“...อันธงไชยเฉลิมพล ดั่งที่ได้มอบให้แก่หน่วยทหารต่างๆ ไปแล้วนี้ กล่าวโดยทั่วไป ก็คือธงประจำกองทหาร ดั่งที่ได้ระบุอยู่ในกฎกระทรวงกลาโหมแล้ว แต่โดยนัยความหมาย ย่อมมีความสำคัญยิ่ง เป็นสิ่งที่ทหารจะต้องเคารพเทิดทูน และรักษาไว้เสมอเหมือนดังชีวิตของตน
ที่คันธงและผืนธง ได้รวบรวมเครื่องหมายต่างๆ อันหมายถึงบรรดาสถาบัน ที่ทหารพึงเคารพเทิดทูน และมีหน้าที่ป้องกันรักษา คือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ อยู่ครบถ้วนแล้ว นอกจากนี้ ยังมีรูปอุณาโลม พร้อมด้วยอักษร 'สละชีพเพื่อชาติ' เป็นคำขวัญปลุกใจให้องอาจกล้าหาญ ระลึกถึงเกียรติและหน้าที่อีกด้วย รวมความว่า ธงนี้ย่อมเป็นมิ่งขวัญ แสดงความเป็นปึกแผ่น และเตือนใจให้ระลึกถึงเกียรติและหน้าที่ของทหารนั่นเอง
ฉะนั้น ขอทหารทั้งหลายจงเทิดทูนและรักษาธงไชยเฉลิมพลของตนไว้ให้จงดี และมั่นอยู่ในคำสัตย์ปฏิญาณ ซึ่งย่อมจะต้องได้กระทำต่อธงไชยเฉลิมพลนั้น อย่าให้เสียความสัตย์ได้ จงมั่นอยู่ในระเบียบวินัย และพยายามปฏิบัติหน้าที่ของตน ให้สมกับเป็นชายชาติทหาร
ขอให้ธงไชยเฉลิมพลอันได้มอบแล้วนี้ จงเป็นมิ่งขวัญ นำสิริมงคล เกียรติ และโชคชัย มาสู่หน่วยต่างๆ ทั่วกัน...”
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการพิธีพระราชทานธงไชยเฉลิมพลประจำกองพันทหาร เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๖ ความตอนที่ยกมานี้ ย่อมทำให้ทราบถึงความสำคัญของธงไชยเฉลิมพล ซึ่งในยามสงคราม การคงอยู่ของธงไชยเฉลิมพล ย่อมหมายถึงความคงอยู่ของหน่วยทหารด้วย ดังนั้น เมื่อทหารเห็นธงไชยเฉลิมพล จึงเกิดความกล้าหาญในการต่อสู้ เพื่อปกป้องเกียรติยศของตนและหน่วยของตน
เพื่อให้ตระหนักถึงบทบาทของธงไชยเพิ่มขึ้น จักได้นำความส่วนหนึ่งใน “ธชัคคสูตร” ที่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ได้ทรงบรรยายไว้มาแสดงให้ศึกษาดังนี้
“...คำว่า ธชัคคะ แปลว่า ยอดธง ธชัคคสูตรคือพระสูตรที่แสดงถึงยอดธง อันท่านแสดงว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงเรื่องเทวาสุรสงคราม คือ สงครามแห่งเทพดากับอสูร ซึ่งเป็นเรื่องที่เคยมีมาแล้ว โดยตรัสเล่าว่า เมื่อเทพดาทั้งหลายรบกับอสูร ความกลัวบังเกิดขึ้นแก่เทพดาทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทวดาจึงได้ตรัสแนะนำให้หมู่เทพแลดูยอดธงหรือชายธงของพระองค์ หรือว่าของเทวราชที่รองลงมา ความกลัวก็จะหายไปได้
ส่วนพระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายว่า เมื่อเข้าไปอยู่ในป่าเกิดความกลัวขึ้น ก็ให้ระลึกถึงพระองค์ หรือระลึกถึงพระธรรม หรือระลึกถึงพระสงฆ์ ความกลัวก็จะหายไป
พระสูตรนี้แสดงทางธรรมปฏิบัติก็คือ ให้เจริญพุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ ในเมื่อภิกษุทั้งหลาย หรือผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย เข้าไปอยู่ในป่า ก็จะทำให้ความกลัวต่างๆ หายไปได้...”
