xs
xsm
sm
md
lg

มองเป็นเห็นธรรม : โพชฌงคปริตร คาถาขจัดโรคภัยไข้เจ็บ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

โพชฌงคปริตรเป็นปริตรที่โบราณาจารย์นำโพชฌงคสูตร ทั้ง ๓ สูตร คือ (๑) มหากัสปโพชฌงคสูตร (๒) มหาโมคคัลลานโพชฌงคสูตร (๓) มหาจุนทโพชฌงคสูตร เนื้อหาโพชฌงคสูตรทั้ง ๓ นั้น กล่าวถึงหลักธรรม ๗ ประการคือ ๑. สติ ความระลึกได้ ๒. ธัมมวิจยะ การเลือกเฟ้นธรรม ๓. วิริยะ ความเพียร ๔. ปีติ ความอิ่มใจ ๕. ปัสสัทธิ ความสงบ ๖. สมาธิ ความตั้งใจมั่น ๗. อุเบกขา ความวางเฉย มาประพันธ์เป็นคาถา เรียกว่า โพชฌงคปริตร เป็นคาถาสำหรับเจริญภาวนา โดยน้อมเป็นสัจกิริยา เพื่อให้พระปริตรเป็นธรรมโอสถบังเกิดพุทธานุภาพ ขจัดโรคภัยไข้เจ็บให้อันตรธานหายไป เกิดเป็นความสุขสวัสดี

ภายหลังได้เกิดความนิยมว่า เมื่อเจ็บป่วยไม่สบาย ก็จะสวดโพชฌงคปริตร ซึ่งเป็นทั้งโอสถเป็นทั้งมนต์ เมื่อมีผู้หลักใหญ่ในบ้านเจ็บป่วยเป็นไข้หนัก ก็จะนิมนต์พระสงฆ์มาสวดโพชฌงคปริตรให้ฟัง หรือไม่ลูกหลานก็จะสวดโพชฌงคปริตรให้ฟัง แม้ในงานทำบุญอายุ พระสงฆ์ก็จะสวดพระปริตรบทนี้ เพื่อเป็นการคุ้มครองป้องกันไม่ให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บและให้มีอายุยืน ผู้ไม่ต้องการเจ็บป่วย และปรารถนาความเป็นผู้มีอายุยืน โดยปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ จึงควรเจริญโพชฌงคปริตรตามแบบอย่างพุทธสาวก

บทสวดโพชฌงคปริตร ที่ขึ้นต้นว่า “โพชฌังโค สะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา ฯ แปลความได้ว่า โพชฌงค์ ๗ ประการ คือ ๑. สติ ความระลึกได้ ๒. ธัมมวิจยะ การเลือกเฟ้นพิจารณาธรรม ๓. วิริยะ ความเพียร ๔. ปีติ ความอิ่มใจ ๕. ปัสสัทธิ ความสงบ ๖. สมาธิ ความตั้งใจมั่น ๗. อุเบกขา ความวางเฉย เหล่านี้เป็นธรรมที่พระมุนีเจ้า ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวงตรัสไว้ชอบแล้ว บุคคลอบรมฝึกฝนให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อพระนิพพาน ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

สมัยหนึ่ง พระโลกนาถเจ้าทอดพระเนตรเห็นพระโมคคัลลานะ และพระกัสสปะเป็นไข้ได้ความลำบาก จึงทรงแสดงโพชฌงค์ ๗ ประการให้ท่านทั้งสองฟัง ท่านทั้งสองต่างชื่นชมยินดีพระธรรมเทศนานั้นแล้ว กลับหายจากโรคทันที ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

ครั้งหนึ่ง องค์พระธรรมราชาเองทรงประชวรไข้ รับสั่งให้พระจุนทะเถระกล่าวโพชฌงค์ ๗ ประการนั้นถวายโดยเคารพ ทรงบันเทิงพระหฤทัย หายจากพระประชวรนั้นแท้จริง ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

