สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้ทรงนิพนธ์เรื่อง “จิตฺตนคร” ขึ้นสำหรับบรรยายทางรายการวิทยุ อส.พระราชวังดุสิต ประจำวันอาทิตย์ ระหว่าง พ.ศ.๒๕๑๑-๒๕๒๓ และได้รวบรวมพิมพ์ครั้งแรกในเรื่อง การบริหารทางจิตสำหรับผู้ใหญ่ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑
พระนิพนธ์เรื่องนี้ ทรงนำเอาเรื่องจิตและธรรมะที่เกี่ยวกับจิตในแง่มุมต่างๆมาผูกเป็นเรื่องราวทำนองปุคคลาธิษฐาน
ฝ่ายนครสามีผู้ครอบครองจิตตนครได้ค่อยๆมีจิตใจสงบจากความยินดียินร้าย มีจิตใจสว่าง เกิดความขะมักเขม้นไม่เฉื่อยชาเกียจคร้าน และได้พบความสงบใจอย่างที่ไม่เคยประสบมาก่อน เป็นเหตุให้เกิดความชื่นชอบเลื่อมใสในองค์พระบรมครูพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระศาสดาแห่งคู่บารมี เพราะเท่ากับได้ประทานความสุขพิเศษทางจิตใจให้เกิดขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์
สมาธินิมิตต่างๆ ที่คู่บารมีนำมาพร้อมกับโยนิโสมนสิการจากพุทธสำนัก ล้วนน่าดูน่าฟัง เมื่อดูและฟังแล้วใจสงบผ่องแผ้วมีสุข อยู่ห่างไกลจากพระองค์มากมาย ได้รับเพียงบางสิ่งที่ประทานมา ยังให้เกิดความสุขถึงเพียงนี้ หากได้ไปเฝ้าใกล้ชิดหรือเสด็จมาโปรดในที่เฉพาะหน้า จะได้รับความสุขสักเพียงไหน
เมื่อคิดไปดังนี้ ก็พอดีเหลือบไปเห็นคู่อาสวะแอบโผล่หน้ามาดูแวบหนึ่ง จิตใจก็แวบออกไปถึงความสุขสนุกสนานต่างๆ ที่สมุทัยนำมาพร้อมกับสมุนทั้งปวง
สมุทัยก็ได้สร้างสิ่งบันเทิงสุขให้เป็นอันมาก เป็นต้นว่าโรงหนังโรงละคร ได้ส่งอารมณ์เข้ามาแสดงเป็นภาพต่างๆ อย่างภาพยนตร์ มีคนพากย์ชื่อว่า “อโยนิโสมนสิการ” แสดงพากย์ประกอบไม่แพ้ผู้แสดงพากย์ของคู่บารมี เรียกร้องเสียงหัวเราะเฮฮาได้มากมายจากประชาชน ทำให้บ้านเมืองสนุกสนานไม่เงียบเหงา
ส่วนวิธีของคู่บารมีรู้สึกว่าเงียบสงบไม่เอะอะ ทำให้บ้านเมืองเป็นเมืองเงียบสงบสงัด จึงเกิดมีความลังเลสงสัยขึ้นว่า จะเลือกเอาข้างไหน ข้างหนึ่งสนุกแต่ไม่สบาย อีกข้างหนึ่งสบายแต่ไม่สนุก ทั้งสองฝ่ายดูเหมือนจะมียิ่งหย่อนแตกต่างกันทำนองนี้ จะอย่างไรดี
ครั้นคู่บารมีสังเกตเห็นนครสามีเกิดความลังเลดังนั้น ก็รีบแสดงภาพเปรียบเทียบระหว่างบุคคลสองฝ่าย คือกุศลกับอกุศลคู่หนึ่ง สิ่งมีโทษกับสิ่งไม่มีโทษคู่หนึ่ง สิ่งที่เลวกับสิ่งที่ประณีตคู่หนึ่ง สิ่งที่ดำกับสิ่งที่ขาวคู่หนึ่ง เปรียบเทียบกัน และโยนิโสมนสิการก็ได้แสดงพากย์อธิบายชี้แจงโดยชัดเจน ว่าอย่างนั้นๆแหละคือตัวอกุศล อย่างนั้นๆแหละคือกุศล เป็นต้น
ครั้นนครสามีมองเห็นรู้จักหน้าตาของกุศลอกุศลเป็นต้น ก็เกิดความรู้ความเห็นขึ้นด้วยตนเองทันทีว่า พรรคพวกสมุทัยล้วนเป็นตัวอกุศล เป็นสิ่งที่มีโทษ เป็นสิ่งที่เลวและดำ
