xs
xsm
sm
md
lg

เหตุเกิด 450 ปีก่อน.. พระเจ้าบุเรงนองจำใจไปร่วมพระเจ้าไซเสดถาฯ สมโภช "พระอินแปง" ในเวียงจันทน์ พระพุทธรูปล้านช้างงดงามยิ่ง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>ภาพในเฟซบุ๊กที่ระบุวันถ่าย 26 พ.ค.2560 แสดงให้เห็นคนครอบครัวหนึ่ง กับพระสงฆ์ภายในพระอุโบสถ วัดเสนาสาสนรามราชวรวิหาร จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมี พระเจ้าอินแปง ประดิษฐานเป็นองค์พระประธาน นี่คือพระพุทธูปองค์เดียวกันกับที่ เมื่อ 447-448 ปีก่อนโน้น พระเจ้าบุเรงนองจากกรุงหงสาวดี เคยเสด็จข้ามแม่น้ำโขง ไปร่วมพิธีสมโภชตาม คำเชิญของพระเจ้าไซเสดถาทิลาด นั่นคือเหตุการณ์อันแสนพิศดารพันลึก เมื่อครั้งพม่ายกทัพไปตี กรุงจันทบูลีสีสัดตะนาคะนะหุตครั้งแรก เป็นพระพุทธรูปที่ผูกพัน กับประวัติศาสตร์ของคนสามชาติ ทั้งลาว ไทยและพม่า. -- เฟซบุ๊กนายสุริอุดง สุนดารา. </b>

MGRออนไลน์ -- มีหรือ.. กษัตริย์บุเรงนองผู้ยิ่งใหญ่แห่งกรุงหงสาวดี เสด็จทอดพระเนตร การฉลองสมโภชพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งถึงวัด ในกรุงจันทบุรีสีสัดตะนาคะนะหุต? เหตุการณ์นี้ย่อมไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน ในขณะที่กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของฝ่ายพม่า กำลังขับเคี่ยวในการศึก กับพระเจ้าไซเสดถาทิลาด มหาราชาที่ทรงพระปรีชาสามารถ และ เป็นกษัตริย์เพียงพระองค์เดียว ในย่านนี้ที่ไม่ยอมสยบต่อ "ผู้ชนะสิบทิศ"

แต่เรื่องนี้เป็นไปแล้ว อย่างน้อยที่สุดก็ในพงศาวดารของลาว และ ในตำนานการจัดสร้าง-สมโภชพระอินแปง (พระอินทร์แปลงกาย) หรือ "พระเจ้าอินแปง" (นอกจากนั้น "แปง" ในภาษาลาว ยังมีความหมายว่า "เฮ็ด" หรือ "สร้าง/ทำ" เพราะฉะนั้น "พระอินแปง" อาจจะแปลได้ว่า พระพุทธรูปที่พระอินทร์เป็นผู้สร้าง) ซึ่งเป็นเหตุการณ์เมื่อประมาณ 446-447 ปีก่อน หรือ หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่หงสาวดีไม่นาน และ พระเจ้าบุเรงนองรุกคืบทำสงคราม ปราบปรามล้านช้าง ภายใต้พระเจ้าไซเสดถาทิลาด อันเป็นเพียงอาณาจักรเดียวที่ยังแข็งข้อ

และ เรากำลังพูดถึงพระพุทธรูปล้านช้าง ที่มีพุทธลักษณ์งดงามที่สุดอีกองค์หนึ่ง ที่ร่วมสมัยพระองค์ตื้อ พระสุก พระใส พระเสิม พระแสน พระแจ้ง และ อีกหลายองค์ ซึ่งเกือบทั้งหมดได้ถูกกองทัพสยามอัญเชิญมา ประดิษฐานในกรุงรัตนโกสินทร์ หลังเสร็จการศึกครั้งสุดท้ายกับพระเจ้าอะนุวง ซึ่งรวมทั้งพระอินแปง องค์พระประธานในพระอุโบสถ วัดเสนาสนารามราชวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในปัจจุบันด้วย

ประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูปองค์นี้ ถูกถ่ายทอดผ่านเฟสบุ๊ก นายสุริอุดง สุนดารา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสต์เทคโนโลยีลาว เมื่อไม่กี่วันมานี้ พร้อมภาพถ่ายสวยงาม ของพระอินแปงอีกจำนวนหนึ่ง ที่ถ่ายตรงจากพระอุโบสถวัดเสนาสนารามฯ นับเป็นโอกาสดี ที่ทั้งชาวไทยและชาวลาว ได้เห็นพระพุทธรูปศิลปะล้านช้างล้ำค่าองค์นี้ อย่างเต็มตาที่สุด และ มีเรื่องราวรายละเอียดมากที่สุด ประกอบไว้อีกด้วย

รัฐมนตรีลาวไม่ได้บอกเล่าอะไรมากนักเกี่ยวกับการถ่ายภาพชุดนี้ แต่ได้เผยแพร่ภาพที่ถ่าย กับเขียนบอกเล่าเกี่ยวกับความเป็นมา ของพระอินแปงอย่างละเอียด เมื่อวันที่ 26 พ.ค.2560 .. จากพระนครศรีอยุธยา อันเป็นเรื่องราวที่หาอ่านได้ยาก คนที่จะเล่าสู่ฟังได้ก็มีไม่มาก

อย่างที่ทราบกันทั่วไป ในยุคสมัยหนึ่งพระนามพระเจ้าไซเสดถาทิลาด (ไชยเชษฐาธิราช) นั้นโด่งดังไปทั่วแว่นแคว้น ถ้าหากยกเว้นเพียงพระจักรพรรดิราชวงศ์เหวียน แห่งนครเหว ที่อยู่ไกลออกไปในภาคกลางเวียดนาม มหาราชาของลาว ก็เป็นเพียงพระองค์เดียว ในดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา-แม่น้ำโขง ในยุคสมัยเดียวกัน ที่ไม่เคยพ่ายแพ้ และ ไม่ยอมก้มหัวให้พระเจ้าบุเรงนอง

วีรกษัตริย์ของชาวลาวพระองค์นี้ ทรงนำกองทัพล้านช้างขับเคี่ยวกับกองทัพพม่า อย่างเต็มกำลังตลอดเวลา 7-8 ปี จากกรุงเก่าเชียงทองเมื่อก่อน จนถึงกรุงจันทะบูลีฯ จนกระทั่งสิ้นรัชกาล ทรงรบอย่างเปี่ยมด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงใช้กลยุทธ และ กุศโลบายมากมาย แบบที่ฝ่ายอริคาดไม่ถึง ขณะที่กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ก็ทำการรบอย่างกล้าหาญ ส่วนพระยาละแวกในดินแดนกัมพูชาปัจจุบัน ยอมสวามิภักดิ์พม่าแต่โดยดี

พระไซเสดถาทิลาดทรงเป็นมหามิตรกับกรุงศรีอยุธยา ตลอดช่วงปีในการศึกกับพม่า ทรงเป็น "เขย" อยุธยา และ ทรงสนิทสนม กับเจ้านายฝ่ายเหนือล้านนาในอดีต ตรงข้ามกับพระยาละแวกแห่งอาณาจักรที่อยู่ใต้ลงไป ที่คอยทิ่มแทงข้างหลัง ทั้งฝ่ายเวียงจันทน์และอยุธยามาตลอดยุคสมัย ก่อนจะถูกปราบปรามอย่างราบคาบ ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ตามพงศาวดารทั้งของฝ่ายพม่าเอง ของไทย รวมทั้งของลาว ล้วนบอกเล่าตรงกัน หลังจากปราบปรามแว่นแคว้นต่างๆ ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา กับดินแดนทางตอนเหนือของไทยปัจจุบัน อย่างราบคาบ "ผู้ชนะสิบทิศ" ได้นำกองทัพใหญ่ไพร่พลหลายแสนจากหงสาวดี ไปตีกรุงจันทบูลีสีสัตตะนาคะนะหุต โดยพระองค์เองถึง 2 ครั้ง ถึงแม้ตัวเลขกำลังพลของฝ่ายพม่า จะต่างกันอยู่บ้างก็ตาม