แท้จริงแล้ว อาพาธเหล่านั้นของท่านผู้ทรงคุณอันยิ่งใหญ่ทั้ง ๓ อันตรธานไปไม่กลับเป็นอีก เหมือนอริยมรรคกำจัดกิเลสลงราบแล้วไม่เกิดอีกเป็นธรรมดา ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อฯ”


สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงแสดงถึง หลักปฏิบัติในโพชฌงค์ทั้ง ๗ ไว้ว่า

“...อันโพชฌงค์เป็นคำเรียกสั้นๆ เรียกเต็มว่าสัมโพชฌงค์ ที่แปลว่าองค์ของความรู้พร้อม เป็นธรรมะหมวดสำคัญที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้ในฐานะ ๒ อย่าง คืออย่างหนึ่งในฐานะที่ต่อเนื่อง โดยมากก็ตรัสแสดงไว้ต่อเนื่องจากสติปัฏฐาน คือสติปัฏฐาน โพชฌงค์ วิชชาวิมุติ ต่อเนื่องกันไป อีกฐานะหนึ่งตรัสสอนโพชฌงค์ไว้โดยเอกเทศ เป็นหลักปฏิบัติทั้งหมด ดังเช่นเป็นหลักปฏิบัติในกรรมฐาน แม้ที่เป็นสมถกรรมฐานทุกข้อ ก็ปฏิบัติตามหลักในโพชฌงค์ทั้ง ๗ นี้...

สติสัมโพชฌงค์ สัมโพชฌงค์คือสตินั้น ก็ได้แก่สติ ความระลึก ความกำหนด และสติดังกล่าวนี้คือที่เป็นสัมโพชฌงค์ ก็เป็นสติเพื่อรู้ คือเพื่อปัญญาความรู้ทั่วถึง เพื่อญาณความหยั่งรู้ เพื่อสัมโพธะหรือสัมโพธิ ความรู้พร้อม หรือความตรัสรู้พร้อม และสติดังที่กล่าวมานี้ก็จะต้องมีอาหารของสติ เหมือนอย่างร่างกายต้องมีอาหารสำหรับบำรุงร่างกาย อาหารของสติสัมโพชฌงค์ก็ตรัสว่าได้แก่ธรรมะ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสติ และโยนิโสมนสิการ ความทำไว้ในใจโดยแยบคาย ก็คือพิจารณาจับเหตุจับผล เมื่อมีธรรมะอันเป็นที่ตั้งของสติ และมีโยนิโสมนสิการ ก็ย่อมปฏิบัติทำสติสัมโพชฌงค์ให้บังเกิดขึ้นได้

ธัมวิจยสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์คือความเลือกเฟ้นธรรม หรือวิจัยธรรม ก็เพื่อรู้นั้นเอง และก็ต้องมีอาหารเช่นเดียวกัน อาหารของข้อนี้ก็คือธรรมะที่เป็นกุศล และเป็นอกุศล ธรรมะที่มีโทษ และไม่มีโทษ ธรรมะที่เลวและประณีต ธรรมะที่เทียบกับขาวและดำ กับโยนิโสมนสิการ ความพิจารณาโดยแยบคาย คือจับเหตุจับผล

วิริยสัมโพชฌงค์ สัมโพชฌงค์คือวิริยะความเพียร ก็ต้องมีอาหารเช่นเดียวกัน อาหารของข้อนี้ก็คือ อารัมภธาตุ ทำความเพียรให้ทรงตัวขึ้นด้วยอารัมภะคือความริเริ่ม นิกกมธาตุ ทำความเพียรให้ทรงตัว ด้วยความดำเนินไป ปรักกมธาตุ ทำความเพียรให้ทรงตัว ด้วยปฏิบัติให้ก้าวหน้าไปจนบรรลุถึงความสำเร็จ กับโยนิโสมนสิการพิจารณาโดยแยบคาย จับเหตุจับผล

