สามารถชี้บอกโรคต่างๆได้อย่างน่าอัศจรรย์จริงๆ
ไม่เชื่อก็ลองใช้เวลาสัก 5 นาที สำรวจมือของตัวเองให้ทั่ว ว่าตรงกับข้อใดใน 12 ข้อนี้บ้าง
1. มือสั่น อาจเป็นโรคพาร์กินสัน
ถ้ามือของเราเกิดสั่นขึ้นมาอย่างควบคุมไม่ได้ อย่าเพิ่งตกใจ เพราะมีคำอธิบายง่ายๆอย่างหนึ่งถึงอาการมือสั่น นั่นคือ อาจเป็นเพราะเราบริโภคคาเฟอีนมากเกินไป หรือเป็นผลข้างเคียงของการกินยาบางชนิด รวมถึงยารักษาโรคหอบหืดและอาการซึมเศร้า
อย่างไรก็ตาม หากสิ่งที่กล่าวข้างต้นไม่ใช่สาเหตุ หรือมีอาการมือสั่นเพียงข้างเดียว และเกิดขึ้นบ่อย ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ เนื่องจากอาจจะเป็นอาการเบื้องต้นของโรคพาร์กินสัน ซึ่งเป็นความผิดปกติของระบบประสาท ที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหว ทำให้มือสั่นอย่างควบคุมไม่ได้
2. มือแห้งกร้าน คัน เป็นผื่นแดง
อาจเป็นโรคผิวหนังอักเสบ
หากการใช้โลชั่นทาผิว ไม่ช่วยให้มือที่หยาบกร้านดีขึ้นละก็ เราอาจเป็นโรคผิวหนังอักเสบ ที่ทำให้ผิวแห้ง คัน หรือเป็นผื่นแดง ลองปรึกษาแพทย์ ซึ่งอาจจะให้ยาขี้ผึ้งหรือครีมทามือ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง แต่หากแพทย์วินิจฉัยว่าไม่ใช่โรคผิวหนังอักเสบ เพียงแค่ใช้มอยเจอไรเซอร์ชนิดเข้มข้นที่มีวิตามินเอ ก็เพียงพอแล้ว
อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้มือแห้งได้ คือ การล้างมือบ่อยๆ รวมทั้งการสัมผัสกระดาษและวัตถุแข็งกระด้างตลอดทั้งวัน ยิ่งทำให้มือแห้งกร้านเป็นสองเท่า ดังนั้น ควรทาครีมวิตามินอีให้ทั่วมือก่อนนอน เนื้อครีมจะค่อยๆซึมเข้าสู่ผิวหนังขณะนอนหลับ
3. ผิวปลายนิ้วแตกและลอกเป็นขุย
อาจขาดวิตามินบี
หากผิวหนังบริเวณปลายนิ้วแตกเป็นสะเก็ด อาจเป็นเพราะร่างกายได้รับวิตามินบีไม่เพียงพอ เนื่องจากวิตามินบี อาทิ ไนอาซิน (วิตามินบี 3) และไบโอติน (วิตามินบี 7) มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพผิว
ไบโอตินช่วยให้ผิวหนังและเล็บมีสุขภาพดี ขณะที่ไนอาซินช่วยปกป้องและซ่อมแซมผิว ป้องกันการสร้างเม็ดสี กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน และรักษาสมดุลความชุ่มชื้นของผิวหนังตามธรรมชาติ เพราะฉะนั้น จึงควรรับประทานอาหารที่อุดมด้วยไบโอติน ได้แก่ ปลาทูน่า ไข่แดง ตับ ไต นม ผักและผลไม้สด และไนอาซิน ได้แก่ ปลา ถั่ว เห็ด เครื่องในสัตว์ ตำลึง ลูกพรุน เป็นประจำ
4. ผิวปลายนิ้วเป็นสีน้ำเงิน
อาจเป็นโรคเรเนาวด์
ผิวบริเวณปลายนิ้วที่เปลี่ยนจากสีซีดขาวเป็นสีน้ำเงินหรือสีแดงช้ำ อาจเป็นสัญญาณของโรคเรเนาด์ (Raynaud’s syndrome) ที่เส้นเลือดหดตัวชั่วคราว เลือดจึงไหลเวียนได้น้อยลง ส่งผลให้เย็นตามนิ้วมือนิ้วเท้า และอาจตามด้วยอาการปวด ชา และเสียว โดยสาเหตุการเกิดยังไม่ทราบแน่ชัด