แต่กว่าอาณาจักรล้านช้างจะตกเป็นประเทศราชของหงสาวดี พระเจ้าบุเรงนองต้องใช้เวลานานถึง 7 ปี และ ชัยชนะของฝ่ายพม่าในครั้งนั้น ก็ไม่ใช่ชัยชนะเหนือพระเจ้าไซเสดถามหาราช กรุงจันทบูลีฯ ถูกพม่าตีแตก ล้านช้างตกเป็นประเทศราชในรัชสมัยถัดมา หลังจากพระเจ้าไซเสดถาฯ เสด็จสวรรคต
.
<br><FONT color=#00003>ภาพวันที่ 26 มี.ค.2527 หรือ 33 ปีที่แล้ว วีรกษัตริย์ของลาวล้านช้าง ผู้ไม่ยอมก้มหัวให้ผู้ชนะสิบทิศ และ ไม่รู้จักคำว่าแพ้ พระองค์ทำการศึกด้วยพระปรีชา ด้วยพระปัญญา เต็มไปด้วยยุทธวิธีและกโลบาย ที่ฝ่ายอริเองก็นึกไม่ถึง แม้ว่าพระเจ้าบุเรงนอง จะสามารถยึดล้านช้างเป็นประเทศราชได้ในที่สุด แต่ก็มิใช่ชัยชนะเหนือพระเจ้าไซเสดถาทิลาด. -- ภาพโดย วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร. </b>
2
<br><FONT color=#00003>วีรกษัตริย์แห่งกรุงหงสาวดี ที่หน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเนปีดอ เป็นผู้ชนะมาทั้ง 8 ทิศ รวมทั้งท้องฟ้าเบื้องบน และใต้ผืนธรณี รวมเป็น 10 แต่ไม่สามารถคว่ำวีรกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้างได้ สองพระองค์ได้พบกันซึ่งหน้า ในงานสมโภชพระอินแปง เมื่อ 446-447 ปีที่แล้ว อย่างน้อยที่สุดก็ในตำนานเกี่ยวกับเรื่องนี้.  </b>
3
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนไม่มีพงศาวดารฉบับไหน กล่าวถึงอีกเหตุการณ์หนึ่ง คือ ระหว่างตั้งทัพปิดล้อมเวียงจันทน์ครั้งแรกนั้น พระเจ้าบุแรงนอง ได้มีโอกาสเสด็จไปร่วมการสมโภชพระอินแปง ถึงแม้จะอยู่ภายใต้สถานการณ์ ที่พระองค์ ไม่ได้เต็มใจนักก็ตาม เพราะว่าเรื่องนี้เป็นกุศโลบายของพระเจ้าไซเสดถาฯ แท้ๆ

ປະຫວັດພຣະເຈົ້າອິນແປງຕິດພັນກັບປະຫວັດສາດສິນລະປະຍຸດທະວິທີການທະ ຫານ ຂອງສົ ມ ເດັດພຣະເຈົ້າໄຊຍະເສດຖາທິຣາຊທີ່ວ່າ "ສັດຕູແຂງເຮົາຫຼົບຫຼີກສັດຕູພັກເຮົາລົບກວນ ສັດ ຕູອ່ ອນ ເຮົາບຸກຕີ ແລ ະ ສັດຕູແຕກ ເຮ ົາດັບສູນ -- รัฐมนตรีลาวเขียนในเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 27 พ.ค. เริ่มเรื่องราวอันน่าตื่นตาตื่นใจ เกี่ยวกับความเป็นมาของพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งกลวิธีการรุกรบแบบกองโจร ของพระมหากษัตริย์ล้านช้าง

