• ยูเนสโกขึ้นทะเบียน “ม.นาลันทา” โบราณ เป็นมรดกโลกแล้ว
อินเดีย : เว็บไซต์ phayul.com รายงานว่า เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2016 ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 40 ณ นครอิสตันบูล ประเทศตุรกี ขององค์การยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียนซากมหาวิทยาลัยนาลันทาโบราณ เมืองปัตนะ รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย เป็นมรดกโลก ซึ่งนับเป็นมรดกโลกแห่งที่ 2 ในรัฐพิหาร ต่อจากวัดมหาโพธิ พุทธคยา
องค์การยูเนสโกระบุว่า มหาวิทยาลัยนาลันทาเคยเป็นศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 อันประกอบด้วยวัด สถูป แท่นสักการะ วิหารที่ใช้เป็นอาคารเรียนและที่พำนักหลายแห่ง ตลอดจนพุทธศิลป์ที่ทำจากปูนปั้น หิน และโลหะ
และนับเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในชมพูทวีป ซึ่งสอนวิชาความรู้เป็นระบบอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 800 ปี และมีพัฒนาการในพื้นที่ที่พิสูจน์ให้เห็นว่า ศาสนาพุทธได้เจริญงอกงามในรูปแบบของวัดและการศึกษา
โดยเปิดสอนหลากหลายสาขาวิชา อาทิ ศิลปศาสตร์ แพทยศาสตร์ และตรรกศาสตร์ มีพระสงฆ์จากทั่วโลกเดินทางมาศึกษาที่นี่ รวมถึงภิกษุจีนชื่อดัง คือ หลวงจีนฟาเหียน และพระเสวียนจั้ง (พระถังซัมจั๋ง) และเหล่านักปรัชญาพุทธชาวอินเดียที่สำคัญ ได้แก่ นาคารชุน อารยเทวะ จันทรากีรติ และนาโรปา เป็นต้น
• โรงพิมพ์พระสูตรทิเบตใหญ่สุดในจีน เตรียมสร้างพิพิธภัณฑ์แม่พิมพ์ไม้
จีน : สำนักข่าว Xinhua รายงานว่า โรงพิมพ์พระสูตรทิเบตที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน ซึ่งตั้งอยู่ในเขตเดเจ มณฑลเสฉวน เตรียมสร้างพิพิธภัณฑ์เพื่อจัดแสดงและอนุรักษ์แม่พิมพ์พระสูตรทิเบต ซึ่งทำด้วยไม้ อายุหลายศตวรรษ จำนวน 320,000 ชิ้น
“แม่พิมพ์ไม้เหล่านี้เรียงซ้อนกันจนสูงถึงหลังคา จึงเสี่ยงที่จะเกิดไฟไหม้ได้” หยาง เช็ง รองผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมกัมบา ในเขตปกครองตนเองทิเบตการ์เจ๋อ มณฑลเสฉวน กล่าว และเผยว่า โรงพิมพ์ดังกล่าวสร้างด้วยไม้ใน ค.ศ. 1729 มี 3 ชั้น และยังไม่มีไฟฟ้าใช้
การก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ขนาด 10,000 ตารางเมตร จะเริ่มขึ้นในค.ศ. 2018 ด้วยเงินงบประมาณของรัฐ 80 ล้านหยวน (ราว 420 ล้านบาท) เพื่อใช้เป็นที่เก็บแม่พิมพ์บางส่วน และจัดแสดงเครื่องใช้ต่างๆที่ใช้ในการแกะสลัก การพิมพ์ และการทำกระดาษ ในกระบวนการพิมพ์พระสูตรแบบดั้งเดิม รวมถึงห้องจัดเก็บแม่พิมพ์ไม้ระบบดิจิตอล
“พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะช่วยให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมการพิมพ์พระสูตรทิเบต” หยาง กล่าว โดยโรงพิมพ์ได้เก็บรวบรวมหนังสือจำนวนมาก รวมทั้งวรรณกรรมคลาสสิกของ 5 นิกายหลักในพุทธศาสนาแบบทิเบต ได้แก่ นิงมะ สักยะ กาจู บอนโป และเกลุก
หยาง เผยว่า โรงพิมพ์ได้เริ่มการอนุรักษ์แม่พิมพ์ไม้เมื่อไม่กี่ปีมานี้ โดยมีช่างกว่า 60 คน คอยแกะแม่พิมพ์พระสูตรชิ้นใหม่ ซึ่งการแกะสลักต้องอาศัยเวลา แม้แต่ช่างที่ชำนาญสามารถแกะได้เพียง 7 ชิ้นต่อเดือนเท่านั้น ซึ่งทางการจะฝึกช่างแกะสลักให้มีเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ในแต่ละปีมีผู้มีจิตศรัทธาและนักท่องเที่ยวราว 60,000 คน มาเยี่ยมชมโรงพิมพ์แห่งนี้ ซึ่งคาดว่า จะมีเพิ่มขึ้นในอนาคต เนื่องจากกำลังมีการก่อสร้างสนามบินใกล้เขตเดเจ เพื่อช่วยร่นระยะเวลาเดินทาง
• ช่างไร้ฝีมือทำลายเจดีย์พุกามกว่า 600 องค์
พม่า : หนังสือพิมพ์ The Times รายงานว่า บรรดาผู้เชี่ยวชาญระบุว่ามีเจดีย์กว่า 600 องค์ในเมืองพุกาม ประเทศพม่า ได้รับความเสียหายจากการบูรณปฏิสังขรณ์โดยช่างไร้ฝีมือ และมีโบราณสถานบางแห่งที่ควรบูรณะ แต่กลับถูกสร้างขึ้นใหม่โดยไม่หลงเหลือเค้าโครงเดิม ทำให้คุณค่าด้านสถาปัตยกรรมหรือศิลปะโบราณหมดสิ้นไป
นายซุน โอ สมาชิกกรรมการบริหารมรดกแห่งชาติพม่า เผยว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพม่าเป็นผู้ดูแลการบูรณะ โดยว่าจ้างบริษัทผู้รับเหมาเข้ามาดำเนินการ
“ช่างของบริษัทที่ชนะการประกวดราคา ขาดทักษะที่จำเป็นในการบูรณะสถาปัตยกรรมโบราณ ซึ่งการบูรณะต้องอาศัยเงินทุน ฝีมือ และวัสดุที่เหมาะสม”
ทั้งนี้ ในค.ศ. 2015 มีวัดอย่างน้อย 2 แห่งพังทลายลง เนื่องจากบูรณะด้วยอิฐที่ไม่ถูกต้อง และแม้จะมีวัดบางแห่งอายุมากกว่า 1,000 ปี มีสภาพเสื่อมโทรม ซึ่งบางส่วนพังทลายเป็นเรื่องปกตินั้น แต่นี่เป็นครั้งแรกที่โครงสร้างทั้งหลังพังทลายลง
อนึ่ง พุกามเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรพุกามในคริสต์ศตวรรษที่ 9-13 อันเป็นอาณาจักรแห่งแรกของพม่า และได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งทะเลเจดีย์ เพราะในยุคที่เจริญรุ่งเรือง มีเจดีย์กว่า 4 พันองค์ แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 2,217 องค์ ถือเป็นหนึ่งในเขตโบราณสถานทางพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงของพม่า เทียบเท่ากับนครวัดของกัมพูชา
• วัดดังไต้หวันให้คนเข้าวัดปรบมือดังๆ แทนการจุดธูป ประทัด เผากระดาษ
ไต้หวัน : เว็บไซต์ Buddhistdoor รายงานว่า วัดหลายแห่งในประเทศไต้หวันกำลังยกเลิกประเพณีโบราณ เพื่ออนุรักษ์สภาพแวดล้อม โดยตั้งเป้าที่จะลดมลพิษ ขยะ และอันตรายต่อสุขภาพของคนเข้าวัด ที่เกิดจากการปฏิบัติตามประเพณีโบราณบางอย่าง