การรักษาที่ดีที่สุด คือ สวมถุงมือ กินยาตามแพทย์สั่ง หลีกเลี่ยงอารมณ์เครียด ไม่สูบบุหรี่ และไม่อยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ
5. เล็บฉีกหรือเปราะ
อาจขาดธาตุสังกะสี
ถ้าเล็บของเราดูเปราะบางราวกับแก้วไวน์ นั่นอาจเป็นเพราะการขาดธาตุสังกะสี เนื่องจากสังกะสีช่วยให้เซลล์ผิวหนังเจริญเติบโตและได้รับการฟื้นฟู
ลองเพิ่มอาหารที่อุดมด้วยธาตุสังกะสี อาทิ หอยนางรม เนื้อสัตว์ ไก่ ไข่ นม อาหารทะเล จมูกข้าว ข้าวโอ๊ต ถั่ว เมล็ดฟักทอง ฯลฯ ในแต่ละมื้อ เพื่อช่วยให้เล็บแข็งแรงยิ่งขึ้น
6. เล็บนิ่ม เล็บเป็นริ้ว
อาจขาดโปรตีนและแคลเซียม
เล็บที่อ่อนนิ่มและงอได้ อาจเป็นเครื่องชี้ว่า ร่างกายขาดแคลเซียมหรือโปรตีน ซึ่งหนึ่งในสัญญาณภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ คือ เล็บเปราะ ผิวแห้งตกสะเก็ด หรือผมหยาบกระด้าง ขณะที่ภาวะขาดโปรดตีน จะทำให้เล็บเป็นริ้ว เป็นสัน
จึงควรกินอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียมหรือโปรตีน อาทิ เนื้อสัตว์ ไข่ นม ผักโขม คะน้า บรอคโคลี่ เต้าหู้ เมล็ดงา ถั่ว ปลาซาร์ดีน และหากอาการไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์
7. โคนเล็บสีขาว ปลายเล็บสีน้ำตาล
อาจเป็นโรคไตเรื้อรัง
เล็บที่ซีดขาวหรือโคนเล็บมีสีขาว อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงภาวะโลหิตจาง ซึ่งหมายถึงร่างกายขาดเม็ดเลือดแดงที่จะนำออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ อย่างเพียงพอ การตรวจเลือดเป็นประจำสามารถบ่งบอกภาวะโลหิตจางได้ ซึ่งแพทย์จะวินิจฉัยและรักษาด้วยการให้อาหารเสริมธาตุเหล็ก
แต่หากมองเห็นเส้นตรงสีดำบนเนื้อใต้เล็บละก็ ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากมันอาจเป็นสัญญาณเบื้องต้นของ “เมลาโนมา” มะเร็งผิวหนังชนิดหนึ่งที่พบไม่บ่อยนัก แค่ 1-3% ของมะเร็งผิวหนังทั้งหมด แต่กลับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตถึง 75% ของมะเร็งผิวหนังทั้งหมดเช่นกัน
นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยศึกษาในคนไข้โรคไตเรื้อรัง 100 คน พบว่า 36% ของคนไข้ มีเล็บ 2 สี คือ โคนเล็บสีขาว ปลายเล็บสีน้ำตาล ที่เป็นเช่นนี้อาจเกิดจากร่างกายขาดฮอร์โมนบางชนิด และภาวะโลหิตจางเรื้อรัง ซึ่งทั้งสองอย่างนี้เป็นลักษณะของโรคไตเรื้อรัง
8. มือมีรอยจุดสีน้ำตาล
อาจโดนแสงแดดนาน
รอยจุดสีน้ำตาลบนมือเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสี เมื่อโดนแสงแดดเป็นเวลานานๆ มักเกิดขึ้นในคนวัย 40 ปีขึ้นไป เพราะฉะนั้น อย่าลืมทามือด้วยครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูง ทุกครั้งที่ต้องออกแดดนานๆ ซึ่งจะช่วยให้ผิวชุ่มชื้น และบรรเทาริ้วรอยหยาบกร้านด้วย
