• วัดญี่ปุ่นชูไอเดีย “โกศกระดาษ” เพื่อย่อยสลายง่าย
ญี่ปุ่น : เว็บไซต์ The Asahi Shimbun รายงานว่า วัดเอ็นปุกุจิ จังหวัดกุมมะ ประเทศญี่ปุ่น นำแนวคิด “ฝังศพคืนสู่ธรรมชาติ” ด้วยการบรรจุอัฐิลงในโกศที่ทำจากกระดาษและนำไปฝังดิน เพื่อให้ย่อยสลายคืนสู่ผืนดิน
พระเรียวไก โอตานิ เจ้าอาวาสวัด วัย 62 ปี ซึ่งริเริ่มแนวคิดนี้ใน ค.ศ. 2011 เผยว่า มีอัฐิ 20 รายถูกฝังด้วยวิธีนี้ที่มุมด้านหนึ่งของสุสานวัด ซึ่งขณะนี้ทางวัดได้รับจองจากผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่เกินกว่า 10 รายแล้ว
พระโอตานิได้สั่งทำโกศกระดาษขนาดสูงและกว้าง 25 ซม. ไม่มีฝาปิด โดยญาติผู้เสียชีวิตสามารถติดรูปและเขียนข้อความบนโกศได้ ทั้งนี้ ทางวัดมิได้ฝ่าฝืนกฎหมายสุสานและการฝังศพ เนื่องจากอัฐิจะถูกฝังที่มุมหนึ่งของสุสานวัด ซึ่งถูกแบ่งเป็นช่องขนาด 40 ตร.ซม. คิดค่าพื้นที่และจัดการ 350,000 เยน (ราว 110,000 บาท)
มีการนำ “คอนโกะ-ซู” ซึ่งเป็นแท่งไม้ที่นักปีนเขาและนักแสวงบุญนำติดตัว มาใช้เป็นป้ายหลุมศพ โดยจะเขียนชื่อทางโลกของผู้ตาย และชื่อทางธรรมด้วยหากต้องการ
ขณะที่นายโซเฮอิ นิชิมาตะ ประธานสมาคมญี่ปุ่น Soso ในนครโตเกียว ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรที่ส่งเสริมการฝังศพตามธรรมชาติ ได้สนับสนุนการฝังศพของวัดเอ็นปุกุจิ โดยทางสมาคมฯได้ริเริ่มการโปรยอังคารในทะเลเมื่อค.ศ.1991 และที่ผ่านมาได้ประกอบพิธีไปแล้วราว 3,600 ศพ
“ผมไม่เคยได้ยินเรื่องการใช้โกศกระดาษมาก่อน ซึ่งมันเป็นวิธีหนึ่งในการฝังศพตามธรรมชาติ ที่คล้ายการฝังศพในสมัยโบราณ วิธีนี้เป็นการปลดปล่อยคนตายจากหลุมศพคอนกรีตที่ใช้กันตามประเพณี จึงเป็นการฝังศพที่ดีเยี่ยม หากญาติผู้ตายรู้สึกพอใจด้วย” นิชิมาตะ กล่าว
(เครดิตภาพ : The Asahi Shimbun)
• ปากีสถานเฉลิมฉลองวิสาขบูชาทั่วประเทศเป็นครั้งแรก
ปากีสถาน : เว็บไซต์ Buddhistdoor รายงานว่า เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2016 กองงานประวัติศาสตร์และมรดกด้านวรรณกรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานใหม่ภายใต้กระทรวงสารสนเทศและมรดกแห่งชาติ ประเทศปากีสถาน ได้จัดงานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาทั่วประเทศอย่างเป็นทางการครั้งแรก
โดยได้เชิญผู้แทนชาวพุทธ 43 คน/รูป จากประเทศศรีลังกา ประกอบด้วย รัฐมนตรี พระเถระชั้นผู้ใหญ่ นักวิชาการด้านศาสนา และตัวแทนสื่อมวลชน เข้าร่วมงาน โดยกองงานฯได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของปากีสถาน ที่เป็นประเทศร่ำรวยในด้านประวัติศาสตร์พุทธศาสนา ซึ่งยังคงมีโบราณสถานและโบราณวัตถุจำนวนมากให้ได้เห็นในปัจจุบัน รวมถึงพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ทั่วประเทศ ที่มีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์พุทธ
ทั้งนี้ ศาสนาพุทธเผยแผ่เข้ามายังดินแดนที่ปัจจุบันคือประเทศปากีสถาน ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (268-232 ก่อนคริสตกาล) จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมริยะ ผู้ครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ในชมพูทวีป
