ท่านผู้อ่านครับ ปัญหาเรื่องโรคเรื้อรัง เป็นปัญหาใหญ่ของโลก เนื่องจากคนในโลกนี้เป็นโรคเรื้อรังมาก เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคหัวใจ โรคอ้วน โรคเหล่านี้เป็นสาเหตุของการตายร้อยละ 80 ของคนในโลกนี้รัฐบาลอเมริกันจึงทุ่มงบประมาณมหาศาลในการศึกษาวิจัย เพื่อหาทางลดการเกิดโรคเหล่านี้ลงให้ได้ เนื่องจากรัฐต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการซื้อยารักษา เพราะโรคเหล่านี้ไม่หายขาด ต้องกินยาคุมอาการไว้ตลอดชีวิต จึงมีปัญหาเรื่องงบประมาณไม่พอ
โดยงบประมาณในการรักษาโรคเรื้อรัง คิดเป็นร้อยละ 75 ของงบสาธารณสุขทั้งหมด ปัจจุบันนี้ เขาพบว่าวิธีที่ได้ผลในการบำบัดโรคเรื้อรัง คือ การดูแลเรื่องอาหาร การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อสุขภาพ จะเป็นหนทางที่ช่วยให้หายจากโรคเรื้อรังได้ ทำให้ประหยัดงบประมาณ และการใช้ยาลดลงมาก คุณภาพชีวิตก็ดีขึ้น อายุยืนขึ้น ซึ่งจะได้กล่าวถึงในตอนต่อๆไป
แต่เรื่องที่สำคัญคือเรื่องอาหาร เพราะเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งในหลายประการของโรคเรื้อรัง อาหารที่คนเรารับประทานอยู่มี 4 กลุ่มใหญ่ คือ อาหารแป้ง น้ำตาล หรือคาร์โบไฮเดรต อาหารประเภทเนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่ว หรือโปรตีน อาหารประเภทไขมันชนิดต่างๆ อาหารประเภทผักและผลไม้
ใน 4 กลุ่มนี้ อาหารที่ให้พลังงาน มี 3 จำพวก คือ พวกแป้งและน้ำตาล พวกเนื้อสัตว์ และพวกไขมัน ส่วนพวกผักและผลไม้ ให้วิตามินและเกลือแร่ เป็นแหล่งให้เส้นใยอาหาร (Dietary Fiber) และปรับสมดุลกรดด่างในร่างกาย
เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ อาหารที่เรากินอยู่ทุกวันนี้ อาจจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
1. อาหารไขมันต่ำ (Low fat diet) ในกลุ่มนี้อาหารที่ให้พลังงานส่วนใหญ่ร้อยละ 50-65 จากพวกแป้งและน้ำตาล จากไขมันร้อยละ 30 (ไขมันต่ำกว่าร้อยละ 30 ถือว่าอยู่ในกลุ่มไขมันต่ำ) จากเนื้อสัตว์ร้อยละ 10-20 อาหารกลุ่มนี้ที่เรารู้จักได้แก่ อาหาร 5 หมู่ (ที่เคยเรียนรู้มาจากโรงเรียน จากในตำราโภชนาการ และการแพทย์แผนปัจจุบัน ก็ใช้ระบบอาหาร 5 หมู่) อาหารมังสวิรัติ, อาหารแมคโครไบโอติค, อาหารเมดิเตอเรเนียน, อาหารลดความดัน (DASH Diet) และอาหารแบบ Ornish
คนที่กินอาหารประเภทนี้เชื่อว่า กินไขมันแล้วทำให้ไขมันอุดตันเส้นเลือดในที่ต่างๆโดยเฉพาะที่หัวใจและสมอง ทำให้เส้นเลือดหัวใจตีบหรือเส้นเลือดสมองตีบ เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต และเขาไม่กินเนื้อสัตว์หรือกินแต่น้อย เพราะคิดว่ากินเนื้อสัตว์มากแล้วจะเป็นมะเร็ง ดังนั้น พวกนี้เมื่อไม่กินเนื้อสัตว์และกินไขมันน้อย พลังงานก็ไม่เพียงพอ จึงต้องกินธัญพืชต่างๆ เช่น ข้าว แป้ง น้ำตาลให้มากพอ ร่างกายจึงจะได้พลังงานพอเพียง
2. อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ (Low carb diet) ผู้ที่ชื่นชอบอาหารประเภทนี้ จะกินข้าว แป้ง น้ำตาลน้อยมาก ส่วนใหญ่เปลี่ยนไปกินอาหารไขมัน เนื้อสัตว์ และผักแทน โดยกินไขมันร้อยละ 60-80 เนื้อสัตว์ร้อยละ 10-30 กินผักมากหน่อย ผลไม้น้อยเพราะมีแป้งและน้ำตาลมาก เพราะได้เรียนรู้มาว่า การกินข้าว แป้ง และน้ำตาลมาก ไม่ดีต่อสุขภาพ ทำให้เป็นโรคเรื้อรังต่างๆ และเชื่อว่า การกินไขมัน ไม่ได้ทำให้เกิดโรค กินเนื้อแดงก็ไม่ได้ทำให้เป็นมะเร็ง และรู้ว่าคนเราไม่กินอาหารคาร์โบไฮเดรต ก็ไม่เป็นโรคอะไร ซึ่งเรื่องเหล่านี้จะได้กล่าวถึงในตอนต่อๆไป
อาหารกลุ่มนี้มีชื่อต่างๆกันไป แต่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันในหมู่ผู้สนใจเรื่องอาหารสุขภาพ ได้แก่ อาหารโลว์ คาร์บ (Low Carb), อาหารแอทคิน (Atkins Diet), อาหารคีโตเจนิค (Ketogenic Diet), อาหารพารีโอ (Paleo Diet), อาหารโปรตีน พาวเวอร์ (Protein Power), อาหารแบบโซน (Zone Diet), อาหารเซาท์ บีช (South Beach) เป็นต้น
ในตอนนี้ผู้เขียนขอกล่าวถึง อาหารกลุ่มแรกก่อน คือ พวกไขมันต่ำ โดยเฉพาะอาหารมังสวิรัติ ซึ่งเป็นระบบอาหารเก่าแก่ของโลกตั้งแต่ครั้งโบราณ สมัยบาบิโลนและอียิปต์โบราณ มีการกินอาหารมังสวิรัติมาแล้ว จนถึงสมัยกรีก 500 ปีก่อนคริสตกาล “พีทากอรัส” นักคณิตศาสตร์และปรัชญาชาวกรีกโบราณ สอนให้ชาวกรีกอยู่กับสัตว์อย่างสันติ ไม่ฆ่าสัตว์ เบียดเบียนสัตว์ พวกนี้จึงกินอาหารมังสวิรัติ ถือปฏิบัติกันต่อมา
ในเอเชียเมื่อ 2,000 ปีมาแล้ว พวกศาสนาพราหมณ์ ฮินดู เชน ก็ถือหลักอหิงสา ไม่ฆ่าสัตว์ ผู้ที่นับถือศาสนาเหล่านี้ก็กินมังสวิรัติ ส่วนในยุโรปพวกที่นับถือศาสนาคริสต์ บางพวกก็ถือเรื่องการไม่เบียดเบียนสัตว์ กระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 พวกคริสตจักรวันเสาร์ในอเมริกา หรือพวกที่นับถือศาสนาคริสต์ นิกายเซเวนเดย์ แอ๊ดเวนตีส (Seven Day Adventist) ซึ่งมีชุมชนในเมืองโลมา ลินดา รัฐแคลิฟอร์เนีย พวกนี้กินมังสวิรัติ หยุดงานวันเสาร์ ถือศีล ไปโบสถ์ ฟังธรรม และทำงานสังคมสงเคราะห์ ที่นี่เป็นแหล่งที่มีคนอายุยืนมากที่สุดในโลก (Blue Zone) แห่งหนึ่ง มีคนอายุถึงร้อยปีและยังแข็งแรงทำงานได้จำนวนหลายพันคน (www.youtube.com พิมพ์คำว่า blue zone-lomalinda, california Pt1-2)