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงบรรยายด้วยว่า พระพุทธเจ้าตรัสว่าการดูชายธงของเทวราชนั้น ความหวาดกลัวก็อาจหายไป หรือยังคงดำรงอยู่
“...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนั้นแล คือการแลดูชายธงของเทวราช ผู้เป็นเจ้าแห่งเทพก็ตาม การแลดูชายธงของเทวราชชื่อปชาบดีก็ตาม การแลดูชายธงของเทวราชชื่อวรุณก็ตาม การแลดูชายธงของเทวราชชื่ออีสาณก็ตาม ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้าที่จักมี ก็จักหายไปได้บ้าง ไม่หายไปบ้าง ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุแห่งอะไร
เพราะเหตุว่า ท้าวสักกเทวราชผู้เป็นเจ้าแห่งเทพ เธอมีราคะยังไม่สิ้นไป มีโทสะยังไม่สิ้นไป มีโมหะยังไม่สิ้นไป เธอยังเป็นผู้กลัว ยังเป็นผู้หวาด ยังเป็นผู้สะดุ้ง ยังเป็นผู้หนี ดั่งนี้...”
นี่ย่อมแสดงให้เห็นถึงบทบาทของธงไชยเฉลิมพล ในการสร้างความมั่นใจในการรบ แต่ความมั่นใจนี้ ก็ไม่มั่นคง เพราะว่าผู้เป็นแม่ทัพยังมีกิเลสอยู่ นั่นย่อมทำให้เขาสามารถหนีในยามคับขันได้เสมอ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงบรรยายต่อไปว่า
“...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนเรา(พระพุทธเจ้า)แล กล่าวอย่างนี้ว่า ถ้าว่า เพื่อท่านทั้งหลายไปอยู่ในป่าก็ตาม ไปอยู่ทีโคนไม้ก็ตาม ไปอยู่ที่เรือนเปล่าก็ตาม ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้า ที่บังเกิดขึ้นในสมัยใด
ในสมัยนั้นท่านทั้งหลายพึงระลึกถึงเรานั่นเทียวว่า “อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ” แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นฯ
เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ตามระลึกถึงเราอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมี ก็จักหายไป
ถ้าท่านทั้งหลายไม่ระลึกถึงเรา ทีนั้นพึงระลึกถึงพระธรรมว่า “สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม” พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วฯ
เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ตามระลึกถึงพระธรรมอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมี ก็จักหายไป
ถ้าท่านทั้งหลายไม่ระลึกถึงพระธรรม ทีนั้นพึงระลึกถึงพระสงฆ์ว่า “สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ” พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้วฯ
เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมี ก็จักหายไป
ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร เหตุว่าพระตถาคตเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีราคะสิ้นไปแล้ว มีโทสะสิ้นไปแล้ว มีโมหะสิ้นไปแล้ว เป็นผู้ไม่กลัว เป็นผู้ไม่หวาด เป็นผู้ไม่สะดุ้ง เป็นผู้ไม่หนี ดั่งนี้...”
เพราะเหตุนี้ ในการเจริญพระพุทธมนต์จึงได้จัดให้นำธชัคคสูตร มาเป็นบทสวดด้วย ในการสวดมนต์เมื่อมีเวลามาก หรือในพิธีใหญ่ที่ต้องการให้สวดพระสูตรเต็ม ก็สวดพระสูตรเต็ม ในการสวดมนต์ทั่วไป สวดจำเพาะอนุสสรณปาฐะ คือปาฐะที่เป็นอนุสสรณะ คือเป็นเครื่องระลึกถึงคุณแห่งพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ก็คือสวด อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ เป็นต้น ต่อด้วย สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม เป็นต้น ต่อด้วย สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ เป็นต้น ก็คือสวดจำเพาะพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เท่านั้น
ในที่สุดแห่งธรรมบรรยายธชัคคสูตรนี้ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ได้ทรงแนะนำธรรมปฏิบัติไว้ว่า “...ด้วยเหตุที่พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณนั้น เป็นบทที่บริสุทธิ์ แม้จิตจะระลึกถึงโดยพยัญชนะ ไม่รู้ความ ก็ยังเป็นการดี เพราะเป็นบทที่บริสุทธิ์ ไม่มีบทไหนที่ไม่บริสุทธิ์ บริสุทธิ์อย่างยิ่งจริงๆ จิตก็อยู่กับบทสวดที่บริสุทธิ์ ก็ทำให้จิตเป็นสมาธิได้ และแม้ในการเจริญอานาปานสติที่หายใจเข้า “พุท” หายใจออก “โธ” ก็เป็นการเจริญพุทธานุสสติไปกับลมหายใจเข้าออก เมื่อเจริญหายใจเข้า “ธัม” หายใจออก “โม” ก็เป็นการเจริญธัมมานุสสติไปกับลมหายใจเข้าออก เมื่อใช้หายใจเข้า “สัง” หายใจออก “โฆ” ก็เป็นการเจริญสังฆานุสสติไปกับลมหายใจเข้าออก”
ในสงคราม การคงอยู่ของธงไชยเฉลิมพล ย่อมหมายถึงชัยชนะของหน่วยทหาร แต่ในชีวิตจริงของคนเรา บุคคลใดที่สามารถมีพระไตรรัตน์เป็นธงชัยของชีวิต บุคคลนั้นย่อมสามารถชนะอุปสรรคทั้งปวงได้เป็นนิตย์
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 188 สิงหาคม 2559 โดย พระครูพิศาลสรนาท วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กทม.)