อาณาจักรคันธาระที่ซึ่งพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เข้ามาเจริญรุ่งเรืองในช่วงศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 5 และนับเป็นแห่งแรกที่มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นนั้น ปัจจุบันคือดินแดนด้านตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถาน
(เครดิตภาพ : omlanka.net)
• อินเดียเตรียมเปิดเส้นทางแสวงบุญ ข้ามประเทศเป็นครั้งแรก
อินเดีย : เว็บไซต์ The Indian Express รายงานว่า กระทรวงการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมอินเดียเตรียมประกาศเส้นทางท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาข้ามประเทศเส้นทางแรก ประกอบด้วย พุทธคยา เวสาลี ราชคฤห์ และกุสินารา ในรัฐพิหาร สารนาถ สาวัตถี ในรัฐอุตตรประเทศ ข้ามไปยังกบิลพัสดุ์และลุมพินีในประเทศเนปาล อันเป็นเมืองพุทธบิดาและสถานที่ประสูติแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
“มันน่าประหลาดใจว่า พุทธศาสนาถือกำเนิดขึ้นในประเทศอินเดีย และมีสถานที่แสวงบุญสำคัญๆอยู่ราว 7-8 แห่ง แต่กลับมีนักแสวงบุญจากทั่วโลกเข้ามาเยือนไม่ถึง 1% เมื่อเทียบกับประเทศอินโดนีเซียและไทย ที่มีนักท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาเข้าไปเยือนเป็นจำนวนมาก ที่อินเดียล้าหลังเป็นเพราะขาดโครงสร้างพื้นฐานและการตื่นตัว เรากำลังสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวเหล่านี้ให้มาเยือนอินเดีย อันเป็นการสร้างรายได้และการจ้างงานจำนวนมหาศาล” นายมาเฮจ ชาร์มา รัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม กล่าว
ขณะที่เจ้าหน้าที่อาวุโสผู้มีส่วนร่างนโยบายการท่องเที่ยวฉบับใหม่ กล่าวว่า “ไม่เพียงแค่ในอินเดียและเนปาล แต่ยังมีโบราณสถานทางพุทธศาสนาจำนวนมากในศรีลังกาด้วย เมื่อเร็วๆนี้ ในที่ประชุมสมาคมเอเชียใต้เพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาค ผู้แทนจากปากีสถานและอัฟกานิสถานได้แสดงความสนใจเข้าร่วมกับอินเดีย เพื่อส่งเสริมเส้นทางท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา เราจะทำงานร่วมกันและหาข้อสรุปในเรื่องเส้นทางแสวงบุญ และส่งเสริมทั้งกลุ่ม”
ทั้งนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ได้อนุมัติงบประมาณ 100 โกฏิ (ราว 500 ล้านบาท) เพื่อใช้ในการนี้ ขณะเดียวกัน ได้หารือกับภาคเอกชน เพื่อหาข้อสรุปเรื่องการสร้างโรงแรมโดยรอบพื้นที่ และให้ธนาคารโลกลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน พร้อมทั้งอนุมัติการสร้างศูนย์ประชุมขนาดใหญ่จุคนได้ 2,500 คน ที่พุทธคยา เพื่อรองรับองค์กรและกลุ่มบริษัทที่เข้ามาแสวงบุญอีกด้วย
• รัสเซียเปิดให้บริการเมสเซนเจอร์ชาวพุทธ เชื่อมโยงชาวพุทธ 500 ล้านคนจากทั่วโลก
