เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้มีพระภิกษุและคฤหัสถ์กลุ่มหนึ่งได้ไปชุมนุมกันที่พุทธมณฑล
แต่ก่อนที่จะเข้าไปในพื้นที่ชุมนุม ผู้ชุมนุมกลุ่มนี้ได้มีการกระทบกระทั่งกับเจ้าหน้าที่ทหาร ซึ่งขัดขวางมิให้เข้าไปในบริเวณพุทธมณฑล และการกระทบกระทั่งกันได้เป็นไปค่อนข้างรุนแรง ซึ่งชาวพุทธได้เห็นแล้วไม่อยากเชื่อว่าเป็นพฤติกรรมของผู้มีศีล และมีธรรมประจำใจ ทั้งนี้จะเห็นได้จากการที่พระภิกษุจำนวนหนึ่งได้พยายามดันรถของเจ้าหน้าที่ให้พลิกคว่ำ และที่รุนแรงยิ่งกว่านี้ก็คือ ได้มีภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปล็อกคอเจ้าหน้าที่ทหารซึ่งเป็นภาพที่ชาวพุทธผู้มีศรัทธา และเคารพในพระธรรมวินัยเห็นแล้วเศร้าสลด และหดหู่เป็นอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมเยี่ยงคฤหัสถ์ของภิกษุรูปนี้
แต่ในที่สุด พระภิกษุและคฤหัสถ์กลุ่มนี้ก็สามารถเข้าไปในบริเวณพุทธมณฑล และจัดการชุมนุมได้
ในที่สุดแห่งการชุมนุมได้มีการเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการ 5 ข้อดังต่อไปนี้
1. ห้ามมิให้หน่วยงานภาครัฐเข้ามาก้าวก่ายเรื่องทางสงฆ์ ขอให้ทำหน้าที่อุปถัมภ์บำรุงพุทธศาสนาตามแบบอย่างบรรพบุรุษไทย
2. ขอให้รัฐบาลยึดถือธรรมเนียมปฏิบัติอันดีงามที่ทำสืบกันมา คือการดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับการปกครองสงฆ์ ทางภาครัฐจะต้องปรึกษาและได้รับความเห็นชอบจากมหาเถรสมาคม (มส.) ก่อน
3. ขอให้นายกฯ ยึดถือดำเนินการตามมติ มส.ที่มีการเสนอสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) เป็นสมเด็จพระสังฆราช
4. ขอให้รัฐบาลสั่งเป็นนโยบายให้หน่วยราชการปฏิบัติต่อคณะสงฆ์ด้วยความเคารพ เอื้อเฟื้อไม่คุกคามคณะสงฆ์ด้วยกฎหมาย
5. ขอให้บรรจุพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ
จากข้อเรียกร้องทั้ง 5 ข้อ ยกเว้นข้อ 5 จะเห็นได้ชัดเจนว่า เป็นการกระทำเพื่อปัจเจกบุคคล และกลุ่มบุคคลซึ่งกำลังต้องอนุวาทาธิกรณ์ด้วยเหตุ 2 ประการคือ ศีลวิบัติ คือมีความเสียหายอันเนื่องมาจากการล่วงละเมิดพระวินัย ซึ่งเป็นครุกาบัติอันได้แก่ ปาราชิก และอาจารวิบัติ คือมีความเสียหายอันเนื่องมาจากความประพฤติไม่เหมาะสมกับเพศและภาวะของนักบวช ถึงแม้ไม่ถึงขั้นเป็นครุกาบัติ แต่ก็เป็นโลกวัชชะคือโลกติเตียนไม่เป็นเนื้อนาบุญของโลก
อีกประการหนึ่ง ข้อเรียกร้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อที่ 1 ยังขัดต่อพุทธพจน์ที่ตรัสแก่พระกิมพิละที่ว่า “ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาในพระธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษาไม่เคารพยำเกรงกันและกันนี้แลกิมพิละ เป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้นาน เมื่อตถาคตปรินิพพานไปแล้ว”
ในทางกลับกัน พระพุทธองค์ได้ตรัสแก่พระกิมพิละว่า “ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในพระธรรมวินัยนี้ เคารพ ยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษา เคารพยำเกรงกันและกันนี้แลกิมพิละ เป็นเหตุ เป็นปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้นาน เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว”