ปีติสัมโพชฌงค์ สัมโพชฌงค์คือปีติ ก็ต้องมีอาหารเช่นเดียวกัน อาหารของข้อนี้ก็คือธรรมะอันเป็นที่ตั้งของปีติ กับโยนิโสมนสิการ ความพิจารณาโดยแยบคาย จับเหตุจับผล

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สัมโพชฌงค์คือปัสสัทธิความสงบ ก็ต้องมีอาหารเช่นเดียวกัน อาหารของข้อนี้ก็คือ กายปัสสัทธิ ความสงบกาย จิตปัสสัทธิ ความสงบใจ กับโยนิโสมนสิการ ความพิจารณาโดยแยบคาย จับเหตุจับผล

สมาธิสัมโพชฌงค์ สัมโพชฌงค์คือสมาธิ ก็ต้องมีอาหารเช่นเดียวกัน อาหารของข้อนี้คือธรรมะอันเป็นที่ตั้งของสมาธิ ได้แก่ สมาธินิมิต ที่กำหนดหมายแห่งสมาธิ อัพยัคคนิมิต นิมิตที่มียอดไม่แตก คือมียอดเป็นอันเดียวกัน ที่เรียกว่าเอกัคคตา คือความที่จิตมียอดเป็นอันเดียว อันหมายความว่ามีอารมณ์เป็นอันเดียว กับโยนิโสมนสิการพิจารณาโดยแยบคาย จับเหตุจับผล

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ สัมโพชฌงค์คืออุเบกขา ก็ได้แก่ธรรมะอันเป็นที่ตั้งของอุเบกขา กับโยนิโสมนสิการพิจารณาโดยแยบคายจับเหตุจับผล ดั่งนี้...”

เมื่อยามเจ็บป่วย ทุกข์ก็จะเกิดขึ้นในกาย ถ้าปฏิบัติตามโพชฌงค์นี้ ก็เริ่มต้นที่ให้สติกำหนดเอาเมตตาเป็นที่ตั้ง (สติสัมโพชฌงค์) ในขณะที่เจริญเมตตานั้น ใจก็จะพิจารณาเมตตาด้วยปัญญา เห็นเหตุเห็นผล รู้ว่าเมตตาเป็นกุศลธรรม (ธัมวิจยสัมโพชฌงค์) ก็พยายามที่จะรักษาใจให้ดำรงอยู่ในเมตตานั้น ไม่ยอมให้อกุศลธรรมมาเบียดเบียนเมตตาที่ตนกำลังเจริญอยู่ (วิริยสัมโพชฌงค์) เมตตาก็เป็นเครื่องขัดเกลาจิตให้บริสุทธิ์จากโทสะพยาบาท จากราคะสิเนหา ปรากฏเป็นจิตใจที่แจ่มใสสะอาด จึงบังเกิดความอิ่มใจขึ้น (ปีติสัมโพชฌงค์) กายก็สงบระงับจากโรคภัย จิตใจก็สงบ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) จิตที่มีความสงบความสุขเป็นพื้นฐานดั่งนี้ ก็ตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ (สมาธิสัมโพชฌงค์) เมื่อจิตใจอยู่ในสมาธิ ก็ไม่วุ่นวาย วางเฉย ด้วยความรู้ที่สงบนั้น (อุเบกขาสัมโพชฌงค์)

<ร>ความเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นธรรมชาติปกติของร่างกาย แต่การรักษาใจให้อยู่ในโพชฌงคธรรม เป็นธรรมปฏิบัติในยามเจ็บป่วย ที่แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงปฏิบัติ ควรที่ยามปกติจักได้ปฏิบัติตนในโพชฌงคธรรมอยู่เสมอ แล้วจะประสบอานิสงส์ผลที่ยิ่งขึ้นไปตามกำลังปฏิบัตินั่นแล

(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 190 ตุลาคม 2559 โดย มองเป็นเห็นธรรม : โพชฌงคปริตร คาถาขจัดโรคภัยไข้เจ็บ