ส่วนพรรคพวกคู่บารมีล้วนเป็นกุศล เป็นสิ่งที่ไม่มีโทษ เป็นสิ่งที่ประณีตคือดีและขาวสะอาด จึงมีจิตใจสิ้นสงสัยว่าฝ่ายไหนจะดีฝ่ายไหนจะเลว เกิดศรัทธาเลื่อมใสในองค์พระบรมครูยิ่งขึ้น ภาพเปรียบเทียบกับโยนิโสมนสิการผู้แสดงพากย์นี้ เป็นเหตุให้วิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัยไม่แน่นอน) หนีห่างออกไปทันที
• อุปมา ๕ ข้อ
วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัยไม่แน่นอน) หนีห่างออกไป เช่นเดียวกับที่กามฉันท์ (ความยินดีพอใจ ยินดีในกาม) พยาบาท (ความพยาบาทมุ่งร้าย) ถีนมิทธะ (ความง่วงงุนเคลิบเคลิ้ม) และอุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านรำคาญ) ได้ถอยห่างออกไปก่อนแล้ว
เมื่อนิวรณ์ทั้ง ๕ คือ กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ถอยห่างออกไป นครสามีก็มีหฤทัยปราศจากความยินดีในสิ่งล่อใจให้ยินดีทั้งหลาย มีจิตไม่มุ่งร้าย แต่มีเอ็นดูปรารถนาเกื้อกูลในสัตว์ทั้งปวง ไม่มีความง่วงเหงา มีใจสว่าง ประกอบด้วยสติและสัมปชัญญะ ทั้งไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบในภายใน หมดความสงสัยลังเลใจแต่อย่างไรในกุศลธรรมทั้งปวง
ฝ่ายคู่บารมีเห็นเป็นต่อ จึงฉายภาพเปรียบเทียบ เพื่อฟอกจิตของนครสามีให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น คือ
๑. เป็นภาพชายผู้หนึ่ง กู้หนี้เขามาประกอบการงาน การงานของเขาสำเร็จผลเป็นอย่างดี จึงใช้หนี้เก่าให้หมดสิ้นแล้ว ก็ยังเหลือเลี้ยงบำรุงครอบครัว เขารู้สึกตัวว่าหมดหนี้สิน ทั้งยังมีทรัพย์เหลือสำหรับจับจ่ายใช้สอย ก็ได้ความบันเทิงใจความโสมนัส
๒. เป็นภาพชายผู้หนึ่งป่วยหนัก มีทุกขเวทนากล้า บริโภคไม่ได้ อ่อนระโหยโรยแรงจนจะสิ้นกำลังกาย แต่ได้หายป่วยในเวลาต่อมา กลับบริโภคอาหารได้ กำลังกายกลับคืนมา เขานึกถึงว่าเมื่อก่อนนี้ป่วยหนัก บัดนี้หายป่วยบริโภคได้กลับมีกำลังเป็นปกติ ก็ได้ความบันเทิงใจความโสมนัส
๓. เป็นภาพบุรุษผู้หนึ่ง ถูกจองจำในเรือนจำ ต่อมาพ้นจากเรือนจำโดยสวัสดีไม่มีภัย ทั้งโภคทรัพย์อะไรก็ไม่เสื่อมเสีย เขานึกถึงเรื่องที่ต้องถูกจองจำเรื่อยมาจนพ้นจากเรือนจำโดยสวัสดีไม่มีภัย ทั้งไม่ขัดสนจนทรัพย์ ก็ได้ความบันเทิงใจความโสมนัส
๔. เป็นภาพบุรุษผู้หนึ่ง เป็นทาสของเขา ตนไม่เป็นใหญ่เป็นนายของตน ต้องมีคนอื่นเป็นใหญ่เป็นนาย จะไปข้างไหนตามปรารถนาต้องการหาได้ไม่ ต่อมาพ้นจากความเป็นทาส กลับเป็นใหญ่แก่ตน ไม่ต้องมีคนอื่นเป็นนาย ไปไหนๆได้ตามปรารถนา เขาคิดขึ้นมาว่าเมื่อก่อนนี้ต้องเป็นทาสไม่เป็นอิสระแก่ตน บัดนี้พ้นจากความเป็นทาสเป็นอิสระแก่ตนขึ้นแล้ว ก็ได้ความบันเทิงใจความโสมนัส
