• อาหารชนิดไหน เค็มสุดๆ
รู้กันอยู่ว่า “เค็ม” กับ “ไต” เป็นศัตรูกัน ถ้ารู้ว่าอาหารใด “เค็ม” ก็ควรเลี่ยงซะ ไตจะได้ไม่เสีย แต่อาหารอะไรล่ะ “เค็ม” ที่สุด ล่าสุดมีการจัดอันดับแล้ว
รายงานจากหน่วยงานของสหรัฐอเมริกา จัดอันดับอาหารเค็มไว้ดังนี้ อันดับ 1 ขนมปัง รองลงมาคือ พิซซ่า แซนด์วิช อาหารเนื้อตัดเย็น (ชีส ไส้กรอก แฮม เนื้อบด ฯลฯ กินเย็นได้เลย จึงต้องใส่เกลือเพื่อไม่ให้เสียง่าย) และซุป
แต่ที่น่าแปลกใจคือ พวกมันฝรั่งทอด เพรทเซล ของว่างคลุกเกลือ อย่างพวกถั่วอบกรอบ ขนมถุง ไม่ติดอันดับ 1 ใน 5 แต่หล่นไปอยู่อันดับ 7 ซึ่งก็ยังถือว่าอันตรายต่อไตและความดันโลหิต
สำหรับไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ให้ข้อมูลว่าปี 2555-2558 คนไทยได้รับเกลือ/โซเดียมมากที่สุด จากผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป ได้แก่ กลุ่มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มีเกลือ 1,000-2,000 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค เท่ากับปริมาณสูงสุดที่แนะนำต่อวัน รองลงมาคืออาหารแช่เย็นแช่แข็ง มีเกลือ 400-1,500 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค
นอกจากนี้ พวกน้ำจิ้มก็เป็นแหล่งความเค็มที่ผู้บริโภคควรลดปริมาณ จากการสำรวจของ ผศ.วันทนีย์ เกรียงสินยศ นักวิชาการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล สำรวจพบเกลือ/โซเดียมในน้ำจิ้มปริมาณสูง อันดับ 1 น้ำจิ้มกุยช่าย แค่ 1 ช้อนโต๊ะ ก็มีเกลือประมาณ 428 มิลลิกรัม อันดับรอง คือ น้ำจิ้มข้าวหมกไก่ น้ำจิ้มข้าวมันไก่ น้ำจิ้มสุกี้ น้ำราดข้าวหมูแดง และน้ำจิ้มหมูสะเต๊ะ
พิจารณาอาหารสักนิด ลดเค็มอีกสักหน่อย จะได้ลดการทำงานของไตให้แข็งแรงไปนานๆ
• “ออกกำลังกาย” ช่วยยืดเวลา รอดชีวิตจากมะเร็งเต้านม
มีงานวิจัยจากแคนาดาชี้ว่า ในบรรดาการเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ทั้งหลายหลังจากเป็นมะเร็งเต้านมนั้น การออกกำลังกายเป็นวิธีที่ดีที่สุด และควรทำเป็นนิสัย
โดยผู้วิจัยนำบทความเกือบ 70 ชิ้น ที่ชี้ว่าการเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ อาจส่งผลต่อความเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นมะเร็งเต้านมซ้ำอีก รวมถึงโอกาสรอดชีวิตหลังจากเป็นมะเร็ง มาศึกษาอีกครั้ง พบว่า การทำกิจกรรมที่ร่างกายได้เคลื่อนไหวออกแรง กล้ามเนื้อมีการหดตัว และใช้พลังงาน โดยทำเป็นประจำสม่ำเสมอนั้น สามารถลดอัตราการตายจากมะเร็งเต้านมได้เกือบ 40% เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้ออกกำลังกาย
นอกจากนี้ การออกกำลังกายยังมีประโยชน์อื่นๆอีกมาก เช่น ช่วยรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม (ซึ่งช่วยลดการกลับมาเป็นมะเร็งซ้ำอีกทางหนึ่งด้วย) และช่วยลดผลข้างเคียงที่เกิดจากการรักษามะเร็งเต้านม เช่น การให้เคมีบำบัด การฉายรังสี และการให้ฮอร์โมนบำบัด ได้เล็กน้อย
ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ไม่ว่าจะเพิ่งเป็นหรือรักษาจนรอดชีวิตมาได้ จำเป็นต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และระมัดระวังอย่าให้น้ำหนักตัวเพิ่ม การปล่อยให้น้ำหนักตัวเพิ่มในระหว่างหรือภายหลังการรักษา ทำให้เกิดความเสี่ยง เพิ่มโอกาสกลับมาเป็นซ้ำอีก และอัตราการรอดชีวิตจะลดลงด้วย
• วิ่งมาราธอน ทำให้ไตบาดเจ็บได้นะ
รายงานการวิจัยซึ่งมหาวิทยาลัยเยลทำร่วมกับหลายหน่วยงาน ระบุว่า ไตจะบาดเจ็บช่วงสั้นๆ หลังการวิ่งมาราธอน แล้วจะกลับฟื้นตัวในสองวัน แต่นักวิจัยยังกังวลถึงผลระยะยาว โดยเฉพาะตอนนี้เป็นกีฬาที่คนเริ่มนิยม
American Journal of Kidney Diseases ได้ตีพิมพ์งานวิจัยของศาสตราจารย์นายแพทย์ชีรัก ปาริกข์ ซึ่งศึกษาผู้เข้าร่วมงานมาราธอนฮาร์ทฟอร์ด ปี 2558 โดยเก็บตัวอย่างเลือดและปัสสาวะ ช่วงก่อนและหลังการวิ่งระยะ 26.2 ไมล์ พบว่า ไตเกิดอาการบาดเจ็บ มีความผิดปกติทั้งระดับซีรั่มครีเอทินีน เซลล์ตับ และโปรตีนในปัสสาวะ
โดยหลังการแข่งขัน ร้อยละ 82 พบไตบาดเจ็บฉับพลันระดับ 1 คือไตไม่สามารถกรองของเสียจากเลือด ซึ่งอาจจะเป็นผลจากอุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้น การขาดน้ำ การไหลเวียนของเลือดสู่ไตลดน้อยลงในระหว่างการวิ่ง
ปัจจัยเหล่านี้จะรุนแรงขึ้นในสภาพอากาศร้อน ทีมงานวิจัยจึงเห็นว่าควรศึกษาเพิ่มขึ้น เพราะเกรงผลต่อเนื่องหากไตบาดเจ็บบ่อยๆ บรรดานักวิ่งก็อย่าลืมจิบน้ำบ่อยๆ เพื่อช่วยลดการขาดน้ำ และรีบฟื้นฟูร่างกายทันทีหลังการวิ่ง
• กินส้ม + แสงแดด = ผื่นแพ้?
คนเป็นผื่นแพ้ อาจจะเกิดจากความผิดปกติของผิวหนังเอง หรือเกิดจากผลข้างเคียงของยาบางชนิด แต่ไม่ค่อยมีใครคิดถึงของใกล้ตัวหลายอย่างที่เป็นตัวกระตุ้น โดยเฉพาะในหน้าร้อน อย่างเช่นกินส้มแล้วถูกแดด ก็จะเกิดผื่นแพ้
ดร.จูเลียน เทรวิโน ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง สถาบันโรคผิวของสหรัฐอเมริกา เตือนว่า ตัวกระตุ้นผื่นแพ้แสงที่สำคัญคือ รังสียูวีในแสงแดด ที่ทำปฏิกิริยากับสารบางอย่างในเครื่องสำอางหรืออาหาร เช่น พวกส้ม มะนาว พริก ฮอร์เรดิช(ใส่ในซอสอาหารทะเล) หรือส่วนผสมในเครื่องดื่ม เช่น มาการิต้า หรือเบียร์ผสมมะนาว คนที่ชอบจิบเครื่องดื่มพวกนี้ตอนนั่งริมสระหรือริมหาด อาจจะเกิดผื่นแพ้ตัวแดงก็ได้นะ
วิธีป้องกันการแพ้ คือ ทาครีมกันแดด หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสเปรี้ยวและรสจัด หรือหลังกินอาหารเครื่องดื่มรสเปรี้ยวและถูกแดดมา ให้อาบน้ำล้างตัว แล้วทาครีมกันแดดใหม่
• “ปวดท้อง” ไม่ต้องกินยาก็ได้เหรอ
อาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ลำไส้แปรปรวน โรคทางเดินอาหารอักเสบโครห์น กรดไหลย้อนและปวดท้องส่วนบน ที่ไม่พบความผิดปกติของร่างกายหรือลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง พวกนี้ไม่ต้องพึ่งยาก็ได้ ถ้าใจแข็งแรงพอ เพราะส่วนใหญ่มีสาเหตุจากใจที่แบกรับความเครียดมากไป