ทั้งนี้ศาสนาพุทธและเต๋า เป็นศาสนาที่มีประชากรนับถือมากที่สุดในไต้หวัน เมื่อมีงานเทศกาลต่างๆ ผู้มีจิตศรัทธาหลายล้านคนนิยมเดินทางไปวัดเพื่อเฉลิมฉลอง ด้วยการจุดธูป ประทัด เผากระดาษเงินกระดาษทอง ตามประเพณีที่สืบทอดกันมา
“หลายคนเข้าวัดเพื่อสวดมนต์ขอให้สุขภาพดี แต่วิธีสักการะกลับส่งผลเสียต่อร่างกาย พวกเขาอาจไม่เจ็บป่วยในทันที แต่เมื่อสูดดมมลพิษเข้าไปนานๆ ก็จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของตัวเอง” เยห์กวง-เปิง ผู้ก่อตั้งชมรมอากาศบริสุทธิ์เพื่อไต้หวัน กล่าว
เนื่องจากการจุดธูป ประทัด เผากระดาษ ก่อให้เกิดสารพิษ เช่น เบนซีนและโทลูอีน ในอากาศ ซึ่งจากการเฝ้าระวังงานเทศกาลสักการะเจ้าแม่ทับทิม 9 วัน กองป้องกันสภาพแวดล้อมของไต้หวัน พบว่า การจุดประทัดสร้างมลพิษในอากาศสูงเกินระดับปลอดภัยที่องค์การอนามัยโลกแนะนำกว่า 60 เท่า
ปัจจุบัน เริ่มมีการตระหนักถึงภัยดังกล่าวกันมากขึ้น จึงมีการเปลี่ยนแปลงวิธีสักการบูชากันอย่างกว้างขวาง ดังเช่น วัดนานเยา ในนครจังฮว่า ซึ่งแม้จะเป็นหนึ่งในวัดเต๋าที่ใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดในไต้หวัน แต่ให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์สภาพแวดล้อม ด้วยการใช้วิธีเปิดเทปบันทึกเสียงดังสนั่น และขอให้ผู้สักการะปรบมือดังๆ แทนการจุดประทัดในงานเทศกาล
“มีความเชื่อตามประเพณีโบราณว่า ยิ่งจุดธูปและประทัดมากเท่าใด ยิ่งแสดงถึงความศรัทธา และโชคดีจะบังเกิดกับเราเท่านั้น” ชิว เจน-ฟู ผู้อำนวยการวัดนานเยา กล่าว
เช่นเดียวกับวัดซิง เทียน กง และวัดพุทธธรรม ดรัม เมาเท่น ในนครไทเป ที่ห้ามการจุดธูป ประทัด และเผากระดาษ แต่ขอให้ผู้สักการะพนมมือสวดมนต์แทน
• จีนจับมืออินเดียใช้เครื่องมือไฮเทค สำรวจซากพุทธสถานเมืองสารนาถ
อินเดีย : เว็บไซต์ Buddhistdoor รายงานว่า บรรดานักโบราณคดีของจีนและอินเดียได้หารือเรื่องการจัดตั้งโครงการร่วมกัน เพื่อขุดสำรวจพื้นที่ทางโบราณคดีในเมืองสารนาถ ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย และเป็นเมืองสำคัญที่นักแสวงบุญชาวพุทธจากทั่วโลกนิยมเดินทางมาเยือน
โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันโบราณคดี ภายใต้กองสำรวจทางโบราณคดีแห่งชาติอินเดีย และสถาบันโบราณคดี ภายใต้สถาบันศึกษาสังคมศาสตร์ของจีน คาดว่าจะเริ่มต้นในเดือนพฤศจิกายน 2016 ไปจนถึงค.ศ. 2020 เพื่อขุดสำรวจและอนุรักษ์โบราณวัตถุทางวัฒนธรรม ไปพร้อมๆกับการเฝ้าระวังและควบคุมอย่างปลอดภัย