ที่มหาวิทยาลัยของเมืองนี้คือ มหาวิทยาลัยโลมา ลินดา ศ.เกรรี่ เฟรเซอร์ อายุรแพทย์ด้านโรคหัวใจ โรงพยาบาลโลมา ลินดา ผู้อำนวยการโครงการวิจัยคนสูงอายุในเมืองโลมา ลินดา (Adventist Health Studies) ซึ่งเริ่มทำมานานตั้งแต่ ค.ศ. 1958-2012 พบว่า คนที่กินมังสวิรัติที่นี่ เปรียบเทียบกับพวกที่ไม่ได้กินมังสวิรัติ จะมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าโดยดูจากดัชนีมวลกาย (BMI) อัตราการเกิดโรคความดัน โรคหัวใจ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคมะเร็ง และอัตราตายโดยรวมจากโรคเรื้อรังต่างๆจะต่ำกว่า และมีอายุยืนกว่า คนที่ไม่ได้กินมังสวิรัติอย่างชัดเจน
ดังนั้น ในระยะหลัง ผู้คนที่สนใจเรื่องสุขภาพ ก็หันมากินอาหารมังสวิรัติกันทั่วไป ไม่ว่าศาสนาอะไร (www.youtube.com พิมพ์คำว่า Evidence for a vegan diet from Adventist health study) ลักษณะอาหารของคนเมืองโลมา ลินดา ไม่มีเนื้อสัตว์ มีแต่พืชเป็นหลัก มีพวกธัญญพืชครบถ้วน ไม่แปรรูปหรือขัดขาว ใช้ไขมันต่ำ ไม่กินนม ไข่ น้ำตาล เกลือ หรือสารปรุงแต่งใดๆ กินถั่วชนิดต่างๆ เต้าหู้ ผัก ผลไม้ เป็นหลัก
อาหารมังสวิรัติที่กล่าวมานี้ บางครั้งนำมาปฏิบัติได้ยากในยุคปัจจุบัน ดังนั้น ในระยะหลังจึงมีการปรับรูปแบบให้หลากหลายขึ้น เช่น บางพวกทานมังสวิรัติแล้วเพิ่มนม เนย ไข่บ้าง เรียกว่า Ovo-Lacto Vegetarian บางพวกทานมังสวิรัติแล้วเพิ่มนม เนย ไข่ และเพิ่มปลาสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เรียกว่า Pesco-Vegetarian บางพวกทานมังสวิรัติ แล้วเพิ่มนม เนย ไข่ บ้าง และเนื้อแดง จาก ไก่ หมู วัว บ้าง เรียกว่า Semi-Vegetarian
จะเห็นว่าในแง่สุขภาพ มีการดัดแปลงหลายรูปแบบ เพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ซึ่งก็พบว่า สามารถป้องกันโรคเรื้อรังต่างๆได้เช่นกัน
อาหารมังสวิรัติได้ถูกนำมาใช้มากในกลุ่มที่ฝึกโยคะ ตามแบบของชาวอินเดีย ซึ่งใช้การรับประทานอาหารมังสวิรัติ การบริหารกายด้วยอาสนะต่างๆ การฝึกหายใจ และสมาธิ ซึ่งก็เป็นรูปแบบที่ดูแลสุขภาพทั้งทางกายและจิต ซึ่งมีงานวิจัยอย่างกว้างขวางว่า ช่วยป้องกันและบำบัดโรคเรื้อรังต่างๆได้ผลดี
โปรแกรมสุขภาพที่ใช้รูปแบบนี้ ที่มีชื่อเสียงของโลก ได้แก่ โปรแกรมการรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ของศ.ดีน ออร์นิช อายุรแพทย์ด้านหัวใจ แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก เขาใช้อาหารมังสวิรัติ ร่วมกับการเดินวันละ 30 นาที การฝึกโยคะอาสนะ การหายใจและสมาธิ และเข้ากลุ่มบำบัด ก็พบว่า โดยวิธีการนี้ ช่วยให้โรคเส้นเลือดหัวใจตีบขยายขึ้นได้ อาการเจ็บหน้าอกหายไป โดยติดตามคนไข้ไป 1 ปีและ 5 ปี แล้วฉีดสีเข้าไปในเส้นเลือดหัวใจ เห็นว่ารอยตีบตัน สามารถทะลุทะลวงขยายออกได้ โดยไม่ต้องใช้ยาหรือการผ่าตัด ท่านผู้อ่านสามารถฟังคำบรรยายของ ศ.ดีน ออร์นิช ได้ใน www.youtube.com พิมพ์คำว่า DeanOrnish ; Healing through diet