๕. เป็นภาพบุรุษผู้หนึ่งเป็นคนมีทรัพย์ เดินทางไกลที่กันดาร ได้เดินทางผ่านไปได้โดยสวัสดีไม่มีภัย ทรัพย์ก็ไม่เสียหาย เขาระลึกถึงเรื่องการเดินทางไกลที่กันดารซึ่งผ่านพ้นออกไปได้โดยสวัสดี ไม่มีภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สิน ก็ได้ความบันเทิงใจความโสมนัส
ฝ่ายโยนิโสมนสิการก็ได้แสดงพากย์ประกอบทันทีว่า นิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ก็เปรียบเหมือนความเป็นหนี้ ความเป็นโรค ความต้องขังในเรือนจำ ความเป็นทาส และการเดินทางกันดาร ส่วนความพ้นจากนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ก็เหมือนอย่างพ้นจากหนี้ พ้นจากโรค พ้นจากเรือนจำ พ้นจากความเป็นทาส มีความเป็นไทแก่ตน พ้นจากทางกันดาร บรรลุถึงภูมิประเทศอันเกษม
• สมุทัยซบเซา
เมื่อนครสามีมองเห็นภาพดังกล่าวแล้วก็มองเห็นชัดเจนว่า จิตใจที่กลุ้มกลัดอยู่ด้วยนิวรณ์ทั้ง ๕ มีกามฉันท์เป็นต้น ก็เหมือนอย่างต้องเป็นหนี้เขาเป็นต้น ครั้นสงบเสียได้อย่างนี้ก็คล้ายกับพ้นหนี้ พ้นโทษ หายโรค เป็นไทแก่ตน ผ่านทางกันดารถึงแดนเกษมได้ เป็นสุขยิ่งนัก เกิดปีติปราโมทย์
คู่บารมีเห็นว่าสมควรจะปล่อยให้นครสามีพิจารณาทบทวนและพักสงบอยู่ตามลำพัง จึงหยุดแสดงภาพต่อไป และโยนิโสมนสิการก็หยุดพากย์ ปล่อยให้นครสามีอยู่ตามลำพัง ฝ่ายนครสามีก็ได้สงบเพ่งดูจิตที่สงบและความสุขอันประณีตที่เกิดจากความสงบ เกิดความรู้ผุดขึ้นเองว่า
“สุขที่ยิ่งไปกว่าความสงบไม่มี
ที่พึ่งอย่างอื่นของข้าพเจ้าไม่มี
พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า
ที่พึ่งอย่างอื่นของข้าพเจ้าไม่มี
พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า
ที่พึ่งอย่างอื่นของข้าพเจ้าไม่มี
พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะที่พึ่ง ตลอดชีวิต”
ได้เกิดปีติปราโมทย์ซาบซ่านทั้งกายและใจ ได้สงบอยู่กับความสุขที่ประณีตอันไม่เคยได้พบมานี้เป็นเวลานาน แล้วก็เข้าที่พักหลับอย่างสนิท แต่ก่อนเคยปรึกษาเรื่องราวอะไรต่างๆ กับมโนบนเตียงผทม ไม่เป็นอันหลับนอนจริงๆ มโนเสนอแฟ้มเอกสารที่บันทึกไว้ต่างๆ เพราะชอบเรียกมโนมาเสนอเรื่องต่างๆ ในเวลาที่ควรจะพักนอน มโนก็พลอยมิได้พักไปด้วย แต่ครั้งนี้หาได้เรียกมโนเข้ามาไม่ มโนก็พลอยได้พักผ่อนเป็นสุขไปด้วย
ฝ่ายสมุทัยที่คอยเฝ้าสังเกตเหตุการณ์อยู่ ได้เห็นรูปการณ์แปรเปลี่ยนไปในทางเป็นประโยชน์แก่คู่ปรปักษ์ดังนั้น ก็เสียใจ นั่งเศร้าซบเซาอยู่ที่ทางสี่แพร่งจิตตนคร