9. ฝ่ามือมีเหงื่อออกมาก
อาจเป็นไทรอยด์ผิดปกติ
มือที่ชื้นมากเกินไป อาจเป็นอาการของภาวะหมดประจำเดือน ไทรอยด์ผิดปกติ และเหงื่อออกมาก ซึ่งทำให้ต่อมเหงื่อทำงานมากเกินไป จึงขับเหงื่อออกมากเกินความจำเป็น
ในคนส่วนใหญ่ที่มีอาการดังกล่าว จะขับเหงื่อออกจากร่างกายเพียง 1 หรือ 2 ช่องทาง เช่น ใต้รักแร้ ฝ่ามือหรือเท้า แพทย์อาจสั่งยาระงับเหงื่อสูตรเข้มข้น เพื่อลดการหลั่งเหงื่อ
10. ลายนิ้วมือ บอกความดันโลหิตสูง
ไม่น่าเชื่อว่า ลายนิ้วมือจะบ่งบอกถึงความดันโลหิตสูงได้ แต่เมื่อทีมวิจัยชาวอังกฤษศึกษาลายนิ้วมือจำนวน 139 ลาย พบว่า คนที่มีลายนิ้วมือเป็นวงก้นหอยบนนิ้วมือ 1 นิ้วหรือมากกว่า มักมีระดับความดันโลหิตสูงกว่าคนที่มีลายนิ้วมือโค้งหรือเป็นห่วง ยิ่งคนที่มีจำนวนนิ้วมือลายวงก้นหอยมากเท่าใด ยิ่งมีระดับความดันโลหิตสูงมากเท่านั้น
ทั้งนี้ ลายนิ้วมือวงก้นหอยเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงปัญหาการพัฒนาของทารกช่วงใดช่วงหนึ่งระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อระดับความดันโลหิตตอนโต
11. ความยาวนิ้วมือ บอกโรคข้ออักเสบ
เป็นเรื่องแปลกอีกเช่นกัน ที่ความยาวของนิ้วมือบอกถึงภาวะโรคข้ออักเสบ เพราะมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่เกี่ยวกับโรคข้ออักเสบและรูมาตอยด์ พบว่า ผู้หญิงที่มีนิ้วนางยาวกว่านิ้วชี้ ซึ่งโดยทั่วไปถือเป็นคุณลักษณะของผู้ชาย เสี่ยงเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมถึง 2 เท่า ทั้งนี้ ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำอาจเป็นสาเหตุ
นอกจากนี้ นิ้วนางที่ยาวกว่านิ้วชี้ยังส่งผลต่อความสามารถด้านกีฬา และการพูดจาก้าวร้าว มากกว่าทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ที่สำคัญ นิ้วนางที่ยาวกว่านิ้วชี้มากๆในผู้ชายนั้น มีความเชื่อมโยงกับการมีบุตรมากกว่า และมีสัมพันธภาพกับผู้หญิงดีกว่า แต่ก็มีความเสี่ยงสูงกว่าที่จะเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากเช่นกัน
12. กำมือได้แน่น บอกถึงสุขภาพหัวใจดี
มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ศึกษาในผู้ใหญ่เกือบ 140,000 คนใน 17 ประเทศ พบว่า การกำมือไม่แน่น บอกถึงความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหัวใจวายหรือภาวะเส้นเลือดสมองอุดตัน โอกาสรอดตายจึงต่ำ
ความแข็งแรงของกำมือ ถือเป็นตัวพยากรณ์ความตายได้แม่นยำกว่าระดับความดันโลหิต นักวิจัยเผยว่า ความแข็งแรงของกำมือเป็นตัวบอกความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ และสมรรถภาพทางกายได้เป็นอย่างดี จึงได้แนะนำให้ออกกำลังกายแบบฝึกกล้ามเนื้อและแอโรบิก เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 198 มิถุนายน 2560 โดย เบญญา)