ที่คันธงและผืนธง ได้รวบรวมเครื่องหมายต่างๆ อันหมายถึงบรรดาสถาบัน ที่ทหารพึงเคารพเทิดทูน และมีหน้าที่ป้องกันรักษา คือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ อยู่ครบถ้วนแล้ว นอกจากนี้ ยังมีรูปอุณาโลม พร้อมด้วยอักษร 'สละชีพเพื่อชาติ' เป็นคำขวัญปลุกใจให้องอาจกล้าหาญ ระลึกถึงเกียรติและหน้าที่อีกด้วย รวมความว่า ธงนี้ย่อมเป็นมิ่งขวัญ แสดงความเป็นปึกแผ่น และเตือนใจให้ระลึกถึงเกียรติและหน้าที่ของทหารนั่นเอง
ฉะนั้น ขอทหารทั้งหลายจงเทิดทูนและรักษาธงไชยเฉลิมพลของตนไว้ให้จงดี และมั่นอยู่ในคำสัตย์ปฏิญาณ ซึ่งย่อมจะต้องได้กระทำต่อธงไชยเฉลิมพลนั้น อย่าให้เสียความสัตย์ได้ จงมั่นอยู่ในระเบียบวินัย และพยายามปฏิบัติหน้าที่ของตน ให้สมกับเป็นชายชาติทหาร
ขอให้ธงไชยเฉลิมพลอันได้มอบแล้วนี้ จงเป็นมิ่งขวัญ นำสิริมงคล เกียรติ และโชคชัย มาสู่หน่วยต่างๆ ทั่วกัน...”
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการพิธีพระราชทานธงไชยเฉลิมพลประจำกองพันทหาร เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๖ ความตอนที่ยกมานี้ ย่อมทำให้ทราบถึงความสำคัญของธงไชยเฉลิมพล ซึ่งในยามสงคราม การคงอยู่ของธงไชยเฉลิมพล ย่อมหมายถึงความคงอยู่ของหน่วยทหารด้วย ดังนั้น เมื่อทหารเห็นธงไชยเฉลิมพล จึงเกิดความกล้าหาญในการต่อสู้ เพื่อปกป้องเกียรติยศของตนและหน่วยของตน
เพื่อให้ตระหนักถึงบทบาทของธงไชยเพิ่มขึ้น จักได้นำความส่วนหนึ่งใน “ธชัคคสูตร” ที่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ได้ทรงบรรยายไว้มาแสดงให้ศึกษาดังนี้
“...คำว่า ธชัคคะ แปลว่า ยอดธง ธชัคคสูตรคือพระสูตรที่แสดงถึงยอดธง อันท่านแสดงว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงเรื่องเทวาสุรสงคราม คือ สงครามแห่งเทพดากับอสูร ซึ่งเป็นเรื่องที่เคยมีมาแล้ว โดยตรัสเล่าว่า เมื่อเทพดาทั้งหลายรบกับอสูร ความกลัวบังเกิดขึ้นแก่เทพดาทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทวดาจึงได้ตรัสแนะนำให้หมู่เทพแลดูยอดธงหรือชายธงของพระองค์ หรือว่าของเทวราชที่รองลงมา ความกลัวก็จะหายไปได้
ส่วนพระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายว่า เมื่อเข้าไปอยู่ในป่าเกิดความกลัวขึ้น ก็ให้ระลึกถึงพระองค์ หรือระลึกถึงพระธรรม หรือระลึกถึงพระสงฆ์ ความกลัวก็จะหายไป
พระสูตรนี้แสดงทางธรรมปฏิบัติก็คือ ให้เจริญพุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ ในเมื่อภิกษุทั้งหลาย หรือผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย เข้าไปอยู่ในป่า ก็จะทำให้ความกลัวต่างๆ หายไปได้...”
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงบรรยายด้วยว่า พระพุทธเจ้าตรัสว่าการดูชายธงของเทวราชนั้น ความหวาดกลัวก็อาจหายไป หรือยังคงดำรงอยู่
“...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนั้นแล คือการแลดูชายธงของเทวราช ผู้เป็นเจ้าแห่งเทพก็ตาม การแลดูชายธงของเทวราชชื่อปชาบดีก็ตาม การแลดูชายธงของเทวราชชื่อวรุณก็ตาม การแลดูชายธงของเทวราชชื่ออีสาณก็ตาม ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้าที่จักมี ก็จักหายไปได้บ้าง ไม่หายไปบ้าง ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุแห่งอะไร
เพราะเหตุว่า ท้าวสักกเทวราชผู้เป็นเจ้าแห่งเทพ เธอมีราคะยังไม่สิ้นไป มีโทสะยังไม่สิ้นไป มีโมหะยังไม่สิ้นไป เธอยังเป็นผู้กลัว ยังเป็นผู้หวาด ยังเป็นผู้สะดุ้ง ยังเป็นผู้หนี ดั่งนี้...”
