• กินงาเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ
งามีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ทั้งผิวพรรณ กระดูก รวมทั้งเซลล์ต่างๆ และงานวิจัยล่าสุดยังชี้ด้วยว่าสารต้านอนุมูลอิสระในงา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในน้ำมันงา ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อภาวะอนุมูลอิสระมากเกิน
อนุมูลอิสระเป็นตัวทำลายดีเอ็นเอ โปรตีน ไขมัน และโมเลกุลอื่นๆ โดยวิธีการออกซิเดชัน เมื่อมีอนุมูลอิสระมากกว่าสารต้านอนุมูลอิสระ จะเกิดภาวะเครียดออกซิเดชัน (Oxidative Stress) ทำให้เราแก่ก่อนวัย เกิดการอักเสบ อาจเป็นโรคทางเดินหายใจ มะเร็ง และต้อกระจก เป็นต้น
งานวิจัยเรื่องผลลัพธ์ที่ได้จากการกินเมล็ดงา ต่อภาวะเครียดออกซิเดชัน ของ Luciana de Almeida Vittori Gouveia และคณะ จากมหาวิทยาลัยในประเทศบราซิล รายงานผลของการบริโภคส่วนผสมจากงา ของผู้ที่มีภาวะเครียดออกซิเดชันและมีความดันโลหิตสูง โคเลสเตอรอลสูง และเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วย ว่าการบริโภคงาช่วยลดภาวะเครียดออกซิเดชัน และเพิ่มระดับสารต้านอนุมูลอิสระได้ โดยเฉพาะกับคนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานชนิดที่ 2
• ดนตรีในยิม จำเป็นมั้ย?
นักวิ่งและนักออกกำลังกายในยิมหลายคน คงเคยสังเกตว่าถ้าได้ฟังดนตรีไปด้วย ก็จะวิ่งได้ไกลขึ้น หรือไม่ก็ใช้แรงน้อยลง แต่จริงเท็จประการใด มีงานวิจัยรายงานไว้
วารสาร PNAS ตีพิมพ์ผลงานวิจัยที่นำโดย โทมัส ฟริตซ์ แห่ง Max Planck Institute for Human Cognitive and Brain Sciences ประเทศเยอรมนี ที่ให้อาสาสมัครชายหญิง 63 คน ใช้อุปกรณ์ออกกำลังกายในห้องยิมที่มีดนตรีให้ฟังเพลินๆไปด้วย และใช้เครื่องออกกำลังกายที่ออกแบบให้เล่นดนตรีได้ไปพร้อมกัน ถ้าเร่งเครื่องออกกำลังกายเร็วขึ้นเท่าไร ดนตรีก็จะยิ่งมีจังหวะเร็วและสนุกสนานยิ่งขึ้น กลายเป็นเสียงเพลงที่บรรเลงเองขณะออกกำลังกาย
ผลสรุปออกมาว่า ดนตรีมีผลต่อกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ถ้าเล่นดนตรีไปด้วย จะรู้สึกปวดเมื่อยน้อยลงอย่างมาก และผลการวัดเมตาบอลิกในช่วงเวลานั้น กล้ามเนื้อใช้พลังงานน้อยลง แสดงว่าร่างกายมีสมรรถภาพเพิ่มขึ้น
• แสงสีเขียวแก้ไมเกรน
ทั่วโลกมีผู้ป่วยไมเกรน ถึงร้อยละ 15 อาการที่พบบ่อยคือ อาการไวต่อแสง หรือที่เรียกว่า อาการกลัวแสง เมื่อตาสู้แสงไม่ได้ ก็แทบจะทำงานหรือกิจกรรมต่างๆไม่ได้เลย แต่มีข่าวดีสำหรับผู้ป่วยไมเกรน ผลการวิจัยชิ้นหนึ่งในบอสตัน พบว่า การฉายแสงสีเขียว อาจช่วยบำบัดอาการไวต่อแสงและปวดศีรษะได้
นักวิจัยได้ทำการทดลองฉายแสงสีต่างๆ ให้ผู้ป่วยไมเกรน 69 ราย ปรากฏว่าแสงสีน้ำเงิน ทำให้ผู้ป่วยปวดศีรษะมากขึ้น ขณะที่ฉายแสงสีเขียวความเข้มต่ำในบริเวณจำกัด ช่วยลดอาการไวต่อแสงได้ และในบางราย แสงสีเขียวก็ช่วยลดอาการปวดได้ประมาณร้อยละ 20 อีกด้วย