โดยอาศัยทักษะความชำนาญของทีมนักโบราณคดีทั้งสองประเทศ มีการนำเทคโนโลยีล่าสุดที่ใช้ในด้านโบราณคดี อาทิ การสำรวจข้อมูลระยะไกลแบบ 3 มิติ ระบบประมวลผลด้วยภาพ 3 มิติ และเทคนิคตรวจสอบและวิเคราะห์แบบก้าวหน้าในห้องแล็บมาใช้ในโครงการ
“เราเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่เชื่อมโยงกันด้วยประวัติศาสตร์ด้านวัฒนธรรม ศาสนา และเศรษฐกิจ มายาวนาน ผมเชื่อว่าโครงการนี้จะทำให้ความสัมพันธ์ของเราทั้งสองแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และเรารู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งเมื่อรู้ว่า ในที่สุดนักโบราณคดีของเราจะได้เห็น สัมผัส และอนุรักษ์โบราณวัตถุของอินเดีย ที่เคยเห็นแค่ในหนังสือเท่านั้น” หวัง ไว ผู้อำนวยการสถาบันโบราณคดีของจีน กล่าว
ตามประวัติศาสตร์พุทธศาสนา หลังจากพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ที่พุทธคยา ได้เสด็จมาแสดงปฐมเทศนาและประกาศพระพุทธศาสนา ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน (สารนาถในสมัยพุทธกาล) จนเกิดภิกษุองค์แรกขึ้นในโลก
• พระญี่ปุ่นวาด “หน้าคนหัวเราะ” เรียกรอยยิ้มจากเหยื่อแผ่นดินไหว
ญี่ปุ่น : เว็บไซต์ The Asahi Shimbun รายงานว่า หากการหัวเราะคือยารักษาโรคขนานดีที่สุดแล้วละก็ โรงงานซ่อมรถยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดคุมาโมะโตะ ประเทศญี่ปุ่น กำลังแจกจ่ายยาชุดใหญ่ที่เป็นจิตรกรรมฝาผนังชวนยิ้ม ให้แก่ชุมชนที่นี่ซึ่งได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ เมื่อกลางเดือนเมษายน 2016
จิตรกรรมฝาผนังชวนยิ้มดังกล่าว เป็นภาพใบหน้าคนจำนวนมากกำลังหัวเราะเรียงกันเป็นแถว วาดบนบานประตูของโรงงานที่กำลังจะถูกรื้อถอน เนื่องจากตั้งอยู่ในอาคารที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวรุนแรงหลายละลอก และเสี่ยงที่จะพังทลายลงมา
โตชิฮิโร คุมามิยะ วัย 48 ปี ประธานโรงงานดังกล่าว ได้เชิญชวนอาสาสมัครให้มาวาดภาพบนประตูโรงงาน เพื่อเป็นกำลังใจให้บรรดาเหยื่อภัยพิบัติ จนกว่าอาคารจะถูกทุบทิ้ง
เมื่อได้ยินข่าวนี้ พระจิกิจุ มิยาชิ วัย 48 ปี ได้เดินทางจากเมืองเอนะ จังหวัดกิฟุ ไปยังเมืองมาชิกิ จังหวัดคุมาโมะโตะ พร้อมเพื่อนภิกษุรูปหนึ่ง และอาสาสมัครจำนวนหนึ่ง เพื่อวาดภาพใบหน้ากลุ่มคนกำลังหัวเราะ แลดูมีชีวิตชีวา
“อาตมาวาดภาพลักษณะนี้ เพื่อเรียกรอยยิ้มจากคนที่ได้เห็น ด้วยความหวังว่า เหยื่อแผ่นดินไหวจะสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้ด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ” พระมิยาชิ กล่าว
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 188 สิงหาคม 2559 โดย เภตรา)