โปรย : ภายหลังได้เกิดความนิยมว่า เมื่อเจ็บป่วยไม่สบาย ก็จะสวดโพชฌงคปริตร ซึ่งเป็นทั้งโอสถเป็นทั้งมนต์

โพชฌงคปริตรเป็นปริตรที่โบราณาจารย์นำโพชฌงคสูตร ทั้ง ๓ สูตร คือ (๑) มหากัสปโพชฌงคสูตร (๒) มหาโมคคัลลานโพชฌงคสูตร (๓) มหาจุนทโพชฌงคสูตร เนื้อหาโพชฌงคสูตรทั้ง ๓ นั้น กล่าวถึงหลักธรรม ๗ ประการคือ ๑. สติ ความระลึกได้ ๒. ธัมมวิจยะ การเลือกเฟ้นธรรม ๓. วิริยะ ความเพียร ๔. ปีติ ความอิ่มใจ ๕. ปัสสัทธิ ความสงบ ๖. สมาธิ ความตั้งใจมั่น ๗. อุเบกขา ความวางเฉย มาประพันธ์เป็นคาถา เรียกว่า โพชฌงคปริตร เป็นคาถาสำหรับเจริญภาวนา โดยน้อมเป็นสัจกิริยา เพื่อให้พระปริตรเป็นธรรมโอสถบังเกิดพุทธานุภาพ ขจัดโรคภัยไข้เจ็บให้อันตรธานหายไป เกิดเป็นความสุขสวัสดี

ภายหลังได้เกิดความนิยมว่า เมื่อเจ็บป่วยไม่สบาย ก็จะสวดโพชฌงคปริตร ซึ่งเป็นทั้งโอสถเป็นทั้งมนต์ เมื่อมีผู้หลักใหญ่ในบ้านเจ็บป่วยเป็นไข้หนัก ก็จะนิมนต์พระสงฆ์มาสวดโพชฌงคปริตรให้ฟัง หรือไม่ลูกหลานก็จะสวดโพชฌงคปริตรให้ฟัง แม้ในงานทำบุญอายุ พระสงฆ์ก็จะสวดพระปริตรบทนี้ เพื่อเป็นการคุ้มครองป้องกันไม่ให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บและให้มีอายุยืน ผู้ไม่ต้องการเจ็บป่วย และปรารถนาความเป็นผู้มีอายุยืน โดยปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ จึงควรเจริญโพชฌงคปริตรตามแบบอย่างพุทธสาวก

บทสวดโพชฌงคปริตร ที่ขึ้นต้นว่า “โพชฌังโค สะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา ฯ แปลความได้ว่า โพชฌงค์ ๗ ประการ คือ ๑. สติ ความระลึกได้ ๒. ธัมมวิจยะ การเลือกเฟ้นพิจารณาธรรม ๓. วิริยะ ความเพียร ๔. ปีติ ความอิ่มใจ ๕. ปัสสัทธิ ความสงบ ๖. สมาธิ ความตั้งใจมั่น ๗. อุเบกขา ความวางเฉย เหล่านี้เป็นธรรมที่พระมุนีเจ้า ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวงตรัสไว้ชอบแล้ว บุคคลอบรมฝึกฝนให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อพระนิพพาน ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

สมัยหนึ่ง พระโลกนาถเจ้าทอดพระเนตรเห็นพระโมคคัลลานะ และพระกัสสปะเป็นไข้ได้ความลำบาก จึงทรงแสดงโพชฌงค์ ๗ ประการให้ท่านทั้งสองฟัง ท่านทั้งสองต่างชื่นชมยินดีพระธรรมเทศนานั้นแล้ว กลับหายจากโรคทันที ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

ครั้งหนึ่ง องค์พระธรรมราชาเองทรงประชวรไข้ รับสั่งให้พระจุนทะเถระกล่าวโพชฌงค์ ๗ ประการนั้นถวายโดยเคารพ ทรงบันเทิงพระหฤทัย หายจากพระประชวรนั้นแท้จริง ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

