• ข้อ ๓ อธิบายในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
คำที่ว่าจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น จำแนกออกโดยอาการ ๓ อย่างดังนี้
๑. จิตภายใน
๒. จิตภายนอก
๓. จิตในจิต
จิตภายในนั้น ได้แก่ ลักษณะที่มีความเป็นอยู่เฉพาะมโนทวาร ไม่ประสานติดต่อกับอารมณ์ภายนอก จิตภายนอกนั้น ได้แก่ ความเกี่ยวข้องสัมปยุตกันด้วยอารมณ์ภายนอก มีรูปเป็นต้น จิตในจิตนั้น ได้แก่ การหยิบยกเอาส่วนใดส่วนหนึ่งตามอาการของจิตที่เป็นอยู่ทั้งภายในและภายนอกก็ได้
ส่วนลักษณะของจิตที่เป็นอยู่ภายในนั้นมี ๓ อย่างคือ
๑. ราคะจิต จิตประกอบด้วยราคะความกำหนัดยินดี
๒. โทสะจิต ได้แก่ ความหงุดหงิดเกิดขึ้น อันเป็นส่วนภายใน
๓. โมหะจิต จิตที่มืดมนกลุ้มอกกลุ้มใจอยู่ จะพิจารณาเอาเรื่องอะไรก็ไม่ได้ โดยย่อก็คือได้แก่ความหลงนั่นเอง
ทั้ง ๓ อย่างนี้เรียกว่าจิตภายใน
จิตภายนอกนั้น ท่านก็แยกออกเป็น ๓ อย่างเหมือนกัน คือ
๑. ราคะจิต
๒. โทสะจิต
๓. โมหะจิต
แต่ที่เรียกว่าภายนอกนั้น เพราะสิ่งทั้งสามเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมแล่นออกไปสู่อารมณ์ทั้งหลายภายนอก อันเป็นบ่อเกิดแห่งความกำเริบของจิตทั้งหลายเหล่านั้น มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น มิได้รู้แจ้งเห็นจริงในอายตนะทั้งหลายเหล่านั้น รู้ไปต่างๆ อันผิดจากความเป็นจริง เป็นต้นว่า ไม่งามเห็นว่างาม ไม่เที่ยงเห็นว่าเที่ยง เป็นทุกข์เห็นว่าสุข ไม่ใช่ของของตน เห็นว่าเป็นของตน เหล่านี้เรียกว่าจิตภายนอก
จิตในจิต ได้แก่ การหยิบยกเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของจิตทั้งหลายที่กล่าวมานั้น ตัวอย่างเช่น บางครั้งก็มีราคะ บางครั้งก็มีโทสะ บางครั้งก็มีโมหะ ในคราวใดสมัยใดจิตทั้งหลายเหล่านั้นได้เกิดขึ้นแก่ตนแล้ว ก็ตั้งใจหยิบยกเอาจิตดวงนั้นๆเข้าไว้ แล้วให้ตั้งสัมปชัญญะความรู้สึกตัวประจำใจไว้ ตั้งสติแล่นติดต่อในอารมณ์นั้นๆให้มั่นคง อย่าส่งไปในอารมณ์อื่น และอย่าให้ความปรารถนาใดๆ เกิดขึ้นในขณะจิตอันนั้น แล้วใช้ “อาตาปี” คือความเพียรเพ่งพิจารณาอยู่ในอารมณ์นั้น อย่าหวั่นไหวจนกว่าจะรู้ความเป็นจริงของเขา ความจริงของนั้นเมื่อเกิดขึ้นแล้วยิ่งกำเริบก็มี เสื่อมน้อยถอยไปก็มี เกิดขึ้นชั่วขณะหนึ่งแล้วก็เสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา หาเป็นแก่นสารมิได้
ตั้งใจเพ่งพิจารณากันอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ ถึงแม้ว่ากิเลสเหล่านั้นจะมีปรากฏอยู่ ถ้าหากว่าเราเป็นผู้มีสัมปชัญญะความรู้ตัว สติความระลึกได้ อาตาปีความเพียรเพ่งพิจารณา เมื่อคุณธรรม ๓ ประการนี้มีประจำอยู่ในตนเอง อกุศลจิตทั้งหลายเหล่านั้นก็ไม่มีโอกาสที่จะเจริญงอกงามขึ้นได้ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีอยู่ในพื้นแผ่นดินที่ถูกครอบเสียด้วยภาชนะ เป็นต้นว่าหม้อหรือกะลาที่เขาครอบไว้ซึ่งพันธุ์ผักกาดที่กำลังงอกขึ้นใหม่ ถ้ามนุษย์ไม่หยิบยกกะลานั้นออกแล้ว พืชพันธุ์ทั้งหลายเหล่านั้นก็ไม่มีทางเจริญเติบโตขึ้นได้ มีแต่ที่จะเหี่ยวแห้งตายไปถ่ายเดียวเท่านั้น
ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติก็ควรที่จำต้องใช้สัมปชัญญะความรู้ตัวประจำจิตนั้นๆไว้ สติค่อยแล่นระลึกอยู่ในอารมณ์นั้น อาตาปีเพียรเพ่งแผดเผา กิเลสเหล่านั้นก็จะเบาบางห่างไกลไปจากใจของตนทุกเมื่อ
จิตทั้งหลายที่กล่าวมาเปรียบเหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดและถั่วเขียว สติเปรียบเหมือนกะลา สัมปชัญญะเปรียบเหมือนบุคคลผู้หว่านเมล็ดพันธุ์ อาตาปี ความเพียรเพ่งพิจารณา อุปมาเหมือนแดดอันเป็นเครื่องเผาผลาญให้พืชพันธุ์ย่อยยับดับสูญ ที่กล่าวมานี้พูดถึงจิตฝ่ายชั่ว
ส่วนจิตฝ่ายดีนั้นก็มีตรงกันข้าม เช่น “วิราคจิต” จิตที่คลี่คลายออกมาจากความกำหนัดยินดี “อโทสะ” คือจิตปราศจากความหงุดหงิดงุ่นง่าน อันเป็นบ่อเกิดแห่งความเสียหาย “อโมหจิต” จิตที่ปราศจากความลุ่มหลงมัวเมา เข้าใจผิดไปต่างๆ นี้เป็นส่วนกุศลจิต อันเป็นรากเหง้าแห่งความดีทั้งหลาย เมื่อเกิดมีแก่ตนแล้วก็ให้รักษาไว้ แล้วคอยกำหนดไว้ตรวจดูภูมิภาคของตน จะได้รู้ว่าจิตใจของตนนั้นอยู่ในภูมิอันใด ถ้าจะกล่าวตามภูมิของจิตแล้วก็มีอยู่ ๔ อย่าง อันเป็นภูมิภาคแห่งความดีคือ