อินเดีย : เว็บไซต์ phayul.com รายงานว่า เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2016 ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 40 ณ นครอิสตันบูล ประเทศตุรกี ขององค์การยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียนซากมหาวิทยาลัยนาลันทาโบราณ เมืองปัตนะ รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย เป็นมรดกโลก ซึ่งนับเป็นมรดกโลกแห่งที่ 2 ในรัฐพิหาร ต่อจากวัดมหาโพธิ พุทธคยา
องค์การยูเนสโกระบุว่า มหาวิทยาลัยนาลันทาเคยเป็นศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 อันประกอบด้วยวัด สถูป แท่นสักการะ วิหารที่ใช้เป็นอาคารเรียนและที่พำนักหลายแห่ง ตลอดจนพุทธศิลป์ที่ทำจากปูนปั้น หิน และโลหะ
และนับเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในชมพูทวีป ซึ่งสอนวิชาความรู้เป็นระบบอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 800 ปี และมีพัฒนาการในพื้นที่ที่พิสูจน์ให้เห็นว่า ศาสนาพุทธได้เจริญงอกงามในรูปแบบของวัดและการศึกษา
โดยเปิดสอนหลากหลายสาขาวิชา อาทิ ศิลปศาสตร์ แพทยศาสตร์ และตรรกศาสตร์ มีพระสงฆ์จากทั่วโลกเดินทางมาศึกษาที่นี่ รวมถึงภิกษุจีนชื่อดัง คือ หลวงจีนฟาเหียน และพระเสวียนจั้ง (พระถังซัมจั๋ง) และเหล่านักปรัชญาพุทธชาวอินเดียที่สำคัญ ได้แก่ นาคารชุน อารยเทวะ จันทรากีรติ และนาโรปา เป็นต้น
• โรงพิมพ์พระสูตรทิเบตใหญ่สุดในจีน เตรียมสร้างพิพิธภัณฑ์แม่พิมพ์ไม้
จีน : สำนักข่าว Xinhua รายงานว่า โรงพิมพ์พระสูตรทิเบตที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน ซึ่งตั้งอยู่ในเขตเดเจ มณฑลเสฉวน เตรียมสร้างพิพิธภัณฑ์เพื่อจัดแสดงและอนุรักษ์แม่พิมพ์พระสูตรทิเบต ซึ่งทำด้วยไม้ อายุหลายศตวรรษ จำนวน 320,000 ชิ้น
“แม่พิมพ์ไม้เหล่านี้เรียงซ้อนกันจนสูงถึงหลังคา จึงเสี่ยงที่จะเกิดไฟไหม้ได้” หยาง เช็ง รองผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมกัมบา ในเขตปกครองตนเองทิเบตการ์เจ๋อ มณฑลเสฉวน กล่าว และเผยว่า โรงพิมพ์ดังกล่าวสร้างด้วยไม้ใน ค.ศ. 1729 มี 3 ชั้น และยังไม่มีไฟฟ้าใช้
การก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ขนาด 10,000 ตารางเมตร จะเริ่มขึ้นในค.ศ. 2018 ด้วยเงินงบประมาณของรัฐ 80 ล้านหยวน (ราว 420 ล้านบาท) เพื่อใช้เป็นที่เก็บแม่พิมพ์บางส่วน และจัดแสดงเครื่องใช้ต่างๆที่ใช้ในการแกะสลัก การพิมพ์ และการทำกระดาษ ในกระบวนการพิมพ์พระสูตรแบบดั้งเดิม รวมถึงห้องจัดเก็บแม่พิมพ์ไม้ระบบดิจิตอล
“พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะช่วยให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมการพิมพ์พระสูตรทิเบต” หยาง กล่าว โดยโรงพิมพ์ได้เก็บรวบรวมหนังสือจำนวนมาก รวมทั้งวรรณกรรมคลาสสิกของ 5 นิกายหลักในพุทธศาสนาแบบทิเบต ได้แก่ นิงมะ สักยะ กาจู บอนโป และเกลุก
หยาง เผยว่า โรงพิมพ์ได้เริ่มการอนุรักษ์แม่พิมพ์ไม้เมื่อไม่กี่ปีมานี้ โดยมีช่างกว่า 60 คน คอยแกะแม่พิมพ์พระสูตรชิ้นใหม่ ซึ่งการแกะสลักต้องอาศัยเวลา แม้แต่ช่างที่ชำนาญสามารถแกะได้เพียง 7 ชิ้นต่อเดือนเท่านั้น ซึ่งทางการจะฝึกช่างแกะสลักให้มีเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ในแต่ละปีมีผู้มีจิตศรัทธาและนักท่องเที่ยวราว 60,000 คน มาเยี่ยมชมโรงพิมพ์แห่งนี้ ซึ่งคาดว่า จะมีเพิ่มขึ้นในอนาคต เนื่องจากกำลังมีการก่อสร้างสนามบินใกล้เขตเดเจ เพื่อช่วยร่นระยะเวลาเดินทาง
• ช่างไร้ฝีมือทำลายเจดีย์พุกามกว่า 600 องค์
พม่า : หนังสือพิมพ์ The Times รายงานว่า บรรดาผู้เชี่ยวชาญระบุว่ามีเจดีย์กว่า 600 องค์ในเมืองพุกาม ประเทศพม่า ได้รับความเสียหายจากการบูรณปฏิสังขรณ์โดยช่างไร้ฝีมือ และมีโบราณสถานบางแห่งที่ควรบูรณะ แต่กลับถูกสร้างขึ้นใหม่โดยไม่หลงเหลือเค้าโครงเดิม ทำให้คุณค่าด้านสถาปัตยกรรมหรือศิลปะโบราณหมดสิ้นไป
นายซุน โอ สมาชิกกรรมการบริหารมรดกแห่งชาติพม่า เผยว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพม่าเป็นผู้ดูแลการบูรณะ โดยว่าจ้างบริษัทผู้รับเหมาเข้ามาดำเนินการ
“ช่างของบริษัทที่ชนะการประกวดราคา ขาดทักษะที่จำเป็นในการบูรณะสถาปัตยกรรมโบราณ ซึ่งการบูรณะต้องอาศัยเงินทุน ฝีมือ และวัสดุที่เหมาะสม”
ทั้งนี้ ในค.ศ. 2015 มีวัดอย่างน้อย 2 แห่งพังทลายลง เนื่องจากบูรณะด้วยอิฐที่ไม่ถูกต้อง และแม้จะมีวัดบางแห่งอายุมากกว่า 1,000 ปี มีสภาพเสื่อมโทรม ซึ่งบางส่วนพังทลายเป็นเรื่องปกตินั้น แต่นี่เป็นครั้งแรกที่โครงสร้างทั้งหลังพังทลายลง
อนึ่ง พุกามเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรพุกามในคริสต์ศตวรรษที่ 9-13 อันเป็นอาณาจักรแห่งแรกของพม่า และได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งทะเลเจดีย์ เพราะในยุคที่เจริญรุ่งเรือง มีเจดีย์กว่า 4 พันองค์ แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 2,217 องค์ ถือเป็นหนึ่งในเขตโบราณสถานทางพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงของพม่า เทียบเท่ากับนครวัดของกัมพูชา
• วัดดังไต้หวันให้คนเข้าวัดปรบมือดังๆ แทนการจุดธูป ประทัด เผากระดาษ
ไต้หวัน : เว็บไซต์ Buddhistdoor รายงานว่า วัดหลายแห่งในประเทศไต้หวันกำลังยกเลิกประเพณีโบราณ เพื่ออนุรักษ์สภาพแวดล้อม โดยตั้งเป้าที่จะลดมลพิษ ขยะ และอันตรายต่อสุขภาพของคนเข้าวัด ที่เกิดจากการปฏิบัติตามประเพณีโบราณบางอย่าง
ทั้งนี้ศาสนาพุทธและเต๋า เป็นศาสนาที่มีประชากรนับถือมากที่สุดในไต้หวัน เมื่อมีงานเทศกาลต่างๆ ผู้มีจิตศรัทธาหลายล้านคนนิยมเดินทางไปวัดเพื่อเฉลิมฉลอง ด้วยการจุดธูป ประทัด เผากระดาษเงินกระดาษทอง ตามประเพณีที่สืบทอดกันมา
“หลายคนเข้าวัดเพื่อสวดมนต์ขอให้สุขภาพดี แต่วิธีสักการะกลับส่งผลเสียต่อร่างกาย พวกเขาอาจไม่เจ็บป่วยในทันที แต่เมื่อสูดดมมลพิษเข้าไปนานๆ ก็จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของตัวเอง” เยห์กวง-เปิง ผู้ก่อตั้งชมรมอากาศบริสุทธิ์เพื่อไต้หวัน กล่าว
เนื่องจากการจุดธูป ประทัด เผากระดาษ ก่อให้เกิดสารพิษ เช่น เบนซีนและโทลูอีน ในอากาศ ซึ่งจากการเฝ้าระวังงานเทศกาลสักการะเจ้าแม่ทับทิม 9 วัน กองป้องกันสภาพแวดล้อมของไต้หวัน พบว่า การจุดประทัดสร้างมลพิษในอากาศสูงเกินระดับปลอดภัยที่องค์การอนามัยโลกแนะนำกว่า 60 เท่า
ปัจจุบัน เริ่มมีการตระหนักถึงภัยดังกล่าวกันมากขึ้น จึงมีการเปลี่ยนแปลงวิธีสักการบูชากันอย่างกว้างขวาง ดังเช่น วัดนานเยา ในนครจังฮว่า ซึ่งแม้จะเป็นหนึ่งในวัดเต๋าที่ใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดในไต้หวัน แต่ให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์สภาพแวดล้อม ด้วยการใช้วิธีเปิดเทปบันทึกเสียงดังสนั่น และขอให้ผู้สักการะปรบมือดังๆ แทนการจุดประทัดในงานเทศกาล
“มีความเชื่อตามประเพณีโบราณว่า ยิ่งจุดธูปและประทัดมากเท่าใด ยิ่งแสดงถึงความศรัทธา และโชคดีจะบังเกิดกับเราเท่านั้น” ชิว เจน-ฟู ผู้อำนวยการวัดนานเยา กล่าว
เช่นเดียวกับวัดซิง เทียน กง และวัดพุทธธรรม ดรัม เมาเท่น ในนครไทเป ที่ห้ามการจุดธูป ประทัด และเผากระดาษ แต่ขอให้ผู้สักการะพนมมือสวดมนต์แทน
• จีนจับมืออินเดียใช้เครื่องมือไฮเทค สำรวจซากพุทธสถานเมืองสารนาถ
อินเดีย : เว็บไซต์ Buddhistdoor รายงานว่า บรรดานักโบราณคดีของจีนและอินเดียได้หารือเรื่องการจัดตั้งโครงการร่วมกัน เพื่อขุดสำรวจพื้นที่ทางโบราณคดีในเมืองสารนาถ ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย และเป็นเมืองสำคัญที่นักแสวงบุญชาวพุทธจากทั่วโลกนิยมเดินทางมาเยือน
โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันโบราณคดี ภายใต้กองสำรวจทางโบราณคดีแห่งชาติอินเดีย และสถาบันโบราณคดี ภายใต้สถาบันศึกษาสังคมศาสตร์ของจีน คาดว่าจะเริ่มต้นในเดือนพฤศจิกายน 2016 ไปจนถึงค.ศ. 2020 เพื่อขุดสำรวจและอนุรักษ์โบราณวัตถุทางวัฒนธรรม ไปพร้อมๆกับการเฝ้าระวังและควบคุมอย่างปลอดภัย