แท้จริงแล้ว อาพาธเหล่านั้นของท่านผู้ทรงคุณอันยิ่งใหญ่ทั้ง ๓ อันตรธานไปไม่กลับเป็นอีก เหมือนอริยมรรคกำจัดกิเลสลงราบแล้วไม่เกิดอีกเป็นธรรมดา ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อฯ”


สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงแสดงถึง หลักปฏิบัติในโพชฌงค์ทั้ง ๗ ไว้ว่า

“...อันโพชฌงค์เป็นคำเรียกสั้นๆ เรียกเต็มว่าสัมโพชฌงค์ ที่แปลว่าองค์ของความรู้พร้อม เป็นธรรมะหมวดสำคัญที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้ในฐานะ ๒ อย่าง คืออย่างหนึ่งในฐานะที่ต่อเนื่อง โดยมากก็ตรัสแสดงไว้ต่อเนื่องจากสติปัฏฐาน คือสติปัฏฐาน โพชฌงค์ วิชชาวิมุติ ต่อเนื่องกันไป อีกฐานะหนึ่งตรัสสอนโพชฌงค์ไว้โดยเอกเทศ เป็นหลักปฏิบัติทั้งหมด ดังเช่นเป็นหลักปฏิบัติในกรรมฐาน แม้ที่เป็นสมถกรรมฐานทุกข้อ ก็ปฏิบัติตามหลักในโพชฌงค์ทั้ง ๗ นี้...

สติสัมโพชฌงค์ สัมโพชฌงค์คือสตินั้น ก็ได้แก่สติ ความระลึก ความกำหนด และสติดังกล่าวนี้คือที่เป็นสัมโพชฌงค์ ก็เป็นสติเพื่อรู้ คือเพื่อปัญญาความรู้ทั่วถึง เพื่อญาณความหยั่งรู้ เพื่อสัมโพธะหรือสัมโพธิ ความรู้พร้อม หรือความตรัสรู้พร้อม และสติดังที่กล่าวมานี้ก็จะต้องมีอาหารของสติ เหมือนอย่างร่างกายต้องมีอาหารสำหรับบำรุงร่างกาย อาหารของสติสัมโพชฌงค์ก็ตรัสว่าได้แก่ธรรมะ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสติ และโยนิโสมนสิการ ความทำไว้ในใจโดยแยบคาย ก็คือพิจารณาจับเหตุจับผล เมื่อมีธรรมะอันเป็นที่ตั้งของสติ และมีโยนิโสมนสิการ ก็ย่อมปฏิบัติทำสติสัมโพชฌงค์ให้บังเกิดขึ้นได้

ธัมวิจยสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์คือความเลือกเฟ้นธรรม หรือวิจัยธรรม ก็เพื่อรู้นั้นเอง และก็ต้องมีอาหารเช่นเดียวกัน อาหารของข้อนี้ก็คือธรรมะที่เป็นกุศล และเป็นอกุศล ธรรมะที่มีโทษ และไม่มีโทษ ธรรมะที่เลวและประณีต ธรรมะที่เทียบกับขาวและดำ กับโยนิโสมนสิการ ความพิจารณาโดยแยบคาย คือจับเหตุจับผล

วิริยสัมโพชฌงค์ สัมโพชฌงค์คือวิริยะความเพียร ก็ต้องมีอาหารเช่นเดียวกัน อาหารของข้อนี้ก็คือ อารัมภธาตุ ทำความเพียรให้ทรงตัวขึ้นด้วยอารัมภะคือความริเริ่ม นิกกมธาตุ ทำความเพียรให้ทรงตัว ด้วยความดำเนินไป ปรักกมธาตุ ทำความเพียรให้ทรงตัว ด้วยปฏิบัติให้ก้าวหน้าไปจนบรรลุถึงความสำเร็จ กับโยนิโสมนสิการพิจารณาโดยแยบคาย จับเหตุจับผล

