ในสมัยที่พระพุทธเจ้าทรงอาพาธลงพระโลหิต ประทับอยู่ในเวฬุวคาม ท้าวสักกเทวราชทรงทราบถึงพระอาพาธของพระพุทธองค์ สืบเนื่องมาจากที่ทรงปลงอายุสังขารแล้ว จึงคิดว่าจะไปยังสำนักของพระพุทธองค์ เพื่อทำหน้าที่คิลานุปัฏฐาก คิดแล้วก็นิรมิตกายเป็นมนุษย์ไปเฝ้าพระพุทธองค์ ถวายนวดพระบาทด้วยพระหัตถ์ทั้งสอง
ท้าวสักกะได้ทำหน้าที่คิลานุปัฏฐากด้วยความเลื่อมใสศรัทธา ไม่ให้บุคคลอื่นถูกต้องภาชนะพระบังคนหนักของพระพุทธองค์เลย ยามจะนำภาชนะพระบังคนหนักไปทำความสะอาด ท้าวสักกะทรงทูนภาชนะนั้นไว้บนพระเศียร ดุจดังนำภาชนะของหอมไป
ท้าวสักกะปฏิบัติพระพุทธองค์เช่นนี้ จนถึงเวลาที่ทรงมีความสำราญแล้ว จึงได้ทูลลาเสด็จกลับทิพยวิมานของตน ด้วยความอิ่มเอิบใจในบุญของตนที่ได้กระทำแล้ว
พระพุทธองค์ทรงนำเรื่องนี้มาสอนภิกษุทั้งหลายว่า “การพบเห็นเหล่าอริยบุคคล เป็นการดี, การอยู่ร่วม (ด้วยเหล่าอริยบุคคล) ให้เกิดสุขทุกเมื่อ, บุคคลพึงเป็นผู้มีสุขเป็นนิตย์แท้จริง เพราะไม่พบเห็นพวกคนพาล, เพราะว่าคนเที่ยวสมาคมกับคนพาล ย่อมโศกเศร้าตลอดกาลยืดยาวนาน, ความอยู่ร่วมกับพวกคนพาลให้เกิดทุกข์เสมอไป เหมือนความอยู่ร่วมด้วยศัตรู, ปราชญ์มีความอยู่ร่วมกันเป็นสุข เหมือนสมาคมแห่งญาติ, เพราะฉะนั้น แลท่านทั้งหลายจงคบหาผู้ที่เป็นปราชญ์ และมีปัญญา ทั้งเป็นพหุสูต นำธุระไปเป็นปกติ มีวัตร เป็นอริยบุคคล เป็นสัตบุรุษ มีปัญญาดี เช่นนั้น เหมือนพระจันทร์ ซ่องเสพคลองแห่งนักขัตฤกษ์ฉะนั้น”
ธรรมบทเรื่องท้าวสักกะ ที่นำมาแสดงนี้ ได้บ่งชี้ให้ทราบถึงความศรัทธาที่กอปรด้วยปัญญาของท้าวสักกะ ผู้มุ่งที่จะแสดงกตัญญูกตเวทิตาธรรมต่อพระพุทธองค์ ผู้ประทานพรหมวิหารธรรมแก่ท่านเสมอมา สมดังนัยแห่งภาษิตที่สมเด็จพระสังฆราช(สา ปุสฺสเทว) ทรงนิพนธ์ไว้ว่า “ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี”
ศรัทธาในพระพุทธศาสนา จำแนกเป็น ๔ อย่างคือ ๑. เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า คือเชื่อในพระธรรม อันได้แก่หลักพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงสั่งสอนไว้ และพระสงฆ์ได้ทรงจำ นำมาปฏิบัติเผยแผ่ให้พุทธศาสนิกชนได้เข้าใจ และน้อมนำมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต ๒. เชื่อกรรม คือเชื่อในการกระทำของตนเองว่า เมื่อทำอะไรโดยมีเจตนา ย่อมเป็นเหตุก่อให้เกิดผลดีผลร้ายสืบเนื่องต่อไป ๓. เชื่อผลของกรรม คือเชื่อว่าผลของการกระทำของตนเองมีจริง ผลดีเกิดจากการกระทำความดี ผลชั่วเกิดจากกระทำความชั่ว ๔. เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน คือเชื่อว่าแต่ละคนจะต้องรับผิดชอบผลของกรรมที่ตนได้ทำแล้วในอดีต ที่จำได้ก็ดี จำไม่ได้ก็ดี ชีวิตในปัจจุบันของตนย่อมเป็นไปตามกรรมของตน
