พระนางเขมาเป็นพระราชธิดาในพระเจ้าสาคลราช กษัตริย์แห่งอาณาจักรมัททะ ในรัฐปัญจาปตอนกลาง เพราะพระนางมีพระกายเขียวคล้ายปีกแมลงทับ จึงได้พระนามว่า “เขมา”
ต่อมาพระนางได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งรัฐมคธ พระนางมีพระรูปโฉมสวยงาม พระฉวีวรรณผุดผาดเปล่งปลั่งนัก และทรงหยิ่งมากในพระรูปสมบัติ
ในตอนแรก พระนางเขมามิได้สนพระทัยในพุทธศาสนา ทั้งที่พระเจ้าพิมพิสาร พระสวามีของพระนาง ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี เวลาที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดเวฬุวัน พระนางเขมาได้ทรงทราบข่าวว่า พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเรื่องโทษเกี่ยวกับร่างกาย จึงทรงเกรงว่า หากพระนางเสด็จไปเฝ้า พระพุทธองค์อาจจะทรงชี้โทษเกี่ยวกับพระรูปโฉมของพระนาง จึงไม่ยอมเสด็จไปเฝ้าพระพุทธองค์
พระเจ้าพิมพิสารทรงดำริหาอุบายที่จะให้พระนางเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์ ในที่สุด พระองค์ได้มีพระบัญชาให้กวีแต่งเพลง พรรณนาความงามของพระวิหารเวฬุวัน แล้วให้นางสนมขับให้พระนางเขมาฟัง เพื่อโน้มน้าวพระทัย ให้อยากเสด็จไปยังพระวิหารเวฬุวัน
อุบายวิธีของพระเจ้าพิมพิสาร ได้ผลตามพระราชประสงค์ พระนางเขมาได้ทูลขอพระบรมราชานุญาต เสด็จไปวัดเวฬุวัน
เมื่อพระนางเขมาเสด็จไปชมวัดทั่วแล้ว พวกราชบุรุษได้นำพระนางเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงประสงค์จะแสดงธรรมให้เหมาะแก่พระจริยวัตรของพระนาง ซึ่งทรงหลงใหลในความสวยงามของตน จึงได้ทรงเนรมิตร่างกุมารี ที่สวยงามประดุจนางฟ้า ให้นั่งถวายงานพัดอยู่ใกล้ๆพระองค์
พระนางเขมาทอดพระเนตรเห็นรูปกุมารีที่สวยงามนั้น แล้วทรงดำริว่า กุมารีนั้นสวยงามกว่าพระนางเอง ในขณะที่พระนางทรงเพลินชมความสวยงามของกุมารีนั้นอยู่ พระพุทธเจ้าจึงทรงบันดาลให้พระนางทอดพระเนตรเห็นรูปกุมารีนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับวัย จากวัยสาวไปสู่วัยกลางคน วัยแก่ซึ่งมีหนังเหี่ยวย่น ฟันหัก จนถึงล้มกลิ้งเกลือกไปมาเป็นที่เวทนายิ่งนัก
พระนางเขมาได้ทอดพระเนตรเห็นความแปรปรวนไปตามอำนาจของไตรลักษณ์โดยลำดับ และทรงนึกย้อนมาเทียบกับพระกายของพระนางเอง ว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นเหมือนกัน จึงทรงได้คิดคลายความยึดติดในความงาม
พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่า พระนางพร้อมที่จะรับพระธรรมเทศนาแล้ว จึงได้ตรัสธรรมเทศนาคาถาแรกว่า
เธอจงดูร่างกายอันอาดูรไม่สะอาด เน่าเปื่อย ไหลเข้าไหลออก ที่คนโง่ปรารถนากันนัก
เมื่อจบพระธรรมเทศนานี้ พระนางเขมาทรงเห็นแจ้งในความจริง จึงสำเร็จเป็นพระโสดาบัน พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาต่อไปว่า
คนที่กำหนัดด้วยราคะ ปล่อยใจไปตามกระแสตัณหา เป็นเหมือนแมงมุมติดใยตัวเอง ส่วนคนฉลาดตัดกระแสตัณหานั้นได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีอาลัย ละทุกข์ทั้งปวงได้
ครั้นจบพระธรรมเทศนา พระนางเขมาก็ทรงบรรลุอรหัตผล เป็นพระอรหันต์ทั้งที่ยังไม่ได้อุปสมบท ตามปกติผู้บรรลุอรหัตผลทั้งยังเป็นคฤหัสถ์อยู่ จะต้องอุปสมบทครองเพศเป็นบรรพชิต มิฉะนั้น จะต้องปรินิพพานในไม่ช้า
พระพุทธเจ้าทรงถามพระเจ้าพิมพิสารว่า มหาบพิตรต้องการให้เขมาอุปสมบทหรือปรินิพพาน พระเจ้าพิมพิสารทูลตอบว่า ให้นางอุปสมบทเถิด อย่าให้นางปรินิพพานในขณะนี้
พระพุทธเจ้าจึงประทานการอุปสมบทให้พระนางเป็นนางภิกษุณี พระเจ้าพิมพิสารทรงนำพระนางไปยังสำนักของนางภิกษุณี เพื่อทำการอุปสมบท