แพทย์หญิง ดร.ซาราห์ คินซิงเกอร์ นักจิตวิทยาสุขภาพของมหาวิทยาลัยไมอามี สหรัฐอเมริกา ผู้เชี่ยวชาญด้านความผิดปกติของทางเดินอาหาร บอกว่า สมองและทางเดินอาหารมีความสัมพันธ์กัน ความเครียดในชีวิตประจำวันทำให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารผิดปกติ เมื่อรักษาด้วยพฤติกรรมบำบัด เช่น การปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม เพื่อให้เกิดการผ่อนคลาย การควบคุมการหายใจ ให้ท้องป่องเมื่อหายใจเข้า และท้องแฟบเมื่อหายใจออก รวมไปถึงการสะกดจิต พบว่าหลายคนมีอาการดีขึ้นกว่าการใช้ยาเสียอีก
อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมบำบัดไม่ใช่การรักษาโรค แต่จะช่วยบรรเทาอาการ และทำให้ร่างกายปรับตัวเองโดยเฉพาะกรณีเพิ่งเริ่มมีอาการ แต่คนที่จำเป็นต้องพึ่งยา ก็ใช้พฤติกรรมบำบัดร่วมด้วยได้
ใครที่ดูแลตัวเองได้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเอง และลดความเครียดเองได้ ก็ไม่จำเป็นต้องให้แพทย์ช่วยบำบัด ลงมือจัดการกับความเครียดเองได้เลย
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 198 มิถุนายน 2560 โดย ธาราทิพย์)
รู้กันอยู่ว่า “เค็ม” กับ “ไต” เป็นศัตรูกัน ถ้ารู้ว่าอาหารใด “เค็ม” ก็ควรเลี่ยงซะ ไตจะได้ไม่เสีย แต่อาหารอะไรล่ะ “เค็ม” ที่สุด ล่าสุดมีการจัดอันดับแล้ว
รายงานจากหน่วยงานของสหรัฐอเมริกา จัดอันดับอาหารเค็มไว้ดังนี้ อันดับ 1 ขนมปัง รองลงมาคือ พิซซ่า แซนด์วิช อาหารเนื้อตัดเย็น (ชีส ไส้กรอก แฮม เนื้อบด ฯลฯ กินเย็นได้เลย จึงต้องใส่เกลือเพื่อไม่ให้เสียง่าย) และซุป
แต่ที่น่าแปลกใจคือ พวกมันฝรั่งทอด เพรทเซล ของว่างคลุกเกลือ อย่างพวกถั่วอบกรอบ ขนมถุง ไม่ติดอันดับ 1 ใน 5 แต่หล่นไปอยู่อันดับ 7 ซึ่งก็ยังถือว่าอันตรายต่อไตและความดันโลหิต
สำหรับไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ให้ข้อมูลว่าปี 2555-2558 คนไทยได้รับเกลือ/โซเดียมมากที่สุด จากผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป ได้แก่ กลุ่มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มีเกลือ 1,000-2,000 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค เท่ากับปริมาณสูงสุดที่แนะนำต่อวัน รองลงมาคืออาหารแช่เย็นแช่แข็ง มีเกลือ 400-1,500 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค
นอกจากนี้ พวกน้ำจิ้มก็เป็นแหล่งความเค็มที่ผู้บริโภคควรลดปริมาณ จากการสำรวจของ ผศ.วันทนีย์ เกรียงสินยศ นักวิชาการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล สำรวจพบเกลือ/โซเดียมในน้ำจิ้มปริมาณสูง อันดับ 1 น้ำจิ้มกุยช่าย แค่ 1 ช้อนโต๊ะ ก็มีเกลือประมาณ 428 มิลลิกรัม อันดับรอง คือ น้ำจิ้มข้าวหมกไก่ น้ำจิ้มข้าวมันไก่ น้ำจิ้มสุกี้ น้ำราดข้าวหมูแดง และน้ำจิ้มหมูสะเต๊ะ
