อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ แนะประชาชนโดยเฉพาะวัยแรงงาน อายุ 15-59 ปี อย่าใช้ชีวิตตามใจ อาจลำบากเมื่อแก่ตัว ขอให้หมั่นปฏิบัติตัวถนอมสุขภาพเพียง 10 ข้อ เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้สูงวัยที่สุขภาพแข็งแรง ชีวิตไม่ห่อเหี่ยวหลังเกษียณ เผยผลสำรวจล่าสุด พ.ศ. 2557 ไทยมีผู้สูงอายุ 10 ล้านกว่าคน แต่มีแค่ 3 แสนกว่าคนที่บอกว่าสุขภาพตัวเองยังดีมาก
นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติล่าสุดในปี 2557 ไทยมีผู้สูงอายุ 10 ล้านกว่าคน หรือประมาณร้อยละ 15 ของประชากรที่มีทั้งหมด 65 ล้านกว่าคน เรื่องที่น่ากังวลก็คือ มีผู้สูงอายุเพียงร้อยละ 3.3 หรือประมาณ 3 แสนกว่าคนเท่านั้น ที่บอกว่าสุขภาพตัวเองยังดีมาก
ขณะเดียวกันมีผู้สูงอายุอีกร้อยละ 16 หรือ 1 ล้าน 6 แสนกว่าคน ที่บอกว่าสุขภาพตัวเองอยู่ในขั้นไม่ดีถึงไม่ดีมากๆ ซึ่งผลสำรวจของกรมอนามัยล่าสุดในปี 2556 พบปัญหาสุขภาพที่ผู้สูงอายุป่วยมากที่สุด อันดับ 1. โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 41 อันดับ 2. เบาหวานร้อยละ 18 โดยมีผู้ที่เป็นทั้ง 2 โรค ร้อยละ 13 อันดับ 3. โรคเข่าเสื่อม ร้อยละ 9
“การป่วยโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ สะท้อนให้เห็นว่า เป็นผลมาจากการละเลยดูแลสุขภาพตั้งแต่อยู่ในวัยแรงงาน คืออายุ 15-59 ปี ปัญหาจึงสะสมมาเรื่อยๆ จนมาปรากฏชัดเจนเมื่ออายุมากขึ้น ดังนั้น จึงขอแนะนำให้วัยแรงงานสร้างพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง ไม่ใช้ชีวิตตามใจตัวเอง เพื่อเตรียมพร้อมตนเองในการเข้าสู่การสูงวัย ให้มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคเรื้อรังประจำตัว ใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างไม่ห่อเหี่ยว หากปฏิบัติจนติดเป็นนิสัยได้จะดีมาก และการมีพฤติกรรมสุขภาพดี จะสามารถช่วยชะลอวัย ใบหน้าอ่อนกว่าวัย ไม่ต้องพึ่งพาศัลยกรรมช่วยลบริ้วรอยด้วย” นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง กล่าว
นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ได้ให้ข้อแนะนำการปฏิบัติตัวของวัยแรงงาน 10 ข้อดังนี้
1. รักษาความสะอาดร่างกาย ดูแลเส้นผมและหนังศีรษะให้สะอาด สระผมอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
2. แปรงฟันให้สะอาดอย่างทั่วถึงทุกซี่ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ตอนเช้าและก่อนนอน แปรงลิ้นทุกครั้งหลังการแปรงฟัน เพื่อกำจัดคราบอาหารตกค้าง พบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากทุก 6 เดือน
3. กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ รับประทานอาหารหลังปรุงสุกใหม่ ใช้ช้อนกลางตักอาหารกรณีกินร่วมกับคนอื่น ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งก่อนปรุงและกินอาหาร หรือหลังเข้าห้องน้ำห้องส้วม หลังหยิบจับสิ่งสกปรก จับต้องสัตว์ทุกชนิด ก่อนและหลังสัมผัสกับคนป่วย และหลังจากทำกิจกรรมหรือกลับจากนอกบ้าน เพื่อป้องกันเชื้อโรคและสารปนเปื้อนติดมากับมือเข้าสู่ร่างกาย
