มนุษย์ทุกคนบนโลกนี้ ล้วนปรารถนาจะมีที่พึ่งอันประเสริฐของตนเอง จึงต่างแสวงหาที่พึ่งนั้น จนได้สมความปรารถนา ที่พึ่งอันประเสริฐจึงปรากฏแก่มนุษย์ไปตามจินตนาการของเขา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกล่าวถึง “ที่พึ่ง” ในพระบรมราโชวาท ที่พระราชทานแก่คณะผู้แทนพุทธสมาคมทั่วประเทศ เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ ความว่า
“...เนื่องจากที่ได้กล่าวว่า ท่านทั้งหลายหวังในบารมี ให้ปกเกล้าบ้านเมืองนั้น ก็เป็นข้อหนึ่งที่น่าคิด เพราะว่าบ้านเมืองประกอบด้วยบุคคล และแต่ละบุคคลจะต้องทำด้วยตนเอง ตามหลักของพระพุทธศาสนา แต่ละคนจะต้องการอะไร ก็ต้องการความสุขคือความสงบ และความสุขและความสงบนั้น จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยตนเอง ฉะนั้น ที่จะให้คนอื่นมาปกป้องรักษา ก็เป็นสิ่งที่ยาก ถ้าตัวเองไม่ทำ อันนี้เป็นข้อที่สำคัญยิ่ง
ในพระพุทธศาสนาและผู้ที่ถือตัวว่าเป็นพุทธศาสนิก ต้องพึ่งตัวเอง มิใช่พึ่งคนอื่น แต่การที่จะอาศัยคนอื่น ก็อาศัยได้โดยดูผู้อื่นที่ปฏิบัติดีชอบ และคอยฟังสิ่งที่ผู้อื่นที่เราเนว่าปฏิบัติดีชอบ ได้พูดได้แนะนำ ดังนี้ ก็เป็นสิ่งที่อาศัยผู้อื่นได้ ฉะนั้น ก็จะต้องมีการพิจารณาของตัวเองว่า ผู้ที่น่าที่จะดูการปฏิบัติ หรือฟังข้อแนะนำ ในการปฏิบัติและทำตาม อันนี้ก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้บุคคล ได้บรรลุถึงความสำเร็จความสุขได้...”
เมื่อพิจารณาพระบรมราโชวาทองค์นี้ นำให้คิดถึงบทสวดมนต์ที่ว่า
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นสรณะ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ
บทสวดนี้คุ้นหูคุ้นปากพุทธศาสนิกชนเป็นอย่างดี ถ้าเราสามารถเข้าถึงสรณะในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ได้ตามครรลองที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ประโยชน์อันควรแก่เราก็ย่อมปรากฏขึ้นมา
พระอรรถกถาจารย์ได้ชี้แจงเรื่อง สรณคมน์ ใน อรรถกถาขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ความว่า “พระรัตนตรัยที่ชื่อว่า สรณะ เพราะกำจัด อธิบายว่า บีบ ทำลาย นำออก ดับภัย คือความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ทุกข์ ทุคติ ความเศร้าหมอง ด้วยการถึงสรณะนั้นนั่นแล ของคนทั้งหลายที่ถึงสรณคมน์
อีกนัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าชื่อว่าสรณะ เพราะกำจัดภัยของสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการให้เข้าถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์ และนำออกจากสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ พระธรรมชื่อว่าสรณะ เพราะให้สัตว์ข้ามพ้นกันดารคือภพ และให้ความโปร่งใจ พระสงฆ์ชื่อว่าสรณะ เพราะกระทำสักการะ แม้เล็กน้อยให้ กลับได้ผลอันไพบูลย์ เพราะฉะนั้น พระรัตนตรัยนั้นจึงชื่อว่า สรณะ...”