เมื่อพระนางเขมาอุปสมบทแล้ว เป็นผู้ฉลาดสามารถ แตกฉานในพระธรรมวินัย เพราะเป็นผู้มีปัญญามาก พระพุทธเจ้าจึงทรงแต่งตั้งให้นางเป็นอัครสาวิกาเบื้องขวา เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลาย ผู้มีปัญญามาก และนางเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในกาลต่อมา
• คุณธรรมของพระนางเขมาเถรี
พระนางเขมาเถรี มีคุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง ดังนี้
๑. พระนางเขมาก่อนอุปสมบท เป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อพระเจ้าพิมพิสาร และเป็นที่โปรดปรานของพระสวามียิ่งนัก
๒. พระนางเขมาเป็นศิลปิน โปรดการสดับเพลง และเมื่อสดับก็มีความซาบซึ้งในดุริยางคศิลป์และวรรณศิลป์
๓. พระนางเขมาเป็นผู้มีเหตุผล พิจารณาเห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงด้วยปัญญา
๔. พระนางเขมาเป็นผู้มีปัญญามาก สามารถตรัสรู้ตามพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าได้เร็วพลัน และได้รับแต่งตั้งเป็นเอตทัคคะในด้านผู้มีปัญญามาก การที่พระนางเขมามีปัญญามาก เป็นเพราะพระนางได้ขวนขวายศึกษาเล่าเรียนมาด้วยความขยันหมั่นเพียรหาความรู้
๕. พระนางเขมามีปฏิภาณไหวพริบและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี โดยสังเกตกรณีที่พระนางได้โต้ตอบข้อซักถาม พร้อมกับอุปมาอุปไมยให้พระเจ้าพิมพิสารฟังจนเข้าใจแจ่มแจ้ง ปฏิภาณมิใช่เป็นพรสวรรค์เพียงอย่างเดียว เป็นเรื่องฝึกฝนได้ หากเราพยายามฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ ก็สามารถมีปฏิภาณได้เช่นเดียวกัน
(ข้อมูลจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ โดย รศ.ดนัย ไชยโยธา)
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 183 มีนาคม 2559 โดย กองบรรณาธิการ)
ต่อมาพระนางได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งรัฐมคธ พระนางมีพระรูปโฉมสวยงาม พระฉวีวรรณผุดผาดเปล่งปลั่งนัก และทรงหยิ่งมากในพระรูปสมบัติ
ในตอนแรก พระนางเขมามิได้สนพระทัยในพุทธศาสนา ทั้งที่พระเจ้าพิมพิสาร พระสวามีของพระนาง ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี เวลาที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดเวฬุวัน พระนางเขมาได้ทรงทราบข่าวว่า พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเรื่องโทษเกี่ยวกับร่างกาย จึงทรงเกรงว่า หากพระนางเสด็จไปเฝ้า พระพุทธองค์อาจจะทรงชี้โทษเกี่ยวกับพระรูปโฉมของพระนาง จึงไม่ยอมเสด็จไปเฝ้าพระพุทธองค์
พระเจ้าพิมพิสารทรงดำริหาอุบายที่จะให้พระนางเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์ ในที่สุด พระองค์ได้มีพระบัญชาให้กวีแต่งเพลง พรรณนาความงามของพระวิหารเวฬุวัน แล้วให้นางสนมขับให้พระนางเขมาฟัง เพื่อโน้มน้าวพระทัย ให้อยากเสด็จไปยังพระวิหารเวฬุวัน
อุบายวิธีของพระเจ้าพิมพิสาร ได้ผลตามพระราชประสงค์ พระนางเขมาได้ทูลขอพระบรมราชานุญาต เสด็จไปวัดเวฬุวัน
เมื่อพระนางเขมาเสด็จไปชมวัดทั่วแล้ว พวกราชบุรุษได้นำพระนางเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงประสงค์จะแสดงธรรมให้เหมาะแก่พระจริยวัตรของพระนาง ซึ่งทรงหลงใหลในความสวยงามของตน จึงได้ทรงเนรมิตร่างกุมารี ที่สวยงามประดุจนางฟ้า ให้นั่งถวายงานพัดอยู่ใกล้ๆพระองค์