ปัจจุบัน มีการใช้ลำแสงบำบัดบ้างแล้ว เช่น ใช้รักษาโรคผิวหนัง และโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล เมื่อนำมาใช้กับโรคไมเกรนนั้น
ดร.คยาตรีเทวี นักประสาทวิทยา แห่งโรงพยาบาล Lenox Hill ในเมืองนิวยอร์ก กล่าวว่าตำแหน่งที่ฉายแสงน่าจะเป็นสมองส่วนทาลามัส ซึ่งรับส่งสัญญาณความรู้สึกกับอวัยวะรับความรู้สึก รวมทั้งนัยน์ตา และเปลือกสมอง เพราะเป็นจุดที่เกิดอาการไมเกรนชนิดนี้
สำหรับคนทั่วไปที่มักจะปวดไมเกรน ควรจะหาเวลาพักสายตา มองต้นไม้ทุ่งหญ้าเขียวๆ นอกจากจะดีกับโรค ดีกับตา ก็ยังดีกับใจด้วยนะ
• นอนน้อยส่งผลโคเลสเตอรอลสูง
รู้กันอยู่ว่าโคเลสเตอรอลตัวดี (HDL) ช่วยกำจัดโคเลสเตอรอลตัวร้าย (LDL) แต่งานวิจัยชิ้นหนึ่งบอกว่า ถ้านอนน้อย จะทำให้โคเลสเตอรอลตัวดีลดลง
ในวารสาร Scientific Reports ได้รายงานผลการศึกษาว่า การนอนน้อยทำให้ยีนที่ควบคุมระดับโคเลสเตอรอลเปลี่ยนแปลง และมีโคเลสเตอรอลชนิดเอชดีแอล หรือไลโปโปรตีน น้อยกว่าคนที่ได้นอนเต็มอิ่ม โดยผู้วิจัยได้ทดสอบกับคนจำนวน 21 คน ที่มีการควบคุมการนอนเป็นเวลา 5 คืน แล้วตรวจเลือดดู พบว่า คนที่นอนไม่พอ ยีนที่ทำหน้าที่รักษาระดับโคเลสเตอรอลจะทำงานน้อยลง
จะเห็นได้ว่า เพียงแค่นอนไม่พอ 1 สัปดาห์ ก็ส่งผลต่อระบบการเผาผลาญและภูมิคุ้มกันของร่างกายแล้ว คนที่บอกว่าผอม ไม่กินอาหารมันๆ แต่ทำไมโคเลสเตอรอลสูง สาเหตุก็อาจจะเกิดจากการนอนน้อยนี่เอง
• ไม่น่าเชื่อ? มะเขือเทศกระตุ้นโรคเกาต์
จากที่เชื่อกันว่าคนเป็นโรคเกาต์ กินมะเขือเทศได้อย่างสบายใจ ไม่มีอะไรต้องห้าม แต่ล่าสุดมีงานวิจัยที่ชวนให้ต้องคิดใหม่ นับเป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่ชี้ว่า ผู้ป่วยโรคเกาต์ที่กินมะเขือเทศบ่อยๆ อาการอาจกำเริบขึ้นมาได้
เกาต์เป็นโรคเรื้อรัง เกิดจากการที่ร่างกายมีกรดยูริกมากเกินไป จนตกผลึกไปเกาะตามเนื้อเยื่อและข้อกระดูก ทำให้อักเสบและเจ็บปวด ผู้ชายเป็นโรคนี้มากกว่าผู้หญิงถึง 3 เท่า คนเป็นโรคนี้จะต้องระมัดระวังการกินเป็นพิเศษ
ทีมนักวิจัยแห่งภาควิชาชีวเคมี มหาวิทยาลัยโอตาโกะ ประเทศนิวซีแลนด์ จึงทำการสำรวจอาหารการกินของผู้ป่วยโรคเกาต์ชาวนิวซีแลนด์จำนวน 2,051 คน พบว่า ร้อยละ 71 กินอาหารที่เป็นตัวกระตุ้นโรคเกาต์ 1 อย่าง หรือมากกว่านั้น และมะเขือเทศเป็นหนึ่งในตัวกระตุ้นที่สำคัญ และเป็นอาหารกระตุ้นโรคเกาต์ที่คนนิยมกินกันมากเสียด้วย คือนิยมเป็นอันดับ 4 รองจากอาหารทะเล แอลกอฮอล์ และเนื้อแดง
แม้มะเขือเทศจะกระตุ้นให้คนที่เป็นโรคนี้มีอาการหนักขึ้น แต่สำหรับคนที่ไม่เป็น มะเขือเทศก็มีประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะกับคนที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 187 กรกฎาคม 2559 โดย ธาราทิพย์)
งามีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ทั้งผิวพรรณ กระดูก รวมทั้งเซลล์ต่างๆ และงานวิจัยล่าสุดยังชี้ด้วยว่าสารต้านอนุมูลอิสระในงา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในน้ำมันงา ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อภาวะอนุมูลอิสระมากเกิน
อนุมูลอิสระเป็นตัวทำลายดีเอ็นเอ โปรตีน ไขมัน และโมเลกุลอื่นๆ โดยวิธีการออกซิเดชัน เมื่อมีอนุมูลอิสระมากกว่าสารต้านอนุมูลอิสระ จะเกิดภาวะเครียดออกซิเดชัน (Oxidative Stress) ทำให้เราแก่ก่อนวัย เกิดการอักเสบ อาจเป็นโรคทางเดินหายใจ มะเร็ง และต้อกระจก เป็นต้น
งานวิจัยเรื่องผลลัพธ์ที่ได้จากการกินเมล็ดงา ต่อภาวะเครียดออกซิเดชัน ของ Luciana de Almeida Vittori Gouveia และคณะ จากมหาวิทยาลัยในประเทศบราซิล รายงานผลของการบริโภคส่วนผสมจากงา ของผู้ที่มีภาวะเครียดออกซิเดชันและมีความดันโลหิตสูง โคเลสเตอรอลสูง และเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วย ว่าการบริโภคงาช่วยลดภาวะเครียดออกซิเดชัน และเพิ่มระดับสารต้านอนุมูลอิสระได้ โดยเฉพาะกับคนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานชนิดที่ 2
• ดนตรีในยิม จำเป็นมั้ย?
นักวิ่งและนักออกกำลังกายในยิมหลายคน คงเคยสังเกตว่าถ้าได้ฟังดนตรีไปด้วย ก็จะวิ่งได้ไกลขึ้น หรือไม่ก็ใช้แรงน้อยลง แต่จริงเท็จประการใด มีงานวิจัยรายงานไว้
วารสาร PNAS ตีพิมพ์ผลงานวิจัยที่นำโดย โทมัส ฟริตซ์ แห่ง Max Planck Institute for Human Cognitive and Brain Sciences ประเทศเยอรมนี ที่ให้อาสาสมัครชายหญิง 63 คน ใช้อุปกรณ์ออกกำลังกายในห้องยิมที่มีดนตรีให้ฟังเพลินๆไปด้วย และใช้เครื่องออกกำลังกายที่ออกแบบให้เล่นดนตรีได้ไปพร้อมกัน ถ้าเร่งเครื่องออกกำลังกายเร็วขึ้นเท่าไร ดนตรีก็จะยิ่งมีจังหวะเร็วและสนุกสนานยิ่งขึ้น กลายเป็นเสียงเพลงที่บรรเลงเองขณะออกกำลังกาย
ผลสรุปออกมาว่า ดนตรีมีผลต่อกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ถ้าเล่นดนตรีไปด้วย จะรู้สึกปวดเมื่อยน้อยลงอย่างมาก และผลการวัดเมตาบอลิกในช่วงเวลานั้น กล้ามเนื้อใช้พลังงานน้อยลง แสดงว่าร่างกายมีสมรรถภาพเพิ่มขึ้น
• แสงสีเขียวแก้ไมเกรน
ทั่วโลกมีผู้ป่วยไมเกรน ถึงร้อยละ 15 อาการที่พบบ่อยคือ อาการไวต่อแสง หรือที่เรียกว่า อาการกลัวแสง เมื่อตาสู้แสงไม่ได้ ก็แทบจะทำงานหรือกิจกรรมต่างๆไม่ได้เลย แต่มีข่าวดีสำหรับผู้ป่วยไมเกรน ผลการวิจัยชิ้นหนึ่งในบอสตัน พบว่า การฉายแสงสีเขียว อาจช่วยบำบัดอาการไวต่อแสงและปวดศีรษะได้
นักวิจัยได้ทำการทดลองฉายแสงสีต่างๆ ให้ผู้ป่วยไมเกรน 69 ราย ปรากฏว่าแสงสีน้ำเงิน ทำให้ผู้ป่วยปวดศีรษะมากขึ้น ขณะที่ฉายแสงสีเขียวความเข้มต่ำในบริเวณจำกัด ช่วยลดอาการไวต่อแสงได้ และในบางราย แสงสีเขียวก็ช่วยลดอาการปวดได้ประมาณร้อยละ 20 อีกด้วย
ปัจจุบัน มีการใช้ลำแสงบำบัดบ้างแล้ว เช่น ใช้รักษาโรคผิวหนัง และโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล เมื่อนำมาใช้กับโรคไมเกรนนั้น
ดร.คยาตรีเทวี นักประสาทวิทยา แห่งโรงพยาบาล Lenox Hill ในเมืองนิวยอร์ก กล่าวว่าตำแหน่งที่ฉายแสงน่าจะเป็นสมองส่วนทาลามัส ซึ่งรับส่งสัญญาณความรู้สึกกับอวัยวะรับความรู้สึก รวมทั้งนัยน์ตา และเปลือกสมอง เพราะเป็นจุดที่เกิดอาการไมเกรนชนิดนี้
สำหรับคนทั่วไปที่มักจะปวดไมเกรน ควรจะหาเวลาพักสายตา มองต้นไม้ทุ่งหญ้าเขียวๆ นอกจากจะดีกับโรค ดีกับตา ก็ยังดีกับใจด้วยนะ
• นอนน้อยส่งผลโคเลสเตอรอลสูง
รู้กันอยู่ว่าโคเลสเตอรอลตัวดี (HDL) ช่วยกำจัดโคเลสเตอรอลตัวร้าย (LDL) แต่งานวิจัยชิ้นหนึ่งบอกว่า ถ้านอนน้อย จะทำให้โคเลสเตอรอลตัวดีลดลง
ในวารสาร Scientific Reports ได้รายงานผลการศึกษาว่า การนอนน้อยทำให้ยีนที่ควบคุมระดับโคเลสเตอรอลเปลี่ยนแปลง และมีโคเลสเตอรอลชนิดเอชดีแอล หรือไลโปโปรตีน น้อยกว่าคนที่ได้นอนเต็มอิ่ม โดยผู้วิจัยได้ทดสอบกับคนจำนวน 21 คน ที่มีการควบคุมการนอนเป็นเวลา 5 คืน แล้วตรวจเลือดดู พบว่า คนที่นอนไม่พอ ยีนที่ทำหน้าที่รักษาระดับโคเลสเตอรอลจะทำงานน้อยลง
จะเห็นได้ว่า เพียงแค่นอนไม่พอ 1 สัปดาห์ ก็ส่งผลต่อระบบการเผาผลาญและภูมิคุ้มกันของร่างกายแล้ว คนที่บอกว่าผอม ไม่กินอาหารมันๆ แต่ทำไมโคเลสเตอรอลสูง สาเหตุก็อาจจะเกิดจากการนอนน้อยนี่เอง
• ไม่น่าเชื่อ? มะเขือเทศกระตุ้นโรคเกาต์
จากที่เชื่อกันว่าคนเป็นโรคเกาต์ กินมะเขือเทศได้อย่างสบายใจ ไม่มีอะไรต้องห้าม แต่ล่าสุดมีงานวิจัยที่ชวนให้ต้องคิดใหม่ นับเป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่ชี้ว่า ผู้ป่วยโรคเกาต์ที่กินมะเขือเทศบ่อยๆ อาการอาจกำเริบขึ้นมาได้
เกาต์เป็นโรคเรื้อรัง เกิดจากการที่ร่างกายมีกรดยูริกมากเกินไป จนตกผลึกไปเกาะตามเนื้อเยื่อและข้อกระดูก ทำให้อักเสบและเจ็บปวด ผู้ชายเป็นโรคนี้มากกว่าผู้หญิงถึง 3 เท่า คนเป็นโรคนี้จะต้องระมัดระวังการกินเป็นพิเศษ
ทีมนักวิจัยแห่งภาควิชาชีวเคมี มหาวิทยาลัยโอตาโกะ ประเทศนิวซีแลนด์ จึงทำการสำรวจอาหารการกินของผู้ป่วยโรคเกาต์ชาวนิวซีแลนด์จำนวน 2,051 คน พบว่า ร้อยละ 71 กินอาหารที่เป็นตัวกระตุ้นโรคเกาต์ 1 อย่าง หรือมากกว่านั้น และมะเขือเทศเป็นหนึ่งในตัวกระตุ้นที่สำคัญ และเป็นอาหารกระตุ้นโรคเกาต์ที่คนนิยมกินกันมากเสียด้วย คือนิยมเป็นอันดับ 4 รองจากอาหารทะเล แอลกอฮอล์ และเนื้อแดง
แม้มะเขือเทศจะกระตุ้นให้คนที่เป็นโรคนี้มีอาการหนักขึ้น แต่สำหรับคนที่ไม่เป็น มะเขือเทศก็มีประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะกับคนที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 187 กรกฎาคม 2559 โดย ธาราทิพย์)