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงกล่าวถึงความหมายของ “สรณะ” ในหนังสือแสงส่องใจ วิสาขบูชา ๒๕๓๘ ความว่า
“...สรณะนั้น แม้ทั่วไปจะแปลว่า “ที่พึ่ง” แต่ที่จริงมีความหมายเป็นพิเศษ สำหรับผู้นับถือศาสนา สรณะ หมายถึง พระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เท่านั้น ไม่ได้หมายถึงที่พึ่งอื่น แม้มารดาบิดา ผู้เป็นที่พึ่งมีพระคุณยิ่งใหญ่ของบุตรธิดาก็ยังไม่ใช่สรณะ ยังเป็นสรณะไม่ได้
สรณะ มีความหมายสูงพ้นความหมายที่พึ่งทั้งปวง สรณะเป็นที่พึ่งที่ไม่มีบกพร่อง ไม่มีผิดพลาดแม้เล็กน้อยเพียงใด เชื่อถือได้ ปฏิบัติตามได้ ถูกต้องงดงามทุกประการและทุกกาลเวลา จะกล่าวว่า สรณะเป็นอกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาลก็ได้ ก็จริง ก็ถูกต้อง เพราะสรณะคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นั้น เป็นสรณะทุกกาลทุกเมื่อ ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เลือกเวลา ถึงสรณะเมื่อใด ก็ได้รับคุณแห่งสรณะ คือ คุณแห่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เมื่อนั้น เป็นคุณที่บริสุทธิ์แท้จริงปราศจากโทษแม้เล็กน้อยเพียงใด
การถึงเป็นสรณะ คือการเชื่อและปฏิบัติตามอย่างไม่เคลือบแคลงสงสัย ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ คือเชื่อพระพุทธเจ้า ปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ที่เป็นพระธรรม โดยผ่านพระสงฆ์ที่อัญเชิญมาปฏิบัติ จนได้รับผลด้วยองค์ท่านเองและอัญเชิญมาสอนต่อ
ตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่ จงเป็นผู้ฉลาดสำนึกให้มั่นคงแน่วแน่ว่า ความสำเร็จยิ่งใหญ่ในการเกิดมาเป็นคน คือปฏิบัติได้ผลในพระพุทธศาสนา เป็นผลที่จักปรากฏแก่จิตใจตนเป็นอันดับแรก และจะแผ่ไปถึงผู้อื่นทั้งหลายได้ด้วย ผลการปฏิบัติพระพุทธศาสนาที่ปรากฏชัดในใจผู้ปฏิบัตินั้น มีความสำคัญสูงสุด...”
พระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์ (เทสก์ เทสฺรงฺสี) กล่าวถึง การถึงพระรัตนตรัย ในหนังสือของดีมีในศาสนาพุทธ ความว่า
“...พระรัตนตรัยนี้เป็นเครื่องวัดของผู้เป็นพุทธมามกะในพุทธศาสนาโดยแท้ คือ เราขอถึงพระพุทธเจ้า ๑, ขอถึงพระธรรม ๑, ขอถึงพระอริยสงฆ์ ๑, ไม่ถือมงคลตื่นข่าว คือ เชื่อกรรรม เชื่อผลของกรรม เราทำกรรมดีย่อมได้รับผลเป็นสุขตอบแทนด้วยตนเอง เราทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลเป็นทุกข์ตอบแทนด้วยตนเอง คนอื่นจะรับแทนไม่ได้ ๑, ไม่ทำบุญนอกจากพุทธศาสนา (เว้นแต่ทำเพื่อสงเคราะห์ อนุเคราะห์ ) ๑, องค์ทั้ง ๕ ประการนี้เป็นเครื่องวัดด้วยใจของตนเองว่า เรา "ขอถึง" หรือเรา "ถึงแล้ว" ขอถึงกับถึงแล้วมันผิดกัน
