สสส.- มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย เผยผลวิจัยเตรียมรับมือสังคมสูงวัยเต็มรูปแบบ เปลี่ยน “ภาระ” เป็น “พลัง” ส่งเสริม “โรงเรียนผู้สูงอายุ” - “ไม่หยุดทำงาน” หางานที่เหมาะกับวัย เสริมศักยภาพการใช้ชีวิต และการดูแลสุขภาพ แก้ปัญหาว้าเหว่ ยกระดับคุณภาพชีวิต เตรียมนำร่องนำชุดความรู้รับมือสังคมผู้สูงอายุสอดแทรกการเรียนการสอน ในเด็กมัธยม 5 โรงเรียน นำร่องใน จ.นครราชสีมา
วันนี้ (30 ก.ย.) ที่ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีเสวนาวิชาการเรื่อง “เตรียมพร้อมรับมือสังคมสูงวัยเต็มรูปแบบหรือยัง” เนื่องในวันผู้สูงอายุสากล 1 ตุลาคม เพื่อนำเสนอข้อมูลแนวทางการสร้างความตระหนักรู้ในการเตรียมตัวด้านสุขภาพของประชากรทุกช่วงวัย และสร้างเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุ ตลอดจนเสนอแนะการปรับเปลี่ยนในเชิงนโยบายด้านการส่งเสริมสุขภาพ การเรียนรู้ตลอดชีวิต และแนวทางการส่งเสริมการทำงานของแรงงานสูงวัย เพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมสูงอายุของประเทศไทย
ศ.ศศิพัฒน์ ยอดเพชร นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า จากการวิจัย “โรงเรียนผู้สูงอายุ” มาจากแนวคิดการพัฒนาผู้สูงอายุให้เป็นผู้ที่มีศักยภาพ เพื่อพัฒนาทั้งทางด้าน กาย จิต เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ค่านิยม ปัญญา และความสุข ซึ่งครอบคลุมมิติต่าง ๆ ผ่านกิจกรรมหลายลักษณะ ซึ่งนิยามของโรงเรียนผู้สูงอายุ คือ กิจกรรมที่สถาบัน หน่วยงาน หรือชุมชน จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้สูงอายุเกิดการเรียนรู้ในลักษณะของโรงเรียน เป้าหมายหลัก คือ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ ซึ่งโรงเรียนผู้สูงอายุหลายแห่ง ช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เช่น ความว้าเหว่ ภาวะการเจ็บป่วย ถือเป็นการเปลี่ยนภาระให้เป็นพลัง โดยมีรูปแบบให้ผู้สูงอายุในชุมชนและจากอำเภอใกล้เคียงมาทำกิจกรรมร่วมกัน บางแห่งพบปะกันเดือนละ 2 ครั้ง บางแห่งนัดเพื่อแจกเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และให้ข้อมูลข่าวสาร บางแห่งมีการจัดทำหลักสูตรวิธีการถ่ายทอดความรู้ และจัดห้องเรียนอย่างเหมาะสม สามารถ่ายทอดองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ โดยคำนึงความต้องการแท้จริงของนักเรียนผู้สูงอายุ คำนึงถึงองค์ประกอบพื้นฐาน ประสบการณ์ในอาชีพ ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ และที่น่าสนใจ คือ ผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับนักเรียนสูงวัย มาจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายชุมชน หรืออาจารย์พยาบาลที่มาแนะนำการดูแลสุขภาพ ปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งเป็นความหลากหลายทางความรู้ที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ
ศ.ศศิพัฒน์ กล่าวต่อว่า การที่ผู้สูงวัยได้มีโอกาสไปโรงเรียนผู้สูงอายุมีประโยชน์อย่างมาก เพราะเมื่อเกิดกิจกรรมระหว่างกัน จะลบภาพเชิงลบที่เคยมองตนเองออกไป และทำให้รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า สามารถนำองค์ความรู้ทีได้รับมา ไปถ่ายทอดต่อกับบุตรหลานในครอบครัวได้ ส่วนด้านสุขภาพ โดยเฉพาะการได้รับความรู้ในการดูแลตนเอง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี เช่น ใส่ใจการทำความสะอาดร่างกายและเสื้อผ้า ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานยาอย่างถูกวิธี ซึ่งสะท้อนว่านักเรียนสูงอายุสามารถเข้าใจตนเอง และรับรู้ผลกระทบต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตามโรงเรียนผู้สูงอายุควรได้รับการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาจากหน่วยงานภาครัฐ และท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ ทั้งด้านงบประมาณ องค์ความรู้ ด้านเทคนิค ทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ และก้าวต่อไปจึงควรดำเนินงานแบบบูรณาการร่วมกัน เพื่อให้เกิดกิจกรรมที่ดีในการเสริมสร้างความเท่าเทียมแก่คนทุกวัย
ด้าน รศ.ดร.สรันยา เฮงพระพรหม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สังคมผู้สูงอายุถือเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคน ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลย แต่จะต้องมีการเตรียมความพร้อมสำหรับผู้สูงอายุในอนาคตและในปัจจุบันให้พร้อมมากที่สุด จากงานวิจัยจากโครงการ “ชุดความรู้” ที่ทำให้เกิด “ความตระหนักรู้ด้านสุขภาพ” จึงได้พัฒนาเครื่องมือ เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ที่กระจัดกระจายนั้น มาสร้างเป็นชุดความรู้ สำหรับกลุ่มเป้าหมายสองกลุ่ม คือ วัยมัธยมศึกษา และกลุ่มวัยแรงงาน โดยจะมุ่งเน้นไปที่กลุ่มวัยเด็กมัธยมศึกษาอายุ 15 - 20 ปี เป็นหลักก่อน เพราะจะเป็นการมอบแบบฝึกหัดเพื่อสร้างกระบวนการความคิดของเด็ก ให้ปลูกฝังความพร้อมที่จะเผชิญสังคมผู้สูงอายุแต่เนิ่น ๆ โดยชุดความรู้ดังกล่าวจะเป็นลักษณะแบบฝึกหัด สร้างกระบวนการคิด ซึ่งจะมีการนำไปใช้ใน 5 โรงเรียนนำร่อง จ.นครราชสีมา เพื่อเป็นต้นแบบการเรียนการสอน โดยสอดแทรกเอาไว้ในวิชาแขนงต่าง ๆ ตามแต่ที่โรงเรียนเห็นเหมาะสม ซึ่งผลลัพธ์จากงานวิจัยชิ้นนี้จะถูกรวบรวมอย่างเป็นระบบเอาไว้
นายอดุลย์ ภู่ภัทรางค์ ผู้อำนวยการโรงเรียน บัวลาย จ.นครราชสีมา หนึ่งในโรงเรียนที่นำชุดความรู้แบบฝึกหัดดังกล่าวไปทดลองใช้ กล่าวว่า ผลวิจัยมุ่งมาที่กลุ่มเด็กนักเรียนเพื่อให้เตรียมตัว ด้วยการสร้างกระบวนการความคิด ตระหนักถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นอนาคต เพื่อให้พร้อมในการรับมือเมื่อเผชิญกับสังคมผู้สูงวัย แต่ที่น่ากังวลคือ เด็กรู้แล้วจะนำไปใช้หรือไม่ จึงเป็นอีกโจทย์ที่นอกจากมอบความรู้ให้แล้ว เด็กต้องสามารถนำความรู้นั้นไปใช้ประโยชน์ได้ด้วย และต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงการปลูกฝังกระบวนการความคิดเกี่ยวกับสังคมผู้สูงอายุ
ด้าน รศ.ดร.วิพรรณ ประจวบเหมาะ คณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การส่งเสริมการทำงานของผู้สูงอายุมีแต่ได้กับได้ กล่าวคือ เป็นการสร้างหลักประกันที่มั่นคงด้านรายได้ให้กับผู้สูงอายุ เพิ่มการอยู่ดีมีสุข ซึ่งเรื่องนี้เป็นหัวใจสำคัญ อีกทั้งยังเพิ่มบทบาทและคุณค่าของผู้สูงอายุด้วยการมีส่วนร่วมเชิงเศรษฐกิจ และในแง่การทดแทนประชากรในวัยแรงงานที่มีแนวโน้มถดถอยลงด้วย แต่ในแง่ผู้ประกอบการไม่เห็นด้วยกับการจ้างงาน เพราะมองว่า ไม่คุ้มทุนหากเทียบกับจ้างคนในวัยแรงงาน แต่ผลการวิจัยพบว่า สามารถสร้างเงื่อนไขและหางานที่เหมาะสมกับวัยได้ นอกจากนี้ ขอฝากข้อเสนอแนะในฐานะผู้ทำวิจัยเรื่องดังกล่าว ว่า รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำต้องส่งเสริมการจ้างงานให้กับผู้สูงอายุในอาชีพที่เหมาะสมกับวัย ประสบการณ์ และสมรรถภาพทางร่างกาย รวมถึงสร้างทัศนคติเชิงบวกต่อการทำงานของผู้สูงอายุ และยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการพึ่งพาตนเอง