ไม่เชื่อก็ลองใช้เวลาสัก 5 นาที สำรวจมือของตัวเองให้ทั่ว ว่าตรงกับข้อใดใน 12 ข้อนี้บ้าง
1. มือสั่น อาจเป็นโรคพาร์กินสัน
ถ้ามือของเราเกิดสั่นขึ้นมาอย่างควบคุมไม่ได้ อย่าเพิ่งตกใจ เพราะมีคำอธิบายง่ายๆอย่างหนึ่งถึงอาการมือสั่น นั่นคือ อาจเป็นเพราะเราบริโภคคาเฟอีนมากเกินไป หรือเป็นผลข้างเคียงของการกินยาบางชนิด รวมถึงยารักษาโรคหอบหืดและอาการซึมเศร้า
อย่างไรก็ตาม หากสิ่งที่กล่าวข้างต้นไม่ใช่สาเหตุ หรือมีอาการมือสั่นเพียงข้างเดียว และเกิดขึ้นบ่อย ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ เนื่องจากอาจจะเป็นอาการเบื้องต้นของโรคพาร์กินสัน ซึ่งเป็นความผิดปกติของระบบประสาท ที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหว ทำให้มือสั่นอย่างควบคุมไม่ได้
2. มือแห้งกร้าน คัน เป็นผื่นแดง
อาจเป็นโรคผิวหนังอักเสบ
หากการใช้โลชั่นทาผิว ไม่ช่วยให้มือที่หยาบกร้านดีขึ้นละก็ เราอาจเป็นโรคผิวหนังอักเสบ ที่ทำให้ผิวแห้ง คัน หรือเป็นผื่นแดง ลองปรึกษาแพทย์ ซึ่งอาจจะให้ยาขี้ผึ้งหรือครีมทามือ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง แต่หากแพทย์วินิจฉัยว่าไม่ใช่โรคผิวหนังอักเสบ เพียงแค่ใช้มอยเจอไรเซอร์ชนิดเข้มข้นที่มีวิตามินเอ ก็เพียงพอแล้ว
อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้มือแห้งได้ คือ การล้างมือบ่อยๆ รวมทั้งการสัมผัสกระดาษและวัตถุแข็งกระด้างตลอดทั้งวัน ยิ่งทำให้มือแห้งกร้านเป็นสองเท่า ดังนั้น ควรทาครีมวิตามินอีให้ทั่วมือก่อนนอน เนื้อครีมจะค่อยๆซึมเข้าสู่ผิวหนังขณะนอนหลับ
3. ผิวปลายนิ้วแตกและลอกเป็นขุย
อาจขาดวิตามินบี
หากผิวหนังบริเวณปลายนิ้วแตกเป็นสะเก็ด อาจเป็นเพราะร่างกายได้รับวิตามินบีไม่เพียงพอ เนื่องจากวิตามินบี อาทิ ไนอาซิน (วิตามินบี 3) และไบโอติน (วิตามินบี 7) มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพผิว
ไบโอตินช่วยให้ผิวหนังและเล็บมีสุขภาพดี ขณะที่ไนอาซินช่วยปกป้องและซ่อมแซมผิว ป้องกันการสร้างเม็ดสี กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน และรักษาสมดุลความชุ่มชื้นของผิวหนังตามธรรมชาติ เพราะฉะนั้น จึงควรรับประทานอาหารที่อุดมด้วยไบโอติน ได้แก่ ปลาทูน่า ไข่แดง ตับ ไต นม ผักและผลไม้สด และไนอาซิน ได้แก่ ปลา ถั่ว เห็ด เครื่องในสัตว์ ตำลึง ลูกพรุน เป็นประจำ
4. ผิวปลายนิ้วเป็นสีน้ำเงิน
อาจเป็นโรคเรเนาวด์
ผิวบริเวณปลายนิ้วที่เปลี่ยนจากสีซีดขาวเป็นสีน้ำเงินหรือสีแดงช้ำ อาจเป็นสัญญาณของโรคเรเนาด์ (Raynaud’s syndrome) ที่เส้นเลือดหดตัวชั่วคราว เลือดจึงไหลเวียนได้น้อยลง ส่งผลให้เย็นตามนิ้วมือนิ้วเท้า และอาจตามด้วยอาการปวด ชา และเสียว โดยสาเหตุการเกิดยังไม่ทราบแน่ชัด