ขอถึง คือ เห็นว่าพระไตรสรณคมน์เป็นของดี ชนส่วนมากเขาถือกัน เราก็อยากจะถือบ้างเพื่อจะได้เป็นคนดีกับเขา และก็ไปขอถึงกับเขาบ้าง แต่ไม่รู้จักว่าไตรสรณคมน์นั้นเป็นอย่างไร จะรู้บ้างก็เป็นแต่คำพูดของคนอื่น หรือตามตำราเท่านั้น ไม่ซาบซึ้งเข้าถึงจิตใจของตนจริงๆ นี่เรียกว่าขอถึง ก็ยังดีกว่าไม่ขอถึงเสียเลย เพราะผู้ขอถึงนานๆเข้าอาจเข้าถึง เพราะการศึกษาเข้าใจถ่องแท้ในพระรัตนตรัย
ถึงแล้ว คือ ผู้ที่เข้าถึงพระรัตนตรัยเบื้องต้นด้วยการได้ยิน ได้ฟัง ได้เห็น เสียก่อน เช่น ได้เห็นพระพุทธเจ้าด้วยตาของตนเอง หรือเห็นแล้วได้ฟังธรรมเทศนาของพระองค์ หรือได้ฟังธรรมเทศนาที่พระองค์ใดองค์หนึ่งท่านเทศน์ให้ฟัง หรือได้เห็นพระอริยสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง แล้วเกิดศรัทธาเลื่อมใสขึ้นในใจ แล้วจิตใจของผู้นั้นเข้าถึงคือ เลื่อมใสศรัทธาเอาเป็นสรณะที่พึ่งจริงๆ ไม่เอาที่พึ่งอื่น เช่น ภูตผีปีศาจ ต้นไม้ ภูเขา เทวดา เป็นต้น สิ่งที่เคยเป็นที่พึ่งมาแต่ก่อนทิ้งหมด แล้วก็ไม่ได้คำนึงถึงข้อที่ท่านบัญญัติไว้ ๕ ประการ...
ผู้จะถึงพระไตรสรณคมน์ได้มั่นคง ต้องมีปัญญาพิจารณาเห็นด้วยใจของตนจริงๆ ว่า เราทำกรรมดีต้องได้รับผลเป็นสุขตอบแทน เราทำกรรมชั่วต้องได้รับผลเป็นทุกข์ตอบแทนด้วยตนเอง คนอื่นจะมารับแทนไม่ได้ อย่างนี้แน่วแน่ในใจจริงๆ จึงจะถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิตได้...”
การศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ในพุทธประวัติ พระธรรมวินัยที่ควรแก่การดำเนินชีวิตให้เกิดสันติสุขเป็นนิตย์ และปฏิปทาของพระอริยสงฆ์ ย่อมนำตนให้ได้ที่พึ่งอันประเสริฐ ด้วยเหตุว่า เมื่อยามเกิดอุปสรรคในชีวิต ที่ทำให้เกิดความท้อแท้ขึ้นในจิตใจ ความมีสติในขณะนั้นจะนำให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ว่าเมื่อพระพุทธองค์ทรงประสบอุปสรรค ทรงใช้พระธรรมข้อใดในการดำรงพระองค์ให้ผ่านอุปสรรคนั้น และทรงสอนพระสงฆ์สาวกให้ชนะอุปสรรคที่ประสบอย่างไร พระรัตนตรัยที่ระลึกถึงย่อมนำให้เกิดกำลังใจในการต่อสู้ชีวิต ด้วยตระหนักรู้ถึงกรรมอย่างมีเหตุผล นำตนได้สัมฤทธิผลในชีวิตตามปรารถนาได้ในที่สุด
เมื่อสามารถพัฒนาปัญญาให้เข้าถึงพระรัตนตรัย ก็ทำให้ตนเองมีที่พึ่งอันประเสริฐ นำตนเองให้เข้าใจตระหนักชัดถึงพุทธภาษิตที่ว่า อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนแล เป็นที่พึ่งแห่งตน อันสอดคล้องกับพระบรมราโชวาทที่ว่า “ในพระพุทธศาสนาและผู้ที่ถือตัวว่าเป็นพุทธศาสนิก ต้องพึ่งตัวเอง มิใช่พึ่งคนอื่น”
เหตุนี้เมื่อได้ยินเสียงคำสวดหรือสวดมนต์ในสรณคมน์ว่า พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ฯลฯ จงถามตนเองเสมอว่า เราได้ถึงพระรัตนตรัยแล้วหรือ?