พิจารณาอาหารสักนิด ลดเค็มอีกสักหน่อย จะได้ลดการทำงานของไตให้แข็งแรงไปนานๆ
• “ออกกำลังกาย” ช่วยยืดเวลา รอดชีวิตจากมะเร็งเต้านม
มีงานวิจัยจากแคนาดาชี้ว่า ในบรรดาการเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ทั้งหลายหลังจากเป็นมะเร็งเต้านมนั้น การออกกำลังกายเป็นวิธีที่ดีที่สุด และควรทำเป็นนิสัย
โดยผู้วิจัยนำบทความเกือบ 70 ชิ้น ที่ชี้ว่าการเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ อาจส่งผลต่อความเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นมะเร็งเต้านมซ้ำอีก รวมถึงโอกาสรอดชีวิตหลังจากเป็นมะเร็ง มาศึกษาอีกครั้ง พบว่า การทำกิจกรรมที่ร่างกายได้เคลื่อนไหวออกแรง กล้ามเนื้อมีการหดตัว และใช้พลังงาน โดยทำเป็นประจำสม่ำเสมอนั้น สามารถลดอัตราการตายจากมะเร็งเต้านมได้เกือบ 40% เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้ออกกำลังกาย
นอกจากนี้ การออกกำลังกายยังมีประโยชน์อื่นๆอีกมาก เช่น ช่วยรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม (ซึ่งช่วยลดการกลับมาเป็นมะเร็งซ้ำอีกทางหนึ่งด้วย) และช่วยลดผลข้างเคียงที่เกิดจากการรักษามะเร็งเต้านม เช่น การให้เคมีบำบัด การฉายรังสี และการให้ฮอร์โมนบำบัด ได้เล็กน้อย
ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ไม่ว่าจะเพิ่งเป็นหรือรักษาจนรอดชีวิตมาได้ จำเป็นต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และระมัดระวังอย่าให้น้ำหนักตัวเพิ่ม การปล่อยให้น้ำหนักตัวเพิ่มในระหว่างหรือภายหลังการรักษา ทำให้เกิดความเสี่ยง เพิ่มโอกาสกลับมาเป็นซ้ำอีก และอัตราการรอดชีวิตจะลดลงด้วย
• วิ่งมาราธอน ทำให้ไตบาดเจ็บได้นะ
รายงานการวิจัยซึ่งมหาวิทยาลัยเยลทำร่วมกับหลายหน่วยงาน ระบุว่า ไตจะบาดเจ็บช่วงสั้นๆ หลังการวิ่งมาราธอน แล้วจะกลับฟื้นตัวในสองวัน แต่นักวิจัยยังกังวลถึงผลระยะยาว โดยเฉพาะตอนนี้เป็นกีฬาที่คนเริ่มนิยม
American Journal of Kidney Diseases ได้ตีพิมพ์งานวิจัยของศาสตราจารย์นายแพทย์ชีรัก ปาริกข์ ซึ่งศึกษาผู้เข้าร่วมงานมาราธอนฮาร์ทฟอร์ด ปี 2558 โดยเก็บตัวอย่างเลือดและปัสสาวะ ช่วงก่อนและหลังการวิ่งระยะ 26.2 ไมล์ พบว่า ไตเกิดอาการบาดเจ็บ มีความผิดปกติทั้งระดับซีรั่มครีเอทินีน เซลล์ตับ และโปรตีนในปัสสาวะ
โดยหลังการแข่งขัน ร้อยละ 82 พบไตบาดเจ็บฉับพลันระดับ 1 คือไตไม่สามารถกรองของเสียจากเลือด ซึ่งอาจจะเป็นผลจากอุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้น การขาดน้ำ การไหลเวียนของเลือดสู่ไตลดน้อยลงในระหว่างการวิ่ง
ปัจจัยเหล่านี้จะรุนแรงขึ้นในสภาพอากาศร้อน ทีมงานวิจัยจึงเห็นว่าควรศึกษาเพิ่มขึ้น เพราะเกรงผลต่อเนื่องหากไตบาดเจ็บบ่อยๆ บรรดานักวิ่งก็อย่าลืมจิบน้ำบ่อยๆ เพื่อช่วยลดการขาดน้ำ และรีบฟื้นฟูร่างกายทันทีหลังการวิ่ง
• กินส้ม + แสงแดด = ผื่นแพ้?