๑. กามาวจรภูมิ
๒. รูปาวจรภูมิ
๓. อรูปาวจรภูมิ
๔. โลกุตตรภูมิ
๑. กามาวจรภูมินั้น มีจิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้วแล่นเข้าไปติดต่ออารมณ์ทั้งหลายอันเป็นกุศล เป็นต้นว่า รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งกุศล เมื่อตนได้ประสบอารมณ์นั้นๆ แล้วก็เกิดโสมนัสยินดีปรีดาร่าเริงอยู่ด้วยอารมณ์เหล่านั้นมีรูปเป็นต้น
แต่รูปในที่นี้หมายเอารูปอันเป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมอย่างเดียว จึงเรียกว่า กามาวจรกุศล ถ้าย่นย่อภูมิชั้นแห่งกามาวจรสวรรค์มาไว้ในตนแล้วดังนี้ คือ รูปอันเป็นที่ตั้งแห่งกุศลนั้น เป็นสวรรค์ชั้นหนึ่ง เสียงที่เป็นกุศลชั้นหนึ่ง กลิ่นที่เป็นกุศลชั้นหนึ่ง รสที่เป็นกุศลชั้นหนึ่ง สัมผัสที่เป็นกุศลชั้นหนึ่ง ธรรมารมณ์ภายในที่เกิดกับใจชั้นหนึ่ง รวมลงเป็นสวรรค์ 6 ชั้น นี้เรียกว่า กามาวจรภูมิ
๒. รูปาวจรภูมิ คือ จิตนั้นเกิดจากความวิตก เกิดขึ้นในรูปอันเป็นอารมณ์แห่งกรรมฐานอันใดอันหนึ่ง แล้วขยายอาการของรูปอันนั้นออกไปเป็นส่วนๆ ที่เรียกว่า “วิจาร” และคอยระวังจิตของตนอย่าให้เคลื่อนคลาดจากอารมณ์อันนั้น จึงเรียกว่า “เอกคตารมณ์”
เมื่ออารมณ์และจิตเป็นหนึ่งเช่นนี้แล้ว อารมณ์นั้นก็กลายเป็นของเบาใจ มีภาระน้อยปล่อยความกังวลเสียได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ปีติความอิ่มใจ ความสุขสบายใจอันเป็นผลย่อมเกิดขึ้น เมื่อจิตประกอบด้วยองค์เช่นนี้เรียกว่า ปฐมฌาน รูปาวจรจิตในเบื้องต้น
๓. อรูปาวจรภูมิ คือ จิตปล่อยจากรูปอันเป็นส่วนรูปารมณ์นั้นแล้ว แต่ยึดถือในส่วนอารมณ์ที่ละเอียด อันเป็นประเภทแห่งนามธรรม เป็นต้นว่า อากาสานัญจายตนฌาน คือ ความเพ่งในที่ว่างๆโล่งๆ รู้ๆอยู่ว่าไม่มีรูปใดรูปหนึ่งผ่านเข้ามาปรากฏ ฉะนั้น จึงไม่สามารถรู้ได้ทั่วถึง เป็นแต่แค่ไปรู้หลบตัวอยู่ภายใน ไม่ใช่เข้าไปรู้อยู่ด้วยทำงานสำเร็จ เข้าไปรู้อยู่ด้วยอาการหลบหลีก คือ เห็นแก่โทษที่เกิดขึ้นแต่ส่วนภายนอก ไม่เห็นว่าโทษนั้นฝังอยู่ภายใน จึงเข้าไปหลบอยู่ทำความรู้ แต่ส่วนตัวก็สำคัญว่าตนหมดกิเลสไปบ้าง เพราะสำคัญที่ว่างนั้นเป็นพระนิพพาน นี้เรียกว่า “อรูปาวจร” ภูมิในเบื้องต้นอันเป็นส่วนแห่งโลกีย์
ถ้าใครต้องการที่จะรู้ดีรู้ชอบ แล้วจิตดวงนี้เป็นโลกีย์หรือโลกุตตระนั้นอย่างนี้ คือ ให้สังเกตเมื่อทำความรู้เข้าไปสงบอยู่ แล้วก็มีความสุขสบายคล้ายกับว่าไม่มีกิเลสเจือปน ถ้าปล่อยจิตดวงนั้นให้เป็นอยู่ตามธรรมดา แล้วก็เกิดกิเลสกำเริบขึ้นได้อยู่ตามธรรมดา เหตุนั้นจึงเรียกว่าเป็นแต่โลกีย์ บางทีก็ทรงตัวอยู่ได้ ไม่เสื่อมด้วยอำนาจแห่งความเพียร บางทีก็เกิดความสงสัยลังเลขึ้นในความรู้ของตนนั้นอีก เป็นต้นว่า ลูบคลำคร่ำครวญอยู่เสมอ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็อย่าพึงเข้าใจว่าเป็นความรู้อันแท้จริง
ถ้าจะพูดถึงความรู้อันมีมากอย่างเช่น มโนใจก็รู้ จิตก็รู้ วิญญาณก็รู้ ปัญญาก็รู้ สัมปชัญญะก็รู้ วิชชาก็รู้ อวิชชาก็รู้ รวมลงที่ว่ามานี้ ล้วนแต่หมายเอาความรู้เป็นฐานด้วยกันทั้งสิ้น ต่างกันแต่ลักษณะที่รู้ เมื่อไม่รู้จักแยกอาการของรู้แล้ว รู้นั้นก็สับกันได้ บางทีก็อาจจะเอาความรู้ผิดมาเป็นความรู้ถูก บางทีก็อาจจะเอาความรู้ที่เป็นอวิชชามาเป็นวิชชา บางทีก็เอาความรู้ที่ติดสมมติมาเป็นวิมุตติ
ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติควรไตร่ตรองพลิกแพลงให้รู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง ว่าความรู้อันใดเป็นความรู้อันแท้จริง ความรู้อันใดเป็นความรู้ที่ไม่จริง ความรู้ที่ไม่จริงนั้นสักแต่ว่ารู้ แต่ละไม่ได้ ความรู้ที่จริงนั้น เมื่อเข้าไปรู้ในสิ่งใดย่อมละได้
นี้พูดมาในส่วนภูมิภาคแห่งจิตทั้งหลาย ทั้ง ๓ อย่างนี้เรียกว่า โลกียภูมิ
๔. โลกุตตรภูมินั้น นับแต่ขั้นแรก คือ ได้แก่ โสดาปตฺติผล โสดาปตฺติผลในเบื้องต้นท่านก็ดำเนินมาในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นส่วนโลกีย์ อันเป็นภาคพื้นเหมือนกัน แต่ท่านเป็นผู้ได้รู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจ ๔ ในครั้งแรกจึงจะได้ละสังโยชน์ ๓ ประการออกจากตนเสีย ดวงใจของท่านนั้นจึงได้หลุดเข้าไปในกระแสของนิพพาน อธิบายที่เรียกว่าสังโยชน์ทั้ง ๓ นั้นคือ