การรักษาที่ดีที่สุด คือ สวมถุงมือ กินยาตามแพทย์สั่ง หลีกเลี่ยงอารมณ์เครียด ไม่สูบบุหรี่ และไม่อยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ
5. เล็บฉีกหรือเปราะ
อาจขาดธาตุสังกะสี
ถ้าเล็บของเราดูเปราะบางราวกับแก้วไวน์ นั่นอาจเป็นเพราะการขาดธาตุสังกะสี เนื่องจากสังกะสีช่วยให้เซลล์ผิวหนังเจริญเติบโตและได้รับการฟื้นฟู
ลองเพิ่มอาหารที่อุดมด้วยธาตุสังกะสี อาทิ หอยนางรม เนื้อสัตว์ ไก่ ไข่ นม อาหารทะเล จมูกข้าว ข้าวโอ๊ต ถั่ว เมล็ดฟักทอง ฯลฯ ในแต่ละมื้อ เพื่อช่วยให้เล็บแข็งแรงยิ่งขึ้น
6. เล็บนิ่ม เล็บเป็นริ้ว
อาจขาดโปรตีนและแคลเซียม
เล็บที่อ่อนนิ่มและงอได้ อาจเป็นเครื่องชี้ว่า ร่างกายขาดแคลเซียมหรือโปรตีน ซึ่งหนึ่งในสัญญาณภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ คือ เล็บเปราะ ผิวแห้งตกสะเก็ด หรือผมหยาบกระด้าง ขณะที่ภาวะขาดโปรดตีน จะทำให้เล็บเป็นริ้ว เป็นสัน
จึงควรกินอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียมหรือโปรตีน อาทิ เนื้อสัตว์ ไข่ นม ผักโขม คะน้า บรอคโคลี่ เต้าหู้ เมล็ดงา ถั่ว ปลาซาร์ดีน และหากอาการไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์
7. โคนเล็บสีขาว ปลายเล็บสีน้ำตาล
อาจเป็นโรคไตเรื้อรัง
เล็บที่ซีดขาวหรือโคนเล็บมีสีขาว อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงภาวะโลหิตจาง ซึ่งหมายถึงร่างกายขาดเม็ดเลือดแดงที่จะนำออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ อย่างเพียงพอ การตรวจเลือดเป็นประจำสามารถบ่งบอกภาวะโลหิตจางได้ ซึ่งแพทย์จะวินิจฉัยและรักษาด้วยการให้อาหารเสริมธาตุเหล็ก
แต่หากมองเห็นเส้นตรงสีดำบนเนื้อใต้เล็บละก็ ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากมันอาจเป็นสัญญาณเบื้องต้นของ “เมลาโนมา” มะเร็งผิวหนังชนิดหนึ่งที่พบไม่บ่อยนัก แค่ 1-3% ของมะเร็งผิวหนังทั้งหมด แต่กลับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตถึง 75% ของมะเร็งผิวหนังทั้งหมดเช่นกัน
นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยศึกษาในคนไข้โรคไตเรื้อรัง 100 คน พบว่า 36% ของคนไข้ มีเล็บ 2 สี คือ โคนเล็บสีขาว ปลายเล็บสีน้ำตาล ที่เป็นเช่นนี้อาจเกิดจากร่างกายขาดฮอร์โมนบางชนิด และภาวะโลหิตจางเรื้อรัง ซึ่งทั้งสองอย่างนี้เป็นลักษณะของโรคไตเรื้อรัง
8. มือมีรอยจุดสีน้ำตาล
อาจโดนแสงแดดนาน
รอยจุดสีน้ำตาลบนมือเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสี เมื่อโดนแสงแดดเป็นเวลานานๆ มักเกิดขึ้นในคนวัย 40 ปีขึ้นไป เพราะฉะนั้น อย่าลืมทามือด้วยครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูง ทุกครั้งที่ต้องออกแดดนานๆ ซึ่งจะช่วยให้ผิวชุ่มชื้น และบรรเทาริ้วรอยหยาบกร้านด้วย
9. ฝ่ามือมีเหงื่อออกมาก