ผู้ที่สามารถทำตนให้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ย่อมเป็นผู้พิจารณากรรมของตนเองด้วยปัญญาอยู่เสมอ ให้เห็นเหตุเห็นผลของกรรม และตระหนักรู้ด้วยปัญญาในที่สุด เมื่อหาเหตุหาผลในปัจจุบันไม่ได้ว่า เหตุการณ์ที่ตนประสบอยู่ในขณะนี้เป็นผลของกรรมในอดีตที่ผ่านมา เขาจึงบริหารกรรมของตนในปัจจุบันให้เป็นไปแต่กุศล กอปรด้วยประโยชน์ เขาก็ย่อมได้รับผลสำเร็จจากกรรมนี้ในอนาคตเอง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทราบถึงศรัทธาที่กอปรด้วยปัญญา จากการปฏิบัติพระองค์ในธรรมที่ทรงศึกษาแล้ว พระองค์จึงทรงพระราชทานพระบรมราโชวาท เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ความว่า
“...ศรัทธาและปัญญานี้ เป็นปัจจัยอย่างสำคัญสำหรับการปฏิบัติบริหารงานของท่าน ขอให้ถนอมรักษาไว้ให้มั่นคง และสร้างเสริมให้เพิ่มพูนหนักแน่นยิ่งๆ ขึ้น เพื่อเป็นกำลังในการศึกษาพิจารณาธรรมะ ปฏิบัติธรรมะ และช่วยเหลือแนะนำผู้อื่นให้เรียนรู้ เข้าใจ และปฏิบัติตามธรรมะได้อย่างถูกต้อง เมื่อมีผู้รู้ธรรมะและปฏิบัติธรรมะอย่างถูกต้องมากขึ้น ศีลธรรมจริยธรรมของประชาชนก็จะเจริญงอกงาม...”
สิ่งที่ทรงตรัสในพระบรมราโชวาทองค์นี้ นำให้สามารถวิเคราะห์ถึงความสำเร็จของนักธุรกิจที่นับถือพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี ดังเช่น นายคาซุโอะ อินาโมริ (Mr.Kazuo Inamori) ผู้ก่อตั้งบริษัท Kyocera และ บริษัทKDDI คือหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก และเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในประเทศญี่ปุ่น ด้วยเหตุนี้เขาจึงได้รับเลือกจากรัฐบาลญี่ปุ่น ให้เป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหาของสายการบินเจแปนแอร์ไลน์ที่กำลังล้มละลาย ซึ่งเขาสามารถทำให้สายการบินเจแปนแอร์ไลน์กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งภายในเวลา ๒ ปี
ในหนังสือที่คาซุโอะ อินาโมริ เขียน ซึ่งสำนักพิมพ์ วีเลิร์นได้นำมาแปลเป็นภาคไทย ว่า ช้า ให้ ชนะ เขาได้เล่าถึง การเรียนรู้การขอบคุณจากพระพุทธรูปกลางหุบเขา ว่า “...พอผมอายุได้สักสี่ห้าขวบ พ่อก็พาผมไปสักการะพระพุทธรูปในวัดที่ได้รับการสงวนไว้อย่างลับๆ.....ผมจำได้ว่าตัวเองเกิดความรู้สึกเลื่อมใสขึ้นมาอย่างประหลาด เมื่อเราไปถึงจุดหมายปลายทาง...