๑. สกฺกายทิฏฺฐิ ความเห็นเป็นเหตุให้ถือว่าก้อนกายนี้เป็นของตน
๒. วิจิกิจฉา ความลังเลเป็นเหตุให้ไม่แน่ใจในความดีที่เราเชื่อถือกันคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีความจริงหรือไม่
๓. สีลพฺพตปรามาส ความลูบคลำอยู่ในสิ่งที่ตนประพฤติปฏิบัติอยู่นั้น
ถ้าจะกล่าวให้สั้น ก็ได้แก่การที่ยึดถือความดีทั้งหลาย อันเป็นส่วนของกิริยาภายนอก เป็นต้นว่า รักษาศีล หรือทำข้อวัตรปฏิบัติ ก็ยึดถือเอาแต่อาการของกายของวาจาเท่านั้น เป็นต้นว่า ศีลก็รักษากันแต่สิกขาบท สมาธิก็ได้แต่กิริยานั่งโด่อยู่เท่านั้น ไม่สามารถที่จะปลดเปลื้องกิริยาทั้งหลายเหล่านั้นออกจากตนได้ ยังคอยยึดเอาความดีอันเกิดจากกิริยานั้นอยู่ ถ้าได้ทำกิริยาเช่นนั้นแล้วก็ดีใจ ถ้าพลาดพลั้งไม่ได้ทำตามกิริยานั้นแล้วใจก็เสีย เป็นต้นว่า ศีลก็จะเอาจากพระ ศีลแปดหรืออุโบสถก็ยึดถือกันอยู่แต่วัน คืน ปี เดือน ยึดเอาความได้ความเสีย อยู่แค่กิริยาภายนอก อันเป็นลัทธิเคยชิน หาเข้าถึงศีลธรรมไม่ อย่างปฏิบัติได้ก็แค่สีลพฺพตุปาทาน ถือกันแต่ลัทธิ ถือประเพณี ถือสมมติว่าดีเหล่านั้น ยึดมั่นมิได้ปล่อยวางลูบคลำอยู่เสมอ จึงเรียกว่า สีลพฺพตปรามาส ๑ เป็นเครื่องกั้นแห่งความดี เป็นต้นว่า ทาน ศีล ภาวนา ที่เคยถือกันมาว่า วัน ๘ ค่ำ วัน ๑๕ ค่ำ นั้นแหละเป็นบุญ
ส่วนโสดาที่ท่านได้ละขาดแล้วหาถือเช่นนั้นไม่ คือใจท่านไม่ข้องอยู่ในลัทธิประเพณี คือศีลของท่านไม่มีสิกขาบทเสียแล้ว คือเข้าถึงตัวจริงของศีลเสียแล้ว ศีลก็ปราศจากกาลเวลา ไม่เหมือนปุถุชน
ปุถุชนนั้นจะต้องมอบหมายความดีให้กิริยาภายนอกอยู่ เป็นต้นว่าศีลอยู่กับวัน ๘ ค่ำ อยู่กับวัน ๑๕ ค่ำ อยู่ในพรรษา อยู่ในเดือนปีเช่นนี้ แล้วก็ยึดถือกันอย่างมั่นคง ถ้าใครทำไม่ถูกตามประเพณีลัทธินั้นๆแล้ว ก็หาว่าไม่เป็นศีลเป็นธรรม ในที่สุดก็เลยหาโอกาสทำความดีได้ยาก นี่แหละจึงเรียกว่า ไม่รู้จักหลักเกณฑ์แห่งความดีทั้งหลาย
ส่วนโสดานั้น ศีลธรรมได้แล่นเข้าไปบรรจุอยู่ในกายใจทั้งหมด ปลดเปลื้องออกเสียได้ซึ่งลัทธิที่โลกเขานิยมว่าดีอย่างนั้นดีอย่างนี้ ดีจริงนั้นท่านได้เห็นปรากฏอยู่ในใจของท่านเอง ดีก็อยู่ที่ตรงนี้ ชั่วก็อยู่ที่ตรงนี้ หามีอยู่ตามกิริยาภายนอกไม่
สมได้กับพุทธภาษิตว่า "มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจทั้งสิ้น นี้แลชื่อว่าโสดา" อุปมาเปรียบเหมือนบุคคลที่แจวเรือถูกร่องลงแหล่งแห่งแม่น้ำเจ้าพระยา มีแต่ที่จะลอยไปสู่ปากน้ำสมุทรสาคร กล่าวคือ อมตนฤพานนั้นถ่ายเดียว กิริยาที่จะต้องไหลไปสู่มหาสมุทรนั้นมีอยู่ ๓ ประการ คือ
๑. โสดาชั้นต่ำ เปรียบเหมือนคนที่นอนถ่ายเกกจับตะกูดเรือไว้เฉยๆ เรือนั้นก็แล่นไปถึงช้า นี้จำพวกหนึ่ง
๒. มือจับแจว ขาเกาะตะกูดแล้วก็แจวไป นี้พวกหนึ่ง
๓. เรือนั้นใส่เครื่องยนต์ มีคนถือพวงมาลัยแล่นไปถึงจุดหมายอย่างเร็วนี้ อุปมาฉันใด พระอริยโสดาเหมือนบุคคลที่แจวเรืออยู่ ๓ จำพวกนั้นนี้แหละ เรียกว่าบุคคลที่เข้าถึงกระแสแห่งพระนิพพาน ที่เรียกว่าโลกุตตรภูมิในเบื้องต้น
ถ้าจะย่นย่อหัวข้อแห่งสังโยชน์ทั้ง ๓ ก็ดังนี้ ยึดถือก้อนกายเป็นของของตนเรียกว่า สกฺกายทิฏฐิ คือ กิริยาของกายนี้หนึ่ง เรียกว่า สีลพฺพตปรามาส ไม่รู้จักแยกกายออกจากจิต ไม่รู้จักแยกจิตออกจากกิริยานี้หนึ่ง จึงเป็นเหตุไม่รู้แจ้งเห็นจริง จึงเกิดความลังเลใจไม่แน่นอน เรียกว่า วิจิกิจฺฉา ที่แสดงออกมานี้เป็นส่วนความเห็น ฉะนั้น ผู้ฟังทั้งหลายให้ไตร่ตรองดูอีก
นี้แสดงมาในส่วนโลกุตตรภูมิของจิตทั้งหลายที่เป็นฝ่ายอกุศลจิต เมื่อรู้จักจิตทั้งหลายที่เป็นไปด้วยอาการเช่นนี้แล้ว การใช้คุณธรรม ๓ อย่างมาเป็นเครื่องมือ คือ ทำสติและสัมปชัญญะ อาตาปี ความเพียรเพ่งพิจารณา ทั้ง ๓ ประการนี้เข้าประจำจิตนั้นไว้ ที่จะรู้ได้ต้องใช้อาตาปี ความเพียรเพ่งพิจารณาอันเป็นส่วนปัญญา คือ ให้รู้จักความเกิดขึ้นดับไป ถอนออกและตั้งอยู่และสงบเข้าไป ต้องใช้การกำหนดพิจารณาอยู่เป็นนิจ จึงจะรู้ได้ในความเกิดและความดับของจิต และธรรมชาติของจิตที่ไม่เกิดไม่ดับก็จะรู้ได้