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 182 กุมภาพันธ์ 2559 โดย พระครูพิศาลสรนาท วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กทม.)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกล่าวถึง “ที่พึ่ง” ในพระบรมราโชวาท ที่พระราชทานแก่คณะผู้แทนพุทธสมาคมทั่วประเทศ เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ ความว่า
“...เนื่องจากที่ได้กล่าวว่า ท่านทั้งหลายหวังในบารมี ให้ปกเกล้าบ้านเมืองนั้น ก็เป็นข้อหนึ่งที่น่าคิด เพราะว่าบ้านเมืองประกอบด้วยบุคคล และแต่ละบุคคลจะต้องทำด้วยตนเอง ตามหลักของพระพุทธศาสนา แต่ละคนจะต้องการอะไร ก็ต้องการความสุขคือความสงบ และความสุขและความสงบนั้น จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยตนเอง ฉะนั้น ที่จะให้คนอื่นมาปกป้องรักษา ก็เป็นสิ่งที่ยาก ถ้าตัวเองไม่ทำ อันนี้เป็นข้อที่สำคัญยิ่ง
ในพระพุทธศาสนาและผู้ที่ถือตัวว่าเป็นพุทธศาสนิก ต้องพึ่งตัวเอง มิใช่พึ่งคนอื่น แต่การที่จะอาศัยคนอื่น ก็อาศัยได้โดยดูผู้อื่นที่ปฏิบัติดีชอบ และคอยฟังสิ่งที่ผู้อื่นที่เราเนว่าปฏิบัติดีชอบ ได้พูดได้แนะนำ ดังนี้ ก็เป็นสิ่งที่อาศัยผู้อื่นได้ ฉะนั้น ก็จะต้องมีการพิจารณาของตัวเองว่า ผู้ที่น่าที่จะดูการปฏิบัติ หรือฟังข้อแนะนำ ในการปฏิบัติและทำตาม อันนี้ก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้บุคคล ได้บรรลุถึงความสำเร็จความสุขได้...”
เมื่อพิจารณาพระบรมราโชวาทองค์นี้ นำให้คิดถึงบทสวดมนต์ที่ว่า
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นสรณะ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ
บทสวดนี้คุ้นหูคุ้นปากพุทธศาสนิกชนเป็นอย่างดี ถ้าเราสามารถเข้าถึงสรณะในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ได้ตามครรลองที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ประโยชน์อันควรแก่เราก็ย่อมปรากฏขึ้นมา
พระอรรถกถาจารย์ได้ชี้แจงเรื่อง สรณคมน์ ใน อรรถกถาขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ความว่า “พระรัตนตรัยที่ชื่อว่า สรณะ เพราะกำจัด อธิบายว่า บีบ ทำลาย นำออก ดับภัย คือความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ทุกข์ ทุคติ ความเศร้าหมอง ด้วยการถึงสรณะนั้นนั่นแล ของคนทั้งหลายที่ถึงสรณคมน์
อีกนัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าชื่อว่าสรณะ เพราะกำจัดภัยของสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการให้เข้าถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์ และนำออกจากสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ พระธรรมชื่อว่าสรณะ เพราะให้สัตว์ข้ามพ้นกันดารคือภพ และให้ความโปร่งใจ พระสงฆ์ชื่อว่าสรณะ เพราะกระทำสักการะ แม้เล็กน้อยให้ กลับได้ผลอันไพบูลย์ เพราะฉะนั้น พระรัตนตรัยนั้นจึงชื่อว่า สรณะ...”