เรื่องราวทั้งหมดอาจจะเริ่มต้น เมื่อครั้งพระเจ้าบุเรงนอง ยกทัพไปตีเมืองเชียงทอง (หลวงพระบาง) และ พบแต่ตัวเมืองว่างเปล่า เนื่องจากพระเจ้าไซเสดถาทิลาด (ພຣະເຈົ້າໄຊຍະເສດ໗າທິຣາຊ) เห็นว่า เชียงทองเสี่ยงต่อการถูกรุกราน จึงทรงนำราษฎรกับไพร่พลย้ายลงไปสร้างนครเวียงจันทน์ เป็นราชธานีแห่งใหม่ เพราะเป็นที่ตั้งเหมาะสม มีทุ่งราบเพราะปลูก เลี้ยงสัตว์ ทรงสะสมเสบียงอาหาร รวบรวมไพร่พลท้องถิ่นได้ถึง 200,000 คน กำลังกองทัพหลวง 250,000 คน ทรงสู่ขอพระองค์หญิง จากกรุงศรีอยุธยาเป็นพระอัครมเหสี และ มีสัญญาแบ่งปันเขตแดน ยึดเอาพระธาตุศรีสองรัก เป็นหลักเขต

พระเจ้าไซเสดถาฯ ได้อาราธนาพระสงฆ์จากอาณาจักรเขมร ไปให้การศึกษา และ พัฒนาพุทธศาสนาด้านพระสูตร และธรรมวินัย โดยพระราชินีแห่งพระมหากษัตริย์ขอมทรงเป็นเกียรตินำพา มีการสร้างรูปสลักหินกษัตรีย์สองอาณาจักร ไว้เป็นที่ระลึก อยู่ที่วัดอินแปงมาจนทุกวันนี้

"ພາຍຫຼັງກະສັດບູເລັງນອງແຫ່ງອານາຈັກພະມ້າໄດ້ຍຶດຄອງອານາຈັກສະຫຍາມສຳເລັດຜົນ,ໄດ້ສືບຕໍ່ເຂົ້າມາຮຸກຮານອານາຈັກລາວລ້ານຊ້າງໃນປີ ຄສ 1524 ໂດຍການລະດົມຈຳນວນພົນເຖີງ 650,000 ຄົນ ແລະ ປືນໃຫຍ່ຊື້ຈາກປະເທດອັງກິດ 6,000 ກະບອກ" (ภายหลังกษัตริย์บุเรงนองแห่งอาณาจักรพม่า ได้ยึดอาณาจักรสยามสำเร็จ ได้สืบต่อมารุกรานอาณาจักรลาวล้านช้างในปี ค.ศ.1524 โดยระดมพลถึง 650,000 คน และ ปืนใหญ่จากประเทศอังกฤษ 6,000 กระบอก" รัฐมนตรีลาวลงในรายละเอียด

(ค.ศ.1524? หรือ พ.ศ.2067 นั้นน่าจะระบุปีผิด เพราะพระเจ้าบุเรงนอง ทรงมีพระราชสมภพ พ.ศ.2059 ปีที่ถูกระบุว่า "รุกรานอาณาจักรล้านช้าง" นั้น พระองค์เพิ่งมีพระชนม์ 8 พรรษา ทรงขึ้นครองราชย์ พ.ศ.2093 ทรงนำทัพตีเวียงจันทน์ พ.ศ.2113 แต่ไม่สำเร็จ -- กรณีปืนใหญ่จากอังกฤษ 6,000 กระบอกก็เช่นเดียวกัน พระเจ้าบุเรงนองเสด็จสวรรคต พ.ศ.2124 แต่สงครามพม่า-อังกฤษ ครั้งแรกเกิดขึ้นปี 2367 หรือเกือบ 250 ปีต่อมา ในรัชสมัยพระเจ้าจักกายแมง ราชวงศ์คอนบอน -- จึงไม่น่าจะมีการใช้ปืนใหญ่ใดๆ จากอังกฤษ ในสมัยพระเจ้าบุเรงนอง ซึ่งอยู่ก่อนยุคล่าอาณานิคมกว่า 2 ศตวรรษ - บก.)
.