รู้ความเกิดและความดับของจิตอันเป็นส่วนอดีต นี้ก็เรียกเป็นวิชาชั้นหนึ่ง น่าจะเรียกได้ว่า ปุพฺเพนิวาสานุสฺสติญาณ
รู้จักความเคลื่อนเลื่อนไปแห่งภูมิจิตอันเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ น่าจะเรียกได้ว่า จุตูปปาตญาณ
รู้จักแยกจิตออกจากอารมณ์ แยกอารมณ์ไว้ส่วนหนึ่ง แยกกระแสจิตที่แล่นไปไว้ส่วนหนึ่ง แยกสภาพของจิตไว้ส่วนหนึ่ง ที่รู้ได้เช่นนี้น่าจะเรียกได้ว่า อาสวกฺขยญาณ
อารมณ์เป็นกามาสวะ กระแสจิตที่แล่นไปเรียกว่าภวาสวะ ที่ไม่รู้จักสภาพของจิตเรียกว่าอวิชชาสวะ
ถ้าจะพูดในส่วนอริยสัจจ์ ๔ แล้วต้องพูดได้ดังนี้ คือ อารมณ์เป็นส่วนทุกข์สัจจ์ จิตที่แล่นเข้าไปหลงอารมณ์เป็น สมุทัยสัจจ์ จิตที่เข้าไปรู้แจ้งเห็นจริงในอารมณ์ทั้งหลาย และกระแสจิตที่แล่นอยู่และสภาพจริงของจิตเดิมรู้ได้เช่นนี้เรียกว่า มรรคจิต ปล่อยวางสภาพของอารมณ์และกระแสจิต และสภาพจิตอันนี้ ปล่อยได้ไม่ยึดถือนี่แหละเรียกว่านิโรธสัจจ์
• จิตประกอบด้วยคุณธรรม ๓ อย่างมี
สัมปชัญญะ ความรู้ตัวดี
อาตาปี ความเพียรเพ่งพิจารณา
สติ ความระลึกได้
เมื่อคุณธรรมเหล่านี้แก่กล้ามีกำลังมากขึ้นแล้ว สัมปชัญญะกล้าเป็นตัววิชชาวิมุตติ สติกล้าเรียกญาณ อาตาปีกล้าเรียกว่าวิปัสสนาญาณ ตัวปัญญากำหนดรู้ทุกข์สัจจ์ คอยห้ามความยินดียินร้ายในอารมณ์ญาณหยั่งรู้สมุทัย วิชาความรู้แจ้งแทงตลอดแห่งจิตเมื่อรู้ได้โดยอาการเช่นนี้เรียกว่ารู้ถูก
ต่อไปนี้จะย้อนกล่าวในเรื่องจิตอีกสักหน่อย คำที่ว่าจิตๆนั้นแยกออกโดยอาการ ๓ อย่างคือ
๑. สภาพจิตเดิม
๒. จิต
๓. จิตประสมด้วยอารมณ์
อาการทั้งหลายเหล่านี้รวมเรียกว่าจิต ถ้าใครไม่รู้เช่นนี้ไม่เรียกว่าเป็นผู้รู้จิตได้ มีแต่จะพูดกันว่าจิตเกิดจิตดับ จิตไม่เกิดไม่ดับ จิตดี จิตชั่ว จิตสูญ จิตไม่สูญ จิตเป็นธรรม จิตไม่ใช่ธรรม จิตพ้น จิตไม่พ้น จิตเป็นนิพพาน จิตไม่ใช่นิพพาน จิตเป็นวิญญาณ จิตไม่ใช่วิญญาณ จิตเป็นใจ ใจไม่ใช่จิต
ตามพุทธภาษิตที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ แนวทางปฏิบัติมีอยู่สองทางเท่านั้น คือ กาย วาจา ใจ นี้หนึ่ง กาย วาจา จิต นี้หนึ่ง สองจุดนี้ในที่สุดก็ไปรวมจุดเดียวกัน จุดที่ประสงค์แท้จริงนั้นก็คือความหลุดพ้น
ฉะนั้น เมื่อท่านทั้งหลายต้องการทราบความจริงนั้นๆ จำเป็นอยู่ที่จะต้องปฏิบัติให้เข้าถึงด้วยตนเอง มิฉะนั้นก็จะต้องทุ่มเถียงกันอยู่ไม่เว้นวาย ปัญหาอันนี้ถ้าผู้ใดปฏิบัติไม่รู้แจ้งเห็นจริงแล้ว นักปราชญ์ท่านกล่าวว่า "เสทโมจนคาถา" แปลว่า คำพูดที่เหงื่อไหลขี้ไคลแตก ฉะนั้น จึงมีความประสงค์จะอธิบายสักหน่อยว่า
สภาพจิตนั้น เป็นสภาพที่รู้อยู่อย่างเดียว นี้หนึ่ง กระแสที่คิดแล่นออกมาจากรู้ไปสู่อารมณ์ต่างๆ นั้นเรียกว่า จิต นี้หนึ่ง เมื่อเข้าไปสัมปยุตกับอารมณ์แล้วหลงอารมณ์นั้นๆ กลายตัวเป็นกิเลส เป็นเหตุแห่งความเศร้าหมองเรียกว่าจิตผสมนี้หนึ่ง
๑. จิต ๒. จิตผสม จิตสองดวงนี้ จะดีก็ตามจะชั่วก็ตาม ต้องเกิด ต้องดับ ต้องทำลายอยู่เป็นธรรมดา ต้นของจิตทั้งสองนี้เป็นสภาพจิตเดิม ย่อมไม่เกิดไม่ดับ เป็นฐิติธรรมประจำอยู่ด้วยอาการเช่นนั้น สภาพจิตเดิมนั้นที่เรียกว่าปภัสสร ผู้แต่งหมายเอาสภาพจิตอันเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ที่เป็นอยู่ตามธรรมดานี้เอง แต่ไม่มีใครสามารถเข้าไปล่วงรู้ เมื่อไม่รู้ย่อมไม่ให้ผลดี ตัวอย่างเช่น พูดกันว่าลิงได้แก้ว
ฉะนั้น จึงสมควรแท้ที่พระพุทธเจ้าเรียกว่าอวิชชา แปลว่า ความรู้มืด ความรู้ไม่จริง สมกับว่า "ปพฺพนฺเต อญาณํ" แปลว่า ไม่รู้เบื้องต้น ได้แก่ ไม่รู้ในสภาพจิตเดิม "ปรนฺเต อญาณํ" แปลว่าไม่รู้เบื้องปลาย คือ ไม่รู้จิตที่ผสมกับอารมณ์แล้ว "มชฺฌนฺติก อญาณํ" แปลว่าไม่รู้ในท่ามกลาง คือ ไม่รู้จักกระแสจิตที่แล่นออกจากสภาพที่รู้เดิม เมื่อเป็นเช่นนี้จิตก็กลายเป็นสังขาร ย่อมปรุงแต่งเสกสรรค์ฟั่นเฟือนไปด้วยประการต่างๆ ดังมีอธิบายในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานด้วยประการฉะนี้
(อ่านต่อฉบับหน้าธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน)
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 180 ธันวาคม 2558 โดย พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ลี ธมฺมธโร) วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ)