รัสเซีย : เว็บไซต์ rbth.com รายงานว่า การให้บริการเมสเซนเจอร์ (บริการส่งข้อความ) ระบบใหม่ ที่จะเชื่อมโยงชาวพุทธ 500 ล้านคนจากทั่วโลกเข้าหากัน จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในสาธารณรัฐปกครองตนเองคัลมึยคียา อันเป็นเขตการปกครองของสหพันธรัฐรัสเซีย ที่มีประชากรนับถือศาสนาพุทธมากที่สุด
โดยมีนายเกอซาน อิไลอัมชินอฟ อดีตผู้นำสาธารณรัฐปกครองตนเองคัลมึยคียา เป็นผู้ก่อตั้งและลงทุนหลักในโครงการดังกล่าว คาดว่าเป็นเงินราว 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 35 ล้านบาท) ซึ่งเขาได้พัฒนา App (โปรแกรม) เพื่อให้ดาวน์โหลดได้ใน App Store และ Google Play
“มันคล้ายบริการเมสเซนเจอร์อื่นๆ คือ ไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถส่งจากวิดีโอ เมล์ โทรศัพท์ อีกทั้งยังเผยแพร่การเทศน์ประมุขของสงฆ์'ได้ด้วย” ผู้ก่อตั้งกล่าว
เบื้องต้นมีกำหนดเปิดให้บริการในวันวิสาขบูชาที่ผ่านมา แต่กลับถูกเลื่อนไปเป็นวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 2016 ซึ่งตรงกับวันประสูติครบรอบ 81 พรรษาขององค์ทะไล ลามะ
ทั้งนี้ นายอิไลอัมชินอฟ เผยว่า แนวคิดการก่อตั้งบริการเมสเซนเจอร์ชาวพุทธ เกิดขึ้นเมื่อครั้งที่เขาได้ไปพูดในที่ประชุมนานาชาติ ซึ่งจัดขึ้นในประเทศไทย เมื่อ ค.ศ. 2013 จึงได้นำความคิดเห็นขององค์ทะไล ลามะ มาร่วมพิจารณาในการออกแบบ App ด้วย
• องค์ทะไล ลามะ เปิดเว็บไซต์ “แผนที่อารมณ์”
สหรัฐอเมริกา : เว็บไซต์ techinsider.io รายงานว่า องค์ทะไล ลามะ ทรงเปิดเว็บไซต์แห่งใหม่มีชื่อว่า “Atlas of Emotions” เพื่อให้คนเข้าใจสภาพจิตตัวเองดียิ่งขึ้น และเป็นการบ่มเพาะความเมตตา โดยว่าจ้างพอล เอ็กแมน นักจิตวิทยาชื่อดัง ซึ่งเป็นที่ปรึกษาให้กับภาพยนตร์ของค่ายพิกซาร์ เรื่อง “Inside Out” เป็นผู้จัดทำ
“เมื่อเราต้องการเข้าสู่โลกใหม่ เราจำเป็นต้องมีแผนที่” เอ็กแมนระลึกถึงสิ่งที่องค์ทะไล ลามะ บอก เขาจึงได้ทำแบบสอบถามนักวิทยาศาสตร์ 248 คน จนได้สภาวะอารมณ์สำคัญ 5 อย่าง ได้แก่ กลัว เกลียด ร่าเริง เศร้า และโกรธ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอารมณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในใจ
คำตอบที่ได้ทำให้รู้ถึงการทำงานของสภาวะอารมณ์ว่ามาจากไหน และคนทั่วไปมักจัดการกับมันอย่างไร จึงนำไปสู่การจัดทำ Atlas of Emotions หรือแผนที่อารมณ์ ซึ่งเป็นระบบดิจิตอลที่สามารถโต้ตอบด้วยการคลิกที่แต่ละอารมณ์ เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม
หนึ่งในข้อดีของแผนที่สภาพอารมณ์ คือ ผู้ใช้จะเห็นตัวอย่างสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอารมณ์นั้นๆ อาทิ ความสุขที่เกิดจากการใช้เวลากับครอบครัว การกินช็อกโกแลต ขนมเค้ก หรือเป็นอาสาสมัครช่วยงานชุมชน เป็นต้น
ทั้งนี้ จุดมุ่งหมายของแผนที่สภาพอารมณ์ คือ การช่วยให้คนระมัดระวังสิ่งกระตุ้นในการแสดงพฤติกรรม และรู้จักเลือกว่าจะแสดงออกหรือไม่ หากเลือกที่จะทำ จะแสดงออกอย่างไร เป็นต้น
• เจ้าอาวาสวัดญี่ปุ่นทำเก๋..สร้างท้องฟ้าจำลอง ดึงคนรุ่นใหม่หันมาสนใจพุทธศาสนา