เด็กๆที่เดินทางมา ถูกจัดให้นั่งคุกเข่าอยู่ด้านหลังพระรูปนั้น และฟังเสียงสวดมนต์อันนุ่มลึก หลังสวดจบ พระท่านก็บอกให้เราเรียงแถวกัน จุดธูปและสวดมนต์ทีละคน จากนั้นก็พูดบางอย่างกับเรา ท่านบอกให้เด็กหลายคนกลับมาอีกครั้ง แต่บอกผมว่า “ เธอไม่ต้องกลับมาที่นี่แล้ว เธอทำทุกอย่างได้ดีแล้ว ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ให้เธอกล่าวนมัสการพระพุทธคุณทุกวันว่า ‘ นัมมัม นัมมัม อะริงะโต (ข้าพเจ้าเชื่อในพระพุทธองค์ ผู้เป็นยิ่งกว่าแสงสว่างใดๆในโลก ขอขอบคุณ)’
....การเดินทางไปยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ เป็นประสบการณ์ทางศาสนาครั้งแรก ที่สร้างความประทับใจให้กับผมมาก มันเปิดโอกาสให้ผมได้เรียนรู้ความสำคัญของการรู้สึกขอบคุณในสิ่งที่มี ซึ่งส่งผลต่อตัวผม ทั้งในแง่ความคิดและจิตใจ ทุกวันนี้ประโยคที่พระสอนให้ ก็ยังคงติดตรึงอยู่ในหัวผม”
คาซุโอะ อินาโมริ ได้บอกว่า ทำไมผมถึงเลือกเดินไปตามเส้นทางแห่งธรรม ดังนี้ “...เราต้องหมั่นฝึกฝนตาม ‘หลักบารมี ๖ ประการ’ ที่พระโพธิสัตว์สอนไว้ ได้แก่ ฟุเสะ (ทาน) จิไค (ศีล) นินนิคุ (ขันติ) โชจิน (วิริยะ) เซนโจ (สมาธิ) และชิเอะ (ปัญญา) ตลอดชีวิตที่ผ่านมา ผมอาจได้พบเจอกับความจริงของหลักบารมี ๖ ประการอยู่เสมอ แต่เมื่ออายุย่าง ๖๕ ปี ผมก็ตัดสินใจออกปฏิบัติธรรม เพื่อศึกษาความหมายของชีวิตให้มากขึ้น ผมอยากมีศรัทธาอย่างแท้จริง...”
เมื่อ คาซุโอะ อินาโมริ เข้าใจความจริงของชีวิตด้วยการทำงานหนัก เขากล่าวว่า “...ความสำคัญของ “ วิริยะ ” หรือความเพียรพยายาม ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสว่า จะช่วยนำพาผู้ปฏิบัติไปสู่เส้นทางแห่งการรู้แจ้งได้ ถ้าเราทำสิ่งหนึ่งอย่างสุดความสามารถ และจดจ่อกับมันโดยไม่วอกแวก ก็เท่ากับว่าเราได้ปฏิบัติตามหลักการนี้แล้ว...”
คาซุโอะ อินาโมริ สรุปวิถีชีวิตของเขาไว้ว่า “...เมื่อผมสละตำแหน่ง เพื่อมาทบทวนความหมายของชีวิต ภายใต้ร่มเงาของศาสนา ผมก็เผชิญหน้ากับชีวิตอย่างจริงใจ และค่อยๆ สร้างแนวทางการใช้ชีวิตของตนเองขึ้นมา...”
ความสำเร็จของคาซุโอะ อินาโมริ จึงเป็นตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งว่า ศรัทธาและปัญญานี้ เป็นปัจจัยอย่างสำคัญสำหรับการปฏิบัติบริหารงานของท่าน ขอให้ถนอมรักษาไว้ให้มั่นคง และสร้างเสริมให้เพิ่มพูนหนักแน่นยิ่งๆ ขึ้น
ด้วยเหตุนี้ ถ้ามีความปรารถนาจะประสบความสำเร็จในชีวิต จงเชื่อด้วยปัญญาเสมอ
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 180 ธันวาคม 2558 โดย พระครูพิศาลสรนาท วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กทม.)