คำที่ว่าจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น จำแนกออกโดยอาการ ๓ อย่างดังนี้
๑. จิตภายใน
๒. จิตภายนอก
๓. จิตในจิต
จิตภายในนั้น ได้แก่ ลักษณะที่มีความเป็นอยู่เฉพาะมโนทวาร ไม่ประสานติดต่อกับอารมณ์ภายนอก จิตภายนอกนั้น ได้แก่ ความเกี่ยวข้องสัมปยุตกันด้วยอารมณ์ภายนอก มีรูปเป็นต้น จิตในจิตนั้น ได้แก่ การหยิบยกเอาส่วนใดส่วนหนึ่งตามอาการของจิตที่เป็นอยู่ทั้งภายในและภายนอกก็ได้
ส่วนลักษณะของจิตที่เป็นอยู่ภายในนั้นมี ๓ อย่างคือ
๑. ราคะจิต จิตประกอบด้วยราคะความกำหนัดยินดี
๒. โทสะจิต ได้แก่ ความหงุดหงิดเกิดขึ้น อันเป็นส่วนภายใน
๓. โมหะจิต จิตที่มืดมนกลุ้มอกกลุ้มใจอยู่ จะพิจารณาเอาเรื่องอะไรก็ไม่ได้ โดยย่อก็คือได้แก่ความหลงนั่นเอง
ทั้ง ๓ อย่างนี้เรียกว่าจิตภายใน
จิตภายนอกนั้น ท่านก็แยกออกเป็น ๓ อย่างเหมือนกัน คือ
๑. ราคะจิต
๒. โทสะจิต
๓. โมหะจิต
แต่ที่เรียกว่าภายนอกนั้น เพราะสิ่งทั้งสามเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมแล่นออกไปสู่อารมณ์ทั้งหลายภายนอก อันเป็นบ่อเกิดแห่งความกำเริบของจิตทั้งหลายเหล่านั้น มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น มิได้รู้แจ้งเห็นจริงในอายตนะทั้งหลายเหล่านั้น รู้ไปต่างๆ อันผิดจากความเป็นจริง เป็นต้นว่า ไม่งามเห็นว่างาม ไม่เที่ยงเห็นว่าเที่ยง เป็นทุกข์เห็นว่าสุข ไม่ใช่ของของตน เห็นว่าเป็นของตน เหล่านี้เรียกว่าจิตภายนอก
จิตในจิต ได้แก่ การหยิบยกเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของจิตทั้งหลายที่กล่าวมานั้น ตัวอย่างเช่น บางครั้งก็มีราคะ บางครั้งก็มีโทสะ บางครั้งก็มีโมหะ ในคราวใดสมัยใดจิตทั้งหลายเหล่านั้นได้เกิดขึ้นแก่ตนแล้ว ก็ตั้งใจหยิบยกเอาจิตดวงนั้นๆเข้าไว้ แล้วให้ตั้งสัมปชัญญะความรู้สึกตัวประจำใจไว้ ตั้งสติแล่นติดต่อในอารมณ์นั้นๆให้มั่นคง อย่าส่งไปในอารมณ์อื่น และอย่าให้ความปรารถนาใดๆ เกิดขึ้นในขณะจิตอันนั้น แล้วใช้ “อาตาปี” คือความเพียรเพ่งพิจารณาอยู่ในอารมณ์นั้น อย่าหวั่นไหวจนกว่าจะรู้ความเป็นจริงของเขา ความจริงของนั้นเมื่อเกิดขึ้นแล้วยิ่งกำเริบก็มี เสื่อมน้อยถอยไปก็มี เกิดขึ้นชั่วขณะหนึ่งแล้วก็เสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา หาเป็นแก่นสารมิได้
ตั้งใจเพ่งพิจารณากันอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ ถึงแม้ว่ากิเลสเหล่านั้นจะมีปรากฏอยู่ ถ้าหากว่าเราเป็นผู้มีสัมปชัญญะความรู้ตัว สติความระลึกได้ อาตาปีความเพียรเพ่งพิจารณา เมื่อคุณธรรม ๓ ประการนี้มีประจำอยู่ในตนเอง อกุศลจิตทั้งหลายเหล่านั้นก็ไม่มีโอกาสที่จะเจริญงอกงามขึ้นได้ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีอยู่ในพื้นแผ่นดินที่ถูกครอบเสียด้วยภาชนะ เป็นต้นว่าหม้อหรือกะลาที่เขาครอบไว้ซึ่งพันธุ์ผักกาดที่กำลังงอกขึ้นใหม่ ถ้ามนุษย์ไม่หยิบยกกะลานั้นออกแล้ว พืชพันธุ์ทั้งหลายเหล่านั้นก็ไม่มีทางเจริญเติบโตขึ้นได้ มีแต่ที่จะเหี่ยวแห้งตายไปถ่ายเดียวเท่านั้น
ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติก็ควรที่จำต้องใช้สัมปชัญญะความรู้ตัวประจำจิตนั้นๆไว้ สติค่อยแล่นระลึกอยู่ในอารมณ์นั้น อาตาปีเพียรเพ่งแผดเผา กิเลสเหล่านั้นก็จะเบาบางห่างไกลไปจากใจของตนทุกเมื่อ
จิตทั้งหลายที่กล่าวมาเปรียบเหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดและถั่วเขียว สติเปรียบเหมือนกะลา สัมปชัญญะเปรียบเหมือนบุคคลผู้หว่านเมล็ดพันธุ์ อาตาปี ความเพียรเพ่งพิจารณา อุปมาเหมือนแดดอันเป็นเครื่องเผาผลาญให้พืชพันธุ์ย่อยยับดับสูญ ที่กล่าวมานี้พูดถึงจิตฝ่ายชั่ว
ส่วนจิตฝ่ายดีนั้นก็มีตรงกันข้าม เช่น “วิราคจิต” จิตที่คลี่คลายออกมาจากความกำหนัดยินดี “อโทสะ” คือจิตปราศจากความหงุดหงิดงุ่นง่าน อันเป็นบ่อเกิดแห่งความเสียหาย “อโมหจิต” จิตที่ปราศจากความลุ่มหลงมัวเมา เข้าใจผิดไปต่างๆ นี้เป็นส่วนกุศลจิต อันเป็นรากเหง้าแห่งความดีทั้งหลาย เมื่อเกิดมีแก่ตนแล้วก็ให้รักษาไว้ แล้วคอยกำหนดไว้ตรวจดูภูมิภาคของตน จะได้รู้ว่าจิตใจของตนนั้นอยู่ในภูมิอันใด ถ้าจะกล่าวตามภูมิของจิตแล้วก็มีอยู่ ๔ อย่าง อันเป็นภูมิภาคแห่งความดีคือ