คู่อาสวะเที่ยวตามหา พบสมุทัยนั่งเศร้าเสียใจอยู่ดังนั้นก็ปลอบโยนว่า ทำไมจึงหลบมานั่งเสียใจอยู่ดังนี้ ไม่เป็นประโยชน์อะไร ความจริงคู่อาสวะกับสมุทัยได้ช่วยกันสะสมกำลังซ่อนอยู่อีกมากมาย คู่บารมีเพิ่งจะนำพรรคพวกเข้ามา คิดว่ากำลังไม่กล้าแข็งนัก แม้จะเข้าถึงจิตใจของนครสามี จนถึงเปลี่ยนใจของนครสามีให้หันไปนับถือพระพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นพระบรมครูของคู่บารมีกับพรรคพวกได้ แต่ฝ่ายเราก็มีอุบายและเหตุผลที่จะไปพูดหว่านล้อมชักนำใจของนครสามีให้กลับมาอีก
ถ้ามานั่งเศร้าเสียดังนี้ ก็เท่ากับยอมแพ้เสียตั้งแต่ยังไม่ทันเห็นตัวศัตรู เหมือนอย่างที่เขาว่า ม้าได้กลิ่นเสือก็หมดเรี่ยวแรง ลงนอนรอให้เถือเสียแล้ว ฉะนั้น จงลุกขึ้นมาหารือกันถึงวิธีที่จะต่อสู้แก้ไขสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่นี้ สมุทัยฟังเตือนจึงได้ความคิด จึงได้หารือกับคู่อาสวะถึงวิธีที่จะต่อสู้ต่อไป
จากที่กล่าวมานี้ มีอยู่อย่างหนึ่งที่พอจะทำให้เห็นได้ว่า อันความไม่ดีนั้นมีหลายแบบหลายอย่าง ทั้งอย่างเปิดเผยและซ่อนเร้น คือทั้งอย่างแสดงตัวและทั้งอย่างปลอมแปลง ต้องใช้ปัญญาพิจารณาให้รอบคอบ ให้ดี จึงจะสามารถพาใจให้พ้นจากภัยของความชั่วร้ายได้พอสมควร
การมาบริหารจิตก็คือการมาพยายามอบรมปัญญา ให้รู้เห็นตามความเป็นจริง ชั่วให้เห็นว่าชั่ว ให้เห็นว่าควรละ ดีให้เห็นว่าดี ให้เห็นว่าควรอบรมเพิ่มพูน ทั้งนี้เพื่อให้ห่างจากความทุกข์ ความไม่สงบ ได้มีความสุข ความสงบ ตามควรแก่ความปฏิบัติ
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 187 กรกฎาคม 2559 โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
พระนิพนธ์เรื่องนี้ ทรงนำเอาเรื่องจิตและธรรมะที่เกี่ยวกับจิตในแง่มุมต่างๆมาผูกเป็นเรื่องราวทำนองปุคคลาธิษฐาน
ฝ่ายนครสามีผู้ครอบครองจิตตนครได้ค่อยๆมีจิตใจสงบจากความยินดียินร้าย มีจิตใจสว่าง เกิดความขะมักเขม้นไม่เฉื่อยชาเกียจคร้าน และได้พบความสงบใจอย่างที่ไม่เคยประสบมาก่อน เป็นเหตุให้เกิดความชื่นชอบเลื่อมใสในองค์พระบรมครูพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระศาสดาแห่งคู่บารมี เพราะเท่ากับได้ประทานความสุขพิเศษทางจิตใจให้เกิดขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์
สมาธินิมิตต่างๆ ที่คู่บารมีนำมาพร้อมกับโยนิโสมนสิการจากพุทธสำนัก ล้วนน่าดูน่าฟัง เมื่อดูและฟังแล้วใจสงบผ่องแผ้วมีสุข อยู่ห่างไกลจากพระองค์มากมาย ได้รับเพียงบางสิ่งที่ประทานมา ยังให้เกิดความสุขถึงเพียงนี้ หากได้ไปเฝ้าใกล้ชิดหรือเสด็จมาโปรดในที่เฉพาะหน้า จะได้รับความสุขสักเพียงไหน
เมื่อคิดไปดังนี้ ก็พอดีเหลือบไปเห็นคู่อาสวะแอบโผล่หน้ามาดูแวบหนึ่ง จิตใจก็แวบออกไปถึงความสุขสนุกสนานต่างๆ ที่สมุทัยนำมาพร้อมกับสมุนทั้งปวง