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 188 สิงหาคม 2559 โดย นพ.แพทย์พงษ์ วรพงศ์พิเชษฐ)
โดยงบประมาณในการรักษาโรคเรื้อรัง คิดเป็นร้อยละ 75 ของงบสาธารณสุขทั้งหมด ปัจจุบันนี้ เขาพบว่าวิธีที่ได้ผลในการบำบัดโรคเรื้อรัง คือ การดูแลเรื่องอาหาร การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อสุขภาพ จะเป็นหนทางที่ช่วยให้หายจากโรคเรื้อรังได้ ทำให้ประหยัดงบประมาณ และการใช้ยาลดลงมาก คุณภาพชีวิตก็ดีขึ้น อายุยืนขึ้น ซึ่งจะได้กล่าวถึงในตอนต่อๆไป
แต่เรื่องที่สำคัญคือเรื่องอาหาร เพราะเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งในหลายประการของโรคเรื้อรัง อาหารที่คนเรารับประทานอยู่มี 4 กลุ่มใหญ่ คือ อาหารแป้ง น้ำตาล หรือคาร์โบไฮเดรต อาหารประเภทเนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่ว หรือโปรตีน อาหารประเภทไขมันชนิดต่างๆ อาหารประเภทผักและผลไม้
ใน 4 กลุ่มนี้ อาหารที่ให้พลังงาน มี 3 จำพวก คือ พวกแป้งและน้ำตาล พวกเนื้อสัตว์ และพวกไขมัน ส่วนพวกผักและผลไม้ ให้วิตามินและเกลือแร่ เป็นแหล่งให้เส้นใยอาหาร (Dietary Fiber) และปรับสมดุลกรดด่างในร่างกาย
เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ อาหารที่เรากินอยู่ทุกวันนี้ อาจจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
1. อาหารไขมันต่ำ (Low fat diet) ในกลุ่มนี้อาหารที่ให้พลังงานส่วนใหญ่ร้อยละ 50-65 จากพวกแป้งและน้ำตาล จากไขมันร้อยละ 30 (ไขมันต่ำกว่าร้อยละ 30 ถือว่าอยู่ในกลุ่มไขมันต่ำ) จากเนื้อสัตว์ร้อยละ 10-20 อาหารกลุ่มนี้ที่เรารู้จักได้แก่ อาหาร 5 หมู่ (ที่เคยเรียนรู้มาจากโรงเรียน จากในตำราโภชนาการ และการแพทย์แผนปัจจุบัน ก็ใช้ระบบอาหาร 5 หมู่) อาหารมังสวิรัติ, อาหารแมคโครไบโอติค, อาหารเมดิเตอเรเนียน, อาหารลดความดัน (DASH Diet) และอาหารแบบ Ornish
คนที่กินอาหารประเภทนี้เชื่อว่า กินไขมันแล้วทำให้ไขมันอุดตันเส้นเลือดในที่ต่างๆโดยเฉพาะที่หัวใจและสมอง ทำให้เส้นเลือดหัวใจตีบหรือเส้นเลือดสมองตีบ เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต และเขาไม่กินเนื้อสัตว์หรือกินแต่น้อย เพราะคิดว่ากินเนื้อสัตว์มากแล้วจะเป็นมะเร็ง ดังนั้น พวกนี้เมื่อไม่กินเนื้อสัตว์และกินไขมันน้อย พลังงานก็ไม่เพียงพอ จึงต้องกินธัญพืชต่างๆ เช่น ข้าว แป้ง น้ำตาลให้มากพอ ร่างกายจึงจะได้พลังงานพอเพียง
2. อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ (Low carb diet) ผู้ที่ชื่นชอบอาหารประเภทนี้ จะกินข้าว แป้ง น้ำตาลน้อยมาก ส่วนใหญ่เปลี่ยนไปกินอาหารไขมัน เนื้อสัตว์ และผักแทน โดยกินไขมันร้อยละ 60-80 เนื้อสัตว์ร้อยละ 10-30 กินผักมากหน่อย ผลไม้น้อยเพราะมีแป้งและน้ำตาลมาก เพราะได้เรียนรู้มาว่า การกินข้าว แป้ง และน้ำตาลมาก ไม่ดีต่อสุขภาพ ทำให้เป็นโรคเรื้อรังต่างๆ และเชื่อว่า การกินไขมัน ไม่ได้ทำให้เกิดโรค กินเนื้อแดงก็ไม่ได้ทำให้เป็นมะเร็ง และรู้ว่าคนเราไม่กินอาหารคาร์โบไฮเดรต ก็ไม่เป็นโรคอะไร ซึ่งเรื่องเหล่านี้จะได้กล่าวถึงในตอนต่อๆไป
อาหารกลุ่มนี้มีชื่อต่างๆกันไป แต่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันในหมู่ผู้สนใจเรื่องอาหารสุขภาพ ได้แก่ อาหารโลว์ คาร์บ (Low Carb), อาหารแอทคิน (Atkins Diet), อาหารคีโตเจนิค (Ketogenic Diet), อาหารพารีโอ (Paleo Diet), อาหารโปรตีน พาวเวอร์ (Protein Power), อาหารแบบโซน (Zone Diet), อาหารเซาท์ บีช (South Beach) เป็นต้น
ในตอนนี้ผู้เขียนขอกล่าวถึง อาหารกลุ่มแรกก่อน คือ พวกไขมันต่ำ โดยเฉพาะอาหารมังสวิรัติ ซึ่งเป็นระบบอาหารเก่าแก่ของโลกตั้งแต่ครั้งโบราณ สมัยบาบิโลนและอียิปต์โบราณ มีการกินอาหารมังสวิรัติมาแล้ว จนถึงสมัยกรีก 500 ปีก่อนคริสตกาล “พีทากอรัส” นักคณิตศาสตร์และปรัชญาชาวกรีกโบราณ สอนให้ชาวกรีกอยู่กับสัตว์อย่างสันติ ไม่ฆ่าสัตว์ เบียดเบียนสัตว์ พวกนี้จึงกินอาหารมังสวิรัติ ถือปฏิบัติกันต่อมา
ในเอเชียเมื่อ 2,000 ปีมาแล้ว พวกศาสนาพราหมณ์ ฮินดู เชน ก็ถือหลักอหิงสา ไม่ฆ่าสัตว์ ผู้ที่นับถือศาสนาเหล่านี้ก็กินมังสวิรัติ ส่วนในยุโรปพวกที่นับถือศาสนาคริสต์ บางพวกก็ถือเรื่องการไม่เบียดเบียนสัตว์ กระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 พวกคริสตจักรวันเสาร์ในอเมริกา หรือพวกที่นับถือศาสนาคริสต์ นิกายเซเวนเดย์ แอ๊ดเวนตีส (Seven Day Adventist) ซึ่งมีชุมชนในเมืองโลมา ลินดา รัฐแคลิฟอร์เนีย พวกนี้กินมังสวิรัติ หยุดงานวันเสาร์ ถือศีล ไปโบสถ์ ฟังธรรม และทำงานสังคมสงเคราะห์ ที่นี่เป็นแหล่งที่มีคนอายุยืนมากที่สุดในโลก (Blue Zone) แห่งหนึ่ง มีคนอายุถึงร้อยปีและยังแข็งแรงทำงานได้จำนวนหลายพันคน (www.youtube.com พิมพ์คำว่า blue zone-lomalinda, california Pt1-2)
ที่มหาวิทยาลัยของเมืองนี้คือ มหาวิทยาลัยโลมา ลินดา ศ.เกรรี่ เฟรเซอร์ อายุรแพทย์ด้านโรคหัวใจ โรงพยาบาลโลมา ลินดา ผู้อำนวยการโครงการวิจัยคนสูงอายุในเมืองโลมา ลินดา (Adventist Health Studies) ซึ่งเริ่มทำมานานตั้งแต่ ค.ศ. 1958-2012 พบว่า คนที่กินมังสวิรัติที่นี่ เปรียบเทียบกับพวกที่ไม่ได้กินมังสวิรัติ จะมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าโดยดูจากดัชนีมวลกาย (BMI) อัตราการเกิดโรคความดัน โรคหัวใจ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคมะเร็ง และอัตราตายโดยรวมจากโรคเรื้อรังต่างๆจะต่ำกว่า และมีอายุยืนกว่า คนที่ไม่ได้กินมังสวิรัติอย่างชัดเจน