ท้าวสักกะได้ทำหน้าที่คิลานุปัฏฐากด้วยความเลื่อมใสศรัทธา ไม่ให้บุคคลอื่นถูกต้องภาชนะพระบังคนหนักของพระพุทธองค์เลย ยามจะนำภาชนะพระบังคนหนักไปทำความสะอาด ท้าวสักกะทรงทูนภาชนะนั้นไว้บนพระเศียร ดุจดังนำภาชนะของหอมไป
ท้าวสักกะปฏิบัติพระพุทธองค์เช่นนี้ จนถึงเวลาที่ทรงมีความสำราญแล้ว จึงได้ทูลลาเสด็จกลับทิพยวิมานของตน ด้วยความอิ่มเอิบใจในบุญของตนที่ได้กระทำแล้ว
พระพุทธองค์ทรงนำเรื่องนี้มาสอนภิกษุทั้งหลายว่า “การพบเห็นเหล่าอริยบุคคล เป็นการดี, การอยู่ร่วม (ด้วยเหล่าอริยบุคคล) ให้เกิดสุขทุกเมื่อ, บุคคลพึงเป็นผู้มีสุขเป็นนิตย์แท้จริง เพราะไม่พบเห็นพวกคนพาล, เพราะว่าคนเที่ยวสมาคมกับคนพาล ย่อมโศกเศร้าตลอดกาลยืดยาวนาน, ความอยู่ร่วมกับพวกคนพาลให้เกิดทุกข์เสมอไป เหมือนความอยู่ร่วมด้วยศัตรู, ปราชญ์มีความอยู่ร่วมกันเป็นสุข เหมือนสมาคมแห่งญาติ, เพราะฉะนั้น แลท่านทั้งหลายจงคบหาผู้ที่เป็นปราชญ์ และมีปัญญา ทั้งเป็นพหุสูต นำธุระไปเป็นปกติ มีวัตร เป็นอริยบุคคล เป็นสัตบุรุษ มีปัญญาดี เช่นนั้น เหมือนพระจันทร์ ซ่องเสพคลองแห่งนักขัตฤกษ์ฉะนั้น”
ธรรมบทเรื่องท้าวสักกะ ที่นำมาแสดงนี้ ได้บ่งชี้ให้ทราบถึงความศรัทธาที่กอปรด้วยปัญญาของท้าวสักกะ ผู้มุ่งที่จะแสดงกตัญญูกตเวทิตาธรรมต่อพระพุทธองค์ ผู้ประทานพรหมวิหารธรรมแก่ท่านเสมอมา สมดังนัยแห่งภาษิตที่สมเด็จพระสังฆราช(สา ปุสฺสเทว) ทรงนิพนธ์ไว้ว่า “ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี”
ศรัทธาในพระพุทธศาสนา จำแนกเป็น ๔ อย่างคือ ๑. เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า คือเชื่อในพระธรรม อันได้แก่หลักพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงสั่งสอนไว้ และพระสงฆ์ได้ทรงจำ นำมาปฏิบัติเผยแผ่ให้พุทธศาสนิกชนได้เข้าใจ และน้อมนำมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต ๒. เชื่อกรรม คือเชื่อในการกระทำของตนเองว่า เมื่อทำอะไรโดยมีเจตนา ย่อมเป็นเหตุก่อให้เกิดผลดีผลร้ายสืบเนื่องต่อไป ๓. เชื่อผลของกรรม คือเชื่อว่าผลของการกระทำของตนเองมีจริง ผลดีเกิดจากการกระทำความดี ผลชั่วเกิดจากกระทำความชั่ว ๔. เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน คือเชื่อว่าแต่ละคนจะต้องรับผิดชอบผลของกรรมที่ตนได้ทำแล้วในอดีต ที่จำได้ก็ดี จำไม่ได้ก็ดี ชีวิตในปัจจุบันของตนย่อมเป็นไปตามกรรมของตน