คนเป็นผื่นแพ้ อาจจะเกิดจากความผิดปกติของผิวหนังเอง หรือเกิดจากผลข้างเคียงของยาบางชนิด แต่ไม่ค่อยมีใครคิดถึงของใกล้ตัวหลายอย่างที่เป็นตัวกระตุ้น โดยเฉพาะในหน้าร้อน อย่างเช่นกินส้มแล้วถูกแดด ก็จะเกิดผื่นแพ้
ดร.จูเลียน เทรวิโน ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง สถาบันโรคผิวของสหรัฐอเมริกา เตือนว่า ตัวกระตุ้นผื่นแพ้แสงที่สำคัญคือ รังสียูวีในแสงแดด ที่ทำปฏิกิริยากับสารบางอย่างในเครื่องสำอางหรืออาหาร เช่น พวกส้ม มะนาว พริก ฮอร์เรดิช(ใส่ในซอสอาหารทะเล) หรือส่วนผสมในเครื่องดื่ม เช่น มาการิต้า หรือเบียร์ผสมมะนาว คนที่ชอบจิบเครื่องดื่มพวกนี้ตอนนั่งริมสระหรือริมหาด อาจจะเกิดผื่นแพ้ตัวแดงก็ได้นะ
วิธีป้องกันการแพ้ คือ ทาครีมกันแดด หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสเปรี้ยวและรสจัด หรือหลังกินอาหารเครื่องดื่มรสเปรี้ยวและถูกแดดมา ให้อาบน้ำล้างตัว แล้วทาครีมกันแดดใหม่
• “ปวดท้อง” ไม่ต้องกินยาก็ได้เหรอ
อาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ลำไส้แปรปรวน โรคทางเดินอาหารอักเสบโครห์น กรดไหลย้อนและปวดท้องส่วนบน ที่ไม่พบความผิดปกติของร่างกายหรือลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง พวกนี้ไม่ต้องพึ่งยาก็ได้ ถ้าใจแข็งแรงพอ เพราะส่วนใหญ่มีสาเหตุจากใจที่แบกรับความเครียดมากไป
แพทย์หญิง ดร.ซาราห์ คินซิงเกอร์ นักจิตวิทยาสุขภาพของมหาวิทยาลัยไมอามี สหรัฐอเมริกา ผู้เชี่ยวชาญด้านความผิดปกติของทางเดินอาหาร บอกว่า สมองและทางเดินอาหารมีความสัมพันธ์กัน ความเครียดในชีวิตประจำวันทำให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารผิดปกติ เมื่อรักษาด้วยพฤติกรรมบำบัด เช่น การปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม เพื่อให้เกิดการผ่อนคลาย การควบคุมการหายใจ ให้ท้องป่องเมื่อหายใจเข้า และท้องแฟบเมื่อหายใจออก รวมไปถึงการสะกดจิต พบว่าหลายคนมีอาการดีขึ้นกว่าการใช้ยาเสียอีก
อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมบำบัดไม่ใช่การรักษาโรค แต่จะช่วยบรรเทาอาการ และทำให้ร่างกายปรับตัวเองโดยเฉพาะกรณีเพิ่งเริ่มมีอาการ แต่คนที่จำเป็นต้องพึ่งยา ก็ใช้พฤติกรรมบำบัดร่วมด้วยได้
ใครที่ดูแลตัวเองได้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเอง และลดความเครียดเองได้ ก็ไม่จำเป็นต้องให้แพทย์ช่วยบำบัด ลงมือจัดการกับความเครียดเองได้เลย
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 198 มิถุนายน 2560 โดย ธาราทิพย์)