วันนี้ (30 ก.ย.) ที่ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีเสวนาวิชาการเรื่อง “เตรียมพร้อมรับมือสังคมสูงวัยเต็มรูปแบบหรือยัง” เนื่องในวันผู้สูงอายุสากล 1 ตุลาคม เพื่อนำเสนอข้อมูลแนวทางการสร้างความตระหนักรู้ในการเตรียมตัวด้านสุขภาพของประชากรทุกช่วงวัย และสร้างเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุ ตลอดจนเสนอแนะการปรับเปลี่ยนในเชิงนโยบายด้านการส่งเสริมสุขภาพ การเรียนรู้ตลอดชีวิต และแนวทางการส่งเสริมการทำงานของแรงงานสูงวัย เพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมสูงอายุของประเทศไทย
ศ.ศศิพัฒน์ ยอดเพชร นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า จากการวิจัย “โรงเรียนผู้สูงอายุ” มาจากแนวคิดการพัฒนาผู้สูงอายุให้เป็นผู้ที่มีศักยภาพ เพื่อพัฒนาทั้งทางด้าน กาย จิต เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ค่านิยม ปัญญา และความสุข ซึ่งครอบคลุมมิติต่าง ๆ ผ่านกิจกรรมหลายลักษณะ ซึ่งนิยามของโรงเรียนผู้สูงอายุ คือ กิจกรรมที่สถาบัน หน่วยงาน หรือชุมชน จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้สูงอายุเกิดการเรียนรู้ในลักษณะของโรงเรียน เป้าหมายหลัก คือ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ ซึ่งโรงเรียนผู้สูงอายุหลายแห่ง ช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เช่น ความว้าเหว่ ภาวะการเจ็บป่วย ถือเป็นการเปลี่ยนภาระให้เป็นพลัง โดยมีรูปแบบให้ผู้สูงอายุในชุมชนและจากอำเภอใกล้เคียงมาทำกิจกรรมร่วมกัน บางแห่งพบปะกันเดือนละ 2 ครั้ง บางแห่งนัดเพื่อแจกเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และให้ข้อมูลข่าวสาร บางแห่งมีการจัดทำหลักสูตรวิธีการถ่ายทอดความรู้ และจัดห้องเรียนอย่างเหมาะสม สามารถ่ายทอดองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ โดยคำนึงความต้องการแท้จริงของนักเรียนผู้สูงอายุ คำนึงถึงองค์ประกอบพื้นฐาน ประสบการณ์ในอาชีพ ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ และที่น่าสนใจ คือ ผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับนักเรียนสูงวัย มาจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายชุมชน หรืออาจารย์พยาบาลที่มาแนะนำการดูแลสุขภาพ ปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งเป็นความหลากหลายทางความรู้ที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ
ศ.ศศิพัฒน์ กล่าวต่อว่า การที่ผู้สูงวัยได้มีโอกาสไปโรงเรียนผู้สูงอายุมีประโยชน์อย่างมาก เพราะเมื่อเกิดกิจกรรมระหว่างกัน จะลบภาพเชิงลบที่เคยมองตนเองออกไป และทำให้รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า สามารถนำองค์ความรู้ทีได้รับมา ไปถ่ายทอดต่อกับบุตรหลานในครอบครัวได้ ส่วนด้านสุขภาพ โดยเฉพาะการได้รับความรู้ในการดูแลตนเอง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี เช่น ใส่ใจการทำความสะอาดร่างกายและเสื้อผ้า ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานยาอย่างถูกวิธี ซึ่งสะท้อนว่านักเรียนสูงอายุสามารถเข้าใจตนเอง และรับรู้ผลกระทบต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตามโรงเรียนผู้สูงอายุควรได้รับการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาจากหน่วยงานภาครัฐ และท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ ทั้งด้านงบประมาณ องค์ความรู้ ด้านเทคนิค ทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ และก้าวต่อไปจึงควรดำเนินงานแบบบูรณาการร่วมกัน เพื่อให้เกิดกิจกรรมที่ดีในการเสริมสร้างความเท่าเทียมแก่คนทุกวัย