ญี่ปุ่น : เว็บไซต์ worldreligionnews.com รายงานว่า เมื่อมองจากภายนอก วัดโชกานจิ ในกรุงโตเกียว แลดูเหมือนวัดทั่วๆไป แต่เมื่อก้าวเข้าไปในบริเวณวัด จะสังเกตเห็นสิ่งต่างๆที่ไม่อาจพบได้ในศาสนสถานอื่น ไม่ว่าจะเป็นรูปปั้นไดโนเสาร์ สิงโต คนแคระ 2 คน ภาพวาดหมู่ปลาวาฬ และยานอวกาศบนผนังวัด
แต่สิ่งที่ดึงดูดผู้มาเยือนชิ้นสำคัญ คือ Gingaza หรือห้องแสดงท้องฟ้าจำลอง ที่ไม่เพียงสร้างความบันเทิงให้แก่ผู้เข้าชม แต่ยังเป็นเครื่องมือที่เจ้าอาวาสใช้สอนธรรมะด้วย
พระเรียว คาซุกะ เจ้าอาวาสวัดโชกานจิ ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากบิดา เล่าว่า ตอนเป็นเด็กไม่เคยต้องการบวชเป็นพระ แต่สนใจเรื่องดาราศาสตร์ และยึดอาชีพเป็นนักดนตรีในยุโรป จนเมื่อบิดามรณภาพ จึงกลับมาบวช ด้วยเงื่อนไขว่า จะต้องปฏิรูปวิธีการสอนพุทธศาสนาแบบญี่ปุ่นเสียใหม่ โดยไม่หวังเงินบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา
ด้วยความหลงใหลในดาราศาสตร์ พระคาซุกะคิดว่า ท้องฟ้าจำลองน่าจะเป็นเครื่องมือที่เหมาะในการนำมาใช้สอนและดึงดูดคนเข้าหาพุทธศาสนา จึงได้สร้างห้องแสดงที่จุคนได้ราว 20 คน โดยหวังให้ผู้ชมรู้สึกผ่อนคลาย ดื่มด่ำกับความงดงามบนท้องฟ้า ขณะเดียวกันก็ได้ฟังธรรมไปด้วย
พระคาซุกะคิดว่า ปัจจุบันวิธีที่ดีที่สุดในการสอนศาสนา คือ ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีและสิ่งต่างๆที่คนรุ่นใหม่สนใจมากที่สุด
“อาตมาคิดว่า เมื่อคนรู้สึกทึ่งและสนุกกับการมองดูดวงดาวบนท้องฟ้า พวกเขาอาจจะอยากฟังอาตมาเทศน์มากขึ้น”
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 187 กรกฎาคม 2559 โดย เภตรา)
ญี่ปุ่น : เว็บไซต์ The Asahi Shimbun รายงานว่า วัดเอ็นปุกุจิ จังหวัดกุมมะ ประเทศญี่ปุ่น นำแนวคิด “ฝังศพคืนสู่ธรรมชาติ” ด้วยการบรรจุอัฐิลงในโกศที่ทำจากกระดาษและนำไปฝังดิน เพื่อให้ย่อยสลายคืนสู่ผืนดิน
พระเรียวไก โอตานิ เจ้าอาวาสวัด วัย 62 ปี ซึ่งริเริ่มแนวคิดนี้ใน ค.ศ. 2011 เผยว่า มีอัฐิ 20 รายถูกฝังด้วยวิธีนี้ที่มุมด้านหนึ่งของสุสานวัด ซึ่งขณะนี้ทางวัดได้รับจองจากผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่เกินกว่า 10 รายแล้ว
พระโอตานิได้สั่งทำโกศกระดาษขนาดสูงและกว้าง 25 ซม. ไม่มีฝาปิด โดยญาติผู้เสียชีวิตสามารถติดรูปและเขียนข้อความบนโกศได้ ทั้งนี้ ทางวัดมิได้ฝ่าฝืนกฎหมายสุสานและการฝังศพ เนื่องจากอัฐิจะถูกฝังที่มุมหนึ่งของสุสานวัด ซึ่งถูกแบ่งเป็นช่องขนาด 40 ตร.ซม. คิดค่าพื้นที่และจัดการ 350,000 เยน (ราว 110,000 บาท)
มีการนำ “คอนโกะ-ซู” ซึ่งเป็นแท่งไม้ที่นักปีนเขาและนักแสวงบุญนำติดตัว มาใช้เป็นป้ายหลุมศพ โดยจะเขียนชื่อทางโลกของผู้ตาย และชื่อทางธรรมด้วยหากต้องการ
ขณะที่นายโซเฮอิ นิชิมาตะ ประธานสมาคมญี่ปุ่น Soso ในนครโตเกียว ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรที่ส่งเสริมการฝังศพตามธรรมชาติ ได้สนับสนุนการฝังศพของวัดเอ็นปุกุจิ โดยทางสมาคมฯได้ริเริ่มการโปรยอังคารในทะเลเมื่อค.ศ.1991 และที่ผ่านมาได้ประกอบพิธีไปแล้วราว 3,600 ศพ