ภาพถ่ายทั้งหมดต่อไปนี้ มาจากเฟซบุ๊กส่วนตัว นายสุริอุดง สุนดารา ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับหน้าที่การงานของเจ้าตัว แต่ประการใดทั้งสิ้น ผู้ที่ติดตามผลงานของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีท่านนี้ตลอดมา ได้รับทั้งความรู้ความเข้าใจ ในข่าวสารเหตุการณ์ ทั้งในและต่างประเทศ นอกเหนือจากปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ในฐานะเป็นสมาชิกคนหนึ่ง ในคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันแล้ว นายสุริอุดงยังสนใจติดตามศึกษา และ เข้าร่วมในเหตุการณ์ ทางวัฒนธรรมครั้งสำคัญๆ ของประเทศ ทั้งยังนำภาพเหตุการณ์ และข่าวสารออกเผยแพร เรื่อยมา ภาพ "พระเจ้าอินแปง" ชุดนี้ ได้รับการชื่นชมจากทั้งชาวลาวและชาวไทยที่เข้าไปชม เป็นจำนวนมาก จึงขอนำมาแสดง ณ ทีนี้เพื่อประโยชน์ของสาธารณชนทั่วไป.

.


4

5

6

7
อย่างไรก็ตาม พงศาวดารของทุกฝ่ายระบุตรงกัน เกี่ยวกับการศึกของฝ่ายล้านช้าง ซึ่งเป็นการ "ຕີແບບກອງຫຼອນ ບໍຕີແບບປະ ເຊີນໜ້າ" คือ "เองมาข้ามุด เองหยุดข้าแหย่ เองแย่ข้าตี เองหนีข้าตาม เองหมดน้ำยา ข้าจัดการ" นอกจากนั้นพระเจ้าไซเสดถาฯ ยังทรงคัดเลือกไพร่พลรบ ที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน ทำงานเฉพาะกิจอย่างเป็นระบบ ทำให้การเข้าตีเวียงจันทน์ ของพระเจ้าบุเรงนองครั้งแรก พบแต่ตัวเมืองว่างเปล่า ไม่ต่างกับเมื่อครั้งเข้าตีเมืองเชียงทอง

พม่าตรึงกำลังพลกองหน้า 200,000 คน ไว้อีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำโขง แต่การใช้กำลังพลมากมายขนาดนั้นออกรบพร้อมกัน ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะหมายถึงเสบียงอาหาร ซึ่งะต้องเพียงพอ แต่กลับถูกกองทัพล้านช้างซุ่มโจมตีทำลายเป็นระยะๆ และ ฝ่ายนี้ได้ทำสงครามยืดเยื้อ รอคอยให้ถึงฤดูฝนที่ตน เป็นฝ่ายได้เปรียบ ก่อนเข้าตีพม่าให้แตกพ่าย

"ເມື່ອທະຫານພະມ້າຍົກກຳລັງພົນເຕັມກຳລັງ ເຖີງຊານເມືອງນະຄອນຫຼວງວຽງຈັນ ຈັ້ງທ່າຢູ່ຟາກນໍ້າຂອງເບື້ອງນັ້ນ ເຫັນເປັນເມືອງຮ້າງ, ແຕ່ພັດຖືກລ້ອມບຸກໂຈມຕີແບບຕີໝູໃນເລົ້າ ຖອນອອກກະບໍໄດ້, ພວກເຮົາໄດ້ໄຊ້ກອງກຳລັງ 200,000 ບຸກໂຈມຕີແບບກອງຫຼອນ ຕີເຂົ້າຮອບດ້ານ ເຮັດໃຫ້ຫະຫານມະມ້າເສຍຂວັນກຳລັງໃຈ.." นายสุริอุดงอ้างข้อมูลเรื่องนี้ จากเอกสารประวัติศาสตร์ของกองทัพประชาชนลาว ในเหตุการณ์เมื่อครั้งพระเจ้าไซเสดถาฯ นำกำลังพล 2 แสนคนรบพม่า และ เลือกปฏิบัติการแบบ "โจมตีหมูในเล้า" จะออกจากเล้าก็ออกไม่ได้

คราวนี้.. มาถึงเหตุการณ์อันพิศดาร และน่าอัศจรรย์ยิ่ง คือพิธีหล่อพระอินแปง ที่วัดอินแปง ตามมาด้วยพิธีฉลองสมโภช ซึ่งจัดให้มีขึ้นในท่ามกลางศึกชิงบ้านชิงเมือง