สมุทัยก็ได้สร้างสิ่งบันเทิงสุขให้เป็นอันมาก เป็นต้นว่าโรงหนังโรงละคร ได้ส่งอารมณ์เข้ามาแสดงเป็นภาพต่างๆ อย่างภาพยนตร์ มีคนพากย์ชื่อว่า “อโยนิโสมนสิการ” แสดงพากย์ประกอบไม่แพ้ผู้แสดงพากย์ของคู่บารมี เรียกร้องเสียงหัวเราะเฮฮาได้มากมายจากประชาชน ทำให้บ้านเมืองสนุกสนานไม่เงียบเหงา
ส่วนวิธีของคู่บารมีรู้สึกว่าเงียบสงบไม่เอะอะ ทำให้บ้านเมืองเป็นเมืองเงียบสงบสงัด จึงเกิดมีความลังเลสงสัยขึ้นว่า จะเลือกเอาข้างไหน ข้างหนึ่งสนุกแต่ไม่สบาย อีกข้างหนึ่งสบายแต่ไม่สนุก ทั้งสองฝ่ายดูเหมือนจะมียิ่งหย่อนแตกต่างกันทำนองนี้ จะอย่างไรดี
ครั้นคู่บารมีสังเกตเห็นนครสามีเกิดความลังเลดังนั้น ก็รีบแสดงภาพเปรียบเทียบระหว่างบุคคลสองฝ่าย คือกุศลกับอกุศลคู่หนึ่ง สิ่งมีโทษกับสิ่งไม่มีโทษคู่หนึ่ง สิ่งที่เลวกับสิ่งที่ประณีตคู่หนึ่ง สิ่งที่ดำกับสิ่งที่ขาวคู่หนึ่ง เปรียบเทียบกัน และโยนิโสมนสิการก็ได้แสดงพากย์อธิบายชี้แจงโดยชัดเจน ว่าอย่างนั้นๆแหละคือตัวอกุศล อย่างนั้นๆแหละคือกุศล เป็นต้น
ครั้นนครสามีมองเห็นรู้จักหน้าตาของกุศลอกุศลเป็นต้น ก็เกิดความรู้ความเห็นขึ้นด้วยตนเองทันทีว่า พรรคพวกสมุทัยล้วนเป็นตัวอกุศล เป็นสิ่งที่มีโทษ เป็นสิ่งที่เลวและดำ
ส่วนพรรคพวกคู่บารมีล้วนเป็นกุศล เป็นสิ่งที่ไม่มีโทษ เป็นสิ่งที่ประณีตคือดีและขาวสะอาด จึงมีจิตใจสิ้นสงสัยว่าฝ่ายไหนจะดีฝ่ายไหนจะเลว เกิดศรัทธาเลื่อมใสในองค์พระบรมครูยิ่งขึ้น ภาพเปรียบเทียบกับโยนิโสมนสิการผู้แสดงพากย์นี้ เป็นเหตุให้วิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัยไม่แน่นอน) หนีห่างออกไปทันที
• อุปมา ๕ ข้อ
วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัยไม่แน่นอน) หนีห่างออกไป เช่นเดียวกับที่กามฉันท์ (ความยินดีพอใจ ยินดีในกาม) พยาบาท (ความพยาบาทมุ่งร้าย) ถีนมิทธะ (ความง่วงงุนเคลิบเคลิ้ม) และอุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านรำคาญ) ได้ถอยห่างออกไปก่อนแล้ว
เมื่อนิวรณ์ทั้ง ๕ คือ กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ถอยห่างออกไป นครสามีก็มีหฤทัยปราศจากความยินดีในสิ่งล่อใจให้ยินดีทั้งหลาย มีจิตไม่มุ่งร้าย แต่มีเอ็นดูปรารถนาเกื้อกูลในสัตว์ทั้งปวง ไม่มีความง่วงเหงา มีใจสว่าง ประกอบด้วยสติและสัมปชัญญะ ทั้งไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบในภายใน หมดความสงสัยลังเลใจแต่อย่างไรในกุศลธรรมทั้งปวง
ฝ่ายคู่บารมีเห็นเป็นต่อ จึงฉายภาพเปรียบเทียบ เพื่อฟอกจิตของนครสามีให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น คือ