“ผมไม่เคยได้ยินเรื่องการใช้โกศกระดาษมาก่อน ซึ่งมันเป็นวิธีหนึ่งในการฝังศพตามธรรมชาติ ที่คล้ายการฝังศพในสมัยโบราณ วิธีนี้เป็นการปลดปล่อยคนตายจากหลุมศพคอนกรีตที่ใช้กันตามประเพณี จึงเป็นการฝังศพที่ดีเยี่ยม หากญาติผู้ตายรู้สึกพอใจด้วย” นิชิมาตะ กล่าว
(เครดิตภาพ : The Asahi Shimbun)
• ปากีสถานเฉลิมฉลองวิสาขบูชาทั่วประเทศเป็นครั้งแรก
ปากีสถาน : เว็บไซต์ Buddhistdoor รายงานว่า เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2016 กองงานประวัติศาสตร์และมรดกด้านวรรณกรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานใหม่ภายใต้กระทรวงสารสนเทศและมรดกแห่งชาติ ประเทศปากีสถาน ได้จัดงานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาทั่วประเทศอย่างเป็นทางการครั้งแรก
โดยได้เชิญผู้แทนชาวพุทธ 43 คน/รูป จากประเทศศรีลังกา ประกอบด้วย รัฐมนตรี พระเถระชั้นผู้ใหญ่ นักวิชาการด้านศาสนา และตัวแทนสื่อมวลชน เข้าร่วมงาน โดยกองงานฯได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของปากีสถาน ที่เป็นประเทศร่ำรวยในด้านประวัติศาสตร์พุทธศาสนา ซึ่งยังคงมีโบราณสถานและโบราณวัตถุจำนวนมากให้ได้เห็นในปัจจุบัน รวมถึงพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ทั่วประเทศ ที่มีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์พุทธ
ทั้งนี้ ศาสนาพุทธเผยแผ่เข้ามายังดินแดนที่ปัจจุบันคือประเทศปากีสถาน ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (268-232 ก่อนคริสตกาล) จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมริยะ ผู้ครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ในชมพูทวีป
อาณาจักรคันธาระที่ซึ่งพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เข้ามาเจริญรุ่งเรืองในช่วงศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 5 และนับเป็นแห่งแรกที่มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นนั้น ปัจจุบันคือดินแดนด้านตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถาน
(เครดิตภาพ : omlanka.net)
• อินเดียเตรียมเปิดเส้นทางแสวงบุญ ข้ามประเทศเป็นครั้งแรก
อินเดีย : เว็บไซต์ The Indian Express รายงานว่า กระทรวงการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมอินเดียเตรียมประกาศเส้นทางท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาข้ามประเทศเส้นทางแรก ประกอบด้วย พุทธคยา เวสาลี ราชคฤห์ และกุสินารา ในรัฐพิหาร สารนาถ สาวัตถี ในรัฐอุตตรประเทศ ข้ามไปยังกบิลพัสดุ์และลุมพินีในประเทศเนปาล อันเป็นเมืองพุทธบิดาและสถานที่ประสูติแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
“มันน่าประหลาดใจว่า พุทธศาสนาถือกำเนิดขึ้นในประเทศอินเดีย และมีสถานที่แสวงบุญสำคัญๆอยู่ราว 7-8 แห่ง แต่กลับมีนักแสวงบุญจากทั่วโลกเข้ามาเยือนไม่ถึง 1% เมื่อเทียบกับประเทศอินโดนีเซียและไทย ที่มีนักท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาเข้าไปเยือนเป็นจำนวนมาก ที่อินเดียล้าหลังเป็นเพราะขาดโครงสร้างพื้นฐานและการตื่นตัว เรากำลังสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวเหล่านี้ให้มาเยือนอินเดีย อันเป็นการสร้างรายได้และการจ้างงานจำนวนมหาศาล” นายมาเฮจ ชาร์มา รัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม กล่าว