๑. กามาวจรภูมิ
๒. รูปาวจรภูมิ
๓. อรูปาวจรภูมิ
๔. โลกุตตรภูมิ
๑. กามาวจรภูมินั้น มีจิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้วแล่นเข้าไปติดต่ออารมณ์ทั้งหลายอันเป็นกุศล เป็นต้นว่า รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งกุศล เมื่อตนได้ประสบอารมณ์นั้นๆ แล้วก็เกิดโสมนัสยินดีปรีดาร่าเริงอยู่ด้วยอารมณ์เหล่านั้นมีรูปเป็นต้น
แต่รูปในที่นี้หมายเอารูปอันเป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมอย่างเดียว จึงเรียกว่า กามาวจรกุศล ถ้าย่นย่อภูมิชั้นแห่งกามาวจรสวรรค์มาไว้ในตนแล้วดังนี้ คือ รูปอันเป็นที่ตั้งแห่งกุศลนั้น เป็นสวรรค์ชั้นหนึ่ง เสียงที่เป็นกุศลชั้นหนึ่ง กลิ่นที่เป็นกุศลชั้นหนึ่ง รสที่เป็นกุศลชั้นหนึ่ง สัมผัสที่เป็นกุศลชั้นหนึ่ง ธรรมารมณ์ภายในที่เกิดกับใจชั้นหนึ่ง รวมลงเป็นสวรรค์ 6 ชั้น นี้เรียกว่า กามาวจรภูมิ
๒. รูปาวจรภูมิ คือ จิตนั้นเกิดจากความวิตก เกิดขึ้นในรูปอันเป็นอารมณ์แห่งกรรมฐานอันใดอันหนึ่ง แล้วขยายอาการของรูปอันนั้นออกไปเป็นส่วนๆ ที่เรียกว่า “วิจาร” และคอยระวังจิตของตนอย่าให้เคลื่อนคลาดจากอารมณ์อันนั้น จึงเรียกว่า “เอกคตารมณ์”
เมื่ออารมณ์และจิตเป็นหนึ่งเช่นนี้แล้ว อารมณ์นั้นก็กลายเป็นของเบาใจ มีภาระน้อยปล่อยความกังวลเสียได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ปีติความอิ่มใจ ความสุขสบายใจอันเป็นผลย่อมเกิดขึ้น เมื่อจิตประกอบด้วยองค์เช่นนี้เรียกว่า ปฐมฌาน รูปาวจรจิตในเบื้องต้น
๓. อรูปาวจรภูมิ คือ จิตปล่อยจากรูปอันเป็นส่วนรูปารมณ์นั้นแล้ว แต่ยึดถือในส่วนอารมณ์ที่ละเอียด อันเป็นประเภทแห่งนามธรรม เป็นต้นว่า อากาสานัญจายตนฌาน คือ ความเพ่งในที่ว่างๆโล่งๆ รู้ๆอยู่ว่าไม่มีรูปใดรูปหนึ่งผ่านเข้ามาปรากฏ ฉะนั้น จึงไม่สามารถรู้ได้ทั่วถึง เป็นแต่แค่ไปรู้หลบตัวอยู่ภายใน ไม่ใช่เข้าไปรู้อยู่ด้วยทำงานสำเร็จ เข้าไปรู้อยู่ด้วยอาการหลบหลีก คือ เห็นแก่โทษที่เกิดขึ้นแต่ส่วนภายนอก ไม่เห็นว่าโทษนั้นฝังอยู่ภายใน จึงเข้าไปหลบอยู่ทำความรู้ แต่ส่วนตัวก็สำคัญว่าตนหมดกิเลสไปบ้าง เพราะสำคัญที่ว่างนั้นเป็นพระนิพพาน นี้เรียกว่า “อรูปาวจร” ภูมิในเบื้องต้นอันเป็นส่วนแห่งโลกีย์
ถ้าใครต้องการที่จะรู้ดีรู้ชอบ แล้วจิตดวงนี้เป็นโลกีย์หรือโลกุตตระนั้นอย่างนี้ คือ ให้สังเกตเมื่อทำความรู้เข้าไปสงบอยู่ แล้วก็มีความสุขสบายคล้ายกับว่าไม่มีกิเลสเจือปน ถ้าปล่อยจิตดวงนั้นให้เป็นอยู่ตามธรรมดา แล้วก็เกิดกิเลสกำเริบขึ้นได้อยู่ตามธรรมดา เหตุนั้นจึงเรียกว่าเป็นแต่โลกีย์ บางทีก็ทรงตัวอยู่ได้ ไม่เสื่อมด้วยอำนาจแห่งความเพียร บางทีก็เกิดความสงสัยลังเลขึ้นในความรู้ของตนนั้นอีก เป็นต้นว่า ลูบคลำคร่ำครวญอยู่เสมอ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็อย่าพึงเข้าใจว่าเป็นความรู้อันแท้จริง
ถ้าจะพูดถึงความรู้อันมีมากอย่างเช่น มโนใจก็รู้ จิตก็รู้ วิญญาณก็รู้ ปัญญาก็รู้ สัมปชัญญะก็รู้ วิชชาก็รู้ อวิชชาก็รู้ รวมลงที่ว่ามานี้ ล้วนแต่หมายเอาความรู้เป็นฐานด้วยกันทั้งสิ้น ต่างกันแต่ลักษณะที่รู้ เมื่อไม่รู้จักแยกอาการของรู้แล้ว รู้นั้นก็สับกันได้ บางทีก็อาจจะเอาความรู้ผิดมาเป็นความรู้ถูก บางทีก็อาจจะเอาความรู้ที่เป็นอวิชชามาเป็นวิชชา บางทีก็เอาความรู้ที่ติดสมมติมาเป็นวิมุตติ
ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติควรไตร่ตรองพลิกแพลงให้รู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง ว่าความรู้อันใดเป็นความรู้อันแท้จริง ความรู้อันใดเป็นความรู้ที่ไม่จริง ความรู้ที่ไม่จริงนั้นสักแต่ว่ารู้ แต่ละไม่ได้ ความรู้ที่จริงนั้น เมื่อเข้าไปรู้ในสิ่งใดย่อมละได้
นี้พูดมาในส่วนภูมิภาคแห่งจิตทั้งหลาย ทั้ง ๓ อย่างนี้เรียกว่า โลกียภูมิ
๔. โลกุตตรภูมินั้น นับแต่ขั้นแรก คือ ได้แก่ โสดาปตฺติผล โสดาปตฺติผลในเบื้องต้นท่านก็ดำเนินมาในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นส่วนโลกีย์ อันเป็นภาคพื้นเหมือนกัน แต่ท่านเป็นผู้ได้รู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจ ๔ ในครั้งแรกจึงจะได้ละสังโยชน์ ๓ ประการออกจากตนเสีย ดวงใจของท่านนั้นจึงได้หลุดเข้าไปในกระแสของนิพพาน อธิบายที่เรียกว่าสังโยชน์ทั้ง ๓ นั้นคือ