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงกล่าวถึงความหมายของ “สรณะ” ในหนังสือแสงส่องใจ วิสาขบูชา ๒๕๓๘ ความว่า
“...สรณะนั้น แม้ทั่วไปจะแปลว่า “ที่พึ่ง” แต่ที่จริงมีความหมายเป็นพิเศษ สำหรับผู้นับถือศาสนา สรณะ หมายถึง พระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เท่านั้น ไม่ได้หมายถึงที่พึ่งอื่น แม้มารดาบิดา ผู้เป็นที่พึ่งมีพระคุณยิ่งใหญ่ของบุตรธิดาก็ยังไม่ใช่สรณะ ยังเป็นสรณะไม่ได้
สรณะ มีความหมายสูงพ้นความหมายที่พึ่งทั้งปวง สรณะเป็นที่พึ่งที่ไม่มีบกพร่อง ไม่มีผิดพลาดแม้เล็กน้อยเพียงใด เชื่อถือได้ ปฏิบัติตามได้ ถูกต้องงดงามทุกประการและทุกกาลเวลา จะกล่าวว่า สรณะเป็นอกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาลก็ได้ ก็จริง ก็ถูกต้อง เพราะสรณะคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นั้น เป็นสรณะทุกกาลทุกเมื่อ ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เลือกเวลา ถึงสรณะเมื่อใด ก็ได้รับคุณแห่งสรณะ คือ คุณแห่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เมื่อนั้น เป็นคุณที่บริสุทธิ์แท้จริงปราศจากโทษแม้เล็กน้อยเพียงใด
การถึงเป็นสรณะ คือการเชื่อและปฏิบัติตามอย่างไม่เคลือบแคลงสงสัย ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ คือเชื่อพระพุทธเจ้า ปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ที่เป็นพระธรรม โดยผ่านพระสงฆ์ที่อัญเชิญมาปฏิบัติ จนได้รับผลด้วยองค์ท่านเองและอัญเชิญมาสอนต่อ
ตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่ จงเป็นผู้ฉลาดสำนึกให้มั่นคงแน่วแน่ว่า ความสำเร็จยิ่งใหญ่ในการเกิดมาเป็นคน คือปฏิบัติได้ผลในพระพุทธศาสนา เป็นผลที่จักปรากฏแก่จิตใจตนเป็นอันดับแรก และจะแผ่ไปถึงผู้อื่นทั้งหลายได้ด้วย ผลการปฏิบัติพระพุทธศาสนาที่ปรากฏชัดในใจผู้ปฏิบัตินั้น มีความสำคัญสูงสุด...”
พระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์ (เทสก์ เทสฺรงฺสี) กล่าวถึง การถึงพระรัตนตรัย ในหนังสือของดีมีในศาสนาพุทธ ความว่า
“...พระรัตนตรัยนี้เป็นเครื่องวัดของผู้เป็นพุทธมามกะในพุทธศาสนาโดยแท้ คือ เราขอถึงพระพุทธเจ้า ๑, ขอถึงพระธรรม ๑, ขอถึงพระอริยสงฆ์ ๑, ไม่ถือมงคลตื่นข่าว คือ เชื่อกรรรม เชื่อผลของกรรม เราทำกรรมดีย่อมได้รับผลเป็นสุขตอบแทนด้วยตนเอง เราทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลเป็นทุกข์ตอบแทนด้วยตนเอง คนอื่นจะรับแทนไม่ได้ ๑, ไม่ทำบุญนอกจากพุทธศาสนา (เว้นแต่ทำเพื่อสงเคราะห์ อนุเคราะห์ ) ๑, องค์ทั้ง ๕ ประการนี้เป็นเครื่องวัดด้วยใจของตนเองว่า เรา "ขอถึง" หรือเรา "ถึงแล้ว" ขอถึงกับถึงแล้วมันผิดกัน