โดยอาศัยทักษะความชำนาญของทีมนักโบราณคดีทั้งสองประเทศ มีการนำเทคโนโลยีล่าสุดที่ใช้ในด้านโบราณคดี อาทิ การสำรวจข้อมูลระยะไกลแบบ 3 มิติ ระบบประมวลผลด้วยภาพ 3 มิติ และเทคนิคตรวจสอบและวิเคราะห์แบบก้าวหน้าในห้องแล็บมาใช้ในโครงการ
“เราเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่เชื่อมโยงกันด้วยประวัติศาสตร์ด้านวัฒนธรรม ศาสนา และเศรษฐกิจ มายาวนาน ผมเชื่อว่าโครงการนี้จะทำให้ความสัมพันธ์ของเราทั้งสองแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และเรารู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งเมื่อรู้ว่า ในที่สุดนักโบราณคดีของเราจะได้เห็น สัมผัส และอนุรักษ์โบราณวัตถุของอินเดีย ที่เคยเห็นแค่ในหนังสือเท่านั้น” หวัง ไว ผู้อำนวยการสถาบันโบราณคดีของจีน กล่าว
ตามประวัติศาสตร์พุทธศาสนา หลังจากพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ที่พุทธคยา ได้เสด็จมาแสดงปฐมเทศนาและประกาศพระพุทธศาสนา ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน (สารนาถในสมัยพุทธกาล) จนเกิดภิกษุองค์แรกขึ้นในโลก
• พระญี่ปุ่นวาด “หน้าคนหัวเราะ” เรียกรอยยิ้มจากเหยื่อแผ่นดินไหว
ญี่ปุ่น : เว็บไซต์ The Asahi Shimbun รายงานว่า หากการหัวเราะคือยารักษาโรคขนานดีที่สุดแล้วละก็ โรงงานซ่อมรถยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดคุมาโมะโตะ ประเทศญี่ปุ่น กำลังแจกจ่ายยาชุดใหญ่ที่เป็นจิตรกรรมฝาผนังชวนยิ้ม ให้แก่ชุมชนที่นี่ซึ่งได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ เมื่อกลางเดือนเมษายน 2016
จิตรกรรมฝาผนังชวนยิ้มดังกล่าว เป็นภาพใบหน้าคนจำนวนมากกำลังหัวเราะเรียงกันเป็นแถว วาดบนบานประตูของโรงงานที่กำลังจะถูกรื้อถอน เนื่องจากตั้งอยู่ในอาคารที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวรุนแรงหลายละลอก และเสี่ยงที่จะพังทลายลงมา
โตชิฮิโร คุมามิยะ วัย 48 ปี ประธานโรงงานดังกล่าว ได้เชิญชวนอาสาสมัครให้มาวาดภาพบนประตูโรงงาน เพื่อเป็นกำลังใจให้บรรดาเหยื่อภัยพิบัติ จนกว่าอาคารจะถูกทุบทิ้ง
เมื่อได้ยินข่าวนี้ พระจิกิจุ มิยาชิ วัย 48 ปี ได้เดินทางจากเมืองเอนะ จังหวัดกิฟุ ไปยังเมืองมาชิกิ จังหวัดคุมาโมะโตะ พร้อมเพื่อนภิกษุรูปหนึ่ง และอาสาสมัครจำนวนหนึ่ง เพื่อวาดภาพใบหน้ากลุ่มคนกำลังหัวเราะ แลดูมีชีวิตชีวา
“อาตมาวาดภาพลักษณะนี้ เพื่อเรียกรอยยิ้มจากคนที่ได้เห็น ด้วยความหวังว่า เหยื่อแผ่นดินไหวจะสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้ด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ” พระมิยาชิ กล่าว
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 188 สิงหาคม 2559 โดย เภตรา)