4. เลือกสรรอาหารที่เสริมพลังกาย อาหารเช้าเป็นมื้อสำคัญที่ร่างกายต้องการสารอาหารไปบำรุงเซลล์สมอง ควรกินอาหารเช้าระหว่าง 07.00-09.00 น. เลือกกินอาหารที่มีเส้นใยให้กากอาหารมาก เช่น ข้าวซ้อมมือ ผักผลไม้สด เป็นต้น จะช่วยป้องกันท้องผูก ป้องกันริดสีดวงทวาร ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ดื่มน้ำเปล่าสะอาดอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้วเพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ร่างกาย
5. ไม่สำส่อนทางเพศ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุราหรือใช้สารเสพติด เพื่อลดความเสี่ยงเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคหัวใจขาดเลือด เป็นต้น
6. จัดเวลาทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัวอยู่เสมอ เพื่อความสนุกสนานและมีความสุข
7. ป้องกันอุบัติเหตุและอุบัติภัยด้วยความไม่ประมาท
8. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน วันละไม่ต่ำกว่า 30 นาที เช่น เดิน วิ่ง หรือเล่นกีฬาต่างๆ ที่ถนัด เพื่อช่วยให้สุขภาพแข็งแรง นอนหลับสนิท ไม่เครียด ทำให้ผิวพรรณดี หน้าตาแจ่มใส ช่วยชะลอวัยได้อย่างดี และตรวจสุขภาพทุกปีตามสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสุขภาพ เพื่อหาโรคหรือความผิดปกติตั้งแต่ระยะเริ่มแรกที่โรคยังไม่ปรากฏอาการให้เห็น
9. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ ยึดหลักความเรียบง่ายให้มากขึ้น สนุกสนานกับงานอดิเรก เช่น ปลูกต้นไม้ ฟังเพลง อ่านหนังสือ
10. รักษาสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ทิ้งขยะในภาชนะรองรับ และกำจัดขยะทุกวันอย่างถูกวิธี ใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะ หากเป็นหวัด ไอ จาม ให้ใส่หน้ากากอนามัย ป้องกันการแพร่เชื้อโรคไปสู่ผู้อื่น
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 190 ตุลาคม 2559 โดย กองบรรณาธิการ)
นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติล่าสุดในปี 2557 ไทยมีผู้สูงอายุ 10 ล้านกว่าคน หรือประมาณร้อยละ 15 ของประชากรที่มีทั้งหมด 65 ล้านกว่าคน เรื่องที่น่ากังวลก็คือ มีผู้สูงอายุเพียงร้อยละ 3.3 หรือประมาณ 3 แสนกว่าคนเท่านั้น ที่บอกว่าสุขภาพตัวเองยังดีมาก
ขณะเดียวกันมีผู้สูงอายุอีกร้อยละ 16 หรือ 1 ล้าน 6 แสนกว่าคน ที่บอกว่าสุขภาพตัวเองอยู่ในขั้นไม่ดีถึงไม่ดีมากๆ ซึ่งผลสำรวจของกรมอนามัยล่าสุดในปี 2556 พบปัญหาสุขภาพที่ผู้สูงอายุป่วยมากที่สุด อันดับ 1. โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 41 อันดับ 2. เบาหวานร้อยละ 18 โดยมีผู้ที่เป็นทั้ง 2 โรค ร้อยละ 13 อันดับ 3. โรคเข่าเสื่อม ร้อยละ 9
“การป่วยโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ สะท้อนให้เห็นว่า เป็นผลมาจากการละเลยดูแลสุขภาพตั้งแต่อยู่ในวัยแรงงาน คืออายุ 15-59 ปี ปัญหาจึงสะสมมาเรื่อยๆ จนมาปรากฏชัดเจนเมื่ออายุมากขึ้น ดังนั้น จึงขอแนะนำให้วัยแรงงานสร้างพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง ไม่ใช้ชีวิตตามใจตัวเอง เพื่อเตรียมพร้อมตนเองในการเข้าสู่การสูงวัย ให้มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคเรื้อรังประจำตัว ใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างไม่ห่อเหี่ยว หากปฏิบัติจนติดเป็นนิสัยได้จะดีมาก และการมีพฤติกรรมสุขภาพดี จะสามารถช่วยชะลอวัย ใบหน้าอ่อนกว่าวัย ไม่ต้องพึ่งพาศัลยกรรมช่วยลบริ้วรอยด้วย” นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง กล่าว
นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ได้ให้ข้อแนะนำการปฏิบัติตัวของวัยแรงงาน 10 ข้อดังนี้
1. รักษาความสะอาดร่างกาย ดูแลเส้นผมและหนังศีรษะให้สะอาด สระผมอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
2. แปรงฟันให้สะอาดอย่างทั่วถึงทุกซี่ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ตอนเช้าและก่อนนอน แปรงลิ้นทุกครั้งหลังการแปรงฟัน เพื่อกำจัดคราบอาหารตกค้าง พบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากทุก 6 เดือน
3. กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ รับประทานอาหารหลังปรุงสุกใหม่ ใช้ช้อนกลางตักอาหารกรณีกินร่วมกับคนอื่น ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งก่อนปรุงและกินอาหาร หรือหลังเข้าห้องน้ำห้องส้วม หลังหยิบจับสิ่งสกปรก จับต้องสัตว์ทุกชนิด ก่อนและหลังสัมผัสกับคนป่วย และหลังจากทำกิจกรรมหรือกลับจากนอกบ้าน เพื่อป้องกันเชื้อโรคและสารปนเปื้อนติดมากับมือเข้าสู่ร่างกาย
4. เลือกสรรอาหารที่เสริมพลังกาย อาหารเช้าเป็นมื้อสำคัญที่ร่างกายต้องการสารอาหารไปบำรุงเซลล์สมอง ควรกินอาหารเช้าระหว่าง 07.00-09.00 น. เลือกกินอาหารที่มีเส้นใยให้กากอาหารมาก เช่น ข้าวซ้อมมือ ผักผลไม้สด เป็นต้น จะช่วยป้องกันท้องผูก ป้องกันริดสีดวงทวาร ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ดื่มน้ำเปล่าสะอาดอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้วเพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ร่างกาย
5. ไม่สำส่อนทางเพศ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุราหรือใช้สารเสพติด เพื่อลดความเสี่ยงเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคหัวใจขาดเลือด เป็นต้น
6. จัดเวลาทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัวอยู่เสมอ เพื่อความสนุกสนานและมีความสุข
7. ป้องกันอุบัติเหตุและอุบัติภัยด้วยความไม่ประมาท
8. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน วันละไม่ต่ำกว่า 30 นาที เช่น เดิน วิ่ง หรือเล่นกีฬาต่างๆ ที่ถนัด เพื่อช่วยให้สุขภาพแข็งแรง นอนหลับสนิท ไม่เครียด ทำให้ผิวพรรณดี หน้าตาแจ่มใส ช่วยชะลอวัยได้อย่างดี และตรวจสุขภาพทุกปีตามสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสุขภาพ เพื่อหาโรคหรือความผิดปกติตั้งแต่ระยะเริ่มแรกที่โรคยังไม่ปรากฏอาการให้เห็น
9. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ ยึดหลักความเรียบง่ายให้มากขึ้น สนุกสนานกับงานอดิเรก เช่น ปลูกต้นไม้ ฟังเพลง อ่านหนังสือ
10. รักษาสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ทิ้งขยะในภาชนะรองรับ และกำจัดขยะทุกวันอย่างถูกวิธี ใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะ หากเป็นหวัด ไอ จาม ให้ใส่หน้ากากอนามัย ป้องกันการแพร่เชื้อโรคไปสู่ผู้อื่น
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 190 ตุลาคม 2559 โดย กองบรรณาธิการ)