ผู้ที่สามารถทำตนให้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ย่อมเป็นผู้พิจารณากรรมของตนเองด้วยปัญญาอยู่เสมอ ให้เห็นเหตุเห็นผลของกรรม และตระหนักรู้ด้วยปัญญาในที่สุด เมื่อหาเหตุหาผลในปัจจุบันไม่ได้ว่า เหตุการณ์ที่ตนประสบอยู่ในขณะนี้เป็นผลของกรรมในอดีตที่ผ่านมา เขาจึงบริหารกรรมของตนในปัจจุบันให้เป็นไปแต่กุศล กอปรด้วยประโยชน์ เขาก็ย่อมได้รับผลสำเร็จจากกรรมนี้ในอนาคตเอง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทราบถึงศรัทธาที่กอปรด้วยปัญญา จากการปฏิบัติพระองค์ในธรรมที่ทรงศึกษาแล้ว พระองค์จึงทรงพระราชทานพระบรมราโชวาท เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ความว่า
“...ศรัทธาและปัญญานี้ เป็นปัจจัยอย่างสำคัญสำหรับการปฏิบัติบริหารงานของท่าน ขอให้ถนอมรักษาไว้ให้มั่นคง และสร้างเสริมให้เพิ่มพูนหนักแน่นยิ่งๆ ขึ้น เพื่อเป็นกำลังในการศึกษาพิจารณาธรรมะ ปฏิบัติธรรมะ และช่วยเหลือแนะนำผู้อื่นให้เรียนรู้ เข้าใจ และปฏิบัติตามธรรมะได้อย่างถูกต้อง เมื่อมีผู้รู้ธรรมะและปฏิบัติธรรมะอย่างถูกต้องมากขึ้น ศีลธรรมจริยธรรมของประชาชนก็จะเจริญงอกงาม...”
สิ่งที่ทรงตรัสในพระบรมราโชวาทองค์นี้ นำให้สามารถวิเคราะห์ถึงความสำเร็จของนักธุรกิจที่นับถือพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี ดังเช่น นายคาซุโอะ อินาโมริ (Mr.Kazuo Inamori) ผู้ก่อตั้งบริษัท Kyocera และ บริษัทKDDI คือหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก และเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในประเทศญี่ปุ่น ด้วยเหตุนี้เขาจึงได้รับเลือกจากรัฐบาลญี่ปุ่น ให้เป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหาของสายการบินเจแปนแอร์ไลน์ที่กำลังล้มละลาย ซึ่งเขาสามารถทำให้สายการบินเจแปนแอร์ไลน์กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งภายในเวลา ๒ ปี
ในหนังสือที่คาซุโอะ อินาโมริ เขียน ซึ่งสำนักพิมพ์ วีเลิร์นได้นำมาแปลเป็นภาคไทย ว่า ช้า ให้ ชนะ เขาได้เล่าถึง การเรียนรู้การขอบคุณจากพระพุทธรูปกลางหุบเขา ว่า “...พอผมอายุได้สักสี่ห้าขวบ พ่อก็พาผมไปสักการะพระพุทธรูปในวัดที่ได้รับการสงวนไว้อย่างลับๆ.....ผมจำได้ว่าตัวเองเกิดความรู้สึกเลื่อมใสขึ้นมาอย่างประหลาด เมื่อเราไปถึงจุดหมายปลายทาง...