ด้าน รศ.ดร.สรันยา เฮงพระพรหม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สังคมผู้สูงอายุถือเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคน ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลย แต่จะต้องมีการเตรียมความพร้อมสำหรับผู้สูงอายุในอนาคตและในปัจจุบันให้พร้อมมากที่สุด จากงานวิจัยจากโครงการ “ชุดความรู้” ที่ทำให้เกิด “ความตระหนักรู้ด้านสุขภาพ” จึงได้พัฒนาเครื่องมือ เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ที่กระจัดกระจายนั้น มาสร้างเป็นชุดความรู้ สำหรับกลุ่มเป้าหมายสองกลุ่ม คือ วัยมัธยมศึกษา และกลุ่มวัยแรงงาน โดยจะมุ่งเน้นไปที่กลุ่มวัยเด็กมัธยมศึกษาอายุ 15 - 20 ปี เป็นหลักก่อน เพราะจะเป็นการมอบแบบฝึกหัดเพื่อสร้างกระบวนการความคิดของเด็ก ให้ปลูกฝังความพร้อมที่จะเผชิญสังคมผู้สูงอายุแต่เนิ่น ๆ โดยชุดความรู้ดังกล่าวจะเป็นลักษณะแบบฝึกหัด สร้างกระบวนการคิด ซึ่งจะมีการนำไปใช้ใน 5 โรงเรียนนำร่อง จ.นครราชสีมา เพื่อเป็นต้นแบบการเรียนการสอน โดยสอดแทรกเอาไว้ในวิชาแขนงต่าง ๆ ตามแต่ที่โรงเรียนเห็นเหมาะสม ซึ่งผลลัพธ์จากงานวิจัยชิ้นนี้จะถูกรวบรวมอย่างเป็นระบบเอาไว้
นายอดุลย์ ภู่ภัทรางค์ ผู้อำนวยการโรงเรียน บัวลาย จ.นครราชสีมา หนึ่งในโรงเรียนที่นำชุดความรู้แบบฝึกหัดดังกล่าวไปทดลองใช้ กล่าวว่า ผลวิจัยมุ่งมาที่กลุ่มเด็กนักเรียนเพื่อให้เตรียมตัว ด้วยการสร้างกระบวนการความคิด ตระหนักถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นอนาคต เพื่อให้พร้อมในการรับมือเมื่อเผชิญกับสังคมผู้สูงวัย แต่ที่น่ากังวลคือ เด็กรู้แล้วจะนำไปใช้หรือไม่ จึงเป็นอีกโจทย์ที่นอกจากมอบความรู้ให้แล้ว เด็กต้องสามารถนำความรู้นั้นไปใช้ประโยชน์ได้ด้วย และต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงการปลูกฝังกระบวนการความคิดเกี่ยวกับสังคมผู้สูงอายุ
ด้าน รศ.ดร.วิพรรณ ประจวบเหมาะ คณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การส่งเสริมการทำงานของผู้สูงอายุมีแต่ได้กับได้ กล่าวคือ เป็นการสร้างหลักประกันที่มั่นคงด้านรายได้ให้กับผู้สูงอายุ เพิ่มการอยู่ดีมีสุข ซึ่งเรื่องนี้เป็นหัวใจสำคัญ อีกทั้งยังเพิ่มบทบาทและคุณค่าของผู้สูงอายุด้วยการมีส่วนร่วมเชิงเศรษฐกิจ และในแง่การทดแทนประชากรในวัยแรงงานที่มีแนวโน้มถดถอยลงด้วย แต่ในแง่ผู้ประกอบการไม่เห็นด้วยกับการจ้างงาน เพราะมองว่า ไม่คุ้มทุนหากเทียบกับจ้างคนในวัยแรงงาน แต่ผลการวิจัยพบว่า สามารถสร้างเงื่อนไขและหางานที่เหมาะสมกับวัยได้ นอกจากนี้ ขอฝากข้อเสนอแนะในฐานะผู้ทำวิจัยเรื่องดังกล่าว ว่า รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำต้องส่งเสริมการจ้างงานให้กับผู้สูงอายุในอาชีพที่เหมาะสมกับวัย ประสบการณ์ และสมรรถภาพทางร่างกาย รวมถึงสร้างทัศนคติเชิงบวกต่อการทำงานของผู้สูงอายุ และยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการพึ่งพาตนเอง