๑. เป็นภาพชายผู้หนึ่ง กู้หนี้เขามาประกอบการงาน การงานของเขาสำเร็จผลเป็นอย่างดี จึงใช้หนี้เก่าให้หมดสิ้นแล้ว ก็ยังเหลือเลี้ยงบำรุงครอบครัว เขารู้สึกตัวว่าหมดหนี้สิน ทั้งยังมีทรัพย์เหลือสำหรับจับจ่ายใช้สอย ก็ได้ความบันเทิงใจความโสมนัส
๒. เป็นภาพชายผู้หนึ่งป่วยหนัก มีทุกขเวทนากล้า บริโภคไม่ได้ อ่อนระโหยโรยแรงจนจะสิ้นกำลังกาย แต่ได้หายป่วยในเวลาต่อมา กลับบริโภคอาหารได้ กำลังกายกลับคืนมา เขานึกถึงว่าเมื่อก่อนนี้ป่วยหนัก บัดนี้หายป่วยบริโภคได้กลับมีกำลังเป็นปกติ ก็ได้ความบันเทิงใจความโสมนัส
๓. เป็นภาพบุรุษผู้หนึ่ง ถูกจองจำในเรือนจำ ต่อมาพ้นจากเรือนจำโดยสวัสดีไม่มีภัย ทั้งโภคทรัพย์อะไรก็ไม่เสื่อมเสีย เขานึกถึงเรื่องที่ต้องถูกจองจำเรื่อยมาจนพ้นจากเรือนจำโดยสวัสดีไม่มีภัย ทั้งไม่ขัดสนจนทรัพย์ ก็ได้ความบันเทิงใจความโสมนัส
๔. เป็นภาพบุรุษผู้หนึ่ง เป็นทาสของเขา ตนไม่เป็นใหญ่เป็นนายของตน ต้องมีคนอื่นเป็นใหญ่เป็นนาย จะไปข้างไหนตามปรารถนาต้องการหาได้ไม่ ต่อมาพ้นจากความเป็นทาส กลับเป็นใหญ่แก่ตน ไม่ต้องมีคนอื่นเป็นนาย ไปไหนๆได้ตามปรารถนา เขาคิดขึ้นมาว่าเมื่อก่อนนี้ต้องเป็นทาสไม่เป็นอิสระแก่ตน บัดนี้พ้นจากความเป็นทาสเป็นอิสระแก่ตนขึ้นแล้ว ก็ได้ความบันเทิงใจความโสมนัส
๕. เป็นภาพบุรุษผู้หนึ่งเป็นคนมีทรัพย์ เดินทางไกลที่กันดาร ได้เดินทางผ่านไปได้โดยสวัสดีไม่มีภัย ทรัพย์ก็ไม่เสียหาย เขาระลึกถึงเรื่องการเดินทางไกลที่กันดารซึ่งผ่านพ้นออกไปได้โดยสวัสดี ไม่มีภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สิน ก็ได้ความบันเทิงใจความโสมนัส
ฝ่ายโยนิโสมนสิการก็ได้แสดงพากย์ประกอบทันทีว่า นิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ก็เปรียบเหมือนความเป็นหนี้ ความเป็นโรค ความต้องขังในเรือนจำ ความเป็นทาส และการเดินทางกันดาร ส่วนความพ้นจากนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ก็เหมือนอย่างพ้นจากหนี้ พ้นจากโรค พ้นจากเรือนจำ พ้นจากความเป็นทาส มีความเป็นไทแก่ตน พ้นจากทางกันดาร บรรลุถึงภูมิประเทศอันเกษม
• สมุทัยซบเซา
เมื่อนครสามีมองเห็นภาพดังกล่าวแล้วก็มองเห็นชัดเจนว่า จิตใจที่กลุ้มกลัดอยู่ด้วยนิวรณ์ทั้ง ๕ มีกามฉันท์เป็นต้น ก็เหมือนอย่างต้องเป็นหนี้เขาเป็นต้น ครั้นสงบเสียได้อย่างนี้ก็คล้ายกับพ้นหนี้ พ้นโทษ หายโรค เป็นไทแก่ตน ผ่านทางกันดารถึงแดนเกษมได้ เป็นสุขยิ่งนัก เกิดปีติปราโมทย์
คู่บารมีเห็นว่าสมควรจะปล่อยให้นครสามีพิจารณาทบทวนและพักสงบอยู่ตามลำพัง จึงหยุดแสดงภาพต่อไป และโยนิโสมนสิการก็หยุดพากย์ ปล่อยให้นครสามีอยู่ตามลำพัง ฝ่ายนครสามีก็ได้สงบเพ่งดูจิตที่สงบและความสุขอันประณีตที่เกิดจากความสงบ เกิดความรู้ผุดขึ้นเองว่า
“สุขที่ยิ่งไปกว่าความสงบไม่มี
ที่พึ่งอย่างอื่นของข้าพเจ้าไม่มี
พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า
ที่พึ่งอย่างอื่นของข้าพเจ้าไม่มี
พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า
ที่พึ่งอย่างอื่นของข้าพเจ้าไม่มี
พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะที่พึ่ง ตลอดชีวิต”
ได้เกิดปีติปราโมทย์ซาบซ่านทั้งกายและใจ ได้สงบอยู่กับความสุขที่ประณีตอันไม่เคยได้พบมานี้เป็นเวลานาน แล้วก็เข้าที่พักหลับอย่างสนิท แต่ก่อนเคยปรึกษาเรื่องราวอะไรต่างๆ กับมโนบนเตียงผทม ไม่เป็นอันหลับนอนจริงๆ มโนเสนอแฟ้มเอกสารที่บันทึกไว้ต่างๆ เพราะชอบเรียกมโนมาเสนอเรื่องต่างๆ ในเวลาที่ควรจะพักนอน มโนก็พลอยมิได้พักไปด้วย แต่ครั้งนี้หาได้เรียกมโนเข้ามาไม่ มโนก็พลอยได้พักผ่อนเป็นสุขไปด้วย
ฝ่ายสมุทัยที่คอยเฝ้าสังเกตเหตุการณ์อยู่ ได้เห็นรูปการณ์แปรเปลี่ยนไปในทางเป็นประโยชน์แก่คู่ปรปักษ์ดังนั้น ก็เสียใจ นั่งเศร้าซบเซาอยู่ที่ทางสี่แพร่งจิตตนคร
คู่อาสวะเที่ยวตามหา พบสมุทัยนั่งเศร้าเสียใจอยู่ดังนั้นก็ปลอบโยนว่า ทำไมจึงหลบมานั่งเสียใจอยู่ดังนี้ ไม่เป็นประโยชน์อะไร ความจริงคู่อาสวะกับสมุทัยได้ช่วยกันสะสมกำลังซ่อนอยู่อีกมากมาย คู่บารมีเพิ่งจะนำพรรคพวกเข้ามา คิดว่ากำลังไม่กล้าแข็งนัก แม้จะเข้าถึงจิตใจของนครสามี จนถึงเปลี่ยนใจของนครสามีให้หันไปนับถือพระพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นพระบรมครูของคู่บารมีกับพรรคพวกได้ แต่ฝ่ายเราก็มีอุบายและเหตุผลที่จะไปพูดหว่านล้อมชักนำใจของนครสามีให้กลับมาอีก
ถ้ามานั่งเศร้าเสียดังนี้ ก็เท่ากับยอมแพ้เสียตั้งแต่ยังไม่ทันเห็นตัวศัตรู เหมือนอย่างที่เขาว่า ม้าได้กลิ่นเสือก็หมดเรี่ยวแรง ลงนอนรอให้เถือเสียแล้ว ฉะนั้น จงลุกขึ้นมาหารือกันถึงวิธีที่จะต่อสู้แก้ไขสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่นี้ สมุทัยฟังเตือนจึงได้ความคิด จึงได้หารือกับคู่อาสวะถึงวิธีที่จะต่อสู้ต่อไป
จากที่กล่าวมานี้ มีอยู่อย่างหนึ่งที่พอจะทำให้เห็นได้ว่า อันความไม่ดีนั้นมีหลายแบบหลายอย่าง ทั้งอย่างเปิดเผยและซ่อนเร้น คือทั้งอย่างแสดงตัวและทั้งอย่างปลอมแปลง ต้องใช้ปัญญาพิจารณาให้รอบคอบ ให้ดี จึงจะสามารถพาใจให้พ้นจากภัยของความชั่วร้ายได้พอสมควร
การมาบริหารจิตก็คือการมาพยายามอบรมปัญญา ให้รู้เห็นตามความเป็นจริง ชั่วให้เห็นว่าชั่ว ให้เห็นว่าควรละ ดีให้เห็นว่าดี ให้เห็นว่าควรอบรมเพิ่มพูน ทั้งนี้เพื่อให้ห่างจากความทุกข์ ความไม่สงบ ได้มีความสุข ความสงบ ตามควรแก่ความปฏิบัติ
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 187 กรกฎาคม 2559 โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)