เด็กๆที่เดินทางมา ถูกจัดให้นั่งคุกเข่าอยู่ด้านหลังพระรูปนั้น และฟังเสียงสวดมนต์อันนุ่มลึก หลังสวดจบ พระท่านก็บอกให้เราเรียงแถวกัน จุดธูปและสวดมนต์ทีละคน จากนั้นก็พูดบางอย่างกับเรา ท่านบอกให้เด็กหลายคนกลับมาอีกครั้ง แต่บอกผมว่า “ เธอไม่ต้องกลับมาที่นี่แล้ว เธอทำทุกอย่างได้ดีแล้ว ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ให้เธอกล่าวนมัสการพระพุทธคุณทุกวันว่า ‘ นัมมัม นัมมัม อะริงะโต (ข้าพเจ้าเชื่อในพระพุทธองค์ ผู้เป็นยิ่งกว่าแสงสว่างใดๆในโลก ขอขอบคุณ)’
....การเดินทางไปยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ เป็นประสบการณ์ทางศาสนาครั้งแรก ที่สร้างความประทับใจให้กับผมมาก มันเปิดโอกาสให้ผมได้เรียนรู้ความสำคัญของการรู้สึกขอบคุณในสิ่งที่มี ซึ่งส่งผลต่อตัวผม ทั้งในแง่ความคิดและจิตใจ ทุกวันนี้ประโยคที่พระสอนให้ ก็ยังคงติดตรึงอยู่ในหัวผม”
คาซุโอะ อินาโมริ ได้บอกว่า ทำไมผมถึงเลือกเดินไปตามเส้นทางแห่งธรรม ดังนี้ “...เราต้องหมั่นฝึกฝนตาม ‘หลักบารมี ๖ ประการ’ ที่พระโพธิสัตว์สอนไว้ ได้แก่ ฟุเสะ (ทาน) จิไค (ศีล) นินนิคุ (ขันติ) โชจิน (วิริยะ) เซนโจ (สมาธิ) และชิเอะ (ปัญญา) ตลอดชีวิตที่ผ่านมา ผมอาจได้พบเจอกับความจริงของหลักบารมี ๖ ประการอยู่เสมอ แต่เมื่ออายุย่าง ๖๕ ปี ผมก็ตัดสินใจออกปฏิบัติธรรม เพื่อศึกษาความหมายของชีวิตให้มากขึ้น ผมอยากมีศรัทธาอย่างแท้จริง...”
เมื่อ คาซุโอะ อินาโมริ เข้าใจความจริงของชีวิตด้วยการทำงานหนัก เขากล่าวว่า “...ความสำคัญของ “ วิริยะ ” หรือความเพียรพยายาม ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสว่า จะช่วยนำพาผู้ปฏิบัติไปสู่เส้นทางแห่งการรู้แจ้งได้ ถ้าเราทำสิ่งหนึ่งอย่างสุดความสามารถ และจดจ่อกับมันโดยไม่วอกแวก ก็เท่ากับว่าเราได้ปฏิบัติตามหลักการนี้แล้ว...”
คาซุโอะ อินาโมริ สรุปวิถีชีวิตของเขาไว้ว่า “...เมื่อผมสละตำแหน่ง เพื่อมาทบทวนความหมายของชีวิต ภายใต้ร่มเงาของศาสนา ผมก็เผชิญหน้ากับชีวิตอย่างจริงใจ และค่อยๆ สร้างแนวทางการใช้ชีวิตของตนเองขึ้นมา...”
ความสำเร็จของคาซุโอะ อินาโมริ จึงเป็นตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งว่า ศรัทธาและปัญญานี้ เป็นปัจจัยอย่างสำคัญสำหรับการปฏิบัติบริหารงานของท่าน ขอให้ถนอมรักษาไว้ให้มั่นคง และสร้างเสริมให้เพิ่มพูนหนักแน่นยิ่งๆ ขึ้น
ด้วยเหตุนี้ ถ้ามีความปรารถนาจะประสบความสำเร็จในชีวิต จงเชื่อด้วยปัญญาเสมอ
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 180 ธันวาคม 2558 โดย พระครูพิศาลสรนาท วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กทม.)