๑. สกฺกายทิฏฺฐิ ความเห็นเป็นเหตุให้ถือว่าก้อนกายนี้เป็นของตน
๒. วิจิกิจฉา ความลังเลเป็นเหตุให้ไม่แน่ใจในความดีที่เราเชื่อถือกันคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีความจริงหรือไม่
๓. สีลพฺพตปรามาส ความลูบคลำอยู่ในสิ่งที่ตนประพฤติปฏิบัติอยู่นั้น
ถ้าจะกล่าวให้สั้น ก็ได้แก่การที่ยึดถือความดีทั้งหลาย อันเป็นส่วนของกิริยาภายนอก เป็นต้นว่า รักษาศีล หรือทำข้อวัตรปฏิบัติ ก็ยึดถือเอาแต่อาการของกายของวาจาเท่านั้น เป็นต้นว่า ศีลก็รักษากันแต่สิกขาบท สมาธิก็ได้แต่กิริยานั่งโด่อยู่เท่านั้น ไม่สามารถที่จะปลดเปลื้องกิริยาทั้งหลายเหล่านั้นออกจากตนได้ ยังคอยยึดเอาความดีอันเกิดจากกิริยานั้นอยู่ ถ้าได้ทำกิริยาเช่นนั้นแล้วก็ดีใจ ถ้าพลาดพลั้งไม่ได้ทำตามกิริยานั้นแล้วใจก็เสีย เป็นต้นว่า ศีลก็จะเอาจากพระ ศีลแปดหรืออุโบสถก็ยึดถือกันอยู่แต่วัน คืน ปี เดือน ยึดเอาความได้ความเสีย อยู่แค่กิริยาภายนอก อันเป็นลัทธิเคยชิน หาเข้าถึงศีลธรรมไม่ อย่างปฏิบัติได้ก็แค่สีลพฺพตุปาทาน ถือกันแต่ลัทธิ ถือประเพณี ถือสมมติว่าดีเหล่านั้น ยึดมั่นมิได้ปล่อยวางลูบคลำอยู่เสมอ จึงเรียกว่า สีลพฺพตปรามาส ๑ เป็นเครื่องกั้นแห่งความดี เป็นต้นว่า ทาน ศีล ภาวนา ที่เคยถือกันมาว่า วัน ๘ ค่ำ วัน ๑๕ ค่ำ นั้นแหละเป็นบุญ
ส่วนโสดาที่ท่านได้ละขาดแล้วหาถือเช่นนั้นไม่ คือใจท่านไม่ข้องอยู่ในลัทธิประเพณี คือศีลของท่านไม่มีสิกขาบทเสียแล้ว คือเข้าถึงตัวจริงของศีลเสียแล้ว ศีลก็ปราศจากกาลเวลา ไม่เหมือนปุถุชน
ปุถุชนนั้นจะต้องมอบหมายความดีให้กิริยาภายนอกอยู่ เป็นต้นว่าศีลอยู่กับวัน ๘ ค่ำ อยู่กับวัน ๑๕ ค่ำ อยู่ในพรรษา อยู่ในเดือนปีเช่นนี้ แล้วก็ยึดถือกันอย่างมั่นคง ถ้าใครทำไม่ถูกตามประเพณีลัทธินั้นๆแล้ว ก็หาว่าไม่เป็นศีลเป็นธรรม ในที่สุดก็เลยหาโอกาสทำความดีได้ยาก นี่แหละจึงเรียกว่า ไม่รู้จักหลักเกณฑ์แห่งความดีทั้งหลาย
ส่วนโสดานั้น ศีลธรรมได้แล่นเข้าไปบรรจุอยู่ในกายใจทั้งหมด ปลดเปลื้องออกเสียได้ซึ่งลัทธิที่โลกเขานิยมว่าดีอย่างนั้นดีอย่างนี้ ดีจริงนั้นท่านได้เห็นปรากฏอยู่ในใจของท่านเอง ดีก็อยู่ที่ตรงนี้ ชั่วก็อยู่ที่ตรงนี้ หามีอยู่ตามกิริยาภายนอกไม่
สมได้กับพุทธภาษิตว่า "มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจทั้งสิ้น นี้แลชื่อว่าโสดา" อุปมาเปรียบเหมือนบุคคลที่แจวเรือถูกร่องลงแหล่งแห่งแม่น้ำเจ้าพระยา มีแต่ที่จะลอยไปสู่ปากน้ำสมุทรสาคร กล่าวคือ อมตนฤพานนั้นถ่ายเดียว กิริยาที่จะต้องไหลไปสู่มหาสมุทรนั้นมีอยู่ ๓ ประการ คือ
๑. โสดาชั้นต่ำ เปรียบเหมือนคนที่นอนถ่ายเกกจับตะกูดเรือไว้เฉยๆ เรือนั้นก็แล่นไปถึงช้า นี้จำพวกหนึ่ง
๒. มือจับแจว ขาเกาะตะกูดแล้วก็แจวไป นี้พวกหนึ่ง
๓. เรือนั้นใส่เครื่องยนต์ มีคนถือพวงมาลัยแล่นไปถึงจุดหมายอย่างเร็วนี้ อุปมาฉันใด พระอริยโสดาเหมือนบุคคลที่แจวเรืออยู่ ๓ จำพวกนั้นนี้แหละ เรียกว่าบุคคลที่เข้าถึงกระแสแห่งพระนิพพาน ที่เรียกว่าโลกุตตรภูมิในเบื้องต้น
ถ้าจะย่นย่อหัวข้อแห่งสังโยชน์ทั้ง ๓ ก็ดังนี้ ยึดถือก้อนกายเป็นของของตนเรียกว่า สกฺกายทิฏฐิ คือ กิริยาของกายนี้หนึ่ง เรียกว่า สีลพฺพตปรามาส ไม่รู้จักแยกกายออกจากจิต ไม่รู้จักแยกจิตออกจากกิริยานี้หนึ่ง จึงเป็นเหตุไม่รู้แจ้งเห็นจริง จึงเกิดความลังเลใจไม่แน่นอน เรียกว่า วิจิกิจฺฉา ที่แสดงออกมานี้เป็นส่วนความเห็น ฉะนั้น ผู้ฟังทั้งหลายให้ไตร่ตรองดูอีก
นี้แสดงมาในส่วนโลกุตตรภูมิของจิตทั้งหลายที่เป็นฝ่ายอกุศลจิต เมื่อรู้จักจิตทั้งหลายที่เป็นไปด้วยอาการเช่นนี้แล้ว การใช้คุณธรรม ๓ อย่างมาเป็นเครื่องมือ คือ ทำสติและสัมปชัญญะ อาตาปี ความเพียรเพ่งพิจารณา ทั้ง ๓ ประการนี้เข้าประจำจิตนั้นไว้ ที่จะรู้ได้ต้องใช้อาตาปี ความเพียรเพ่งพิจารณาอันเป็นส่วนปัญญา คือ ให้รู้จักความเกิดขึ้นดับไป ถอนออกและตั้งอยู่และสงบเข้าไป ต้องใช้การกำหนดพิจารณาอยู่เป็นนิจ จึงจะรู้ได้ในความเกิดและความดับของจิต และธรรมชาติของจิตที่ไม่เกิดไม่ดับก็จะรู้ได้
รู้ความเกิดและความดับของจิตอันเป็นส่วนอดีต นี้ก็เรียกเป็นวิชาชั้นหนึ่ง น่าจะเรียกได้ว่า ปุพฺเพนิวาสานุสฺสติญาณ