พระนางเขมาทอดพระเนตรเห็นรูปกุมารีที่สวยงามนั้น แล้วทรงดำริว่า กุมารีนั้นสวยงามกว่าพระนางเอง ในขณะที่พระนางทรงเพลินชมความสวยงามของกุมารีนั้นอยู่ พระพุทธเจ้าจึงทรงบันดาลให้พระนางทอดพระเนตรเห็นรูปกุมารีนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับวัย จากวัยสาวไปสู่วัยกลางคน วัยแก่ซึ่งมีหนังเหี่ยวย่น ฟันหัก จนถึงล้มกลิ้งเกลือกไปมาเป็นที่เวทนายิ่งนัก
พระนางเขมาได้ทอดพระเนตรเห็นความแปรปรวนไปตามอำนาจของไตรลักษณ์โดยลำดับ และทรงนึกย้อนมาเทียบกับพระกายของพระนางเอง ว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นเหมือนกัน จึงทรงได้คิดคลายความยึดติดในความงาม
พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่า พระนางพร้อมที่จะรับพระธรรมเทศนาแล้ว จึงได้ตรัสธรรมเทศนาคาถาแรกว่า
เธอจงดูร่างกายอันอาดูรไม่สะอาด เน่าเปื่อย ไหลเข้าไหลออก ที่คนโง่ปรารถนากันนัก
เมื่อจบพระธรรมเทศนานี้ พระนางเขมาทรงเห็นแจ้งในความจริง จึงสำเร็จเป็นพระโสดาบัน พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาต่อไปว่า
คนที่กำหนัดด้วยราคะ ปล่อยใจไปตามกระแสตัณหา เป็นเหมือนแมงมุมติดใยตัวเอง ส่วนคนฉลาดตัดกระแสตัณหานั้นได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีอาลัย ละทุกข์ทั้งปวงได้
ครั้นจบพระธรรมเทศนา พระนางเขมาก็ทรงบรรลุอรหัตผล เป็นพระอรหันต์ทั้งที่ยังไม่ได้อุปสมบท ตามปกติผู้บรรลุอรหัตผลทั้งยังเป็นคฤหัสถ์อยู่ จะต้องอุปสมบทครองเพศเป็นบรรพชิต มิฉะนั้น จะต้องปรินิพพานในไม่ช้า
พระพุทธเจ้าทรงถามพระเจ้าพิมพิสารว่า มหาบพิตรต้องการให้เขมาอุปสมบทหรือปรินิพพาน พระเจ้าพิมพิสารทูลตอบว่า ให้นางอุปสมบทเถิด อย่าให้นางปรินิพพานในขณะนี้
พระพุทธเจ้าจึงประทานการอุปสมบทให้พระนางเป็นนางภิกษุณี พระเจ้าพิมพิสารทรงนำพระนางไปยังสำนักของนางภิกษุณี เพื่อทำการอุปสมบท
เมื่อพระนางเขมาอุปสมบทแล้ว เป็นผู้ฉลาดสามารถ แตกฉานในพระธรรมวินัย เพราะเป็นผู้มีปัญญามาก พระพุทธเจ้าจึงทรงแต่งตั้งให้นางเป็นอัครสาวิกาเบื้องขวา เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลาย ผู้มีปัญญามาก และนางเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในกาลต่อมา
• คุณธรรมของพระนางเขมาเถรี
พระนางเขมาเถรี มีคุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง ดังนี้
๑. พระนางเขมาก่อนอุปสมบท เป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อพระเจ้าพิมพิสาร และเป็นที่โปรดปรานของพระสวามียิ่งนัก
๒. พระนางเขมาเป็นศิลปิน โปรดการสดับเพลง และเมื่อสดับก็มีความซาบซึ้งในดุริยางคศิลป์และวรรณศิลป์
๓. พระนางเขมาเป็นผู้มีเหตุผล พิจารณาเห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงด้วยปัญญา
๔. พระนางเขมาเป็นผู้มีปัญญามาก สามารถตรัสรู้ตามพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าได้เร็วพลัน และได้รับแต่งตั้งเป็นเอตทัคคะในด้านผู้มีปัญญามาก การที่พระนางเขมามีปัญญามาก เป็นเพราะพระนางได้ขวนขวายศึกษาเล่าเรียนมาด้วยความขยันหมั่นเพียรหาความรู้
๕. พระนางเขมามีปฏิภาณไหวพริบและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี โดยสังเกตกรณีที่พระนางได้โต้ตอบข้อซักถาม พร้อมกับอุปมาอุปไมยให้พระเจ้าพิมพิสารฟังจนเข้าใจแจ่มแจ้ง ปฏิภาณมิใช่เป็นพรสวรรค์เพียงอย่างเดียว เป็นเรื่องฝึกฝนได้ หากเราพยายามฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ ก็สามารถมีปฏิภาณได้เช่นเดียวกัน
(ข้อมูลจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ โดย รศ.ดนัย ไชยโยธา)
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 183 มีนาคม 2559 โดย กองบรรณาธิการ)