นี่ย่อมแสดงให้เห็นถึงบทบาทของธงไชยเฉลิมพล ในการสร้างความมั่นใจในการรบ แต่ความมั่นใจนี้ ก็ไม่มั่นคง เพราะว่าผู้เป็นแม่ทัพยังมีกิเลสอยู่ นั่นย่อมทำให้เขาสามารถหนีในยามคับขันได้เสมอ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงบรรยายต่อไปว่า
“...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนเรา(พระพุทธเจ้า)แล กล่าวอย่างนี้ว่า ถ้าว่า เพื่อท่านทั้งหลายไปอยู่ในป่าก็ตาม ไปอยู่ทีโคนไม้ก็ตาม ไปอยู่ที่เรือนเปล่าก็ตาม ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้า ที่บังเกิดขึ้นในสมัยใด
ในสมัยนั้นท่านทั้งหลายพึงระลึกถึงเรานั่นเทียวว่า “อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ” แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นฯ
เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ตามระลึกถึงเราอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมี ก็จักหายไป
ถ้าท่านทั้งหลายไม่ระลึกถึงเรา ทีนั้นพึงระลึกถึงพระธรรมว่า “สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม” พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วฯ
เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ตามระลึกถึงพระธรรมอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมี ก็จักหายไป
ถ้าท่านทั้งหลายไม่ระลึกถึงพระธรรม ทีนั้นพึงระลึกถึงพระสงฆ์ว่า “สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ” พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้วฯ
เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมี ก็จักหายไป
ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร เหตุว่าพระตถาคตเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีราคะสิ้นไปแล้ว มีโทสะสิ้นไปแล้ว มีโมหะสิ้นไปแล้ว เป็นผู้ไม่กลัว เป็นผู้ไม่หวาด เป็นผู้ไม่สะดุ้ง เป็นผู้ไม่หนี ดั่งนี้...”
เพราะเหตุนี้ ในการเจริญพระพุทธมนต์จึงได้จัดให้นำธชัคคสูตร มาเป็นบทสวดด้วย ในการสวดมนต์เมื่อมีเวลามาก หรือในพิธีใหญ่ที่ต้องการให้สวดพระสูตรเต็ม ก็สวดพระสูตรเต็ม ในการสวดมนต์ทั่วไป สวดจำเพาะอนุสสรณปาฐะ คือปาฐะที่เป็นอนุสสรณะ คือเป็นเครื่องระลึกถึงคุณแห่งพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ก็คือสวด อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ เป็นต้น ต่อด้วย สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม เป็นต้น ต่อด้วย สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ เป็นต้น ก็คือสวดจำเพาะพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เท่านั้น
ในที่สุดแห่งธรรมบรรยายธชัคคสูตรนี้ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ได้ทรงแนะนำธรรมปฏิบัติไว้ว่า “...ด้วยเหตุที่พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณนั้น เป็นบทที่บริสุทธิ์ แม้จิตจะระลึกถึงโดยพยัญชนะ ไม่รู้ความ ก็ยังเป็นการดี เพราะเป็นบทที่บริสุทธิ์ ไม่มีบทไหนที่ไม่บริสุทธิ์ บริสุทธิ์อย่างยิ่งจริงๆ จิตก็อยู่กับบทสวดที่บริสุทธิ์ ก็ทำให้จิตเป็นสมาธิได้ และแม้ในการเจริญอานาปานสติที่หายใจเข้า “พุท” หายใจออก “โธ” ก็เป็นการเจริญพุทธานุสสติไปกับลมหายใจเข้าออก เมื่อเจริญหายใจเข้า “ธัม” หายใจออก “โม” ก็เป็นการเจริญธัมมานุสสติไปกับลมหายใจเข้าออก เมื่อใช้หายใจเข้า “สัง” หายใจออก “โฆ” ก็เป็นการเจริญสังฆานุสสติไปกับลมหายใจเข้าออก”
ในสงคราม การคงอยู่ของธงไชยเฉลิมพล ย่อมหมายถึงชัยชนะของหน่วยทหาร แต่ในชีวิตจริงของคนเรา บุคคลใดที่สามารถมีพระไตรรัตน์เป็นธงชัยของชีวิต บุคคลนั้นย่อมสามารถชนะอุปสรรคทั้งปวงได้เป็นนิตย์
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 188 สิงหาคม 2559 โดย พระครูพิศาลสรนาท วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กทม.)