รัฐมนตรีลาวเขียนว่า ครั้งนั้นกองบัญชาการของพระเจ้าไซเสดถาฯ ตั้งอยูในเขตพระราชวังป่าสักหลวง ริมฝั่งแม่น้ำโขง และ ดำเนินสงครามจิตวิทยา ต่อกองทัพพระเจ้าบุเรงนอง "ทำเป็นไม่รู้ร้อนรู้หนาว" ปล่อยข่าวข้ามโขง ให้ฝ่ายพม่าทราบว่า ทางฝั่งหนึ่งกำลังหล่อพระพุธรูป ที่วัดป่าสักหลวง ซึ่งก็คือวัดอินแปงในวันนี้ หล่อมาเป็นเวลาสามวันสามคืนแล้ว ทอง (ทองแดงในภาษาลาว) ยังไม่หลอมละลาย จนมีพระอินทร์ปลอมเป็นพราหมณ์ลงมาร่วมพิธี การหล่อพระพุทธรูปจึงสำเร็จลง และ ขนานนามว่า "พระเจ้าอินแปง" ตอนเช้าวันรุ่งขึ้น ก็จะมีพิธีเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่

ໃນຄໍ່າຄືນວັນນັ້ນ ພຣະມະເຫສີແຫ່ງພຣະເຈົ້າໄຊຍະເສດຖາທິຣາຊ ໄດ້ຂານອາສາເປັນຜູ່ດຳເນີນການ "ສົມໂພດສະຫຼອງພຣະເຈົ້າອິນແປງ ຕາມກຳນົດໝາຍ", ສ່ວນພຣະອົງໃຫ້ຂ້າມນໍ້າຂອງ ບຸກຄ້າຍສັດ ຕູພ້ອມດ້ວຍກຳລັງທະຫານເອກ ໂດຍບໍໃຫ້ມີສ ຽງປືນແຕກ ແລະ ເຊື້ອເຊີນກະສັດບູເລັງນອງ ມາຮ່ວມເຮັດບ ຸນສູດສົມໂພດນຳພວກເຮົາ -- นายสุริอุดงเขียนโดยอ้างพงศาวดารลาว เกี่ยวกับพระเจ้าไซเสดถาฯ ทรงนำยอดขุนพลข้ามโขง บุกค่ายพม่า บุกถึงห้องบรรทมพระเจ้าบุเรงนอง โดยมิให้อีกฝ่ายรู้ตัว

ພຣະອົງໄດ້ສຳເລັດໜ້າທີ່ການຂູ່ຂວັນສັດຕູ "ເອົາປູນຂາວແຕ້ມໄສ່ຄໍນາຍທະຫານຜູ່ນຳສຳຄັນທຸກຄົນຂອງພະມ້າ ແລະ ຂຽນໄສ່ຝາຫ້ອງ ນອນບູເລັງນອງ ໂດຍມີຂໍ້ຄວາມວ່າ ເຮົາບໍຢາກຂ້າສັດຕັດຊີວິດໄຜໃນຄໍ່າຄືນນີ້ ເຫັນປູນຂາວເຮົາແຕ້ມຕາມຄໍນາຍທະຫານທ່ານບໍ, ສະນັ້ນເຮົາເຊີນທ່ານພັກຮົບພັກສົງຄາມ ໃນຊ່ວງພິທີມະຫາມຸງຄຸນສົມໂພດພຣະເຈົ້າອິນແປງ ນຳປວງໄຜ່ຟ້າປະຊາຊົນລາວພວກເຮົາ ໄດ້ບໍ"
.


8

9

10
พระเจ้าไซเสดถาฯ ทรงเขียนลงบนผนังห้องบรรทมพระเจ้าบุเรงนอง บอกว่าคืนนี้เป็นคืนมงคล ไม่อยากฆ่าสัตว์ตัดชีวิต และ อัญเชิญฝ่ายศัตรูไปร่วมพิธีฉลองสมโภชพระเจ้าอินแปงในวันรุ่งขึ้น ซึ่งทำให้เกิดความอลวนขึ้นในค่ายพม่า เนื่องจากฝ่ายลาวบุกถึงที่ ใช้ปูนขาวแต้มลงบนคอ แม่ทัพนายกองคนสำคัญของพม่า โดยไม่รู้สึกตัว บอกให้รู้ว่าจะฆ่าก็ตาย เพราะคลายก็จึงรอด ซึ่งเป็นสงครามจิตวิทยาที่ได้ผลดีจริงๆ