อาจเป็นไทรอยด์ผิดปกติ
มือที่ชื้นมากเกินไป อาจเป็นอาการของภาวะหมดประจำเดือน ไทรอยด์ผิดปกติ และเหงื่อออกมาก ซึ่งทำให้ต่อมเหงื่อทำงานมากเกินไป จึงขับเหงื่อออกมากเกินความจำเป็น
ในคนส่วนใหญ่ที่มีอาการดังกล่าว จะขับเหงื่อออกจากร่างกายเพียง 1 หรือ 2 ช่องทาง เช่น ใต้รักแร้ ฝ่ามือหรือเท้า แพทย์อาจสั่งยาระงับเหงื่อสูตรเข้มข้น เพื่อลดการหลั่งเหงื่อ
10. ลายนิ้วมือ บอกความดันโลหิตสูง
ไม่น่าเชื่อว่า ลายนิ้วมือจะบ่งบอกถึงความดันโลหิตสูงได้ แต่เมื่อทีมวิจัยชาวอังกฤษศึกษาลายนิ้วมือจำนวน 139 ลาย พบว่า คนที่มีลายนิ้วมือเป็นวงก้นหอยบนนิ้วมือ 1 นิ้วหรือมากกว่า มักมีระดับความดันโลหิตสูงกว่าคนที่มีลายนิ้วมือโค้งหรือเป็นห่วง ยิ่งคนที่มีจำนวนนิ้วมือลายวงก้นหอยมากเท่าใด ยิ่งมีระดับความดันโลหิตสูงมากเท่านั้น
ทั้งนี้ ลายนิ้วมือวงก้นหอยเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงปัญหาการพัฒนาของทารกช่วงใดช่วงหนึ่งระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อระดับความดันโลหิตตอนโต
11. ความยาวนิ้วมือ บอกโรคข้ออักเสบ
เป็นเรื่องแปลกอีกเช่นกัน ที่ความยาวของนิ้วมือบอกถึงภาวะโรคข้ออักเสบ เพราะมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่เกี่ยวกับโรคข้ออักเสบและรูมาตอยด์ พบว่า ผู้หญิงที่มีนิ้วนางยาวกว่านิ้วชี้ ซึ่งโดยทั่วไปถือเป็นคุณลักษณะของผู้ชาย เสี่ยงเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมถึง 2 เท่า ทั้งนี้ ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำอาจเป็นสาเหตุ
นอกจากนี้ นิ้วนางที่ยาวกว่านิ้วชี้ยังส่งผลต่อความสามารถด้านกีฬา และการพูดจาก้าวร้าว มากกว่าทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ที่สำคัญ นิ้วนางที่ยาวกว่านิ้วชี้มากๆในผู้ชายนั้น มีความเชื่อมโยงกับการมีบุตรมากกว่า และมีสัมพันธภาพกับผู้หญิงดีกว่า แต่ก็มีความเสี่ยงสูงกว่าที่จะเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากเช่นกัน
12. กำมือได้แน่น บอกถึงสุขภาพหัวใจดี
มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ศึกษาในผู้ใหญ่เกือบ 140,000 คนใน 17 ประเทศ พบว่า การกำมือไม่แน่น บอกถึงความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหัวใจวายหรือภาวะเส้นเลือดสมองอุดตัน โอกาสรอดตายจึงต่ำ
ความแข็งแรงของกำมือ ถือเป็นตัวพยากรณ์ความตายได้แม่นยำกว่าระดับความดันโลหิต นักวิจัยเผยว่า ความแข็งแรงของกำมือเป็นตัวบอกความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ และสมรรถภาพทางกายได้เป็นอย่างดี จึงได้แนะนำให้ออกกำลังกายแบบฝึกกล้ามเนื้อและแอโรบิก เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 198 มิถุนายน 2560 โดย เบญญา)