ดังนั้น ในระยะหลัง ผู้คนที่สนใจเรื่องสุขภาพ ก็หันมากินอาหารมังสวิรัติกันทั่วไป ไม่ว่าศาสนาอะไร (www.youtube.com พิมพ์คำว่า Evidence for a vegan diet from Adventist health study) ลักษณะอาหารของคนเมืองโลมา ลินดา ไม่มีเนื้อสัตว์ มีแต่พืชเป็นหลัก มีพวกธัญญพืชครบถ้วน ไม่แปรรูปหรือขัดขาว ใช้ไขมันต่ำ ไม่กินนม ไข่ น้ำตาล เกลือ หรือสารปรุงแต่งใดๆ กินถั่วชนิดต่างๆ เต้าหู้ ผัก ผลไม้ เป็นหลัก
อาหารมังสวิรัติที่กล่าวมานี้ บางครั้งนำมาปฏิบัติได้ยากในยุคปัจจุบัน ดังนั้น ในระยะหลังจึงมีการปรับรูปแบบให้หลากหลายขึ้น เช่น บางพวกทานมังสวิรัติแล้วเพิ่มนม เนย ไข่บ้าง เรียกว่า Ovo-Lacto Vegetarian บางพวกทานมังสวิรัติแล้วเพิ่มนม เนย ไข่ และเพิ่มปลาสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เรียกว่า Pesco-Vegetarian บางพวกทานมังสวิรัติ แล้วเพิ่มนม เนย ไข่ บ้าง และเนื้อแดง จาก ไก่ หมู วัว บ้าง เรียกว่า Semi-Vegetarian
จะเห็นว่าในแง่สุขภาพ มีการดัดแปลงหลายรูปแบบ เพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ซึ่งก็พบว่า สามารถป้องกันโรคเรื้อรังต่างๆได้เช่นกัน
อาหารมังสวิรัติได้ถูกนำมาใช้มากในกลุ่มที่ฝึกโยคะ ตามแบบของชาวอินเดีย ซึ่งใช้การรับประทานอาหารมังสวิรัติ การบริหารกายด้วยอาสนะต่างๆ การฝึกหายใจ และสมาธิ ซึ่งก็เป็นรูปแบบที่ดูแลสุขภาพทั้งทางกายและจิต ซึ่งมีงานวิจัยอย่างกว้างขวางว่า ช่วยป้องกันและบำบัดโรคเรื้อรังต่างๆได้ผลดี
โปรแกรมสุขภาพที่ใช้รูปแบบนี้ ที่มีชื่อเสียงของโลก ได้แก่ โปรแกรมการรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ของศ.ดีน ออร์นิช อายุรแพทย์ด้านหัวใจ แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก เขาใช้อาหารมังสวิรัติ ร่วมกับการเดินวันละ 30 นาที การฝึกโยคะอาสนะ การหายใจและสมาธิ และเข้ากลุ่มบำบัด ก็พบว่า โดยวิธีการนี้ ช่วยให้โรคเส้นเลือดหัวใจตีบขยายขึ้นได้ อาการเจ็บหน้าอกหายไป โดยติดตามคนไข้ไป 1 ปีและ 5 ปี แล้วฉีดสีเข้าไปในเส้นเลือดหัวใจ เห็นว่ารอยตีบตัน สามารถทะลุทะลวงขยายออกได้ โดยไม่ต้องใช้ยาหรือการผ่าตัด ท่านผู้อ่านสามารถฟังคำบรรยายของ ศ.ดีน ออร์นิช ได้ใน www.youtube.com พิมพ์คำว่า DeanOrnish ; Healing through diet
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 188 สิงหาคม 2559 โดย นพ.แพทย์พงษ์ วรพงศ์พิเชษฐ)