ขณะที่เจ้าหน้าที่อาวุโสผู้มีส่วนร่างนโยบายการท่องเที่ยวฉบับใหม่ กล่าวว่า “ไม่เพียงแค่ในอินเดียและเนปาล แต่ยังมีโบราณสถานทางพุทธศาสนาจำนวนมากในศรีลังกาด้วย เมื่อเร็วๆนี้ ในที่ประชุมสมาคมเอเชียใต้เพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาค ผู้แทนจากปากีสถานและอัฟกานิสถานได้แสดงความสนใจเข้าร่วมกับอินเดีย เพื่อส่งเสริมเส้นทางท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา เราจะทำงานร่วมกันและหาข้อสรุปในเรื่องเส้นทางแสวงบุญ และส่งเสริมทั้งกลุ่ม”
ทั้งนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ได้อนุมัติงบประมาณ 100 โกฏิ (ราว 500 ล้านบาท) เพื่อใช้ในการนี้ ขณะเดียวกัน ได้หารือกับภาคเอกชน เพื่อหาข้อสรุปเรื่องการสร้างโรงแรมโดยรอบพื้นที่ และให้ธนาคารโลกลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน พร้อมทั้งอนุมัติการสร้างศูนย์ประชุมขนาดใหญ่จุคนได้ 2,500 คน ที่พุทธคยา เพื่อรองรับองค์กรและกลุ่มบริษัทที่เข้ามาแสวงบุญอีกด้วย
• รัสเซียเปิดให้บริการเมสเซนเจอร์ชาวพุทธ เชื่อมโยงชาวพุทธ 500 ล้านคนจากทั่วโลก
รัสเซีย : เว็บไซต์ rbth.com รายงานว่า การให้บริการเมสเซนเจอร์ (บริการส่งข้อความ) ระบบใหม่ ที่จะเชื่อมโยงชาวพุทธ 500 ล้านคนจากทั่วโลกเข้าหากัน จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในสาธารณรัฐปกครองตนเองคัลมึยคียา อันเป็นเขตการปกครองของสหพันธรัฐรัสเซีย ที่มีประชากรนับถือศาสนาพุทธมากที่สุด
โดยมีนายเกอซาน อิไลอัมชินอฟ อดีตผู้นำสาธารณรัฐปกครองตนเองคัลมึยคียา เป็นผู้ก่อตั้งและลงทุนหลักในโครงการดังกล่าว คาดว่าเป็นเงินราว 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 35 ล้านบาท) ซึ่งเขาได้พัฒนา App (โปรแกรม) เพื่อให้ดาวน์โหลดได้ใน App Store และ Google Play
“มันคล้ายบริการเมสเซนเจอร์อื่นๆ คือ ไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถส่งจากวิดีโอ เมล์ โทรศัพท์ อีกทั้งยังเผยแพร่การเทศน์ประมุขของสงฆ์'ได้ด้วย” ผู้ก่อตั้งกล่าว
เบื้องต้นมีกำหนดเปิดให้บริการในวันวิสาขบูชาที่ผ่านมา แต่กลับถูกเลื่อนไปเป็นวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 2016 ซึ่งตรงกับวันประสูติครบรอบ 81 พรรษาขององค์ทะไล ลามะ
ทั้งนี้ นายอิไลอัมชินอฟ เผยว่า แนวคิดการก่อตั้งบริการเมสเซนเจอร์ชาวพุทธ เกิดขึ้นเมื่อครั้งที่เขาได้ไปพูดในที่ประชุมนานาชาติ ซึ่งจัดขึ้นในประเทศไทย เมื่อ ค.ศ. 2013 จึงได้นำความคิดเห็นขององค์ทะไล ลามะ มาร่วมพิจารณาในการออกแบบ App ด้วย
• องค์ทะไล ลามะ เปิดเว็บไซต์ “แผนที่อารมณ์”
สหรัฐอเมริกา : เว็บไซต์ techinsider.io รายงานว่า องค์ทะไล ลามะ ทรงเปิดเว็บไซต์แห่งใหม่มีชื่อว่า “Atlas of Emotions” เพื่อให้คนเข้าใจสภาพจิตตัวเองดียิ่งขึ้น และเป็นการบ่มเพาะความเมตตา โดยว่าจ้างพอล เอ็กแมน นักจิตวิทยาชื่อดัง ซึ่งเป็นที่ปรึกษาให้กับภาพยนตร์ของค่ายพิกซาร์ เรื่อง “Inside Out” เป็นผู้จัดทำ