"ເພື່ອເປັນການພິສູດຄວາມເປັນຈິງ ກະສັດບູເລັງນອງໄດ້ຂ້າມນໍ້າຂອງ ມາພົບປະເຈລະຈາກັບກະສັດລາວຜູ່ອາດຫານເກັ່ງກ້າ"

พระเจ้าบุเรงนอง ต้องการพิสูจน์ข้อเท็จจริง จึงข้ามโขงไปพบเจรจากับพระเจ้าไซเสดถาฯ.. และ เมื่อได้เห็นภาพความเป็นจริง เห็นไพร่ฟ้าประชาชน ห้อมล้อมเป็นกำลังแรงปวงชนอันหาศาล เห็นความสงบร่มเย็น เห็นปวงชนร่วมงานสวดสมโภช ด้วยพลังแห่งศรัทธา จึงทรงเห็นว่า การรบครั้งนี้คงจะสำเร็จยาก กำลังทหารก็อ่อนเพลีย ขนาดเสบียงอาหาร ขาดกำลังใจ

"ທັງສອງພຣະມະຫາກະສັດເລີຍຕົກລົງສະຫງົບເສີກ ແລະ ພ້ອມພາກັນເຂົ້າຮ່ວມພິທີສົມໂພດພຣະຕາມການເຊີນ" รัฐมนตรีลาวกล่าว

การศึกยุติลงเพียงชั่วขณะ ตามที่ระบุในตำนานการหล่อ กับการสมโภชพระพุทธรูปล้านช้างองค์นี้ พงศาวดารของทุกฝ่าย ก็บันทึกไว้ตรงกันว่า พระเจ้าบุเรงนองทรงเหนื่อยหน่าย กับการไล่ติดตามตีกองทัพล้านช้าง ที่ใช้ยุทธวิธีรบแบบกองโจร ทหารเริ่มอ่อนล้า ขาดขวัญกำลังใจ เสบียงอาหารเริมขาดแคลน จึงต้องยกทัพกลับหงสาวดี หลังปิดล้อมเวียงจันทน์อยู่แรมปี แต่ไม่เป็นผล

อย่างไรก็ตาม เมื่อพระไซเสดถาทิลาด สิ้นพระชนม์ปี พ.ศ.2114 และ ข่าวนี้ไปถึงกรุงหงสาวดี อีก 3 ปีต่อมาคือ พ.ศ.2117 ทัพใหญ่ของพระเจ้าบุเรงนองก็ไปถึงกรุงเวียงจันทน์อีกครั้งหนึ่ง และ ทำให้ยุครุ่งเรืองที่สุด ของอาณาจักรใหญ่ ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง สิ้นสุดลง

พม่าไม่ได้นำพระพุทธรูปในตำนานกลับไปด้วย และ ประดิษฐานที่วัดแห่งนั้นต่อมาอีก 300 ปี

"ພຣະເຈົ້າອິນແປງທີ່ໄດ້ຖືກອະຣາທະນາ ອັງເຊີນດ້ວຍຂັນຫ້າມາລາດອກໄມ້ ເອົາໄປຈາກວັດອິນແປງ (ວັດປ່າສັກຫຼວງ ໃນເມື່ອກ່ອນ) ນະຄອນຫລວງວຽງຈັນແລະປະດິດສະຖານ ຢູ່ທີ່ວັດເສນາສະນາຣາມ ພຣະນະຄອນສີອະຍຸດທະຍາ, ນັບຕັ້ງແຕ່ປາງສະໄໝສະຫຍາມ ມາຈູດເຜົານະຄອນຫຼວງວຽງຈັນຕອນເຈົ້າອານຸ ວົງເສັຍໄຊ" รัฐมนตรีลาวสรุป ปิดตำนานพระพุทธรูปองค์นี้ ในปีที่พระเจ้าอนุวงศ์ "เสียชัย" และ กองทัพสยามเผาเวียงจันทร์ ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์.
กำลังโหลดความคิดเห็น