ขอถึง คือ เห็นว่าพระไตรสรณคมน์เป็นของดี ชนส่วนมากเขาถือกัน เราก็อยากจะถือบ้างเพื่อจะได้เป็นคนดีกับเขา และก็ไปขอถึงกับเขาบ้าง แต่ไม่รู้จักว่าไตรสรณคมน์นั้นเป็นอย่างไร จะรู้บ้างก็เป็นแต่คำพูดของคนอื่น หรือตามตำราเท่านั้น ไม่ซาบซึ้งเข้าถึงจิตใจของตนจริงๆ นี่เรียกว่าขอถึง ก็ยังดีกว่าไม่ขอถึงเสียเลย เพราะผู้ขอถึงนานๆเข้าอาจเข้าถึง เพราะการศึกษาเข้าใจถ่องแท้ในพระรัตนตรัย
ถึงแล้ว คือ ผู้ที่เข้าถึงพระรัตนตรัยเบื้องต้นด้วยการได้ยิน ได้ฟัง ได้เห็น เสียก่อน เช่น ได้เห็นพระพุทธเจ้าด้วยตาของตนเอง หรือเห็นแล้วได้ฟังธรรมเทศนาของพระองค์ หรือได้ฟังธรรมเทศนาที่พระองค์ใดองค์หนึ่งท่านเทศน์ให้ฟัง หรือได้เห็นพระอริยสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง แล้วเกิดศรัทธาเลื่อมใสขึ้นในใจ แล้วจิตใจของผู้นั้นเข้าถึงคือ เลื่อมใสศรัทธาเอาเป็นสรณะที่พึ่งจริงๆ ไม่เอาที่พึ่งอื่น เช่น ภูตผีปีศาจ ต้นไม้ ภูเขา เทวดา เป็นต้น สิ่งที่เคยเป็นที่พึ่งมาแต่ก่อนทิ้งหมด แล้วก็ไม่ได้คำนึงถึงข้อที่ท่านบัญญัติไว้ ๕ ประการ...
ผู้จะถึงพระไตรสรณคมน์ได้มั่นคง ต้องมีปัญญาพิจารณาเห็นด้วยใจของตนจริงๆ ว่า เราทำกรรมดีต้องได้รับผลเป็นสุขตอบแทน เราทำกรรมชั่วต้องได้รับผลเป็นทุกข์ตอบแทนด้วยตนเอง คนอื่นจะมารับแทนไม่ได้ อย่างนี้แน่วแน่ในใจจริงๆ จึงจะถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิตได้...”
การศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ในพุทธประวัติ พระธรรมวินัยที่ควรแก่การดำเนินชีวิตให้เกิดสันติสุขเป็นนิตย์ และปฏิปทาของพระอริยสงฆ์ ย่อมนำตนให้ได้ที่พึ่งอันประเสริฐ ด้วยเหตุว่า เมื่อยามเกิดอุปสรรคในชีวิต ที่ทำให้เกิดความท้อแท้ขึ้นในจิตใจ ความมีสติในขณะนั้นจะนำให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ว่าเมื่อพระพุทธองค์ทรงประสบอุปสรรค ทรงใช้พระธรรมข้อใดในการดำรงพระองค์ให้ผ่านอุปสรรคนั้น และทรงสอนพระสงฆ์สาวกให้ชนะอุปสรรคที่ประสบอย่างไร พระรัตนตรัยที่ระลึกถึงย่อมนำให้เกิดกำลังใจในการต่อสู้ชีวิต ด้วยตระหนักรู้ถึงกรรมอย่างมีเหตุผล นำตนได้สัมฤทธิผลในชีวิตตามปรารถนาได้ในที่สุด
เมื่อสามารถพัฒนาปัญญาให้เข้าถึงพระรัตนตรัย ก็ทำให้ตนเองมีที่พึ่งอันประเสริฐ นำตนเองให้เข้าใจตระหนักชัดถึงพุทธภาษิตที่ว่า อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนแล เป็นที่พึ่งแห่งตน อันสอดคล้องกับพระบรมราโชวาทที่ว่า “ในพระพุทธศาสนาและผู้ที่ถือตัวว่าเป็นพุทธศาสนิก ต้องพึ่งตัวเอง มิใช่พึ่งคนอื่น”
เหตุนี้เมื่อได้ยินเสียงคำสวดหรือสวดมนต์ในสรณคมน์ว่า พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ฯลฯ จงถามตนเองเสมอว่า เราได้ถึงพระรัตนตรัยแล้วหรือ?
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 182 กุมภาพันธ์ 2559 โดย พระครูพิศาลสรนาท วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กทม.)