“เมื่อเราต้องการเข้าสู่โลกใหม่ เราจำเป็นต้องมีแผนที่” เอ็กแมนระลึกถึงสิ่งที่องค์ทะไล ลามะ บอก เขาจึงได้ทำแบบสอบถามนักวิทยาศาสตร์ 248 คน จนได้สภาวะอารมณ์สำคัญ 5 อย่าง ได้แก่ กลัว เกลียด ร่าเริง เศร้า และโกรธ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอารมณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในใจ
คำตอบที่ได้ทำให้รู้ถึงการทำงานของสภาวะอารมณ์ว่ามาจากไหน และคนทั่วไปมักจัดการกับมันอย่างไร จึงนำไปสู่การจัดทำ Atlas of Emotions หรือแผนที่อารมณ์ ซึ่งเป็นระบบดิจิตอลที่สามารถโต้ตอบด้วยการคลิกที่แต่ละอารมณ์ เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม
หนึ่งในข้อดีของแผนที่สภาพอารมณ์ คือ ผู้ใช้จะเห็นตัวอย่างสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอารมณ์นั้นๆ อาทิ ความสุขที่เกิดจากการใช้เวลากับครอบครัว การกินช็อกโกแลต ขนมเค้ก หรือเป็นอาสาสมัครช่วยงานชุมชน เป็นต้น
ทั้งนี้ จุดมุ่งหมายของแผนที่สภาพอารมณ์ คือ การช่วยให้คนระมัดระวังสิ่งกระตุ้นในการแสดงพฤติกรรม และรู้จักเลือกว่าจะแสดงออกหรือไม่ หากเลือกที่จะทำ จะแสดงออกอย่างไร เป็นต้น
• เจ้าอาวาสวัดญี่ปุ่นทำเก๋..สร้างท้องฟ้าจำลอง ดึงคนรุ่นใหม่หันมาสนใจพุทธศาสนา
ญี่ปุ่น : เว็บไซต์ worldreligionnews.com รายงานว่า เมื่อมองจากภายนอก วัดโชกานจิ ในกรุงโตเกียว แลดูเหมือนวัดทั่วๆไป แต่เมื่อก้าวเข้าไปในบริเวณวัด จะสังเกตเห็นสิ่งต่างๆที่ไม่อาจพบได้ในศาสนสถานอื่น ไม่ว่าจะเป็นรูปปั้นไดโนเสาร์ สิงโต คนแคระ 2 คน ภาพวาดหมู่ปลาวาฬ และยานอวกาศบนผนังวัด
แต่สิ่งที่ดึงดูดผู้มาเยือนชิ้นสำคัญ คือ Gingaza หรือห้องแสดงท้องฟ้าจำลอง ที่ไม่เพียงสร้างความบันเทิงให้แก่ผู้เข้าชม แต่ยังเป็นเครื่องมือที่เจ้าอาวาสใช้สอนธรรมะด้วย
พระเรียว คาซุกะ เจ้าอาวาสวัดโชกานจิ ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากบิดา เล่าว่า ตอนเป็นเด็กไม่เคยต้องการบวชเป็นพระ แต่สนใจเรื่องดาราศาสตร์ และยึดอาชีพเป็นนักดนตรีในยุโรป จนเมื่อบิดามรณภาพ จึงกลับมาบวช ด้วยเงื่อนไขว่า จะต้องปฏิรูปวิธีการสอนพุทธศาสนาแบบญี่ปุ่นเสียใหม่ โดยไม่หวังเงินบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา
ด้วยความหลงใหลในดาราศาสตร์ พระคาซุกะคิดว่า ท้องฟ้าจำลองน่าจะเป็นเครื่องมือที่เหมาะในการนำมาใช้สอนและดึงดูดคนเข้าหาพุทธศาสนา จึงได้สร้างห้องแสดงที่จุคนได้ราว 20 คน โดยหวังให้ผู้ชมรู้สึกผ่อนคลาย ดื่มด่ำกับความงดงามบนท้องฟ้า ขณะเดียวกันก็ได้ฟังธรรมไปด้วย
พระคาซุกะคิดว่า ปัจจุบันวิธีที่ดีที่สุดในการสอนศาสนา คือ ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีและสิ่งต่างๆที่คนรุ่นใหม่สนใจมากที่สุด
“อาตมาคิดว่า เมื่อคนรู้สึกทึ่งและสนุกกับการมองดูดวงดาวบนท้องฟ้า พวกเขาอาจจะอยากฟังอาตมาเทศน์มากขึ้น”
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 187 กรกฎาคม 2559 โดย เภตรา)