โดยนัยแห่งพระพุทธพจน์ดังกล่าวข้างต้น บ่งบอกอย่างชัดเจนว่า พระพุทธศาสนาจะอยู่ได้นานหรือไม่ได้นาน ขึ้นอยู่กับการกระทำของชาวพุทธ 4 ประเภท โดยแบ่งเป็นนักบวช 2 และคฤหัสถ์ 2 มิได้ผูกขาดให้นักบวชเป็นผู้พิทักษ์รักษาเพียงฝ่ายเดียว แต่ให้ทั้ง 4 ประเภทช่วยกันปกป้องคอยขจัดมารศาสนา อันอาจเกิดขึ้นจากประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือหลายประเภทรวมกันให้หมดไป
ด้วยเหตุนี้ ข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมกลุ่มนี้ในข้อหนึ่งที่ห้ามมิให้ทางภาครัฐ ซึ่งโดยเนื้อแท้ก็ชาวพุทธฝ่ายคฤหัสถ์ที่มีหน้าที่ฝ่ายปกครองประเทศเข้ามาดูแลแก้ไขความบกพร่อง และผิดพลาดอันเป็นเหตุให้พระสัทธรรมคำสอนของตถาคตตั้งอยู่ไม่ได้นาน จึงไม่สอดคล้องกับคำสอนข้อนี้ ทั้งยังไม่สอดคล้องกับพุทธพจน์ที่ตรัสว่า พระกับคฤหัสถ์ต้องอาศัยกันในฐานะเป็นผู้ให้และผู้รับ ดังปรากฏในอิติวุตตกะพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 ว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์ คฤหัสถ์ที่อุปัฏฐากท่านทั้งหลาย ด้วยจีวร บิณฑบาต ที่อยู่อาศัย และยากับเครื่องในการรักษาโรค นับว่าเป็นผู้มีอุปการะมาก แม้ท่านทั้งหลายที่แสดงธรรมอันดีงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด พร้อมด้วยอรรถะ และพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่พราหมณ์ และคฤหัสถ์เหล่านั้น ก็นับว่าเป็นผู้ที่อุปการะมากนี้แหละภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์ที่ประพฤติโดยอาศัยกันและกัน เพื่อถอนกิเลสอันเปรียบเหมือนห้วงน้ำเพื่อทำให้ทุกข์สิ้นไปโดยชอบ”
จากนัยแห่งพุทธพจน์ข้างต้น จะเห็นได้ชัดเจนว่า ข้อเรียกร้องที่ให้รัฐบาลทำหน้าที่บำรุงพุทธศาสนาโดยไม่ต้องมาดูแลแก้ไขพฤติกรรมของภิกษุ ซึ่งล่วงละเมิดทั้งพระวินัย และกฎหมายบ้านเมืองนั้น ไม่สอดคล้องกับคำสอนข้อนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นข้อเรียกร้องจากนักบวชที่เปลี่ยนแปลงเพียงเพศและภาวะ แต่อากัปกิริยายังเป็นเยี่ยงคฤหัสถ์อยู่ ดังที่เห็นจากการชุมนุมเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และนักบวชเยี่ยงนี้ไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ให้ธรรม และไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้รับปัจจัยจากผู้ให้ซึ่งมีศรัทธา และมีสิทธิจะเลือกผู้รับที่มีศีล มีธรรม ควรแก่การรับทานในฐานะเป็นเนื้อนาบุญของโลก
โดยสรุปข้อเรียกร้องข้อ 1-4 ไม่ควรจะเกิดขึ้นจากนักบวชผู้ยึดมั่นในพระธรรมวินัย และอาศัยคฤหัสถ์เพื่อการเป็นอยู่ ทั้งนี้เนื่องจากว่าข้อเรียกร้อง 4 ข้อที่ว่ามานี้ มิได้เป็นไปเพื่อถอนกิเลสและเป็นเหตุให้พ้นทุกข์ได้
ในทางตรงกันข้าม ข้อเรียกร้องที่ว่านี้เป็นไปเพื่อปกป้องคนผิดพระวินัย และกฎหมายอันเป็นเหตุทำลายพระสัทธรรมโดยตรง ทั้งผู้เรียกร้องมิใช่สงฆ์ ในความหมายตามบทสวดสรรเสริญสังฆคุณที่เริ่มด้วยสุปฏิปันโน และจบลงด้วยคำว่า โลกัสสาติ แต่อย่างใด
ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ รัฐบาลจึงไม่ควรที่จะทำตามข้อเรียกร้องแต่ประการใด และการไม่ทำตามน่าจะเป็นการช่วยขจัดเหตุปัจจัยอันจะทำให้พุทธศาสนาเสื่อมได้ด้วย
แต่ก่อนที่จะเข้าไปในพื้นที่ชุมนุม ผู้ชุมนุมกลุ่มนี้ได้มีการกระทบกระทั่งกับเจ้าหน้าที่ทหาร ซึ่งขัดขวางมิให้เข้าไปในบริเวณพุทธมณฑล และการกระทบกระทั่งกันได้เป็นไปค่อนข้างรุนแรง ซึ่งชาวพุทธได้เห็นแล้วไม่อยากเชื่อว่าเป็นพฤติกรรมของผู้มีศีล และมีธรรมประจำใจ ทั้งนี้จะเห็นได้จากการที่พระภิกษุจำนวนหนึ่งได้พยายามดันรถของเจ้าหน้าที่ให้พลิกคว่ำ และที่รุนแรงยิ่งกว่านี้ก็คือ ได้มีภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปล็อกคอเจ้าหน้าที่ทหารซึ่งเป็นภาพที่ชาวพุทธผู้มีศรัทธา และเคารพในพระธรรมวินัยเห็นแล้วเศร้าสลด และหดหู่เป็นอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมเยี่ยงคฤหัสถ์ของภิกษุรูปนี้
แต่ในที่สุด พระภิกษุและคฤหัสถ์กลุ่มนี้ก็สามารถเข้าไปในบริเวณพุทธมณฑล และจัดการชุมนุมได้
ในที่สุดแห่งการชุมนุมได้มีการเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการ 5 ข้อดังต่อไปนี้
1. ห้ามมิให้หน่วยงานภาครัฐเข้ามาก้าวก่ายเรื่องทางสงฆ์ ขอให้ทำหน้าที่อุปถัมภ์บำรุงพุทธศาสนาตามแบบอย่างบรรพบุรุษไทย
2. ขอให้รัฐบาลยึดถือธรรมเนียมปฏิบัติอันดีงามที่ทำสืบกันมา คือการดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับการปกครองสงฆ์ ทางภาครัฐจะต้องปรึกษาและได้รับความเห็นชอบจากมหาเถรสมาคม (มส.) ก่อน
3. ขอให้นายกฯ ยึดถือดำเนินการตามมติ มส.ที่มีการเสนอสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) เป็นสมเด็จพระสังฆราช
4. ขอให้รัฐบาลสั่งเป็นนโยบายให้หน่วยราชการปฏิบัติต่อคณะสงฆ์ด้วยความเคารพ เอื้อเฟื้อไม่คุกคามคณะสงฆ์ด้วยกฎหมาย
5. ขอให้บรรจุพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ
จากข้อเรียกร้องทั้ง 5 ข้อ ยกเว้นข้อ 5 จะเห็นได้ชัดเจนว่า เป็นการกระทำเพื่อปัจเจกบุคคล และกลุ่มบุคคลซึ่งกำลังต้องอนุวาทาธิกรณ์ด้วยเหตุ 2 ประการคือ ศีลวิบัติ คือมีความเสียหายอันเนื่องมาจากการล่วงละเมิดพระวินัย ซึ่งเป็นครุกาบัติอันได้แก่ ปาราชิก และอาจารวิบัติ คือมีความเสียหายอันเนื่องมาจากความประพฤติไม่เหมาะสมกับเพศและภาวะของนักบวช ถึงแม้ไม่ถึงขั้นเป็นครุกาบัติ แต่ก็เป็นโลกวัชชะคือโลกติเตียนไม่เป็นเนื้อนาบุญของโลก
อีกประการหนึ่ง ข้อเรียกร้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อที่ 1 ยังขัดต่อพุทธพจน์ที่ตรัสแก่พระกิมพิละที่ว่า “ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาในพระธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษาไม่เคารพยำเกรงกันและกันนี้แลกิมพิละ เป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้นาน เมื่อตถาคตปรินิพพานไปแล้ว”
ในทางกลับกัน พระพุทธองค์ได้ตรัสแก่พระกิมพิละว่า “ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในพระธรรมวินัยนี้ เคารพ ยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษา เคารพยำเกรงกันและกันนี้แลกิมพิละ เป็นเหตุ เป็นปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้นาน เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว”
โดยนัยแห่งพระพุทธพจน์ดังกล่าวข้างต้น บ่งบอกอย่างชัดเจนว่า พระพุทธศาสนาจะอยู่ได้นานหรือไม่ได้นาน ขึ้นอยู่กับการกระทำของชาวพุทธ 4 ประเภท โดยแบ่งเป็นนักบวช 2 และคฤหัสถ์ 2 มิได้ผูกขาดให้นักบวชเป็นผู้พิทักษ์รักษาเพียงฝ่ายเดียว แต่ให้ทั้ง 4 ประเภทช่วยกันปกป้องคอยขจัดมารศาสนา อันอาจเกิดขึ้นจากประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือหลายประเภทรวมกันให้หมดไป
ด้วยเหตุนี้ ข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมกลุ่มนี้ในข้อหนึ่งที่ห้ามมิให้ทางภาครัฐ ซึ่งโดยเนื้อแท้ก็ชาวพุทธฝ่ายคฤหัสถ์ที่มีหน้าที่ฝ่ายปกครองประเทศเข้ามาดูแลแก้ไขความบกพร่อง และผิดพลาดอันเป็นเหตุให้พระสัทธรรมคำสอนของตถาคตตั้งอยู่ไม่ได้นาน จึงไม่สอดคล้องกับคำสอนข้อนี้ ทั้งยังไม่สอดคล้องกับพุทธพจน์ที่ตรัสว่า พระกับคฤหัสถ์ต้องอาศัยกันในฐานะเป็นผู้ให้และผู้รับ ดังปรากฏในอิติวุตตกะพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 ว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์ คฤหัสถ์ที่อุปัฏฐากท่านทั้งหลาย ด้วยจีวร บิณฑบาต ที่อยู่อาศัย และยากับเครื่องในการรักษาโรค นับว่าเป็นผู้มีอุปการะมาก แม้ท่านทั้งหลายที่แสดงธรรมอันดีงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด พร้อมด้วยอรรถะ และพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่พราหมณ์ และคฤหัสถ์เหล่านั้น ก็นับว่าเป็นผู้ที่อุปการะมากนี้แหละภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์ที่ประพฤติโดยอาศัยกันและกัน เพื่อถอนกิเลสอันเปรียบเหมือนห้วงน้ำเพื่อทำให้ทุกข์สิ้นไปโดยชอบ”
จากนัยแห่งพุทธพจน์ข้างต้น จะเห็นได้ชัดเจนว่า ข้อเรียกร้องที่ให้รัฐบาลทำหน้าที่บำรุงพุทธศาสนาโดยไม่ต้องมาดูแลแก้ไขพฤติกรรมของภิกษุ ซึ่งล่วงละเมิดทั้งพระวินัย และกฎหมายบ้านเมืองนั้น ไม่สอดคล้องกับคำสอนข้อนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นข้อเรียกร้องจากนักบวชที่เปลี่ยนแปลงเพียงเพศและภาวะ แต่อากัปกิริยายังเป็นเยี่ยงคฤหัสถ์อยู่ ดังที่เห็นจากการชุมนุมเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และนักบวชเยี่ยงนี้ไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ให้ธรรม และไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้รับปัจจัยจากผู้ให้ซึ่งมีศรัทธา และมีสิทธิจะเลือกผู้รับที่มีศีล มีธรรม ควรแก่การรับทานในฐานะเป็นเนื้อนาบุญของโลก
โดยสรุปข้อเรียกร้องข้อ 1-4 ไม่ควรจะเกิดขึ้นจากนักบวชผู้ยึดมั่นในพระธรรมวินัย และอาศัยคฤหัสถ์เพื่อการเป็นอยู่ ทั้งนี้เนื่องจากว่าข้อเรียกร้อง 4 ข้อที่ว่ามานี้ มิได้เป็นไปเพื่อถอนกิเลสและเป็นเหตุให้พ้นทุกข์ได้
ในทางตรงกันข้าม ข้อเรียกร้องที่ว่านี้เป็นไปเพื่อปกป้องคนผิดพระวินัย และกฎหมายอันเป็นเหตุทำลายพระสัทธรรมโดยตรง ทั้งผู้เรียกร้องมิใช่สงฆ์ ในความหมายตามบทสวดสรรเสริญสังฆคุณที่เริ่มด้วยสุปฏิปันโน และจบลงด้วยคำว่า โลกัสสาติ แต่อย่างใด
ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ รัฐบาลจึงไม่ควรที่จะทำตามข้อเรียกร้องแต่ประการใด และการไม่ทำตามน่าจะเป็นการช่วยขจัดเหตุปัจจัยอันจะทำให้พุทธศาสนาเสื่อมได้ด้วย