ปีติสัมโพชฌงค์ สัมโพชฌงค์คือปีติ ก็ต้องมีอาหารเช่นเดียวกัน อาหารของข้อนี้ก็คือธรรมะอันเป็นที่ตั้งของปีติ กับโยนิโสมนสิการ ความพิจารณาโดยแยบคาย จับเหตุจับผล

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สัมโพชฌงค์คือปัสสัทธิความสงบ ก็ต้องมีอาหารเช่นเดียวกัน อาหารของข้อนี้ก็คือ กายปัสสัทธิ ความสงบกาย จิตปัสสัทธิ ความสงบใจ กับโยนิโสมนสิการ ความพิจารณาโดยแยบคาย จับเหตุจับผล

สมาธิสัมโพชฌงค์ สัมโพชฌงค์คือสมาธิ ก็ต้องมีอาหารเช่นเดียวกัน อาหารของข้อนี้คือธรรมะอันเป็นที่ตั้งของสมาธิ ได้แก่ สมาธินิมิต ที่กำหนดหมายแห่งสมาธิ อัพยัคคนิมิต นิมิตที่มียอดไม่แตก คือมียอดเป็นอันเดียวกัน ที่เรียกว่าเอกัคคตา คือความที่จิตมียอดเป็นอันเดียว อันหมายความว่ามีอารมณ์เป็นอันเดียว กับโยนิโสมนสิการพิจารณาโดยแยบคาย จับเหตุจับผล

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ สัมโพชฌงค์คืออุเบกขา ก็ได้แก่ธรรมะอันเป็นที่ตั้งของอุเบกขา กับโยนิโสมนสิการพิจารณาโดยแยบคายจับเหตุจับผล ดั่งนี้...”

เมื่อยามเจ็บป่วย ทุกข์ก็จะเกิดขึ้นในกาย ถ้าปฏิบัติตามโพชฌงค์นี้ ก็เริ่มต้นที่ให้สติกำหนดเอาเมตตาเป็นที่ตั้ง (สติสัมโพชฌงค์) ในขณะที่เจริญเมตตานั้น ใจก็จะพิจารณาเมตตาด้วยปัญญา เห็นเหตุเห็นผล รู้ว่าเมตตาเป็นกุศลธรรม (ธัมวิจยสัมโพชฌงค์) ก็พยายามที่จะรักษาใจให้ดำรงอยู่ในเมตตานั้น ไม่ยอมให้อกุศลธรรมมาเบียดเบียนเมตตาที่ตนกำลังเจริญอยู่ (วิริยสัมโพชฌงค์) เมตตาก็เป็นเครื่องขัดเกลาจิตให้บริสุทธิ์จากโทสะพยาบาท จากราคะสิเนหา ปรากฏเป็นจิตใจที่แจ่มใสสะอาด จึงบังเกิดความอิ่มใจขึ้น (ปีติสัมโพชฌงค์) กายก็สงบระงับจากโรคภัย จิตใจก็สงบ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) จิตที่มีความสงบความสุขเป็นพื้นฐานดั่งนี้ ก็ตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ (สมาธิสัมโพชฌงค์) เมื่อจิตใจอยู่ในสมาธิ ก็ไม่วุ่นวาย วางเฉย ด้วยความรู้ที่สงบนั้น (อุเบกขาสัมโพชฌงค์)

ความเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นธรรมชาติปกติของร่างกาย แต่การรักษาใจให้อยู่ในโพชฌงคธรรม เป็นธรรมปฏิบัติในยามเจ็บป่วย ที่แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงปฏิบัติ ควรที่ยามปกติจักได้ปฏิบัติตนในโพชฌงคธรรมอยู่เสมอ แล้วจะประสบอานิสงส์ผลที่ยิ่งขึ้นไปตามกำลังปฏิบัตินั่นแล

(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 190 ตุลาคม 2559 โดย พระครูพิศาลสรนาท วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กทม.).)
กำลังโหลดความคิดเห็น