รู้จักความเคลื่อนเลื่อนไปแห่งภูมิจิตอันเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ น่าจะเรียกได้ว่า จุตูปปาตญาณ
รู้จักแยกจิตออกจากอารมณ์ แยกอารมณ์ไว้ส่วนหนึ่ง แยกกระแสจิตที่แล่นไปไว้ส่วนหนึ่ง แยกสภาพของจิตไว้ส่วนหนึ่ง ที่รู้ได้เช่นนี้น่าจะเรียกได้ว่า อาสวกฺขยญาณ
อารมณ์เป็นกามาสวะ กระแสจิตที่แล่นไปเรียกว่าภวาสวะ ที่ไม่รู้จักสภาพของจิตเรียกว่าอวิชชาสวะ
ถ้าจะพูดในส่วนอริยสัจจ์ ๔ แล้วต้องพูดได้ดังนี้ คือ อารมณ์เป็นส่วนทุกข์สัจจ์ จิตที่แล่นเข้าไปหลงอารมณ์เป็น สมุทัยสัจจ์ จิตที่เข้าไปรู้แจ้งเห็นจริงในอารมณ์ทั้งหลาย และกระแสจิตที่แล่นอยู่และสภาพจริงของจิตเดิมรู้ได้เช่นนี้เรียกว่า มรรคจิต ปล่อยวางสภาพของอารมณ์และกระแสจิต และสภาพจิตอันนี้ ปล่อยได้ไม่ยึดถือนี่แหละเรียกว่านิโรธสัจจ์
• จิตประกอบด้วยคุณธรรม ๓ อย่างมี
สัมปชัญญะ ความรู้ตัวดี
อาตาปี ความเพียรเพ่งพิจารณา
สติ ความระลึกได้
เมื่อคุณธรรมเหล่านี้แก่กล้ามีกำลังมากขึ้นแล้ว สัมปชัญญะกล้าเป็นตัววิชชาวิมุตติ สติกล้าเรียกญาณ อาตาปีกล้าเรียกว่าวิปัสสนาญาณ ตัวปัญญากำหนดรู้ทุกข์สัจจ์ คอยห้ามความยินดียินร้ายในอารมณ์ญาณหยั่งรู้สมุทัย วิชาความรู้แจ้งแทงตลอดแห่งจิตเมื่อรู้ได้โดยอาการเช่นนี้เรียกว่ารู้ถูก
ต่อไปนี้จะย้อนกล่าวในเรื่องจิตอีกสักหน่อย คำที่ว่าจิตๆนั้นแยกออกโดยอาการ ๓ อย่างคือ
๑. สภาพจิตเดิม
๒. จิต
๓. จิตประสมด้วยอารมณ์
อาการทั้งหลายเหล่านี้รวมเรียกว่าจิต ถ้าใครไม่รู้เช่นนี้ไม่เรียกว่าเป็นผู้รู้จิตได้ มีแต่จะพูดกันว่าจิตเกิดจิตดับ จิตไม่เกิดไม่ดับ จิตดี จิตชั่ว จิตสูญ จิตไม่สูญ จิตเป็นธรรม จิตไม่ใช่ธรรม จิตพ้น จิตไม่พ้น จิตเป็นนิพพาน จิตไม่ใช่นิพพาน จิตเป็นวิญญาณ จิตไม่ใช่วิญญาณ จิตเป็นใจ ใจไม่ใช่จิต
ตามพุทธภาษิตที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ แนวทางปฏิบัติมีอยู่สองทางเท่านั้น คือ กาย วาจา ใจ นี้หนึ่ง กาย วาจา จิต นี้หนึ่ง สองจุดนี้ในที่สุดก็ไปรวมจุดเดียวกัน จุดที่ประสงค์แท้จริงนั้นก็คือความหลุดพ้น
ฉะนั้น เมื่อท่านทั้งหลายต้องการทราบความจริงนั้นๆ จำเป็นอยู่ที่จะต้องปฏิบัติให้เข้าถึงด้วยตนเอง มิฉะนั้นก็จะต้องทุ่มเถียงกันอยู่ไม่เว้นวาย ปัญหาอันนี้ถ้าผู้ใดปฏิบัติไม่รู้แจ้งเห็นจริงแล้ว นักปราชญ์ท่านกล่าวว่า "เสทโมจนคาถา" แปลว่า คำพูดที่เหงื่อไหลขี้ไคลแตก ฉะนั้น จึงมีความประสงค์จะอธิบายสักหน่อยว่า
สภาพจิตนั้น เป็นสภาพที่รู้อยู่อย่างเดียว นี้หนึ่ง กระแสที่คิดแล่นออกมาจากรู้ไปสู่อารมณ์ต่างๆ นั้นเรียกว่า จิต นี้หนึ่ง เมื่อเข้าไปสัมปยุตกับอารมณ์แล้วหลงอารมณ์นั้นๆ กลายตัวเป็นกิเลส เป็นเหตุแห่งความเศร้าหมองเรียกว่าจิตผสมนี้หนึ่ง
๑. จิต ๒. จิตผสม จิตสองดวงนี้ จะดีก็ตามจะชั่วก็ตาม ต้องเกิด ต้องดับ ต้องทำลายอยู่เป็นธรรมดา ต้นของจิตทั้งสองนี้เป็นสภาพจิตเดิม ย่อมไม่เกิดไม่ดับ เป็นฐิติธรรมประจำอยู่ด้วยอาการเช่นนั้น สภาพจิตเดิมนั้นที่เรียกว่าปภัสสร ผู้แต่งหมายเอาสภาพจิตอันเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ที่เป็นอยู่ตามธรรมดานี้เอง แต่ไม่มีใครสามารถเข้าไปล่วงรู้ เมื่อไม่รู้ย่อมไม่ให้ผลดี ตัวอย่างเช่น พูดกันว่าลิงได้แก้ว
ฉะนั้น จึงสมควรแท้ที่พระพุทธเจ้าเรียกว่าอวิชชา แปลว่า ความรู้มืด ความรู้ไม่จริง สมกับว่า "ปพฺพนฺเต อญาณํ" แปลว่า ไม่รู้เบื้องต้น ได้แก่ ไม่รู้ในสภาพจิตเดิม "ปรนฺเต อญาณํ" แปลว่าไม่รู้เบื้องปลาย คือ ไม่รู้จิตที่ผสมกับอารมณ์แล้ว "มชฺฌนฺติก อญาณํ" แปลว่าไม่รู้ในท่ามกลาง คือ ไม่รู้จักกระแสจิตที่แล่นออกจากสภาพที่รู้เดิม เมื่อเป็นเช่นนี้จิตก็กลายเป็นสังขาร ย่อมปรุงแต่งเสกสรรค์ฟั่นเฟือนไปด้วยประการต่างๆ ดังมีอธิบายในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานด้วยประการฉะนี้
(อ่านต่อฉบับหน้าธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน)
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 180 ธันวาคม 2558 โดย พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ลี ธมฺมธโร) วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ)