เรื่องสารเคมีตกค้างในผักผลไม้ เป็นเรื่องอันตรายที่ผู้บริโภคต้องระวัง กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ออกมาเตือนและให้คำแนะนำอยู่สมอ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ทั้งวิธีเลือกและวิธีลดสารปนเปื้อนเหล่านั้น
ล่าสุด นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย โฆษกกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้คำแนะนำในการเลือกซื้อผักสดที่สะอาด ปลอดภัย ดังนี้
1. เลือกซื้อผักสดที่สะอาด ไม่มีคราบดินหรือคราบขาวของสารพิษกำจัดศัตรูพืช หรือเชื้อรา หรือกลิ่นฉุนผิดปกติ เลือกที่มีรูพรุนเป็นรอยกัดของหนอนแมลงอยู่บ้าง
2. เลือกซื้อผักสดอนามัยหรือผักกางมุ้ง ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือแหล่งเพาะปลูกที่เชื่อถือได้อื่นๆ และสับเปลี่ยนแหล่งซื้ออยู่เสมอ
3. เลือกกินผักตามฤดูกาล เนื่องจากผักที่ปลูกได้ตามฤดูกาลจะมีโอกาสเจริญเติบโตได้ดีกว่านอกฤดูกาล ทำให้ลดการใช้สารเคมีและปุ๋ยลง
4. เลือกกินผักพื้นบ้าน เช่น ผักแว่น ผักหวาน ผักติ้ว ผักกระโดน ใบย่านาง ใบเหลียง ใบยอ ผักกระถิน ยอดแค หรือผักที่สามารถปลูกได้เองง่ายๆ
5. ไม่กินผักชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นประจำ ควรกินให้หลากหลายชนิดสับเปลี่ยนกัน เพื่อได้รับประโยชน์ทางด้านโภชนาการ และหลีกเลี่ยงการรับพิษสะสม
ทั้งนี้ หากไม่แน่ใจว่าผักสดและผลไม้ที่ซื้อมาบริโภค ปลอดภัยจากสารเคมีหรือสิ่งปนเปื้อนอื่นๆ หรือไม่ การล้างผักสดและผลไม้ที่ถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ จะช่วยลดปริมาณการปนเปื้อนลงได้
วิธีที่ง่ายๆ สะดวก ประหยัดและเป็นวิธีการที่แนะนำ ได้แก่ การลอกเปลือกทิ้ง แช่น้ำ 10-15 นาที และล้างด้วยน้ำไหลผ่าน 2 นาที ซึ่งการศึกษาของกรมวิชาการเกษตร ระบุสามารถลดสารเคมีที่เกาะติดตามผิวผักผลไม้ได้มากที่สุดถึงร้อยละ 92
นอกจากนี้ ยังมีวิธีใช้สารละลายอื่นๆ ในการล้าง ได้แก่
1. ใช้น้ำเกลือ ใช้เกลือ 2 ช้อนโต๊ะพูนต่อน้ำ 4 ลิตร
2. ใช้น้ำปูนคลอรีน โดยผสมผงปูนคลอรีน 1/2 ช้อนชาในน้ำ 1 แก้ว คนให้เข้ากันทิ้งไว้ให้ตกตะกอน รินเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำใสผสมน้ำสะอาด 20 ลิตร
3. ใช้น้ำส้มสายชู 1/2 ถ้วยต่อน้ำ 4 ลิตร
4. ใช้น้ำโซดา นำโซเดียมไบคาร์บอเนต 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ลิตร
5. ใช้น้ำยาล้างผัก ตามวิธีที่ผู้ผลิตแนะนำ แล้วจึงนำผักสดมาล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง
ส่วนผักที่มีลักษณะเป็นหัว ผล หรือผลไม้ที่กินทั้งเปลือก เช่น องุ่น ล้างด้วยน้ำผสมด่างทับทิม 10-20 เกล็ด ผสมน้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะ และหยดสารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 20 หยด แช่นาน 5 นาที โดยใช้มือถูตามผิวของผล แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีก 1-2 ครั้ง
โดยวิธีการล้างต่างๆ เหล่านี้มีประสิทธิภาพในการลดสารเคมีกลุ่มที่ไม่ดูดซึม ได้แก่ เมทธิลพาราไธออน มาลาไธออน ได้ตั้งแต่ร้อยละ 6-92
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 186 มิถุนายน 2559 โดย กองบรรณาธิการ)
ล่าสุด นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย โฆษกกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้คำแนะนำในการเลือกซื้อผักสดที่สะอาด ปลอดภัย ดังนี้
1. เลือกซื้อผักสดที่สะอาด ไม่มีคราบดินหรือคราบขาวของสารพิษกำจัดศัตรูพืช หรือเชื้อรา หรือกลิ่นฉุนผิดปกติ เลือกที่มีรูพรุนเป็นรอยกัดของหนอนแมลงอยู่บ้าง
2. เลือกซื้อผักสดอนามัยหรือผักกางมุ้ง ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือแหล่งเพาะปลูกที่เชื่อถือได้อื่นๆ และสับเปลี่ยนแหล่งซื้ออยู่เสมอ
3. เลือกกินผักตามฤดูกาล เนื่องจากผักที่ปลูกได้ตามฤดูกาลจะมีโอกาสเจริญเติบโตได้ดีกว่านอกฤดูกาล ทำให้ลดการใช้สารเคมีและปุ๋ยลง
4. เลือกกินผักพื้นบ้าน เช่น ผักแว่น ผักหวาน ผักติ้ว ผักกระโดน ใบย่านาง ใบเหลียง ใบยอ ผักกระถิน ยอดแค หรือผักที่สามารถปลูกได้เองง่ายๆ
5. ไม่กินผักชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นประจำ ควรกินให้หลากหลายชนิดสับเปลี่ยนกัน เพื่อได้รับประโยชน์ทางด้านโภชนาการ และหลีกเลี่ยงการรับพิษสะสม
ทั้งนี้ หากไม่แน่ใจว่าผักสดและผลไม้ที่ซื้อมาบริโภค ปลอดภัยจากสารเคมีหรือสิ่งปนเปื้อนอื่นๆ หรือไม่ การล้างผักสดและผลไม้ที่ถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ จะช่วยลดปริมาณการปนเปื้อนลงได้
วิธีที่ง่ายๆ สะดวก ประหยัดและเป็นวิธีการที่แนะนำ ได้แก่ การลอกเปลือกทิ้ง แช่น้ำ 10-15 นาที และล้างด้วยน้ำไหลผ่าน 2 นาที ซึ่งการศึกษาของกรมวิชาการเกษตร ระบุสามารถลดสารเคมีที่เกาะติดตามผิวผักผลไม้ได้มากที่สุดถึงร้อยละ 92
นอกจากนี้ ยังมีวิธีใช้สารละลายอื่นๆ ในการล้าง ได้แก่
1. ใช้น้ำเกลือ ใช้เกลือ 2 ช้อนโต๊ะพูนต่อน้ำ 4 ลิตร
2. ใช้น้ำปูนคลอรีน โดยผสมผงปูนคลอรีน 1/2 ช้อนชาในน้ำ 1 แก้ว คนให้เข้ากันทิ้งไว้ให้ตกตะกอน รินเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำใสผสมน้ำสะอาด 20 ลิตร
3. ใช้น้ำส้มสายชู 1/2 ถ้วยต่อน้ำ 4 ลิตร
4. ใช้น้ำโซดา นำโซเดียมไบคาร์บอเนต 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ลิตร
5. ใช้น้ำยาล้างผัก ตามวิธีที่ผู้ผลิตแนะนำ แล้วจึงนำผักสดมาล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง
ส่วนผักที่มีลักษณะเป็นหัว ผล หรือผลไม้ที่กินทั้งเปลือก เช่น องุ่น ล้างด้วยน้ำผสมด่างทับทิม 10-20 เกล็ด ผสมน้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะ และหยดสารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 20 หยด แช่นาน 5 นาที โดยใช้มือถูตามผิวของผล แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีก 1-2 ครั้ง
โดยวิธีการล้างต่างๆ เหล่านี้มีประสิทธิภาพในการลดสารเคมีกลุ่มที่ไม่ดูดซึม ได้แก่ เมทธิลพาราไธออน มาลาไธออน ได้ตั้งแต่ร้อยละ 6-92
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 186 มิถุนายน 2559 โดย กองบรรณาธิการ)